Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มะเร็งกล่องเสียง (Cancer of the Larynx), นางสาวกัลยรัตน์ กลิ่นจำปา เลขที่…
มะเร็งกล่องเสียง (Cancer of the Larynx)
ความหมาย
เนื้องอกร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่อบุผิวของกล่องเสียง
พยาธิสภาพ
พบบ่อยที่สุดคือ squamous cell carcinomas (SCC)
เมื่อได้รับการกระตุ้นจากปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำ ให้เกิดการอักเสบจนเซลล์เยื่อบุเปลี่ยนแปลงเป็นมะเร็งลุกลามแพร่กระจายจนอุดกล่องเสียง ทำให้หายใจไม่ สะดวก หรือลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง ได้แก่ หลอดเลือดแดงใหญ่ของลำคอทำให้เกิดเลือดออกมาก ผิดปกติ เป็นต้น
เกิดจากเยื่อบุผิว และอาจมีลักษณะที่เห็นด้วยตาเปล่า เป็น infiltrative ulcerative exophytic หรือ verrucous
อาการและอาการแสดง
เสียงแหบเรื้อรัง
อาการเสียงแหบที่เกิดขึ้น มักจะแสดงว่ามะเร็งอยู่ในระยะที่ลุกลามแล้ว
กลืนอาหารลำบาก กลืนติด กลืนแล้วเจ็บ หรือสำลัก
มีเสมหะปนเลือด
หายใจไม่ออก หายใจติดขัด หายใจลำบาก
เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
มีก้อนโตที่คอ
ก้อนมะเร็งที่ลุกลามออกมา หรือต่อมน้ำเหลือง ที่มะเร็งแพร่กระจายมา
เจ็บคอเรื้อรัง มีความรู้สึกเหมือนก้างติดคอ
ปวดหู หรือไอเรื้อรัง
การรักษา
ระยะแรกเริ่ม (ระยะที่ 1 และระยะที่ 2)
รักษาโดยการฉายรังสี หรือผ่าตัด
การฉายรังสีรักษา เป็นการให้รังสีกำลังสูง เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง สามารถใช้รักษามะเร็งกล่องเสียงระยะแรกให้หายขาดได้ และสามารถรักษากล่องเสียงไว้ได้ ทำให้ผู้ป่วยยังคงพูดได้เป็นปกติ ส่วนการผ่าตัด มักจะผ่าตัดกล่องเสียงออกบางส่วนเท่านั้น หลังผ่าตัดผู้ป่วยจะสามารถพูด และกินอาหารได้ตามปกติ โดยอาจมีเสียงแหบบ้าง
ระยะลุกลาม (ระยะที่ 3 และระยะที่ 4 ซึ่ง ยังไม่มีการแพร่กระจายเข้ากระแสโลหิต )
การผ่าตัดกล่องเสียงออกทั้งหมด รวมทั้งต่อมน้ำเหลืองที่โต หรือที่อยู่ใกล้เคียง ร่วมกับการฉายรังสี
บางรายอาจใช้เคมีบำบัดร่วมด้วย
เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง ซึ่งหลังผ่าตัดผู้ป่วยจะพูดไม่ได้เป็นปกติ แต่ส่วนใหญ่จะกินอาหารได้ปกติ ผู้ป่วยจะต้องฝึกการพูดแบบไม่มีกล่องเสียง โดยการกลืนลมเร็ว ๆ แล้วเอาลมจากกระเพาะอาหารย้อนผ่านหลอดอาหารออกมาเป็นเสียง ( esophageal speech) หรือใช้อุปกรณ์ช่วยพูด ( electrolarynx) ซึ่ง เป็นเครื่องแปลงการสั่นของกล้ามเนื้อเป็นเสียง หรือ อาศัยรูที่เจาะระหว่างหลอดลมและหลอดอาหาร
ผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งกล่องเสียง
ขึ้นกับวิธีรักษา และผลข้างเคียงจะสูงขึ้น เมื่อใช้หลายๆวิธีรักษาร่วมกัน หรือเมื่อผู้ป่วยมีโรคเรื้อรังประจำตัว
โรคเบาหวาน
โรคความดันโลหิตสูง
โรคไขมันในเลือดสูง
โรคหัวใจ
การเตรียมผู้ป่วยก่อนการรักษา
