Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมภาวะโภชนาการ - Coggle Diagram
การส่งเสริมภาวะโภชนาการ
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมภาวะโภชนาการ
ตัวอย่าง
ผู้ป่วยรายหนึ่ง ได้รับการวินิจฉัยโรคเป็นมะเร็งหลอดอาหาร ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้ น้ำหนักลดลง 10 กิโลกรัมภายใน 2 สัปดาห์
สีหน้าท่าทางอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ผิวหนังแห้ง เห็นกระดูกชัดเจน ญาติผู้ป่วยบอกไม่สามารถกลืนอะไรได้เลย จิบน้ำแค่เล็กน้อยก็ไหลออกทางปาก
แพทย์มีแผนการรักษาให้ Retain NG tube for Feeding BD 250 ml x 5 Feed
การประเมินภาวะสุขภาพ (Assessment)
S: ญาติผู้ป่วยบอกไม่สามารถกลืนอะไรได้เลย จิบน้ำแค่เล็กน้อยก็ไหลออกทางปาก
O: จากการสังเกต ผู้ป่วยมีสีหน้าท่าทางอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ผิวหนังแห้ง ผอมจนเห็นกระดูกชัดเจน
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ เนื่องจากไม่สามารถรับประทานอาหารได้เอง
การวางแผนการพยาบาล (Planning)
วัตถุประสงค์
เพื่อไม่ให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยได้รับสารอาหารตรงตามแผนการรักษาของแพทย์
ผู้ป่วยมีค่าดัชนีมวลกาย อยู่ในเกณฑ์ปกติ
การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
ใส่สายยางทางจมูกถึงกระเพาะอาหารให้แก่ผู้ป่วยตามแนวปฏิบัติ
ให้อาหารทางสายยางทางจมูกถึงกระเพาะอาหารตามแผนการรักษา
บอกวัตถุประสงค์ เตรียมความพร้อมของผู้ป่วย จัดท่าให้เหมาะสม ปิดกั้นม่าน
จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าศีรษะสูง อย่างน้อย 30 นาที หลังให้อาหารทางสายยาง
จัดเตรียมอุปกรณ์ในการใส่สาย NG และอาหารปั่นให้พร้อม ยกไปที่เตียงผู้ป่วย
ลงบันทึกทางการพยาบาล
ตรวจสอบแผนการรักษา ชื่อผู้ป่วย และอาหารปั่นให้ตรงกัน
ติดตาม ประเมินน้ำหนักตัวของผู้ป่วย โดยชั่งน้ำหนักทุกเช้า วันเว้นวัน
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
ประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
ประเมินความสุขสบายของผู้ป่วย สังเกตสีหน้าท่าทางของผู้ป่วย
ประเมินผลกิจกรรมการพยาบาล
ประเมินการปฏิบัติถูกต้องครบและเป็นไปตามขั้นตอนของแนวปฏิบัติ
ประเมินผลภายหลังผู้ป่วยได้รับอาหารทางสายยางทางจมูกถึงกระเพาะอาหาร ไม่มีภาวแทรกซ้อนเกิดขึ้น
ความหมายของโภชนาการและภาวะโภชนาการ
ความหมายของโภชนาการ (Nutrition)
วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร สารอาหาร โดยการที่ี่ร่างกายนำสารอาหารจากอาหารไปใช้ โดยครอบคลุมถึงการย่อย การดูดซึม
การขนส่งสารอาหาร การนำไปใช้ในร่างกาย และการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
ภาวะโภชนาการ (Nutritional Status)
ภาวะโภชนาการดี (Good nutritional status)
ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ มีสารอาหารครบถ้วน ในปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
และร่างกายใช้สารอาหารเหล่านั้นในการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มท
ความหมาย
ภาวะสุขภาพของบุคคล อันเป็นผลมาจากการบริโภคอาหารและ/หรือการใช้ประโยชน์ของสารอาหารในร่างกาย
ภาวะทุพโภชนาการ (Bad nutritional status)
ภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ (Malnutrition)
ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการ
ภาวะโภชนาการเกิน (Over nutrition)
ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย
ความหมาย
ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับเพียงพอแต่ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสารอาหารที่ได้รับ
