Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่8 การส่งเสริมภาวะโภชนาการ - Coggle Diagram
บทที่8 การส่งเสริมภาวะโภชนาการ
ความสำคัญของอาหารต่อภาวะเจ็บป่วย
และความต้องการพลังงานของร่างกายในภาวะเจ็บป่วย
ความสำคัญของอาหารต่อภาวะเจ็บป่วย
ภาวะเจ็บป่วยความต้องการพลังงานต้องมากกว่าในภาวะปกติ
เพราะต้องช่วยในการสร้างฟื้นฟู และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอทำให้ร่างกายหายเป็นปกติ มีสุขภาวะสมบูรณ์ และมีคุณภาพชีวิตดี
อาหารมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งในภาวะปกติ และภาวะเจ็บป่วยภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านเป็นการสืบทอดองค์ความรู้
จากบรรพบุรุษในการดูแลสุขภาพของตนเองครอบครัว และชุมชน
ภายใต้บริบทของวัฒนธรรม และประเพณีของท้องถิ่น ที่ยังคงอยู่ตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน พยาบาลจึงควรมีความรู้ ความเข้าใจในวิถีการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย และน าองค์ความรู้ของศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบันมาประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการร่วมอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยซึ่งเป็นมรดกอันลํ้าค่าของชาติ
ความต้องการพลังงานของร่างกายในภาวะเจ็บป่วย
ขึ้นอยู่กับ เพศ อายุ ส่วนสูง น้ าหนัก และความรุนแรงของโรค
สูตรคํานวณความต้องการพลังงานพื้นฐานของHarrisbenedict
ความต้องการพลังงานพื้นฐาน(Basal energyexpenditure:BEE) หรือพลังงานที่ต้องการขณะพัก (Resting Energy Expenditure:REE)
หมายถึง พลังงานที่น้อยที่สุดที่ทำให้เกิดกระบวนการเมทาบอลิสซึมของร่างกายก่อนที่จะมีการทำงานของอวัยวะ
ความต้องการพลังงานทั้งหมด (Total EnergyExpenditure:TEE)
หมายถึง ผลรวมของพลังงานทั้งหมดใน 1 วัน ซึ่งรวมถึงBEEพลังงาน
ที่ใช้ในการย่อย และดูดซึมสารอาหาร การใช้พลังงานจากการทํางานของร่างกายในแต่ละวัน และการใช้พลังงานของผู้ป่วยเฉพาะโรค
ความต้องการพลังงานหรือพลังงานที่ต้องการใช้
(Energy Expenditure:EE)
เป็นพลังงานที่เพียงพอหรือเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย
ในการสร้าง ATP
ความหมายของโภชนาการและภาวะโภชนาการ
ภาวะโภชนาการ(Nutritional Status)
ภาวะโภชนาการไม่ดี (Badnutritionalstatus)
หรือเรียกอีกอย่างว่า ภาวะทุพโภชนาการ(Malnutrition)หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับเพียงพอแต่ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสารอาหารที่ได้รับ หรือการได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกินความต้องการของร่างกาย จึงทำให้เกิดภาวะผิดปกติขึ้น
ภาวะโภชนาการเกิน(Over nutrition)
หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย และเก็บสะสมไว้จนเกิดอาการปรากฏ
ภาวะโภชนาการต่ํ่ากว่าเกณฑ์ (Malnutrition)
หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการ
ภาวะโภชนาการดี (Good nutritional status)
หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ
คือ มีสารอาหารครบถ้วน ในปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และร่างกายใช้สารอาหารเหล่านั้นในการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยได้
อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่
ความหมาย
โภชนาการเป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะของการกิน(Science and art of feeding)คือ ในทางโภชนาการมิได้มุ่งหวังเพียงจัดการปรุงแต่งอาหารให้มีรสชาติดี สีสันสวยงามราคาถูกมาบริโภคเท่านั้น แต่ยังต้องมุ่งเน้นเรื่องคุณภาพของอาหาร หรือปริมาณของสารอาหารที่ร่างกายจะนำมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการ
การดื่มแอลกอฮอล์
การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
ทําให้ความรู้สึกอยากอาหารลดลง การบริโภคอาหารเปลี่ยนไป
ความชอบส่วนบุคคล
ความชอบและไม่ชอบบริโภคอาหารของแต่ละบุคคล
มีผลต่อภาวะโภชนาการ
วิถีชีวิต
ปัจจุบันมีผู้เลือกดำเนินชีวิตตามวิถีสุขภาพโดยเลือกงดรับประทานสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากสัตว์ ผู้ที่เลือกรับประธานอาหารเจ เป็นเวลานาน ๆ หรือเลือกรับประทานตลอดชีวิต
ภาวะสุขภาพ
การเจ็บป่วยเรื้อรังมีผลต่อภาวะโภชนาการ
เศรษฐานะ
ภาวะเศรษฐกิจดีทำให้ผู้คนเลือกรับประทานอาหารได้ตามความต้องการ ตรงกันข้ามในภาวะเศรษฐกิจไม่ดีการเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์อาจลดปริมาณลงหรือหยุดรับประทานไป
การใช้ยา
ยาที่มีผลข้างเคียงให้เกิดอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
วัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนา
การดำเนินชีวิตตามบริบทของวัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนา
เพศ
เพศชายต้องการพลังงานในหนึ่งวันมากกว่าเพศหญิง
ปัจจัยด้านจิตใจ
ความเครียด และความกลัวทำให้ความอยากอาหารลดลง
รู้สึกเบื่ออาหาร กลืนอาหารไม่ลงคอ
อายุ
ในวัยเด็กมีความต้องการสารอาหารมากกว่าในวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ
การประเมินภาวะโภชนาการ
การวัดสัดส่วนของร่างกาย
(Anthropometric measurement:A)
การประเมินทางชีวเคมี (Biochemical assessment:B)
เป็นวิธีการเจาะเลือดเพื่อประเมินภาวะโภชนาการ
การตรวจร่างกายทางคลินิก (Clinical assessment:C)
เป็นวิธีการตรวจร่างกายเช่นเดียวกับการประเมินภาวะสุขภาพ
แต่จะให้ความสนใจตรวจร่างกายเบื้องต้น
ดัชนีมวลของร่างกาย (Body Mass Index ; BMI)
เป็นการประเมินมวลของร่างกายทั้งหมด โดยวัดส่วนสูงและนํ้าหนัก
แล้วนำมาประเมินภาวะโภชนาการโดยคำนวณหาดัชนีมวลของร่างกาย
มีหน่วยเป็นกิโลกรัมต่อตารางเมตร
การประเมินจากประวัติการรับประทานอาหาร(Dietary assessment:D)
ประกอบด้วย ประวัติการรับประทานอาหาร ชนิดของอาหารที่บริโภค
พฤติกรรมการรับประทานอาหาร เป็นต้น
การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่รับประทานอาหารเองไม่ได้
การป้อนอาหาร
เป็นการช่วยให้ผู้ป่วยได้รับอาหารเข้าสู่ร่างกายทางปากโดยผู้ป่วยอาจไม่สะดวกในการใช้มือในการตักอาหาร หรือมีความอ่อนเพลียจากการเจ็บป่วย และเป็นการดูแลเอาใจใส่ให้ผู้ป่วยได้รับประทานอาหารตามเวลา
การให้อาหารทางสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
การให้อาหารทางสายให้อาหารทางจมูกถึงกระเพาะอาหาร (Nasogastricfeeding)นิยมเรียกสั้นๆว่า NG tube feeding