การตรวจเพื่อเตรียมพร้อมของผู้ป่วยสำหรับการดมยาสลบและการผ่าตัด เช่น การตรวจเลือด , ปัสสาวะ, คลื่นไฟฟ้าหัวใจ, เอ็กซเรย์ปอด เป็นต้น
การประเมินด้านทันตกรรม กรณีที่ต้องให้การรักษาด้วยการฉายแสง (อาจจะประเมินหลังการผ่าตัดก็ได้)
การประเมินภาวะทางโภชนาการ
การประเมินการพูดและการกลืน (อาจจะประเมินหลังการผ่าตัดก็ได้)
การตรวจการได้ยิน กรณีที่มีแผนจะให้ยาเคมีบำบัดที่อาจจะมีพิษต่อประสาทการได้ยิน (อาจจะประเมินหลังการผ่าตัดก็ได้)
การตรวจพิเศษ
การใช้กระจกส่องลงไปตรวจที่กล่องเสียง เพื่อตรวจดูว่ามีเนื้องอกบริเวณกล่องเสียงหรือไม่
การส่องกล้องตรวจที่กล่องเสียง และการตัดชื้นเนื้อที่สงสัย ไปตรวจทางพยาธิวิทยา ว่ามีเซลล์มะเร็งหรือไม่
การตรวจเลือด , ปัสสาวะ, คลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้ป่วยสำหรับการดมยาสลบและส่องกล้องตรวจที่กล่องเสียง และการตัดชื้นเนื้อ
การตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น เอ็กซเรย์ ปอด, เอ็กซเรย์ คอมพิวเตอร์ (CT) , ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อให้ทราบว่า เป็นมะเร็งระยะที่เท่าไร มีการแพร่กระจายไปที่ใดบ้าง
การพยาบาล
ผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงจะกลืนลำบากเกิดภาวะขาดสารอาหาร ต้องผ่าตัดใส่สายยางให้อาหารทางหน้าท้อง สอนวิธีให้อาหารโดยสายยางทางหน้าท้อง แนะนำผู้ป่วย ผู้ดูแล และญาติเรียนการทำอาหารเหลวกับนักโภชนากร
แนะนำผู้ป่วยผู้ดูแล และญาติเกี่ยวกับชนิดของอาหารอ่อน อาหารเหลว น้ำซุป และน้ำผลไม้ที่ผู้ป่วยสามารถรับประทานทางปากได้
แนะนำเรื่องการไอเพื่อขับเสมหะออกอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการหายใจเข้าลึก ๆ ยาว ๆ แล้ว ไอออกมาแรง ๆ เพื่อไม่ให้เสมหะตกค้าง แต่ถ้ามีเลือดออกห้ามไอแรง ดื่มหรือจิบน้ำอุ่นบ่อย ๆวันละมากกว่า 2,500 มิลลิลิตร แต่ถ้าเสมหะเหนียวมาก อาจดูดเสมหะด้วยเครื่องดูดเสมหะหรือลูกยางแดง โดยใช้หลักปราศจากเชื้อ
อธิบายผู้ป่วย ผู้ดูแล และญาติให้เข้าใจ การสื่อสารบกพร่องเนื่องจากเจาะคอใส่ท่อหลอดลมคอ ความร่วมมือในการพยาบาล จัดหาอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้ป่วยใช้สื่อสาร เช่น ปากกา บัตรคำ รูปภาพ ให้เวลาผู้ป่วยในการสื่อสารและให้กำลังใจผู้ปวย
แนะนำให้ทำความสะอาดช่องปากโดยใช้น้ำเกลือปราศจากเชื้อ หรือน้ำยาบ้วนปาก บ้วนปากกลั้วคอบ่อย ๆ ป้องกันการติดเชื้อในช่องปากและลำคอ
ให้ความรู้ ทักษะแก่ผู้ป่วย ผู้ดูแล และญาติในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งกล่องเสียงที่เจาะคอใส่ท่อ หลอดลมคอ ได้แก่ การทำความสะอาดเเผลเจาะคอ และท่อหลอดลมคอ
ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะร็งกล่องเสียงที่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจ ต้องเจาะคอใส่ท่อหลอคลมคอทำให้หายใจสะดวก และการให้ข้อมูลความรู้ผู้ป่วยและญาติในเรื่องการรักษาอย่างต่อเนื่อง
นางสาวกัลยรัตน์ กลิ่นจำปา เลขที่ 5 ห้อง B รหัสนักศึกษา 613601113