หรือการได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกินความต้องการของร่างกาย จึงท าให้เกิดภาวะผิดปกติขึ้น ภาวะโภชนาการไม่ดี
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการ
ความชอบส่วนบุคคล
ความชอบและไม่ชอบบริโภคอาหารของแต่ละบุคคลมีผลต่อภาวะโภชนาการ
ผลจากการดื่มแอลกอฮอล์
การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ทำให้ความรู้สึกอยากอาหารลดลง
ภาวะสุขภาพ
การเจ็บป่วยเรื้อรังมีผลต่อภาวะโภชนาการ
วิถีชีวิต
ในปัจจุบันมีคนที่เลือกรับประทานอาหารประเภทผักมากขึ้น แต่หากรับประทาเป็นเวลานานๆ จะพบว่าขาดสารอาหารประเภทโปรตีน
การใช้ยา
ยาที่มีผลข้างเคียงให้เกิดอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
เศรษฐานะ
ภาวะเศรษฐกิจดีทำให้ผู้คนเลือกรับประทานอาหารได้ตามความต้องการ
เพศ
เพศชาย ต้องการพลังงานมากกว่า เพศหญิง
วัฒนธรรม ความเชื่อ ศาสนา
การดำเนินชีวิตตามบริบทของวัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนา ยังคงเป็นแบบเดิมๆ เช่นการรับประทานของสุกๆ ดิบๆ เชื่อว่าจะทำให้ร่างกายแข็งแรง แต่ก่อให้เกิดพยาธิได้
อายุ
เด็กต้องการพลังงานและสารอาหารมากกว่าผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
ปัยจัยด้านจิตใจ
ความเครียด และความกลัวทำให้ความอยากอาหารลดลง รู้สึกเบื่ออาหาร กลืนอาหารไม่ลงคอ
ความสำคัญของอาหารต่อความเจ็บป่วย
และความต้องการพลังงานของร่างกายในภาวะเจ็บป่วย
ความสำคัญของอาหาร
อาหารมีประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งในภาวะร่างกายปกติและภาวะเจ็บป่วย และในภาวะเจ็บป่วยความต้องการพลังงานต้องมากกว่าในภาวะปกติ
ความต้องการพลังงานของร่างกายในภาวะเจ็บป่วย
ขึ้นอยู่กับ เพศ อายุ ส่วนสูง น้ าหนัก และความรุนแรงของโรค
ความต้องการพลังงานหรือพลังงานที่ต้องการใช (Energy Expenditure: EE) เป็นพลังงานที่เพียงพอหรือเหมาะสมกับความต้องการของร่างกายในการสร้าง Adenosine triphosphate: ATP
ความต้องการพลังงานพื้นฐาน (Basal energy expenditure: BEE) พลังงานที่ต้องการขณะพัก
ความต้องการพลังงานทั้งหมด (Total Energy Expenditure: TEE) ผลรวมของพลังงานทั้งหมดที่ร่างกายต้องทั้งหมดใน 1 วัน
สูตร BEE เพศชาย
BEE = 66.47+ (13.75 x น้ำหนัก (Kg )) + (5. 00 x ความสูง (Cm )) – (6.75 x อายุ (ปี))
สูตร BEE เพศหญิง
BEE = 655.09 + (9.56 x น้ำหนัก (Kg)) +(1.85 x ความสูง (Cm )) –(4.68 x อายุ (ปี))
สูตร TEE
TEE = BEE x Activity factor x stress factor
ค่าคำนวณ Activity factor
มีกิจกรรมเฉพาะบนเตียง = 1.2
หมดสติและใช้เครื่องช่วยหายใจ = 1.0
มีกิจกรรมนอกเตียงได้ = 1.3
ค่าคำนวณ Stress factor
ติดเชื้อในช่องท้อง = 1.2 - 1.37
ติดเชื้อในกระแสเลือด = 1.4 - 1.8
ผ่าตัดไม่มีภาวะแทรกซ้อน = 1.0
แผลไหม้ น้อยกว่าร้อยละ 20 = 1.0 - 1.5
ไตวายไม่ได้ล้างไต = 1.0
แผลไหม้ ร้อยละ 20 - 40 = 1.5 - 1.85
การติดเชื้อที่รุนแรงมาก = 1.4 - 1.5
แผลไหม้ ร้อยละ 41 - 100 = 1.5 - 2.05
การติดเชื้อที่รุนแรงปานกลาง = 1.2 - 1.3
การบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อ = 1.8 - 2.0
การติดเชื้อที่รุนแรงน้อย = 1.0
กระดูกหัก = 1.2 - 1.37
มีไข้ = 1.0 + 0.13 (ต่อองศาเซลเซียส)
บาดเจ็บที่ศีรษะ = 1.4 - 1.6
ขาดอาหาร = 0.7
การประเมินภาวะโภชนาการ
การวัดสัดส่วนของร่างกาย
(Anthropometric measurement: A)
ดัชนีมวลของร่างกาย (Body Mass Index ; BMI)
สูตร
เป็นการประเมินมวลของร่างกายทั้งหมด
การประเมินทางชีวเคมี (Biochemical assessment: B)
Hemoglobin (Hb) : ชาย ค่าปกติ 14 –18 mg %
ประเมินภาวะโลหิตจาง (Anemia) ใช้ค่าของฮีโมโกลบิน (Hb) และค่าฮีมาโตรคิต (Hct)