หมายถึง วิธีการให้อาหารแก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปาก แต่การทำงานของระบบทางเดินอาหารยังอยู่ในภาวะปกติ โดยให้อาหารผ่านทางสายให้อาหารซึ่งสอดผ่านทางจมูกเข้าสู่กระเพาะอาหาร
Drip feedingเป็นการให้อาหารทางสาย NG โดยใช้ชุดให้อาหาร(Kangaroo)ดังรูปที่ 8.2 มีลักษณะคล้ายกับชุดให้สารน้ าสามารถปรับจ านวนหยดของอาหารและควบคุมเวลาการให้อาหารได้ตามความต้องการ เหมาะสําหรับผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของระบบประสาท หรือหลังการผ่าตัดสมอง
Bolus doseเป็นการให้อาหารทางสาย NG โดยใช้ Toomey syringe เหมาะสำหรับผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้เอง
การถอดสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
เป็นการถอดสายยางที่เคยใส่ไว้เพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง
แต่การถอดสายให้อาหารออกนั้นเป็นบทบาทกึ่งอิสระของพยาบาลเมื่อแผนการรักษาเปลี่ยนไป เช่น ให้เริ่มรับประทานอาหารหลังจากแผนการรักษาให้งดอาหารและนํ้าทางปาก หรือผู้ป่วยรูสึกตัวดีสามารรับประทานอาหารเองได้
การให้อาหารทางสายยางให้อาหารที่ใส่เข้าทางรูเปิดของกระเพาะอาหาร
การใส่และถอดสายยางให้อาหาร
จากจมูกถึงกระเพาะอาหาร(Nasogastric intubation)
การใส่สายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
นิยมเรียกสั้นๆว่า การใส่NG tube
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมภาวะโภชนาการ
ตัวอย่าง
ผู้ป่วยรายหนึ่งได้รับการวินิจฉัยโรคเป็นมะเร็งหลอดอาหาร ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้ นํ้าหนักลดลง 10 กิโลกรัมภายใน 2 สัปดาห์ สีหน้าท่าทางอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ผิวหนังแห้ง เห็นกระดูกชัดเจน ญาติผู้ป่วยบอกไม่สามารถกลืนอะไรได้เลย จิบนํ้าแค่เล็กน้อยก็ไหลออกทางปาก แพทย์มีแผนการรักษาให้ Retain NG tube for Feeding BD 250 ml x 5 Feedจงประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาลในการให้อาหารทางสายยางสําหรับผู้ป่วยรายนี้
การวางแผนการพยาบาล (Planning)
วัตถุประสงค์:เพื่อไม่ให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ
เกณฑ์การประเมิน
1) ผู้ป่วยได้รับสารอาหารตรงตามแผนการรักษาของแพทย์
2) ผู้ป่วยมีค่าดัชนีมวลกาย อยู่ในเกณฑ์ปกติ
การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
ให้อาหารทางสายยางทางจมูกถึงกระเพาะอาหารตามแผนการรักษา
ใส่สายยางทางจมูกถึงกระเพาะอาหารให้แก่ผู้ป่วยตามแนวปฏิบัติ
จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าศีรษะสูง อย่างน้อย 30 นาที หลังให้อาหารทางสายยาง
บอกวัตถุประสงค์ เตรียมความพร้อมของผู้ป่วย จัดท่าให้เหมาะสม
ปิดกั้นม่าน
ลงบันทึกทางการพยาบาล
ติดตาม ประเมินนํ้าหนักตัวของผู้ป่วย โดยชั่งนํ้าหนักทุกเช้า วันเว้นวัน
จัดเตรียมอุปกรณ์ในการใส่สาย NG และอาหารปั่นให้พร้อม
ยกไปที่เตียงผู้ป่วย
ตรวจสอบแผนการรักษา ชื่อผู้ป่วย และอาหารปั่นให้ตรงกัน
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ เนื่องจากไม่สามารถรับประทานอาหารได้เอง
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
ประเมินผลกิจกรรมการพยาบาล
