Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมภาวะโภชนาการ - Coggle Diagram
การส่งเสริมภาวะโภชนาการ
ความสำคัญของอาหารต่อภาวะเจ็บป่วย
และความต้องการพลังงานของร่างกายในภาวะเจ็บป่วย
ความต้องการพลังงานของร่างกายในภาวะเจ็บป่วย
ความหมายของโภชนาการและภาวะโภชนาการ
ความหมายของโภชนาการ (Nutrition)
โภชนาการ หมายถึง วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร สารอาหาร และสารอื่นที่มีอยู่ ในอาหารหรือสารอาหาร ตลอดจนปฏิกิริยาระหว่างกันของสารอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่ สิ่งมีชีวิตย่อย ดูดซึม ขนส่ง นำสารอาหารไปใช้และสะสมในร่างกาย รวมทั้งการกำจัดสารที่เหลือใช้ของร่างกาย
โภชนาการ หมายถึง วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของอาหารทั้ง ทางด้านอินทรีย์เคมี อนินทรีย์เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์ของอาหาร โดยเริ่มตั้งแต่อาหารเข้าสู่ร่างกาย ผ่านกระบวนการย่อย การดูดซึม การใช้จ่ายสารอาหารต่าง ๆ ในร่างกาย การเก็บสะสมสารอาหารที่ เหลือใช้ และการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
ภาวะโภชนาการ (Nutritional Status)
ภาวะโภชนาการ หมายถึง ผล สภาพ หรือภาวะของร่างกายที่เกิดจากการบริโภคอาหาร แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
ภาวะโภชนาการดี (Good nutritional status) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารที่ ถูกหลักโภชนาการ คือ มีสารอาหารครบถ้วน ในปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และ ร่างกายใช้สารอาหารเหล่านั้นในการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่
ภาวะโภชนาการไม่ดี (Bad nutritional status) หรือเรียกอีกอย่างว่า ภาวะทุพ โภชนาการ (Malnutrition) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับเพียงพอ แต่ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสารอาหารที่ได้รับ หรือการได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกิน ความต้องการของร่างกาย จึงทำให้เกิดภาวะผิดปกติขึ้น
ภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ (Malnutrition) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการ โดยอาจขาดสารอาหารเพียง 1 ชนิด หรือมากกว่า และอาจขาดพลังงานด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น โรคขาดโปรตีน (Kwashiorkor) โรคขาดพลังงาน (Marasmus) หรือ โรคขาดโปรตีนและพลังงาน (Marasmic-kwashiorkor)
ภาวะโภชนาการเกิน (Over nutrition) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหาร
มากเกินความต้องการของร่างกาย และเก็บสะสมไว้จนเกิดอาการปรากฏ เช่น
ได้รับสารอาหารที่ให้พลังงานมากเกินไปจะมีการสะสมไว้ในร่างกายในสภาพไขมัน ทำให้เกิดโรคอ้วน หรือการได้รับสารอาหารบางอย่างที่ขับถ่ายยากในปริมาณมากเกินไปจนมีการเก็บสะสมในร่างกายและทำให้เกิดโทษ
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการ
เพศ พบว่าเพศชายต้องการพลังงานในหนึ่งวันมากกว่าเพศหญิง
วิถีชีวิต ปัจจุบันมีผู้เลือกดำเนินชีวิตตามวิถีสุขภาพโดยเลือกงดรับประทานสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากสัตว
ความชอบส่วนบุคคล พบว่าความชอบและไม่ชอบบริโภคอาหารของแต่ละบุคคลมี ผลต่อภาวะโภชนาการ
ผลจากการดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ทำให้ความรู้สึกอยากอาหารลดลง การบริโภคอาหารเปลี่ยนไป แบบแผนการรับประทานอาหารเปลี่ยนไป หรือเบื่ออาหาร
อายุ พบว่าในวัยเด็กมีความต้องการสารอาหารมากกว่าในวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ เพราะเด็กต้องการสารอาหารโปรตีนไปสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