Hemoglobin (Hb) การแปลผล ค่าต่ำกว่า 10 mg% แสดงผลภาวะโลหิตจาง
Hemoglobin (Hb) : หญิง ค่าปกติ 12-16 mg%
เป็นวิธีการเจาะเลือด เพื่อประเมินภาวะโภชนาการ
Hematocrit (Hct) : ชาย ค่าปกติ 40 –54 %
Hematocrit (Hct) การแปลผล ค่าต่ ากว่า 30 % แสดงผลภาวะโลหิตจาง
Hematocrit (Hct) : หญิง ค่าปกติ 37-47 %
การตรวจร่างกายทางคลินิก (Clinical assessment: C)
เป็นวิธีการตรวจร่างกาย เน้นการตรวจร่างกายเบื้องต้น ได้แก่ ผิวหนัง ผม ฟัน เหงือก ริมฝีปาก ลิ้น และเปลือกตา
การตรวจร่างกายเบื้องต้น
ตรวจ Conjunctiva ของเปลือกตาล่าง (ปกติจะมีสีชมพูค่อนข้างแดง)
สังเกตดูลักษณะเล็บเรียบเป็นมัน มีสีชมพู
(ลักษณะเล็บที่คล้ายรูปช้อน ผิวไม่เรียบ แสดงถึงการขาดธาตุเหล็ก)
(ลักษณะเล็บมีแถบสีขาวพาดขวาง แสดงถึงภาวะขาดโปรตีน)
กดตรงกลางเล็บแล้วปล่อย (ปกติจะกลับมาสีชมพูเหมือนเดิมไม่เกิน 2 วินาที)
ตรวจดูฝ่ามือ ให้เทียบกันทั้ง 2 ข้าง (ปกติจะมีสีชมพู)
การประเมินจากประวัติการรับประทานอาหาร(Dietary assessment: D)
ประเมิณจาก ประวัติการรับประทานอาหาร ชนิดของอาหารที่บริโภค พฤติกรรมการรับประทานอาหาร
มีประวัติรับประทานอาหารเจตลอดชีวิต
ผลการประเมิน: มีโอกาสขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
มีประวัติชอบรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ
ผลการประเมิน: มีโอกาสเกิดโรคพยาธิใบไม้ในตับ
มีประวัติเลือกรับประทานอาหารประเภททอด และอาหารรสหวาน
ผลการประเมิน: มีโอกาสเกิดภาวะโภชนาการเกิน (น้ำหนักเกินมาตรฐาน)
การประเมินภาวะโภชนาการเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยให้พยาบาลสามารถประเมินปัญหา และให้การพยาบาลได้ตรงจุดอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ
Obesity (ภาวะอ้วน)
คือ
ร่างกายมีการสะสมของมวลไขมันในร่างกายมากเกินไป มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ทั้งเพศชายและเพศหญิง ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป
วัดรอบเอวผู้ชายมากกว่า 40 นิ้ว (102 cm)
วัดรอบเอวผู้หญิงมากกว่า 35 นิ้ว (88 cm)
อัตราส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพก เพศชาย ≥ 0.9 เพศหญิง ≥ 0.85
การพยาบาลผู้ที่มีภาวะอ้วน
คำนวณพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน
จำกัดมื้ออาหารและสัดส่วนของอาหารตามพีระมิดอาหาร
จำกัดการใช้น้ำมัน ไขมัน น้ำตาล
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แป้งและไขมันสูง
รับประทานอาหารครั้งละน้อย แต่บ่อยครั้งและจำกัดอาหารมื้อเย็น
เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารจากผักผลไม้ และธัญพืชที่ไม่ขัดสี
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารขณะดูโทรทัศน์
ส่งเสริมให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหรือสัปดาห์ละ 3 วัน
Emaciation (ภาวะผอมแห้ง)
Anorexia nervosa
ภาวะเบื่ออาหาร เป็นความรู้สึกไม่อยากรับประทานอาหาร
กลไกการเกิดไม่ทราบแน่ชัด แต่น่าจะเกี่ยวกับการกระตุ้นที่ไม่เหมาะสมของศูนย์ความหิว (Feeding center)
และศูนย์ความอิ่ม (Satiety center) ในสมองส่วนไฮโปทาลามัส
ภาวะเบื่ออาหาร ทำให้รับประทานอาหารได้น้อย ทำให้อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ขาดอาหาร อาจเป็นโรคจากการขาดสารอาหารและพลังงาน หรือโรคแผลในกระเพาะอาหาร
Bulimia Nervosa
เป็นความผิดปกติของพฤติกรรมการรับประทาน การรับประทานอาหารเข้าไปแล้ว ล้วงคอให้อาเจียนออกมาจนหมด หรือกินยาระบายอย่างหนัก หรืออดอาหาร
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะ Anorexia nervosa