ประเมินการปฏิบัติถูกต้องครบและเป็นไปตามขั้นตอนของแนวปฏิบัติ
ประเมินผลภายหลังผู้ป่วยได้รับอาหารทางสายยางทางจมูกถึงกระเพาะอาหารไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น
ประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
ประเมินความสุขสบายของผู้ป่วยสังเกตสีหน้าท่าทางของผู้ป่วย
การประเมินภาวะสุขภาพ (Assessment)
S:ญาติผู้ป่วยบอกไม่สามารถกลืนอะไรได้เลย จิบน้ าแค่เล็กน้อยก็ไหลออกทางปาก
O:จากการสังเกต ผู้ป่วยมีสีหน้าท่าทางอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ผิวหนังแห้ง ผอมจนเห็นกระดูกชัดเจน
การล้างภายในกระเพาะอาหาร(Gastric lavage)
การล้างภายในกระเพาะอาหาร ใช้มากในกรณีที่รับประทานยาพิษได้รับยาเกินขนาด (Over dose)รวมถึงเป็นการล้างกระเพาะอาหารเพื่อห้ามเลือด ส าหรับการตรวจโดยการส่องกล้องเพื่อวินิจฉัยภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร
วัตถุประสงค์
1) ล้างกระเพาะอาหารในกรณีที่ผู้ป่วยกินยาหรือสารพิษ
2) ทดสอบหรือยับยั้งการมีเลือดออกจํานวนน้อยในทางเดินอาหารส่วนบน
3) ตรวจสอบการอุดตันของสาย
4) ตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคปอดและหลอดลม ในกรณีที่ไม่สามารถนำเสมหะจากผู้ป่วยไปตรวจได้ ปัจจุบันไม่นิยมใช้เพราะใช้เครื่องดูดเสมหะได้
การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่มีปัญหา
ภาวะโภชนาการ
Nausea and vomiting(อาการคลื่นไส้และอาเจียน)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน
การป้องกันและแก้ไขอาการอาเจียน
-พยายามหาสาเหตุแล้วแก้ไขที่สาเหตุ
-พยายามหลีกเลี่ยงและลดแหล่งของความเครียดต่างๆ ดูแลให้ผู้ป่วยผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ
-ให้ผู้ป่วยสูดหายใจเข้าออกลึกๆ ยาวๆ ภายหลังอาเจียนและเมื่อรู้สึกคลื่นไส้
-หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวร่างกายหรือเปลี่ยนท่าเร็วๆ
-พิจารณาให้ยาระงับอาเจียน
-ถ้าผู้ป่วยมีอาเจียนอย่างต่อเนื่องมักใส่สายเข้าทางจมูกลงสู่กระเพาะอาหารเป็นทางให้อาเจียนออกหรือเป็นทางใส่สารละลายเข้าไปล้างกระเพาะอาหารในกรณีกินยาพิษหรือสารพิษ
การพยาบาลผู้ป่วยหลังอาเจียน
-ดูแลความสะอาดของร่างกายและเครื่องใช้
-จัดสิ่งแวดล้อม ดูแลให้อากาศถ่ายเท วางของให้เป็นระเบียบ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและพักผ่อนได้
-ให้ผู้ป่วยพักผ่อนในบรรยากาศที่สงบ ลดการรบกวนจากภายนอก
-นํ้าและอาหาร ในระยะแรกให้งดอาหารและนํ้า และเริ่มให้ทีละน้อย
ดูแลความสะอาดร่างกาย ปาก ฟัน เครื่องใช้ สิ่งแวดล้อม
สังเกตสิ่งต่างๆ เพื่อบันทึกและรายงานอย่างถูกต้อง
ได้แก่ อาการที่เกิดร่วมกับการอาเจียน ลักษณะของอาเจียน จำนวน
เวลาที่อาเจียน สัญญาณชีพ
เตรียมพร้อมถ้ามีการอาเจียนซ้ า
การพยาบาลผู้ป่วยขณะอาเจียนเมื่อพบผู้ป่วยจะอาเจียน
พยาบาลต้องรีบให้การช่วยเหลือโดยมีเป้าหมาย
ให้ผู้ป่วยปลอดภัยและสุขสบาย
Abdominal distention(ภาวะท้องอืด)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องอืด
แสดงความเข้าใจและเห็นใจและยินดีให้การช่วยเหลืออย่างจริงใจ
งดอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น มะม่วงดิบ แตงโม ผักสด