เศรษฐานะ พบว่า ภาวะเศรษฐกิจดีทำให้ผู้คนเลือกรับประทานอาหารได้ตามความต้องการ ตรงกันข้ามในภาวะเศรษฐกิจไม่ดีการเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์อาจลดปริมาณลง
วัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนา พบว่าการดำเนินชีวิตตามบริบทของวัฒนธรรม ความเชื่อ
และศาสนา ยังดำเนินชีวิตอยู่ในกระบวนทัศน์เดิมมีผลต่อภาวะโภชนาการทั้งสิ้น
ภาวะสุขภาพ พบว่า การเจ็บป่วยเรื้อรังมีผลต่อภาวะโภชนาการ
ปัจจัยด้านจิตใจ พบว่า ความเครียด และความกลัวทำให้ความอยากอาหารลดลง
รู้สึกเบื่ออาหาร กลืนอาหารไม่ลงคอ หรือมีอาการปากคอขมโดยไม่ทราบสาเหตุ
การใช้ยา พบว่า ยาที่มีผลข้างเคียงให้เกิดอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
การล้างภายในกระเพาะอาหาร (Gastric lavage)
วัตถุประสงค์
ทดสอบหรือยับยั้งการมีเลือดออกจำนวนน้อยในทางเดินอาหารส่วนบน
ตรวจสอบการอุดตันของสาย
ล้างกระเพาะอาหารในกรณีที่ผู้ป่วยกินยาหรือสารพิษ
ตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคปอดและหลอดลม ในกรณีที่ไม่สามารถนำเสมหะจากผู้ป่วยไปตรวจได้ ปัจจุบันไม่นิยมใช้เพราะใช้เครื่องดูดเสมหะได้
การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ
Nausea and vomiting (อาการคลื่นไส้และอาเจียน)
อาการคลื่นไส้ เป็นความรู้สึกอยากขับอาหารที่กินเข้าไปแล้วออกทางปาก มักเป็น อาการนำก่อนอาเจียน แต่อาจเกิดคลื่นไส้โดยไม่อาเจียนได้ อาการที่มักเกิดร่วมด้วย คือ มีน้ำลายมาก อาจเป็นลม ตาลาย
เวียนศีรษะ ความดันเลือดลดลง ชีพจรเร็วขึ้นแล้วกลับช้าลง หายใจเร็วขึ้น
อาการอาเจียน คือ การที่มีแรงดันจากภายในดันเอาสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหาร หรือ ลำไส้เล็กส่วนต้นออกมาทางปาก เป็นผลจากมีการบีบตัวของลำไส้เล็กส่วนต้น หรือกระเพาะอาหาร ส่วนล่างอย่างแรง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน
การพยาบาลผู้ป่วยขณะอาเจียน เมื่อพบผู้ป่วยจะอาเจียน พยาบาลต้องรีบให้ การช่วยเหลือโดยมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยปลอดภัยและสุขสบาย
สังเกตสิ่งต่างๆเพื่อบันทึกและรายงานอย่างถูกต้อง
การพยาบาลผู้ป่วยหลังอาเจียน
การป้องกันและแก้ไขอาการอาเจียน
ดูแลความสะอาดร่างกาย ปาก ฟัน เครื่องใช้ สิ่งแวดล้อม
เตรียมพร้อมถ้ามีการอาเจียนซ้ำ
Abdominal distention (ภาวะท้องอืด)
ภาวะท้องอืด เป็นความรู้สึกแน่น อึดอัด ไม่สบายในท้องที่เกิดจากมีแรงดันในท้องเพิ่ม ทำให้เกิดอาการที่ตามมา เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องอืด
งดอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น มะม่วงดิบ แตงโม ผักสด เป็นต้น
แสดงความเข้าใจและเห็นใจ และยินดีให้การช่วยเหลืออย่างจริงใจ
จัดให้นอนศีรษะสูง 45องศา-60องศาเพื่อช่วยลดอาการแน่นท้อง และผายลมสะดวก
ค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะท้องอืดและช่วยเหลือตามสาเหตุ
Emaciation (ภาวะผอมแห้ง)
Bulimia Nervosa
เป็นความผิดปกติของพฤติกรรมการรับประทาน โดยจะ รับประทานวันละหลาย ๆ ครั้ง ครั้งละมาก ๆ โดยหลังจากรับประทานเสร็จจะรู้สึกไม่สบายใจและ รู้สึกผิดที่รับประทานเข้าไปมากมาย จึงต้องหาวิธีเอาออกโดยอาจล้วงคอให้อาเจียนออกมาจนหมด หรือกินยาระบายอย่างหนัก ตลอดจนอดอาหาร
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะ Anorexia nervosa และ Bulimia nervosa
ดูแลด้านจิตใจ พยายามให้ช่วงเวลารับประทานอาหารเป็นเวลาที่จิตใจสบาย สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายขณะที่รับประทานอาหารเท่าที่ทำได้
