Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ - Coggle Diagram
การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ
ความสำคัญของการวิเคราะห์นโยบาย
การเน้นถึงความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาและการแสดงความรับผิดชอบต่อประชาชน
ซึ่งถือว่าเป็นความรัซึ่งสอดคล้องกับหลักการสำคัญของทฤษฎีประชาธิปไตยเชิงปทัสถานรับผิดชอบของรัฐบาลในการกำหนดนโยบายให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน
ความต้องการของประชาชนหรือมติมหาชน(publicopioion)คือสาเหตุสำคัญที่มีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายโดยมติมหาชนจะมีผลกระทบต่อนโยบายมากกว่าการที่นโยบายจะมีผลกระทบต่อมติมหาชน
พบว่าการเปลี่ยนแปลงผู้นำมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายในระยะยาวมากและการเปลี่ยนแปลงผู้นำเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีการริเริ่มนโยบายใหม่ส่วนปัจจัยอื่นที่มีผลกระทบต่อนโยบายนั้น
ความหมายของการวิเคราะห์นโยบาย
1.Susan B. Hansen (1983 : 14-15)
ให้ทัศนะว่าการวิเคราะห์นโยบาย หมายถึงการมุ่งเน้นการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบชัดเจนต่อผลผลิต (outputs) และผลกระทบ (effects) ของนโยบายที่มีต่อสังคม
การแข่งขันระหว่าง พรรคการเมืองและอื่น ๆ จะไม่ถือว่าเป็นการวิเคราะห์นโยบาย ยกเว้นว่าจะได้ทำการวิเคราะห์ปัจจัยดังกล่าวให้เชื่อมโยงกับผลผลิตทางการเมือง
ความสำคัญคือความพยายามในการวัดและประเมินผลผลิตนโยบาย (policy outputs) เพื่อจะเปรียบเทียบนโยบายทั้งในด้านโครงสร้าง (structure) และผลกระทบ (impacts) และพิจารณาความสัมพันธ์ทั้งทางตรง (direct) และทางอ้อม (indirect) หรือในทางโต้ตอบกัน (reciprocal)
2.Thomas R. Dye (1984: 7)
การวิเคราะห์นโยบายเป็นการวิเคราะห์ปัญหาของสังคมที่เป็น วิทยาศาสตร์ และสอดคล้องกับความเป็นจริง
สนใจที่จะพัฒนาการอธิบายที่เหมาะสมมากกว่าการเสนอแนะทางเลือกในการตัดสินใจต่อปัญหานโยบายที่กำลังเผชิญอยูลักษณะสำคัญของการวิเคราะห์นโยบายตามทัศนะของ Dye คือการวิเคราะห์นโยบายเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการอธิบา(explanation) มากกว่าการเสนอแนะ (prescription) เป็นการแสวงหาอย่างจริงจังถึงสาเหตุและผล
ใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์และการวิเคราะห์นโยบายเป็นความพยายามที่จะพัฒนาและทดสอบข้อเสนอทั่วไปเกี่ยวกับสาเหตุและผลของนโยบาย
3.James E. Anderson (1975:8)
การวิเคราะห์นโยบายเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ (examination)และการพรรณนาสาเหตุและผลของนโยบายโดยทางการวิเคราะห์การก่อรูป ( policy formation) เนื้อหา (policy content) และผลกระทบ (policy impact) ของนโยบายเฉพาะเรื่องเช่น นโยบายการค้าระหว่างประเทศ หรือนโยบายสิทธิมนุษยชน เป็นต้น
สนใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่รัฐบาลจะกระทำโดยใช้นโยบายเฉพาะเรื่องผ่ากระบวนการถกเถียงชักจูงหรือกิจกรรมทางการเมืองเช่นเสนอนโยบายในการแข่งขันเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี เป็นต้น
การวิเคราะห์นโยบายเชิงประจักษ์
1.อรรถประโยชน์ของการวิเคราะห์เส้นทาง (Utility of Path Analysis)
2.ตัวแบบสาธิตการวิเคราะห์เส้นทาง (Illustrative Model of Path Analysis)
กลยุทธ์การวิเคราะห์นโยบาย
ประการแรกค่านิยม(values)โดยทำการตรวจสอบว่าปัญหาได้รับการแก้ไขหรือไม่โดยพิจารณาว่าใครเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากการแก้ไขหรือไม่แก้ไขปัญหานั้น
ประการที่สองความจริง(facts)ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้ตรวจสอบ ซึ่งอาจจะจำกัดหรือขยายความขอบเขตความสำเร็จที่เกิดขึ้นก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับค่านิยมของผู้ตรวจสอบ ดังนั้นการค้นหาความจริงจึงต้องพิจารณาโดยรอบคอบ
ประการที่สามการกระทำ(action)ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้ยอมรับการกระทำซึ่งอาจส่งผลต่อความสำเร็จและการแก้ไขปัญหาตามค่านิยมของผู้ยอมรับการกระทำนั้น
องค์ประกอบของการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ
1.วัตถุประสงค์ (Objectives)
องค์ประกอบเบื้องแรกของนักวิเคราะห์นโยบายคือการค้นหาวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของนโยบาย เพื่อให้รู้ว่าสิ่งที่ผู้ตัดสินใจประสงค์ที่จะให้บรรลุผลคืออะไร ซึ่งนักวิเคราะห์ นโยบายมักจะพบกับความยุ่งยากมากเนื่องจากบ่อยครั้งที่ผู้ตัดสินใจมักกำหนดวัตถุประสงค์ไม่ชัดเจน
ลักษณะคลุมเครือแบบนามธรรม (abstract) ซึ่งมีเหตุผลหลายประการ คือ เพื่อเป็นการป้องกันตนเองมิให้ต้องผูกมัดกับคำมั่นสัญญาที่ตายตัว เพราะถ้าหากกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ชัดเจนแล้ว ไม่สามารถทำได้จะทำได้จะทำให้ประชาชนขาดความศรัทธาไม่เชื่อถือและไม่ให้การสนับสนุน
2.ทางเลือก (Alternatives)
เงื่อนไขหรือวิธีการที่เป็นไปได้ ซึ่งผู้ตัดสินใจคาดหมายว่าจะนำไปสู่ผลสำเร็จ ลักษณะของทางเลือกขึ้นอยู่กับนโยบายเฉพาะเรื่อง
ข้อสำคัญประการหนึ่งคือ ทางเลือกไม่จำเป็นต้องทดแทนกันอย่างแท้จริงเสมอไป และไม่จำเป็นต้องกระทำในรูปแบบเดียวกัน เช่น การศึกษา การสันทนาการ การให้เงิน อุดหนุนครอบครัว และการจัดตรวจสายตรวจล้วนเป็นทางเลือกที่อาจนำมาพิจารณาสำหรับการแก้ไขปัญหา เด็กจรจัดได้ทั้งสิ้น
พิจารณาทางเลือกต่างๆนั้นนักวิเคราะห์นโยบายจะต้องสามารถเปรียบเทียบผลเสียของแต่ละทางเลือกทั้งในทางการเมืองเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งต้องคำนึงถึงทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ในแต่ละทางเลือกที่สามารถจัดหาได้ด้วย
3.ต้นทุน (cost)
การประมาณการต้นทุนทั้งหมดของแต่ละทางเลือกซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะ ปัจจัยที่ทำให้การวิเคราะห์ผิดพลาดคือความล้มเหลวในการประมาณการต้นทุนของทางเลือกทั้งหมดและจะเป็นการดียิ่งขึ้นถ้าสามารถจำแนกต้นทุนออกเป็นประเภทต่าง ๆ
เช่น ต้นทุนในการลงทุน ต้นทุนในการปฏิบัติรวมทั้งการจำแนกต้นทุนที่หน่วยงานต่าง ๆต้องใช้ทั้งของรัฐและเอกชนและการระบุไว้ชัดเจนว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับต้นทุนต่าง ๆ เหล่านั้น
กระบวนการวิเคราะห์นโยบาย
1.แนวทางการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ (Approaches of Policy Analysis)
นโยบายเป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์ที่ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาหลายวิธี (multiple methods)ในการแสวงหาความรู้และการถกเถียงเพื่อการตรวจสอบและแปลงเปลี่ยนระบบข้อมูลนโยบายอาจนำไปใช้ประโยชน์ในทางการเมืองสำหรับการแก้ไขปัญหานโยบาย
2.กระบวนการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ (Process of Policy Analysis)
สรุป
การวิจัยนโยบาย (policy research)ได้ให้ความสำคัญกับกรอบความคิดเชิงทฤษฎี (theoryoriented)มากขึ้นโดยเฉพาะความจำเป็นในการสร้างตัวแบบเชิงสาเหตุและผล(causalmodel)ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นรวมทั้งการกำหนดระเบียบวิธีการศึกษาวิจัยที่เหมาะสมสำหรับการทดสอบตัวแบบให้มีความน่าเชื่อถือเมื่อพิจารณาจากตัวแบบสาธิตที่ได้นำเสนอมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าเทคนิคการวิเคราะห์เส้นทาง สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์เพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดนโยบาย (policy determination) ได้เป็นอย่างดี