และ Bulimia nervosa
หาสาเหตุ ที่พบได้บ่อย ๆ
ส่งเสริมความรู้สึกอยากอาหารให้มากที่สุดและลดความรู้สึกเบื่ออาหาร
ดูแลด้านจิตใจ
การใช้ยา
การดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
พยายามให้รับประทานอาหารทางปากมากที่สุด
ส่งเสริมให้มีการเคลื่อนไหวของร่างกาย หรือทำกิจกรรมตามสภาพร่างกายของผู้ป่วย
พิจารณาและแนะนำเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
การให้อาหารด้วยวิธีพิเศษ
Nausea and vomiting
(อาการคลื่นไส้และอาเจียน)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน
การพยาบาลผู้ป่วยขณะอาเจียน
จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่อาเจียนออกได้สะดวก ช่วยลูบหลังลงเบา ๆ
คอยอยู่เป็นเพื่อนขณะที่ผู้ป่วยกำลังอาเจียน
จัดหาภาชนะรองรับอาเจียน เตรียมกระดาษหรือผ้าเช็ดปาก
สังเกตสิ่งต่าง ๆ
อาการร่วมที่เกิดกับการอาเจียน
ลักษณะของอาเจียน
จำนวน
เวลาที่อาเจียน
สัญญาณชีพ
การพยาบาลผู้ป่วยหลังอาเจียน
ให้ผู้ป่วยพักผ่อนในบรรยากาศที่สงบ ลดการรบกวนจากภายนอก
น้ำและอาหาร ในระยะแรกให้งดอาหารและน้ำ และเริ่มให้ทีละน้อย
จัดสิ่งแวดล้อม ดูแลให้อากาศถ่ายเท วางของให้เป็นระเบียบ
ดูแลความสะอาดของร่างกายและเครื่องใช้
การป้องกันและแก้ไขอาการอาเจียน
ให้ผู้ป่วยสูดหายใจเข้าออกลึก ๆ ยาว ๆ ภายหลังอาเจียน และเมื่อรู้สึกคลื่นไส้
หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวร่างกายหรือเปลี่ยนท่าเร็ว ๆ
พยายามหลีกเลี่ยงและลดแหล่งของความเครียดต่าง ๆ
พิจารณาให้ยาระงับอาเจียน (Antiemetic drug) ตามแผนการรักษา
พยายามหาสาเหตุแล้วแก้ไขที่สาเหตุ
ผู้ป่วยมีอาเจียนอย่างต่อเนื่อง มักใส่สายเข้าทางจมูกลงสู่กระเพาะอาหาร เป็นทางให้อาเจียนออก
หรือเป็นทางใส่สารละลายเข้าไปล้างกระเพาะอาหารในกรณีกินยาพิษหรือสารพิษ
อาการคลื่นไส้
เป็นความรู้สึกอยากขับอาหารที่กินเข้าไปแล้วออกทางปาก เป็นอาการนำก่อนการอาเจียน แต่อาจคลื่นไส้โดยไม่อาเจียนก็ได้
อาการอาเจียน
การที่มีแรงดันจากภายในดันเอาสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้นออกมาทางปาก
Abdominal distention
(ภาวะท้องอืด)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องอืด
จัดให้นอนศีรษะสูง 45-60 องศา เพื่อช่วยลดอาการแน่นท้อง และผายลมสะดวก
งดอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส
แสดงความเข้าใจและเห็นใจ และยินดีให้การช่วยเหลืออย่างจริงใจ
ค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะท้องอืดและช่วยเหลือตามสาเหต
เป็นความรู้สึกแน่น อึดอัด ไม่สบายในท้องที่เกิดจากมีแรงดันในท้องเพิ่ม
ทำให้เกิด อาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
ถ้าเป็นมากแรงดันในท้องที่เพิ่มจะดันกระบังลมให้สูงขึ้น ปอดขยายไม่เต็มที่ทำให้หายใจลำบาก ผู้ป่วยมักกระวนกระวายไม่อยากอาหาร
หรือน้ำถ้าเป็นติดต่อกันนานจะทำให้เกิดการขาดอาหารหรือน้้ำตามมาได้
Dysphagia and aphagia
(ภาวะกลืนลำบากและกลืนไม่ได้)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากและกลืนไม่ได้
ระมัดระวังการสำลัก
ดูแลด้านความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะความสะอาดของปากและฟัน
ดูแลการได้รับยาตามแผนการรักษา
การเตรียมผู้ป่วยเพื่อตรวจหรือรักษา
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ
การดูแลด้านจิตใจ ปลอบโยน ให้กำลังใจ การสังเกตและการดูแลเอาใจใส่ที่ดี
สังเกตและประเมินอาการเกี่ยวกับการกลืนไม่ได้หรือกลืนลำบาก
ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia)
เป็นความรู้สึกที่ผู้ป่วยเกิดความลำบากในการกลืน อาจรู้สึกว่ากลืนแล้วติดอยู่ที่ใดที่หนึ่งหรือกลืนแล้วรู้สึกเจ็บทั้งสองอย่าง
