Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
คุณธรรมและจริยธรรมของครู - Coggle Diagram
คุณธรรมและจริยธรรมของครู
ความหมายและความสำคัญของคุณธรรมและจริยธรรม
“คุณธรรม”
คุณธรรม
หมายถึง คุณสมบัติฝ่ายดีโดยส่วนเดียว เป็นที่ตั้งหรือเป็นประโยชน์แก่สันติภาพหรือสันติสุขจึงเป็นที่ต้องการของ มนุษย์
คุณธรรม
เป็น สิ่งที่ต้องอบรมโดยเฉพาะเพื่อให้เกิดขึ้นเหมาะสมกับที่เราต้องการ
คุณธรรม
หมายถึง ธรรมที่เป็นคุณความดีงาม สภาพที่เกื้อกูล
คุณธรรม
เป็นเรื่องของความจริงแท้หรือสัจธรรม คุณธรรมทำให้เกิดการประพฤติ
ปฏิบัติ ที่ดี ทำให้เกิดการรักษาศีล คุณธรรมเป็นตัวหลักและกระจายออกเป็นจริยธรรมและจรรยาบรรณ
คุณธรรม
หมายถึง สภาพคุณงามความดี - พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานคุณธรรม หมายถึง สิ่งที่มีคุณค่า มีประโยชน์ เป็นความดีงาม เป็นมโนธรรม เป็นเครื่องประคับประคองใจให้เกลียดความชั่ว กลัวบาป ใฝ่ความดี และเป็นเครื่องกระตุ้นผลักดันให้เกิดความรู้สึกผิดชอบ เกิดจิตสำนึกที่ดีมีความสงบเย็นภายใน – ประมวลจากการประชุมระดมความคิด
“จริยธรรม”
จริยธรรม
หมายถึง ระเบียบปฏิบัติที่มุ่งปฏิบัติเพื่อให้เกิดความผาสุกในสังคม เป็นสิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น แต่งขึ้นตามเหตุผลของมนุษย์เอง หรือตามความต้องการของมนุษย์
จริยธรรม
หมายถึงการนำความรู้ในความจริงหรือกฎธรรมชาติไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการ ดำเนินชีวิตที่ดีงาม อันจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
จริยธรรม
หมายถึง การดำเนินการให้สอดคล้องกับสัจธรรม จริยธรรมจึงเป็นหลักแห่งความประพฤติที่ดีงามเพื่อประโยชน์ตนและสังคม
จริยธรรม
หมายถึง แนวทางในการประพฤติเพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างร่มเย็นในสังคม
จริยธรรม
หมายถึง ประมวลกฏเกณฑ์ความประพฤติ หรือมาตรการของความประพฤติซึ่งเป็นพฤติกรรมที่มีความสำนึกและการตัดสินใจ
จริยธรรม
หมายถึงธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม
จริยธรรม
หมาย ถึง สิ่งที่พึงประพฤติปฏิบัติ มีพฤติกรรมที่ดีงามต้องประสงค์ของสังคมเป็นหลักหรือกรอบที่ทุกคนกำหนดไว้ เป็นแนวปฏิบัติสำหรับสังคม เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม เกิดความสงบร่มเย็นเป็นสุข เกิดความรักสามัคคี เกิดความอบอุ่นมั่นคงและปลอดภัยในการดำรงชีวิต เช่น ศีลธรรม กฎหมาย ธรรมเนียม ประเพณี เป็นต้น
ความสำคัญของคุณธรรมจริยธรรมต่อครูและวิชาชีพ
ไพพรรณ เกียรติโชคชัย (2526 :141-142) สรุปความสำคัญของคุณธรรมต่อผู้ประกอบวิชาชีพครูไว้ 4 ด้านดังนี้คือ
1.ด้านตัวครู คุณธรรมมีบทบาทต่อผู้ปฏิบัติดังนี้
1.1 ทำให้ครูมีความเจริญก้าวหน้าและมีความมั่นคงในงานอาชีพ
1.2 ได้รับคำยกย่องสรรเสริญจากบุคคลทั่วไป เป็นที่เคารพเชื่อฟังของศิษย์
1.3 มีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ไร้ภัยอันตรายใดๆ เพราะแวดล้อมด้วยความรักนับถือจากศิษย์และประชาชนทั่วไป
1.4 ครอบครัวมีความอบอุ่นมั่นคง ฐานะทางเศรษฐกิจไม่ฝืดเคือง
2.ด้านสถาบันวิชาชีพครู คุณธรรมมีบทบาทดังนี้
2.1 ทำให้ชื่อเสียงของคณะครูเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของประชาชน
2.2 งานวิชาชีพครูมีความเจริญก้าวหน้า เพราะครูอาจารย์ทำงานเต็มกำลังความสามารถ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ใหม่ๆ
2.3 สถานศึกษาได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ เพราะได้รับความช่วยเหลือจากประชาชนเต็มที่
3.ด้านสังคมและชุมชน คุณธรรมมีบทบาทดังนี้
3.1 สมาชิกของสังคมเป็นคนดีมีคุณธรรมสูง รู้จักสิทธิและหน้าที่อย่างถูกต้อง
3.2 สังคมมีสันติสุข เพราะสมาชิกของสังคมได้รับการสั่งสอนจากผู้มีคุณธรรม
3.3 สังคมได้รับการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าในทุกๆด้านเพราะสมาชิกมีคุณธรรม
4.ด้านความมั่นคงของชาติ คุณธรรมมีบทบาทต่อความมั่นคงของชาติดังนี้
4.1 สถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีความมั่นคง เพราะประชาชนมีความรักความเข้าใจและเห็นความสำคัญอย่างแท้จริง
