Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบขับถ่าย Excretory system - Coggle Diagram
ระบบขับถ่าย Excretory system
:star:
การประเมินการขับถ่ายอุจจาระ
แบบแผนการขับถ่าย
อาการปวดถ่าย
อาการที่สัมพันธ์กับการปวดถ่าย
อ่อนเพลีย
เป็นตะคริว
ปวดศีรษะ
เบื่ออาหาร
น้ำหนักลดลง
:star:
ปัจจัยที่ทำให้อุจจาระแข็ง ถ่ายยาก
ร่างกายได้รับน้ำน้อย
รับประทานอาหารมีกากน้อย
ทางเดินอาหารอักเสบ-อยากอาหารลดลง
ร่างกายขาดออกซิเจน-เยื่อบุทางเดินอาหารอักเสบ
ถ่ายแล้วปวด-แผลฝีเย็บ,ริดสีดวงทวาร,ฝีใกล้ทวาร
ออกกำลังกายน้อย โรคหัวใจ โรคปอด
สถานที่ไม่เหมาะสม ไม่คุ้นเคย,ความเครียด
การได้รับยาบางชนิด : แก้อักเสบ , แก้โรคกระเพาะ, แบเรี่ยม , แอสไพริน
:star:
อวัยวะที่เกี่ยวกับการถ่ายอุจจาระ
ลำไส้ใหญ่
ไม่มีเอนไซม์ มีแต่สารคัดหลั่ง มีฤทธิ์เป็นด่างซึ่งจะช่วยย่อยและดูดซึมได้อีกเล็กน้อย
ลำไส้เล็ก
จะดูดซึมเอาส่วนที่ย่อยแล้วนำไปใช้ประโยชน์
:star:
การเกิดก๊าซในลำไส้ใหญ่
เกิดจากการเน่าเปื่อยของโปรตีน โดยเชื้ออีโคไล (E-Coli) หรือการย่อยอาหารจำพวกถั่วต่างๆ
มีก๊าซประมาณ มากเกิน100 มิลลิลิตร ทำให้รบกวนการไหลเวียนโลหิตที่ผนังลำไส้จะมีอาการแน่น ท้องอืด
:star:
ลักษณะของอุจจาระ
ปกติ
สี
น้ำตาลอ่อน-เข้ม
กลิ่น
เหม็นเฉพาะ
มูก
มีเล็กน้อยบางครั้ง
ปฏิกิริยา
ด่างอ่อน กรดอ่อน
การบูดเน่า
: ไม่มี
น้ำดี
มี100-250มล./24 ชม.
หนอง
ไม่มี
เลือด
ไม่มี
ผิดปกติ
สี
ซีด, ดำ, แดง
กลิ่น
เปรี้ยว เน่า
มูก มูกมาก
ปฏิกิริยา
กรด คาร์โบไฮเดรทมาก, ด่างโปรตีนมาก
การบูดเน่า
บูดเน่า ติดเชื้อรา
น้ำดี
ไม่มีน้ำดี ลำไส้เล็กอักเสบ ,มีน้ำดี มาก เม็ดเลือดแดงแตกมาก
หนอง
มี
เลือด
มี
:star:
ปัญหาการถ่ายอุจจาระและการช่วยเหลือ
อุจจาระอัดแน่น
ช่วยล้วงเอาอุจจาระออก
ฝึกสุขนิสัยการถ่าย
ท้องอืด
วางกระเป๋าน้ำร้อนที่ท้อง
ใส่สายสวนทางทวารหนัก(Rectal tube)
หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดก๊าซในลำไส้
ลุกเดินหรือเคลื่อนไหวให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวไล่ลมออกทางทวารหนัก
ท้องผูก
ฝึกถ่ายเป็นเวลา หรือถ่ายเมื่อปวด
จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม
จัดท่านั่งให้สะดวกในการถ่าย
รับประทานอาหารที่มีกากให้มากพอ ผลไม้ที่มีรส เปรี้ยวช่วยกระตุ้นลำไส้
ออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวให้พอเพียง
ใช้ยาระบายหรือสารหล่อลื่นในรายที่เป็นริดสีดวง ทวาร,แผลที่ทวาร
การสวนอุจจาระ
ดื่มน้ำมากๆ
อุจจาระร่วง
ดูแลด้านจิตใจ
รักษาความสะอาดโดยเฉพาะบริเวณก้น
หาหม้อนอนไว้ใกล้ๆผู้ป่วย
หลีกเลี่ยงอาหารมีกากมาก เครื่องดื่มเย็นจัด
สังเกตลักษณะ จำนวน และบันทึกให้ถูกต้อง
เก็บอุจจาระส่งตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย และ พยาธิ
:star:
การประเมินสภาพผู้ป่วยเกี่ยวกับการขับถ่ายอุจจาระ
แบบแผนการบริโภคอาหารและน้ำดื่ม
การตอบสนองต่อความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ
สิ่งอำนวยความสะดวกและสิ่งแวดล้อมในการถ่ายอุจจาระ
แบบแผนการดำเนินชีวิตประจำวัน
ความกดดันทางจิตใจ
การออกกำลังกายและจิตใจในแต่ละช่วงวัย
พยาธิสภาพของโรค
การได้รับยาบางชนิด
:star:
การสวนอุจจาระ
การใส่น้ำเข้าไปในลำไส้ส่วนล่างเพื่อกระตุ้นการทำงานของ
ลำไส้ และช่วยล้างลำไส้ให้สะอาด
ผลที่ได้รับจากการสวนอุจจาระ
กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้, ล้างลำไส้ให้สะอาด มักจะทำก่อนการตรวจหรือเอกซเรย์ที่ลำไส้ หรือ ที่อวัยวะอื่น ๆ ในช่องท้อง ,ระงับอาการเจ็บปวดจากลม (แก๊ส)
การสวนอุจจาระจะทำได้เมื่อไหร่
อุจจาระแข็งอุดตัน, ท้องผูก, ก่อนการฉายเอกซเรย์ที่อวัยวะภายในช่องท้อง
ชนิดของการสวนอุจจาระ
สวนล้าง
สารละลายที่ใช้ในการสวนล้างอุจจาระ
น้ำประปา
น้ำเกลือ
น้ำยาเข้มข้น
น้ำสบู่
ชนิดของน้ำยาตามความเข้มข้นของสารละลาย ในการสวนอุจจาระ
Hypertonic solution
เป็นการใส่สารละลายเข้มข้นเข้าไปในลำไส้เกิดปฏิกริยาดึงน้ำออกจากเซลล์ ทำให้ลำไส้มีน้ำขังอยู่เป็นการส่งเสริมให้ขับถ่ายอุจจาระออกมา
Hypertonic solution enema
ใช้น้ำยาปริมาณน้อย ช่วยลดความอ่อนล้าและความกลัวของผู้ป่วยจากการสวนล้างชนิดปริมาณมากได้
ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่ขาดน้ำ ผู้ป่วยโรคหัวใจผู้ป่วยจำกัดเกลือ และผู้ป่วยเด็ก เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบไหลเวียน
Hypotonic solution
สารละลายที่มีความเข้มข้นน้อยกว่าความเข้มข้นของเลือดในร่างกาย เช่น น้ำประปา ใช้ในการเตรียมตรวจการถ่ายภาพทางรังสี หรือผ่าตัดบริเวณลำไส้ใหญ่ เพราะไม่ทำให้เกิดการระคายต่อลำไส้
Hypotonic solution enema
การสวนอุจจารด้วยน้ำ จะไม่ทำซ้ำเนื่องจากน้ำมีความเข้มข้นน้อยกว่าเมื่อเข้าไปในร่างกาย ทำให้เกิดการเสียสมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย เกิดภาวะน้ำเป็นพิษ “water intoxication”
ดังนั้นไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคไต และผู้ป่วยเด็ก
Isotonic solution
สารละลายที่มีความเข้มข้นเท่ากับความเข้มข้นของเลือดในร่างกาย เช่น 0.9% Normal saline solution เป็นสารละลายที่มีความปลอดภัยมากที่สุด นิยมใช้ในการสวนล้างที่ใช้
เครื่องใช้ในการสวนล้างที่ต้องช่วยเตรียม
หัวสวน, น้ำยา, หม้อสวน, เหยือก, เสาแขวนหม้อสวน, สารหล่อลื่นชนิดที่ละลายน้ำ, ถุงมือชนิดใช้ครั้งเดียว, ผ้ายารองกันเปื้อน, หม้อนอนและชุดชำระอวัยวะสืบพันธ์ภายนอก, ชามรูปไต
กระดาษชำระ
จุดประสงค์ในการสวนล้าง
บรรเทาอาการท้องผูก อุจจาระอัดแน่น
ล้างลำไส้ใหญ่ให้สะอาด ใช้ในการเตรียม ตรวจ ผ่าตัด หรือการ X-ray บางอย่าง
ช่วยให้การขับถ่ายเป็นปกติ ในช่วงเข้าโปรแกรมฝึกการขัยถ่าย
การสวนเก็บ
จุดประสงค์ในการสวนเก็บ
Oil – retention enema เป็นการสวนเก็บด้วยน้ำมัน เพื่อให้อุจจาระอ่อนตัว กระตุ้นให้ลำไส้มีการบีบตัวดีขึ้น
Medicated enema เป็นการสวนเก็บด้วยยา เพื่อให้ยาดูดซึมเข้าไปในร่างกายทางทวารหนัก เพื่อลดเชื้อแบคทีเรียลำไส้ใหญ่ ก่อนผ่าตัดเกี่ยวกับลำไส้ใหญ่ หรือเป็นการสวนเพื่อการวินิจฉัยโรค เช่น การทำ Barium enema
การสวนระบายลม
ข้อควรคำนึงในการสวนอุจจาระ
การสวนอุจจาระในเด็กเล็ก และเด็กโต
ควรจัดให้อยู่ในท่านอนหงายชันเข่า
ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบ จะต้องคำนึงถึงจำนวนน้ำยาใช้สวนล้าง ให้พิจารณาตามแผนการรักษา
เด็กเล็กและเด็กโต ปกติไม่ควรใช้น้ำยาที่มีความเข้มข้นสูง หรือน้ำประปา เนื่องจากอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิตหรือมีภาวะน้ำเป็นพิษได้
ใช้ rectal tube แทนหัวสวน ป้องกันการบาดเจ็บของเยื่อบุลำไส้ โดย เด็กโต สอดลึก 2 – 3 นิ้ว เด็กเล็ก สอดลึก 1 – 1.5 นิ้ว
การสวนอุจจาระในผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุกล้ามเนื้อหูรูดอาจหย่อนสมรรถภาพไม่สามารถเก็บน้ำไว้ในลำไส้ได้ จึงควรจัดให้อยู่ในท่านอนหงายชันเข่าบนหม้อนอน
อุณหภูมิของน้ำยา
อ่นุโดยการใส่ในภาชนะตั้งในน้ำร้อน ผู้ใหญ่อุณหภูมิของน้ำยาประมาณ40–43องศา เด็กอุณหภูมิของน้ำยาประมาณ37.7องศา Hypertonic solution ไม่จำเป็นต้องอุ่น สามารถใช้น้ำยาในอุณหภูมิห้องได้
ข้อห้ามในการสวนอุจจาระ
ไม่ทำการสวนอุจจาระใน ผู้ป่วยลำไส้อุดตัน , มีการอักเสบของลำไส้ ,มีการติดเชื้อในช่องท้อง ,ผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดลำไส้
:star:
การซักประวัติ
ระยะเวลาที่ปรากฏอาการ
ประวัติการใช้ยาบางชนิด
ประวัติการบาดเจ็บที่สันหลัง
ประวัติเรื่องการขับถ่ายอุจจาระ
ประวัติโรคประจำตัว
อาการและอาการแสดง
:star:
การประเมิน
ตรวจสอบคำสั่งการรักษาของแพทย์รวมทั้งจุดประสงค์ในการสวนอุจจาระ
ประเมินความสามารถในการควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ
ประเมินการเกิดหรือมีโอกาสเกิดริดสีดวงทวาร ทั้งภายในและภายนอกทวารหนัก ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการสวนอุจจาระมากขึ้น
ประเมินอาการปวดท้อง เพื่อให้แน่ใจว่าขณะสวนอุจจาระผู้ป่วยไม่เกิดอาการปวดท้องจากลำไส้ทะลุ
ประเมินผลสภาพจิตใจ ความกลัว ความวิตกกังวลต่อการสวนอุจจาระ ดูระดับความเข้าใจและประสบการณ์ในการสวนอุจจาระ เพื่อเตรียมการสวนให้เหมาะสมกับผู้ป่วย
ประเมินความจำกัดในการเคลื่อนไหวร่างกาย
ถ้าสงสัยว่ามีอุจจาระอัดแน่น ให้คลำบริเวณหน้าท้อง เพื่อประเมินอาการอึดอัดแน่นท้องรวมทั้งการใส่ถุงมือสอดเข้าทางทวารหนัก เพื่อตรวจสอบภาวะอุจจาระอัดแน่น
:star:
การเตรียมทางด้านจิตใจในผู้ที่ได้รับการสวนอุจจาระ
อธิบายเหตุผลในการสวนอุจจาระ
อธิบายขั้นตอนและวิธีการสวนอุจจาระ
อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงความจำเป็นในการพยายามเก็บน้ำยาที่ใช้ในการสวอุจจาระไว้ให้นานเพื่อจะทำให้การสวนอุจจาระประสบผลสำเร็จ
อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่า หากเกิดการเป็นตะคริว (cramps) หรือปวดท้องขณะได้รับการสวนอุจจาระ ควรแจ้งให้พยาบาลทราบ
อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึง ท่าที่เหมาะสมในการสวนอุจจาระ ควรเป็นท่านอนตะแคงซ้าย เข่าและสะโพกงอนไปทางหน้าอก จะช่วยให้การสวนอุจจาระง่ายและสะดวกในการทำ
:star:
การควักอุจจาระ
หมายถึงการช่วยให้อุจจาระออกมาโดยใช้นิ้วสอดเข้าทางทวารหนักไปที่ลำไส้ตรงและทำให้อุจจาระที่อัดแน่นแตกเป็นก้อนเล็กๆหลังจากนั้นจึงควักอุจจาระออกมาจะทำในรายที่สวนล้างอุจจาระแล้วแต่อุจจาระไม่ออก มีวัตถุประสงค์เพื่อนำก้อนอุจจาระที่อัดแน่นที่ลำไส้ช่วยลดความอึดอัด
ควรทำด้วยความระมัดระวังเพราะอาจเกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุลำไส้ตรง อาจเกิดการกระตุ้นวากัส (vagus nerve) ซึ่งมีผลให้อัตราการเต้นของหัวใจลดลงได้
:star:
การสวนล้างท่อระบายอุจจาระทางหน้าท้อง
เพื่อช่วยขับถ่ายอุจจาระ gas และมูกเลือด ที่มีอยู่ในลำไส้ใหญ่ออกตามท่อระบายทางหน้าท้อง
เพื่อล้างส่วนล่างของทางเดินอาหาร
เพื่อช่วยปรับให้ผู้ป่วยถ่ายได้ตามปกติ
เพื่อป้องกันการอุดตันของลำไส้
เพื่อป้องกันผิวหนังหน้าท้องไม่ให้ถลอกหรือเปื่อย
:star:
การเก็บอุจจาระส่งตรวจวินิจฉัย
วัตถุประสงค์
ช่วยในการวินิจฉัยโรคของระบบทางเดินอาหารเกือบทุกชนิด
ตรวจหาไข่พยาธิ โปรโตซัว ตะกอนต่างๆในอุจจาระ และตรวจหาเลือดแฝง ในอุจจาระ
วิธีการตรวจ
ตรวจด้วยตาเปล่า
ตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์
ตรวจด้วยขบวนการทางเคมี
อุปกรณ์
ภาชนะมีฝาปิดมิดชิด 1 ใบ
ใบส่งตรวจ
ไม้แบนสำหรับตักอุจจาระ
หม้อนอน 2ใบ แยกถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ
ชุดชำระ(ผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะควรชำระด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ)
วิธีการเก็บอุจจาระส่งตรวจวินิจฉัย
จำนวนที่เก็บ 5-10 กรัม
เก็บตอนเช้าหลังตื่นนอน
ถ้าตรวจหาไข่พยาธิ ตักส่วนที่เป็นของเหลว หรือเป็นมูกหรือส่วนที่เป็นเซลล์เยื่อ
ถ้าตรวจหาเลือดแฝง(Occult blood) ตักส่วนที่ไม่มีเลือดปน (ต้องให้ผู้ป่วย งดอาหารเนื้อสัตว์สุกๆดิบๆ หรือมีเลือดปน 3 วันก่อนเก็บ)
ส่งตรวจภายใน 30 นาที ป้องกัน เลือดแข็งตัว หรือพยาธิตาย