ภาวะกลืนไม่ได้ (Aphagia)
ไม่สามารถกลืนได้ไม่ว่าจะเป็นอาหารแข็ง อาหารธรรมดา อาหารอ่อน อาหารเหลว จนกระทั่งรุนแรงมากที่สุด คือ กลืนไม่ได้เลยแม้แต่น้ำหรือน้ำลาย
การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่รับประทานอาหารเองไม่ได้
การป้อนอาหาร (Feeding)
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ได้รับอาหารตามความต้องการของร่างกาย
ความหมาย
การช่วยให้ผู้ป่วยได้รับอาหารเข้าสู่ร่างกายทางปาก เมื่อผู้ป่วยไม่สะดวกในการใช้มือในการตักอาหารเพื่อรับประทานเองได้
อุปกรณ์เครื่องใช้
แก้วน้ำพร้อมน้ำดื่ม และหลอดดูดน้ำ
กระดาษหรือผ้าเช็ดปาก
ช้อนหรือช้อนส้อม
ผ้ากันเปื้อน
ถาดอาหารพร้อมอาหาร
วิธีปฏิบัติ
การเตรียมผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อม
ปูผ้ากันเปื้อนตั้งแต่ใต้คางลงไป
วางถาดอาหารในตำแหน่งที่ผู้ป่วยสามารถมองเห็นชนิดของอาหารได้
จัดให้อยู่ในท่านั่ง
วางเครื่องใช้อื่น ๆ ในตำแหน่งที่สามารถหยิบได้สะดวก
ก่อนเวลาอาหาร แนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายบ้าง
ล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง
การป้อนอาหาร
ไม่ควรจ้องหน้าผู้ป่วย ระวังการตักอาหารไม่ทำอาหารหกรดผู้ป่วยและเช็ดปากให้เมื่อเปื้อนอาหาร
หลังป้อนอาหารให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ บ้วนปาก หรือแปรงฟัน และเช็ดปากให้สะอาด
จังหวะในการป้อนต้องสัมพันธ์กับความสามารถในการรับประทานอาหารเคี้ยวและกลืนของผู้ป่วย
ขณะป้อนอาหารตักอาหารให้มีปริมาณที่เหมาะสม
เก็บถาดอาหาร และเครื่องใช้ต่าง ๆ เมื่อผู้ป่วยรับประทานเสร็จ
ลงบันทึกทางการพยาบาล
สำหรับผู้ป่วยพิการ
ถ้าผู้ป่วยจับช้อนไม่ถนัดควรสาธิตการใช้ช้อนและส้อมในการตักอาหารใส่ปากหรือดัดแปลงที่จับของให้จับได้สะดวก
ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อย ควรรับประทานอาหารเหลวที่สอดคล้องกับการแผนรักษาของแพทย์
สำหรับผู้ป่วยกลืนลำบาก
ควรเริ่มจากอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวก่อนเพราะอาหารอ่อนจะง่ายต่อการกลืน ควรหลีกเลี่ยงอาหารเหลวและอาหารที่ต้องอาศัยการเคี้ยวมาก
สอนวิธีการใช้ลิ้นและการกลืน เพื่อช่วยให้การกลืนได้ดีขึ้น
ให้อาหารครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้ง
สอบถามผู้ป่วยถึงความรู้สึกเกี่ยวกับอาหารในปาก เพื่อดูว่ามีอาหารที่เหลือค้างในปาก
ในขณะรับประทานอาหารควรหยุดพักเป็นระยะ ๆ จะช่วยให้ได้รับประทานอาหารได้มากขึ้น
จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งหรือศีรษะสูงในลักษณะก้มเล็กน้อย เพื่อป้องกันการสำลัก
การใส่และถอดสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
(Nasogastricintubation)
วัตถุประสงค์
เป็นการเพิ่มแรงดันเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร (Compression) เพื่อยับยั้งการมีเลือดออก
เป็นการลดแรงดันในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ (Decompression) เพื่อให้แก๊สที่ค้างอยู่ หรือน้ำคัดหลั่ง ระบายออก มักต้องต่อกับเครื่องดูดสุญญากาศ
ล้างภายในกระเพาะอาหาร (Gastric lavage) ใช้มากในกรณีที่กินยาพิษได้รับยาเกินขนาด (Over dose)
เป็นทางให้อาหาร น้ำ หรือยา ในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานทางปากไม่ได้หรือได้รับไม่เพียงพอ
เก็บสิ่งตกค้างในกระเพาะอาหารไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ
อุปกรณ์เครื่องใช้
สารหล่อลื่น เช่น K.Y. jelly
แก้วน้ำ
Stethoscope
หลอดดูดน้ำ
ถุงมือสะอาด 1 ค
พลาสเตอร์
Toomey syringe ขนาด 50 ml 1 อัน
กระดาษเช็ดปาก
สาย NG tube เบอร์ 14-18 fr.
ชามรูปไต
ถาดสำหรับใส่เครื่องใช้
ผ้าเช็ดตัว
วิธีปฏิบัติ
นำสาย NG tube วัดตำแหน่งที่จะใส่สาย โดยวัดจากปลายจมูกถึงปลายติ่งหูถึงปลายกระดูกอก (Xiphoid process) ไม่ให้สาย NG สัมผัสตัวผู้ป่วยใช้พลาสเตอร์พันไว้เป็นเครื่องหมาย
เปิดห่อ Toomey syringe แล้วใส่ Plunger ให้เรียบร้อย พันสาย NG ให้อยู่ในมือซ้าย พร้อมใส่สาย NG โดยใช้มือขวาจับปลายสาย NG
แล้วหล่อลื่นปลายสาย NG ด้วย K.Y. jelly ประมาณ 5-6 นิ้ว
เปิดซองสาย NG tube จากนั้นบีบ K.Y. jelly ลงด้านในของซองสาย NG tube โดยยังไม่หล่อลื่นสาย NG tube
ใส่ถุงมือสะอาด และ Mask ตรวจดูรูจมูก ผนังกั้นจมูก โดยให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกแรงๆ ทีละข้าง ดูการผ่านของลมหายใจ
บอกให้ผู้ป่วยตั้งศีรษะให้ตรงหรือเงยหน้าเล็กน้อย ใช้มือขวาจับปลายสาย ด้านที่หล่อลื่นแล้ว โดยให้ห่างจากปลายสาย 3-4 นิ้ว ค่อย ๆสอดเข้าทางรูจมูกแนวด้านข้างของจมูกเอียงเล็กน้อย ให้แนวโค้งของสายเข้าสู่แนวดค้งตามกายวิภาคของลำคอ
จัดท่าให้ผู้ป่วย จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งหรือนอนศีรษะสูง
ใช้พลาสเตอร์พันสายติดกับจมูก ให้สายอยู่ตรงกลางรูจมูกโค้งปลายสาย ติดด้วยพลาสเตอร์ข้างโหนกแก้ม หรือคล้องใบหู กลัดด้วยเข็มกลัดติดกับเสื้อ หากใส่สาคาไว้ให้ปิดจุกให้เรียบร้อย
บอกให้ผู้ป่วยทราบถึงวัตถุประสงค์ของการใส่สายยางจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร ปิดประตูหรือกั้นม่านให้เรียบร้อย
เมื่อสายผ่านถึงคอ (Posterior nasopharynx) ผู้ใส่หักข้อมือเล็กน้อยให้ผู้ป่วยก้มศีรีษะลง ช่วยกลืนสายโดยกลืนน้ำลายหรือดูดน้ำที่เตรียมไว้
นำอุปกรณ์ที่เตรียมไว้ไปที่เตียงผู้ป่วย ตรวจสอบโดยดูป้ายชื่อ และสอบถาม ชื่อ-สกุลผู้ป่วยให้ถูกต้อง (ถูกคนถูกเตียง)
ตรวจสอบว่าสาย NG เข้าไปถึงกระเพาะอาหาร โดยใช้Toomey syringe ต่อกับปลายสายด้านนอก และดูดน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร สังเกตลักษณะน้ำย่อยและลมที่ออกมา หรือ ใช้ Toomey syringe ดูดลมประมาณ 10 ซีซี ต่อกับปลายสายด้านนอกวง Stethoscope ฟังบริเวณ Epigastrium
ล้างมือให้สะอาด
นำเครื่องใช้ไปทำความสะอาด เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ตรวจสอบความถูกต้องของคำสั่งการรักษา
ทำความสะอาดปาก และจมูก
ลงบันทึกทางการพยาบาล
การให้อาหารทางสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
(Nasogastric feeding)
วิธีการให้อาหารทางสายยาง
Bolus dose
เป็นการให้อาหารทางสาย NG โดยใช้ Toomey syringe เหมาะสำหรับผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้เอง
Drip feeding
เป็นการให้อาหารทางสาย NG โดยใช้ชุดให้อาหาร (Kangaroo) มีลักษณะคล้ายกับชุดให้สารน้ำ สามารถปรับจำนวนหยดของอาหาร
และควบคุมเวลาการให้อาหารได้ตามความต้องการ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
อุปกรณ์เครื่องใช้
ถุงมือสะอาด 1 คู่
Stethoscope
Toomey syringe ขนาด 50 ml 1 อัน
แก้วน้ำ
ผ้ากันเปื้อน
กระดาษหรือผ้าเช็ดปาก
ในกรณีที่มียาหลังอาหารบดยาเป็นผงและละลายน้ำประมาณ 15-30 ซีซี
สำลีชุบ 70% Alcohol 2 ก้อน
อาหารเหลวสำเร็จรูป หรืออาหารปั่น (Blenderized diet)
ชุดทำความสะอาดปาก ฟัน และจมูก
ถาดสำหรับใส่เครื่องใช้
วิธีปฏิบัติ
หักพับสาย ถอด Toomey syringe แล้วดึง Plunger ออกและต่อกระบอกสูบเข้ากับส่วนปลายของสาย NG
เทอาหารใส่กระบอก Syringe คลายรอยพับออก และปล่อยให้อาหารไหลลงช้า ๆ ไม่ขาดระยะ เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้ากระเพาะอาหาร
ลงบันทึกทางการพยาบาล
ทดสอบตำแหน่งของสายให้อาหาร โดย ใช้ Toomey syringe ต่อกับสายดูด Gastric content ดูการทำหน้าที่ของกระเพาะอาหารในการย่อยและดูดซึม
หรือ ใช้การวาง Stethoscope ที่บริเวณ Epigastrium เพื่อฟังเสียงอากาศที่เข้าไปในกระเพาะอาหาร
กรณีให้ยาหลังอาหาร ก่อนที่อาหารจะหมดควรเหลืออาหารไว้ใน Syringe ประมาณ 10 ซีซี ควรรินยาลงไปตรงๆ
หรือ ก่อนยาจะหมด เหลือค้างใน Syringe ประมาณ 5 ซีซี เติมน้ำสะอาดเพื่อไล่เศษอาหารและยาที่ตกค้างอยู่ในสายให้อาหาร
ปลดผ้าก๊อซที่หุ้มปลายสายให้อาหารออก ทำความสะอาดปลายสายด้วยสำลีชุบ 70% Alcohol
หักพับปลายสายให้อาหาร และเช็ดปลายสายด้วยสำลีชุบ 70% Alcohol
ปูผ้ากันเปื้อนรองตรงปลายสายให้อาหาร
ปิดจุกสาย NG ใช้ก๊อสปิดไว้ให้เรียบร้อย
ทำความสะอาดปาก ฟัน
ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าเดิมอย่างน้อย 30 นาที เพื่อป้องกันอาหารไหลย้อนกลับ
ไขหัวเตียงสูงเพื่อจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่ง
เก็บเครื่องใช้ทำความสะอาด และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจเหตุผล ข้อดีและประโยชน์ในการให้อาหารทางสายให้อาหาร
การให้อาหารทางสายยางให้อาหารที่ใส่เข้าทางรูเปิดของกระเพาะอาหาร
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับอาหารตามความต้องการของร่างกาย
อุปกรณ์เครื่องใช้
เหมือนกับการให้อาหารทางสาย NG tube
วิธีปฏิบัติ
หักพับสาย ถอด Syringe แล้วดึง Plunger ออก และต่อกระบอกสูบเข้ากับสานให้อาหาร
เทอาหารใส่กระบอก Syringe และปล่อยให้อาหารไหลเข้าช้า ๆ ต่อเนื่องกัน ไม่ให้ขาดระยะ ป้องกันไม่ให้อากาศเข้ากระเพาะอาหาร
ใช้ Toomey syringe ต่อกับปลายสายดูด Gastric content เพื่อตรวจความสามารถของกระเพาะอาหารในการบีบไล่อาหารไปยังลำไส้เล็ก
กรณีให้ยาหลังอาหาร ก่อนที่อาหารจะหมดควรเหลืออาหารค้างใน Syringe ประมาณ 10 ซีซี ควรรินยาลงไปตรง ๆ
หรือ ก่อนยาจะหมด เหลือค้างใน Syringe ประมาณ 5 มล. เติมน้ำสะอาดเพื่อไล่เศษอาหารและยาที่ตกค้างในสายให้อาหาร
ปลดผ้าก๊อซที่หุ้มปลายสายให้อาหารออก ทำความสะอาดปลายสายด้วยสำลีชุบ 70% Alcohol
ลงบันทึกทางการพยาบาล
ตรวจสอบคำสั่งการรักษา
เช็ดปลายสายให้อาหารด้วยสำลีชุบ 70% Alcohol
ล้างมือให้สะอาด ใส่ Mask
หักพับปลายสายให้อาหาร เพื่อป้องกันอากาศเข้าไปในกระเพาะอาหาร
เปิดเสื้อผ้าบริเวณ Gastrostomy tube หรือ Jejunostomy tube ออก ปูผ้ากันเปื้อนไว้ใต้ Tube