4.2 ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชาติ มีความมั่นคงถาวร เพราะครูอาจารย์ได้อบรมสั่งสอนศิษย์ให้มีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
คุณธรรมจริยธรรมที่สำคัญในวิชาชีพครู
1. คุณธรรมของความเป็นคน
-ความรู้รอบ
การเล็งเห็นการหยั่งรู้โดยง่ายและชัดเจนว่าอะไรควรประพฤติอะไรไม่ควรประพฤติ
-ความเข้มแข็ง
แบ่งเป็น
1) ความเข้มแข็งทางกายภาพได้แก่กล้าเสี่ยงกล้าเผชิญความยากลำบาก
2) ความเข้มแข็งทางจิตใจ
-ความพอเพียง
เป็นการเดินสายกลาง
-ความยุติธรรม
การให้แก่ทุกคนตามความเหมาะสมโดยต้องรู้ว่าเรามีกําลังให้เพียงใดควรให้แก่ใครอย่างไร
3. คุณธรรมของความเป็นคนไทย
1. คุณลักษณะด้านคุณธรรม
1.1 คุณธรรมที่เป็นแรงปัจจัยผลักดัน ได้แก่ ความขยันหมั่นเพียร อดทน สามารถพึ่งตนเอง และมีวินัย
1.2 คุณธรรมที่เป็นแรงปัจจัยหล่อเลี้ยงได้แก่ ฉันทะ สัจจะ ความรับผิดชอบ ความสำนึกในหน้าที่และความกตัญญู
1.3 คุณธรรมที่เป็นแรงปัจจัยเหนี่ยวรั้ง ได้แก่ ความมีสติและรอบคอบ และความตั้งจิตให้ดี
1.4 คุณธรรมที่เป็นแรงปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ความเมตตา ปรารถนาดีต่อกัน เอื้อเฟื้อต่อกัน ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น
2. คุณลักษณะด้านสังคม
คุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสังคมและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เช่น ความมีกริยามารยาท การปรับตัว ความตรงต่อเวลา ความสุภาพ
3. คุณลักษณะด้านการเรียนรู้
คุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหาความรู้ การทำความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆเช่น ความใฝ่เรียนใฝ่รู้
4. คุณธรรมของการเป็นข้าราชการที่ดี
1) มีความรู้
มีความรู้ทั้งเชิงลึก และเชิงกว้างที่เป็นประโยชน์ต่องานของตน
2) มีคุณธรรม
มีคุณธรรม จริยธรรมภายในจิตใจ และมีความประพฤติที่ดีงาม
3) มีสัมพันธภาพ
มีความเป็นมิตร ไว้เนื้อเชื่อใจ รักใคร่สามัคคีกันในหมู่ข้าราชการ
4) มีจิตสาธารณะ
การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
2.คุณธรรมตามหลักศาสนา
พระพุทธศาสนา
-พรหมวิหาร 4 หมายถึง ธรรมประจำใจที่ทำให้เป็นพรหมหรือให้เสมอด้วยพรหมในทางปฏิบัติ หมายถึง คุณธรรมของผู้ใหญ่ ซึ่งต้องมีประจำในอยู่ตลอดเวลา
-สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมสำหรับสงเคราะห์หรือเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของคนในสังคมให้อยู่ร่วมกัน
อย่างมีความสุข
-สัปปรุริสธรรม 7 หมายถึง หลักธรรมของคนดี หรือหลักธรรมของสัตบุรุษ 7 ประการ
ศาสนาคริสต์
-บัญญัติ 10 ประการ
-หลักอาณาจักรพระเจ้า อาณาจักรพระเจ้าเป็นอาณาจักรที่มีแต่ความสุข เป็นอาณาจักรแห่งความรักอย่างแท้จริง
-หลักตรีเอกานุภาพ
-หลักความรัก ศาสนาคริสต์ได้ชื่อว่าเป็นศาสนาแห่งความรัก พระเยซูคริสต์ทรงสอนให้รัก
เพื่อน มนุษย์เหมือนรักตัวเอง ให้รักแม้กระทั่งศัตรู
ศาสนาอิสลาม
หลักธรรมในศาสนาอิสลาม มุ่งให้มุสลิมปฏิบัติอย่างเคร่งครัด มุสลิมทุกคนมีความรู้ในข้อปฏิบัติทางศาสนาอย่างดี มีการรวมกลุ่มอย่างเป็นเอกภาพ
ปัญหาคุณธรรมจริยธรรมของครู
ปัญหาด้านความรู้ทางคุณธรรมจริยธรรม
การไม่มีความรู้ในหลักธรรมค าสอนตามศาสนาที่ตนนับถืออย่างเพียงพอและชัดเจนถูกต้อง
การไม่มีความรู้ในหลักธรรมของศาสนาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
การไม่มีความรู้ว่าคุณธรรมจริยธรรมแต่ละประการนั้นประกอบด้วยคุณธรรมจริยธรรมย่อย ๆ อะไรบ้าง
การไม่เข้าใจเครือข่ายหรือชุดของคุณธรรมจริยธรรม
ปัญหาเจตคติทางคุณธรรมจริยธรรม
การไม่เห็นคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม
ความท้อถอยในการปฏิบัติตามคุณธรรมจริยธรรม
ความสับสนทางจริยธรรม
ปัญหาทักษะทางคุณธรรมจริยธรรม
การมีทักษะทางคุณธรรมจริยธรรมที่ไม่ครบถ้วน
การไม่สามารถสร้างเครือข่ายหรือชุดของคุณธรรมจริยธรรม
การไม่สามารถประยุกต์ใช้กับสถานการณ์และบุคคลที่หลากหลาย
การเลือกปฏิบัติ โดยอาจเลือกปฏิบัติคุณธรรมข้อเดียวกันกับสถานการณ์แตกต่างกัน