การใช้ยา แพทย์อาจพิจารณาให้ยากระตุ้นความอยากอาหาร ในรายที่ไม่พบโรคทางร่างกายและต้องการให้รับประทานอาหารมากขึ้น
ส่งเสริมความรู้สึกอยากอาหารให้มากที่สุดและลดความรู้สึกเบื่ออาหาร โดยจัดให้รับประทานอาหารในท่าสบาย รักษาความสะอาดโดยเฉพาะปากและฟัน
ลดความเจ็บปวดหรือ ความไม่สุขสบายต่าง ๆ จัดบรรยากาศที่สะอาดและสุขสบาย รับประทานอาหารที่หลากหลาย
หาสาเหตุ ที่พบได้บ่อย ๆ เช่น โรคปากและฟัน คออักเสบ โรคมะเร็ง เป็นต้น แล้วขจัดสาเหตุ
การดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
Anorexia nervosa
ภาวะเบื่ออาหารเป็นความรู้สึกไม่อยากรับประทานอาหาร อาจรู้สึกต่อต้าน เมื่อนึกถึงหรือเมื่อเห็นอาหารรับประทานแล้วไม่ค่อยรู้สึกอร่อย
Dysphagia and aphagia (ภาวะกลืนลำบากและกลืนไม่ได้)
ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) เป็นความรู้สึกที่ผู้ป่วยเกิดความลำบากในการกลืน อาจรู้สึกว่ากลืนแล้วติดอยู่ที่ใดที่หนึ่งหรือกลืนแล้วรู้สึกเจ็บทั้งสองอย่าง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากและกลืนไม่ได้
สังเกตและประเมินอาการเกี่ยวกับการกลืนไม่ได้หรือกลืนลำบากว่าเกิดขึ้น ทันทีทันใดหรือค่อย ๆ มากขึ้น ชนิดของอาหารที่กลืนไม่ได้ มีอาการเจ็บร่วมด้วยหรือไม่ รวมถึง ประเมินภาวะโภชนาการและสมดุลของน้ำในร่างกาย ประเมินและติดตามเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ โดยการชั่งน้ำหนัก บันทึกปริมาณน้ำที่ได้รับและที่ขับออกจากร่างกาย
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ
ดูแลการได้รับยาตามแผนการรักษา
ระมัดระวังการสำลัก
ดูแลด้านความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะความสะอาดของปากและฟัน
การเตรียมผู้ป่วยเพื่อตรวจหรือรักษา
การดูแลด้านจิตใจ
ภาวะกลืนไม่ได้ (Aphagia) จึงไม่สามารถกลืนได้ ไม่ว่าจะเป็นอาหารแข็ง อาหาร ธรรมดา อาหารอ่อน อาหารเหลว จนกระทั่งรุนแรงมากที่สุด คือ กลืนไม่ได้เลยแม้แต่น้ำหรือน้ำลาย
Obesity (ภาวะอ้วน)
การพยาบาลผู้ที่มีภาวะอ้วน
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แป้งและไขมันสูง
รับประทานอาหารครั้งละน้อย แต่บ่อยครั้งและจำกัดอาหารมื้อเย็น
จำกัดการใช้น้ำมัน ไขมัน น้ำตาล
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารขณะดูโทรทัศน์
จำกัดมื้ออาหารและสัดส่วนของอาหารตามพีระมิดอาหาร
เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารจากผักผลไม้ และธัญพืชที่ไม่ขัดสี
คำนวณพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน
ส่งเสริมให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหรือสัปดาห์ละ 3 วัน
การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่รับประทานอาหารเองไม่ได้
การป้อนอาหาร (Feeding)
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ได้รับอาหารตาม ความต้องการของร่างกาย
อุปกรณ์เครื่องใช้
ช้อนหรือช้อนส้อม
แก้วน้ำพร้อมน้ำดื่ม และหลอดดูดน้ำ
ถาดอาหารพร้อมอาหาร
กระดาษหรือผ้าเช็ดปาก
ผ้ากันเปื้อน
วิธีปฏิบัติ
เตรียมผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อม
แนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายบ้าง โดยเฉพาะในรายที่ เคลื่อนไหวด้วยตนเองได้ และควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือไม่สุขสบาย
จัดให้อยู่ในท่านั่ง กรณีที่นั่งไม่ได้จัดให้นอนตะแคงขวาเล็กน้อย
ปูผ้ากันเปื้อนตั้งแต่ใต้คางลงไป หากผู้ป่วยที่อยู่ในท่านอนตะแคง ควรปู บนที่ไหล่และหมอนด้วย
วางถาดอาหารในตำแหน่งที่ผู้ป่วยสามารถมองเห็นชนิดของอาหารได้ บอกรายการอาหารและเชิญชวนให้เกิดความอยากอาหารมื้อนั้น
วางเครื่องใช้อื่น ๆ ในต าแหน่งที่สามารถหยิบได้สะดวก
ล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง
ป้อนอาหาร
ขณะป้อนอาหารตักอาหารให้มีปริมาณที่เหมาะสม
จังหวะในการป้อนต้องสัมพันธ์กับความสามารถในการรับประทานอาหาร เคี้ยวและกลืนของผู้ป่วย
ไม่ควรจ้องหน้าผู้ป่วย ระวังการตักอาหารไม่ทำอาหารหกรดผู้ป่วย และ เช็ดปากให้เมื่อเปื้อนอาหาร
หลังป้อนอาหารให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ บ้วนปาก หรือแปรงฟัน และเช็ดปากให้ สะอาด
เก็บถาดอาหาร และเครื่องใช้ต่าง ๆ เมื่อผู้ป่วยรับประทานเสร็จ
ลงบันทึกทางการพยาบาล
สำหรับผู้ป่วยพิการ
ถ้าผู้ป่วยจับช้อนไม่ถนัดควรสาธิตการใช้ช้อนและส้อมในการตักอาหารใส่ ปากหรือดัดแปลงที่จับของให้จับได้สะดวก
ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อย ควรรับประทานอาหารเหลวที่ สอดคล้องกับการแผนรักษาของแพทย์
สำหรับผู้ป่วยกลืนลำบาก
จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งหรือศีรษะสูงในลักษณะก้มเล็กน้อย เพื่อป้องกันการสำลัก
สอบถามผู้ป่วยถึงความรู้สึกเกี่ยวกับอาหารในปาก เพื่อดูว่ามีอาหารที่เหลือค้างในปาก
สอนวิธีการใช้ลิ้นและการกลืน เพื่อช่วยให้การกลืนได้ดีขึ้น
ควรเริ่มจากอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวก่อน เพราะอาหารอ่อนจะง่ายต่อการกลืน
ให้อาหารครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้ง
ในขณะรับประทานอาหารควรหยุดพักเป็นระยะ ๆ จะช่วยให้ได้รับประทานอาหารได้มากขึ้น
การใส่และถอดสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร (Nasogastric intubation)
วัตถุประสงค์
เป็นการเพิ่มแรงดันเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร (Compression)
ล้างภายในกระเพาะอาหาร (Gastric lavage)
ป็นการลดแรงดันในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ (Decompression) เพื่อให้แก๊สสิ่งที่ค้างอยู่หรือน้ำ
คัดหลั่งระบายออก มักต้องต่อกับเครื่องดูดสุญญากาศ
เก็บสิ่งตกค้างในกระเพาะอาหารไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เป็นทางให้อาหาร น้ำ หรือยา ในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานทางปากไม่ได้หรือได้รับไม่เพียงพอ
การให้อาหารทางสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
วิธีการให้อาหารทางสายยางมี 2 วิธี
Bolus dose เป็นการให้อาหารทางสาย NG โดยใช้ Toomey syringe เหมาะสำหรับผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้เอง
Drip feeding เป็นการให้อาหารทางสาย NG โดยใช้ชุดให้อาหาร (Kangaroo) ดังรูป ที่ 8.2 มีลักษณะคล้ายกับชุดให้สารน้ำสามารถปรับจำนวนหยดของอาหาร และควบคุมเวลาการให้อาหารได้ตามความต้องการ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของ ระบบประสาท หรือหลังการผ่าตัดสมอง
การถอดสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
การให้อาหารทางสายยางให้อาหารที่ใส่เข้าทางรูเปิดของกระเพาะอาหาร
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับอาหารตามความต้องการของร่างกาย
การประเมินภาวะโภชนาการ
การวัดสัดส่วนของร่างกาย (Anthropometric measurement: A)
การวัดส่วนสูงและน้ำหนักแล้วนำมาคำนวณค่าดัชนีมวลกาย
การประเมินทางชีวเคมี (Biochemical assessment: B)
เป็นวิธีการเจาะเลือด เพื่อประเมินภาวะโภชนาการ
การตรวจร่างกายทางคลินิก (Clinical assessment: C)
เป็นวิธีการตรวจร่างกายเช่นเดียวกับการประเมินภาวะสุขภาพ แต่จะให้ความสนใจตรวจร่างกายเบื้องต้น ได้แก่ ผิวหนัง ผม ฟัน เหงือก ริมฝีปาก ลิ้น และเปลือกตา
การประเมินจากประวัติการรับประทานอาหาร(Dietary assessment: D)
ประวัติการรับประทานอาหาร ชนิดของอาหารที่บริโภค พฤติกรรมการรับประทานอาหาร เป็นต้น