ค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะท้องอืดและช่วยเหลือตามสาเหตุ
จัดให้นอนศีรษะสูง 45องศา-60องศาเพื่อช่วยลดอาการแน่นท้อง
และผายลมสะดวก
Emaciation(ภาวะผอมแห้ง)
BulimiaNervosa
เป็นความผิดปกติของพฤติกรรมการรับประทานโดยจะรับประทาน
วันละหลายๆ ครั้ง ครั้งละมากๆ โดยหลังจากรับประทานเสร็จจะรู้สึก
ไม่สบายใจและรู้สึกผิดที่รับประทานเข้าไปมากมาย จึงต้องหาวิธีเอาออกโดยอาจล้วงคอให้อาเจียนออกมาจนหมดหรือกินยาระบายอย่างหนักตลอดจนอดอาหาร
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะAnorexianervosaและBulimianervosa
ดูแลด้านจิตใจ พยายามให้ช่วงเวลารับประทานอาหารเป็นเวลา
ที่จิตใจสบาย สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายขณะที่รับประทานอาหาร
การใช้ยา แพทย์อาจพิจารณาให้ยากระตุ้นความอยากอาหาร
ในรายที่ไม่พบโรคทางร่างกายและต้องการให้รับประทานอาหารมากขึ้น
ส่งเสริมความรู้สึกอยากอาหารให้มากที่สุดและลดความรู้สึกเบื่ออาหาร
การดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
หาสาเหตุ ที่พบได้บ่อยๆ เช่น โรคปากและฟัน คออักเสบ โรคมะเร็ง เป็นต้นแล้วขจัดสาเหตุ
Anorexianervosa
ภาวะเบื่ออาหารเป็นความรู้สึกไม่อยากรับประทานอาหาร อาจรู้สึกต่อต้าน เมื่อนึกถึงหรือเมื่อเห็นอาหาร รับประทานแล้วไม่ค่อยรู้สึกอร่อย
ตรงข้ามกับความรู้สึกอยากอาหาร (Appetite) อาการเบื่ออาหารอาจเกิดควบคู่กับคลื่นไส้ อาเจียน
Dysphagia and aphagia(ภาวะกลืนลำบากและกลืนไม่ได้)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากและกลืนไม่ได้
ดูแลการได้รับยาตามแผนการรักษา
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ าและอาหารอย่างเพียงพอ
ระมัดระวังการสำลัก
สังเกตและประเมินอาการเกี่ยวกับการกลืนไม่ได้หรือกลืนลำบากว่าเกิดขึ้นทันทีทันใดหรือค่อยๆ มากขึ้น ชนิดของอาหารที่กลืนไม่ได้ มีอาการเจ็บร่วมด้วยหรือไม่ รวมถึงประเมินภาวะโภชนาการและสมดุลของนํ้าในร่างกาย ประเมินและติดตามเป็นระยะอย่างสมํ่าเสมอ โดยการชั่งนํ้าหนัก บันทึกปริมาณนํ้าที่ได้รับและที่ขับออกจากร่างกาย
ดูแลด้านความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะความสะอาดของปากและฟัน
การเตรียมผู้ป่วยเพื่อตรวจหรือรักษา การตรวจรักษาโดยการส่องกล้องเข้าไปดูที่หลอดอาหาร หลังการตรวจผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บและมีเสมหะมาก พยาบาลควรให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม
การดูแลด้านจิตใจ ปลอบโยน ให้กำลังใจ การสังเกต
และการดูแลเอาใจใส่ที่ดี สามารถบอกถึงสาเหตุและอาจแก้ไขอาการได้
Obesity(ภาวะอ้วน)
การพยาบาลผู้ที่มีภาวะอ้วน
รับประทานอาหารครั้งละน้อย แต่บ่อยครั้งและจำกัดอาหารมื้อเย็น
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แป้งและไขมันสูง
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารขณะดูโทรทัศน์
จำกัดการใช้นํ้ามัน ไขมัน นํ้าตาล
เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารจากผักผลไม้ และธัญพืชที่ไม่ขัดสี
จำกัดมื้ออาหารและสัดส่วนของอาหารตามพีระมิดอาหาร
ส่งเสริมให้ออกกําลังกายอย่างสมํ่าเสมอหรือสัปดาห์ละ 3 วัน
ค านวณพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน