Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่4 การจัดองค์การเบื้อต้น - Coggle Diagram
บทที่4 การจัดองค์การเบื้อต้น
ความหมายของการจัดองค์กร
กระบวนการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างคนงานและกิจกรรมต่างๆ ขององค์การเพื่อที่จะก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรขององค์การให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย
ความรับผิดชอบ อำนาจหน้าที่ และการมอบหมายงาน
อำนาจหน้าที่ หมายถึง สิทธิอันชอบธรรมที่ได้รับมอบหมายมาให้สั่งบุคคลอื่นปฏิบัติตามที่ตนต้องการได้ ส่วนใหญ่แล้วผู้บริหารระดับสูงจะมีการมอบหมายงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาระดับต่อไปเมื่อมีการสั่งงาน เพื่อให้บุคคลนั้นสามารถปฏิบัติงาน
ความรับผิดชอบ หมายถึงการเป็นภาระผูกผันของบุคคลในการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งโดยบุคคลต้องรับผิดชอบในการทำงานเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย ซึ่งในองค์การที่มีการวางโครงสร้างแบบเป็นทางการจะมีการกำหนดความรับผิดชอบของบุคคลที่ทำหน้าที่ในกิจกรรมต่างๆ
การมอบหมายงาน หมายถึง การที่ผู้บังคับบัญชาได้กำหนดความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ หรือเป็นการกระจายงานในหน้าที่ความรับผิดชอบ และให้อำนาจในการตัดสินใจ ภายในขอบเขตที่กำหนดให้ผู้ร่วมงงาน
โครงสร้างและการออกแบบองค์การ
โครงสร้างองค์การเป็นระบบความสัมพันธ์ของงาน ความรับผิดชอบต่อการรายงานและการใช้อำนาจในการปฎิบัติงานขององค์การให้เกิดความสำเร็จ โครงสร้างจึงบ่งบอกถึงรูปแบบซึ่งด้วยแผนภูมิองค์การ
หลักการติดต่อสื่อสารในองค์กร
1.การสื่อสารที่เป็นทางการ
1.3 เส้นทางของการสื่อสารต้องสั้นและตรงประเด็น
1.4 ผู้ที่มีความสามารถจะเป็นศูนย์กลางของการสื่อสาร ซึ่งได้แก่เจ้าหน้าที่ หัวหน้างาน
1.2 อำนาจหน้าที่ปรากฎอยู่ในช่องทางของการสื่สารอย่างเป็นทางการ
1.5 เมื่อองค์กรกำลังดำเนินการไม่ควรขัดขวางเส้นทางของการสื่อสาร
1.1 ช่องทางการสื่อสารควรประกาศให้รู้อย่างชัดเจนและแน่นอน
1.6 ระบบการสื่อสารทุกระบบต้องเชื่ออถือได้
2.การสื่อสารที่ไม่เป็นทางการ
2.1 ตอบสนองความต้องการและความรู้สึกของปัจเจกบุคคลในเรื่องของการรวมตัวกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
2.2 ก่อให้เกิดความสามัคคีภายในองค์กร
การจัดแผนกงาน
2.การจัดแผนกงานตามประเภทผลิตภัณฑ์ การจัดแผนกแบบนี้มักจะใช้ในการจัดแผนกงานขององค์การธุรกิจขนาดใหญ่มีกระบวนการในการปฏิบัติงานซับซ้อนองค์การธุรกิจผลิตสินค้าหลายอย่าง
3.การจัดแผนกงานตามพื้นที่ทางภูิมศาสตร์หรืออาณาเขตนี้โดยคำนึงสภาพทางภูมิศาสตร์หรือทำเลที่ตั้งที่กิจการจะต้องเข้าไปดำเนินการในพื้นที่นั้นๆเป็นสำคัญ
4.การจัดแผนกตามกระบววนการผลิต การแบ่งกิจกรรมออกเป็นกลุ่มตามขั้นตอน กระบวนการผลิต หรือกระเเสการไหลของงาน เช่น กิจการหนังสือพิมพ์อาจจะมีการจัดแผนกศิลป์ทำหน้าที่ออกแบบรูปเล่ม
5.การจัดแผนกงานตามลูกค้า เป็นวิธีจัดแผนกงานอีกอย่างหนึ่งที่องค์การธุรกิจจะให้ความสำคัญแก่กลุ่มลูกค้า เพราะสินค้าที่องค์การผลิตออกมานั้นอาจตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคแตกต่างกัน
1.การจัดแผนกตามหน้าที่ เป็นการจัดองค์การที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง และหน้าที่หลักส่วนใหญ่ที่แผนกต่างๆ จะมีก็คือ หน้าที่ทางด้านการผลิต การขายและการเงิน
การจัดโครงสร้างขององค์การ
4.โครงสร้างองค์การแบบคณะกรรมการบริหาร การจัดโครงสร้างองค์การโดยให้มีการบริหารงานในลักษณะคณะกรรมการ เช่น คณะกรรมการบริหารงานรถไฟแห่งประเทศไทย คณะกรรมการ อสมท.
2.โครงสร้างองค์การตามสายงานหลัก การจัดรูปแบบโครงสร้างให้มีสายงานหลัก และมีการบังคับบัญชาจากบนลงล่างลดหลั่นเป็นขั้นๆ จะไม่มีการสั่งการแบบข้ามขั้นตอนในสายงานซึ่งโครงสร้างแบบนี้เหมาะสมสำหรับองค์การต่างๆ ที่ต้องการให้มีการขยายตัวในอานาคต
1.โครงสร้างองค์การตามหน้าที่การทำงาน โครงสร้างที่จัดตั้งขึ้นโดยแบ่งไปตามประเภทหรือหน้าที่การทำงาน เพื่อแสดงให้เห็นว่าในแต่ละแผนกนั้นมีหน้าที่ต้องกระทำอะไรบ้างซึ่งผลดีก่อให้เกิดการได้คนที่มีความสามารถในแผนกนั้นๆ
3.โครงสร้างองค์การแบบคณะที่ปรึกษา การจัดโครงสร้างโดยการให้มีที่ปรึกษาเข้ามาช่วยการบริหารงาน เช่น ที่ปรึกษานายก ที่ปรึกษาผู้ว่า เพราะว่าที่ปรึกษามีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ซึ่งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมาช่วย
หลักของการจัดองค์กร
1.วัตถประสงค์
2.อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
3.ความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชา
4.สายการบังคับบัญชา
5.ช่วงของการบังคับบัญชา
6.การร่วมมือประสานงาน
7.หลักของการทำงงานชำนาญเฉพาะ
8.เอกภาพในการบังคับบัญชา
ความสัมพันธ์และการติดต่อสื่อสารในองค์กร
มนุษย์สัมพันธ์ เป็นศาสตร์และศิลปะหรือกระบวนการทัศน์ในการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดี ระหว่างบุคคลเพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสง์ และความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนรวมทั้งการอยู่ร่วมกันด้วยดี มีความสุข ซึ่งมนุษยสัมพันธ์ที่ดีเป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝน ปรับปรุง พัฒนาตนเองและทำอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นนิสัย
เส้นทางการติดต่อสื่อสารในองค์กร
1.การสื่อสารจากเบื้องบนลงสู้เบื้องล่าง การสื่อสารลักษณะนี้นจะเป็นไปตามสายการบังคับบัญชา เช่นจากประธานลงมาที่รองประธาน ผู้จัดการแผนก หัวหน้าส่วน หัวหน้างาน ลงมาถึงพนักงาน
2.การสื่อสารจากเบื้องล่างขึ้นสู่เบื้องบน การสื่อสารลักษณะนี้มีความสำคัญต่อการบริหารองค์กรเป็นอย่างมาก เพราะจะก่อให้เกิดสิ่งต่อไปนี้คือ
ทำให้ผู้บริหารรู้ว่าเมื่อไรที่พนักงานพร้อมที่จะรับข้อมูลข่าวสาร
ทำให้ผู้บริหารรู้ถึงสิ่งที่รบกวนบุคลากรที่อยู่ใกล้ชิดกับการปฏิบัติงานจริงๆ
พนักงานให้ข้อมูลที่มีคุณค่าต่อการตัดสินใจของผู้บริหาร
ทำให้เกิดความชื่นชมและความจงรักภักดีต่อองค์กรการให้พนักงานมีโอกาสถามคำถาม
3.การสื่อสารตามแนวนอน ประกอบด้วยการให้ข้อมูลข่าวสารระหว่างเพื่อนร่วมงานในหน่วยงานเดียวกัน ซึ่งอยู่ในระดับอำนาจหน้าที่เดียวกันภายในองค์กรและมีผู้บังคับบัญชาคนเดียวกัน
4.การสื่อสารข้ามสายงาน ในองค์กรส่วนใหญ่ พนักงานอาจจะต้องส่งข้อมูลข่าวสารให้กับบุคคลที่ไม่ใข่ผู้ใต้บังคับบัญชาหรือผู้บังคับบัญชาของเขาเอง เช่น แผนกวิศวกรรม แผนกวิจัย แผนกบัญชี แผนกบุคคลซึ่งจะต้องรวบรวมข้อมูล รายงาน เตรียมแผนงาน ประสานกิจกรรม และให้คำแนะนำแก่ผู้บริหารในทุกส่วนขององค์กรในลักษณะข้ามสายงาน
อุปสรรคของการติดต่อสื่อสารที่เกิดขึ้นในองค์กร
1.การบิดเบือนการสื่อสาร การบิดเบือนที่เกิดขึ้นในการสื่อสารนั้นอาจเกิดขึ้นโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ที่บิดเบือนรู้หรือไม่ว่าความหมายที่สื่อสารไปนั้นถูกดัดแปลงแก้ไข
2.ภาระหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสื่อสาร ภาระในการสื่อสารเป็นเรื่องเกี่ยวกับปริมาณและความสลับซับซ้อนของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับมา บุคคลจะได้รับข้อมูลข่าวสารมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับช่องทางของการสื่อสาร