ปิดปลายสายอาหารให้เรียบร้อย
จัดให้อยู่ในท่านั่ง หรือนอนในท่าศีรษะสูง
ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าเดิมอย่างน้อย 30 นาที เพื่อป้องกันอาหารไหลย้อนกลับ
แจ้งและอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจจุดประสงค์และวิธีทำ
เก็บเครื่องใช้ทำความสะอาด และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
การถอดสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
อุปกรณ์เครื่องใช้
สำลีชุบ 70% Alcohol
ไม้พันสำลีชุบเบนซิน (Benzene) และน้ำเกลือ (Normal saline)
น้ำยาบ้วนปาก
ถุงมือสะอาด
ชามรูปไต
ผ้าก๊อสสะอาด
ผ้ากันเปื้อนหรือผ้าเช็ดตัว
วิธีปฏิบัติ
ปูผ้ากันเปื้อนหรือผ้าขนหนู และแกะพลาสเตอร์ที่ยึดสายจมูกออก
หักพับสาย และดึงสายออก ขณะดึงสาย ให้ผู้ป่วยอ้าปากหายใจยาว ๆ ใช้ผ้าก๊อสจับสายที่ดึงออก ควรดึงอย่างนุ่มนวลแต่เร็วระวังสายยางสะบัด
ล้างมือให้สะอาด เช็ดให้แห้งและใส่ถุงมือ สวมmask
ตรวจคำสั่งการรักษา เพื่อยืนยันแผนการรักษา
เช็ดรอยพลาสเตอร์ด้วยเบนซิน เช็ดตามด้วยน้ำเกลือ และแอลกอฮอล์
ไขหัวเตียงสูงเพื่อจัดให้ผู้ป่วยอยู่ท่านั่ง
ทำความสะอาดปาก ฟัน และจมูก เพื่อช่วยให้รู้สึกสะอาด และสดชื่น
อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจเหตุผล
การล้างภายในกระเพาะอาหาร
(Gastric lavage)
วัตถุประสงค์
ทดสอบหรือยับยั้งการมีเลือดออกจำนวนน้อยในทางเดินอาหารส่วนบน
ตรวจสอบการอุดตันของสาย
ล้างกระเพาะอาหารในกรณีที่ผู้ป่วยกินยาหรือสารพิษ
ตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคปอดและหลอดลม
อุปกรณ์เครื่องใช้
ผ้าเช็ดปาก หรือผ้าขนหนูผืนเล็ก หรือผ้ากันเปื้อน
สายยางสำหรับใส่ในกระเพาะอาหาร
ชามรูปไตหรืออ่างกลม
สารละลายที่ใช้ล้างกระเพาะอาหาร ใช้น้ำเกลือ (Isotonic saline)
Ky jelly
ชุดล้างกระเพาะอาหาร
ถุงมือสะอาด 1 คู่ และ Mask
วิธีปฏิบัติ
หักพับสายไว้ก่อนปลดรอยต่อ และต่อสายกับกระบอกฉีดยาแล้วปล่อยสายที่หักพับไว้ ดันสารละลายผ่านกระบอกฉีดยาเข้าทางสาย
ดูดน้ำออกเบา ๆ หรือปล่อยให้สารละลายไหลออกเอง
ใช้ Toomey syringe ดูดสารละลาย 50 ซีซี
ปูผ้าคลุมบนเตียงและตัวผู้ป่วยตรงที่จะปลดสาย
ใส่สารละลายเข้าไปแล้วปล่อยหรือดูดน้ำออกเรื่อย ๆ ครบจำนวนตามแผนการรักษา พับสายไว้ ปลดกระบอกฉีดยา และปิดปลายสาย
เตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ให้พร้อม
กรณีล้างกระเพาะอาหาร เพื่อห้ามเลือดในกระเพาะอาหาร ต้องทำการล้างจนสารน้ำมีลักษณะสีแดงจางที่สุด หรือ ใส
ล้างมือก่อนจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้
เมื่อสิ้นสุดการล้างกระเพาะอาหารแล้ว ให้ทำความสะอาดช่องปากและจัดท่านอนผู้ป่วยในท่าสุขสบาย
ประเมินสภาพผู้ป่วย อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ ปิดประตูหรือกั้นม่านให้เรียบร้อย
เก็บเครื่องใช้ทำความสะอาด และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
ตรวจสอบคำสั่งการรักษา
ลงบันทึกทางการพยาบาล