Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมภาวะโภชนาการ - Coggle Diagram
การส่งเสริมภาวะโภชนาการ
ความหมายของโภชนาการและภาวะโภชนาการ
การรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนมีประโยชน์ต่อร่างกายและภาวะโภชนาการ
โภชนาการ
วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร สารอาหาร และสารอื่นที่มีอยู่ในอาหารหรือสารอาหาร ตลอดจนปฏิกิริยาระหว่างกันของสารอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่สิ่งมีชีวิตย่อย ดูดซึม ขนส่ง นาสารอาหารไปใช้และสะสมในร่างกาย
วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของอาหารทั้ง
ทางด้านอินทรีย์เคมี อนินทรีย์เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์ของอาหาร โดยเริ่มตั้งแต่อาหารเข้าสู่ร่างกายผ่านกระบวนการย่อย การดูดซึม การใช้จ่ายสารอาหารต่าง ๆ ในร่างกาย การเก็บสะสมสารอาหารที่เหลือใช้ และการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
ภาวะโภชนาการ
สิ่งที่แสดงถึงระดับที่ร่างกายจาเป็นต้องได้รับสารอาหาร เพื่อนามาใช้ในด้านสรีระอย่างเพียงพอ ความสมดุลของสารอาหารที่ได้รับเข้าไปกับสารอาหารที่ร่างกายใช้มีอิทธิพลจากปัจจัยหลายอย่าง
ผล สภาพ หรือภาวะของร่างกายที่เกิดจากการบริโภคอาหาร
แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
ภาวะโภชนาการดี (Good nutritional status)
ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ
มีสารอาหารครบถ้วน ในปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และร่างกายใช้สารอาหารเหล่านั้นในการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่
ภาวะโภชนาการไม่ดี (Bad nutritional status) หรือเรียกอีกอย่างว่า ภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition)
ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับเพียงพอแต่ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสารอาหารที่ได้รับ หรือการได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกินความต้องการของร่างกาย จึงทำให้เกิดภาวะผิดปกติขึ้น
แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
ภาวะโภชนาการเกิน (Over nutrition)
ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย และเก็บสะสมไว้จนเกิดอาการปรากฏ
ได้รับสารอาหารที่ให้พลังงานมากเกินไปจะมีการสะสมไว้ในร่างกายในสภาพไขมัน ทาให้เกิดโรคอ้วนหรือการได้รับสารอาหารบางอย่างที่ขับถ่ายยากในปริมาณมากเกินไป จนมีการเก็บสะสมในร่างกาย และทาให้เกิดโทษ
ภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ (Malnutrition)
ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการ โดยอาจขาดสารอาหารเพียง 1 ชนิด หรือมากกว่า และอาจขาดพลังงานด้วยหรือไม่ก็ได้
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการ
อายุ
พบว่าในวัยเด็กมีความต้องการสารอาหารมากกว่าในวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ
เพศ
เพศชายต้องการพลังงานในหนึ่งวันมากกว่าเพศหญิง
การใช้ยา
ยาที่มีผลข้างเคียงให้เกิดอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
ถ้าต้องใช้เป็นระยะเวลานาน ๆ จะทาให้เกิดภาวะทุโภชนาการได้
ภาวะสุขภาพ
การเจ็บป่วยเรื้อรังมีผลต่อภาวะโภชนาการ
ความชอบส่วนบุคคล
ความชอบและไม่ชอบบริโภคอาหารของแต่ละบุคคลมีผลต่อภาวะโภชนาการ
ผลจากการดื่มแอลกอฮอล์
การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทำให้ความรู้สึกอยากอาหารลดลง การบริโภคอาหารเปลี่ยนไป แบบแผนการรับประทานอาหารเปลี่ยนไป หรือเบื่ออาหาร
วิถีชีวิต
ผู้ที่เลือกรับประธานอาหารเจ เป็นเวลานาน ๆ หรือเลือกรับประทานตลอด
ชีวิต พบว่ามักขาดสารอาหารโปรตีนจึงควรต้องเสริมอาหารโปรตีนที่ทามาจากพืชให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
เศรษฐานะ
ภาวะเศรษฐกิจดีทำให้ผู้คนเลือกรับประทานอาหารได้ตามความ
ต้องการ
ตรงกันข้ามในภาวะเศรษฐกิจไม่ดีการเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์อาจลดปริมาณลงหรือหยุดรับประทานไปจนกว่าจะมีกำลังซื้อกลับคืนมาอีกครั้ง
วัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนา
การดำนินชีวิตตามบริบทของวัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนา ยังดำเนินชีวิตอยู่ในกระบวนทัศน์เดิม
ปัจจัยด้านจิตใจ
ความเครียด และความกลัวทำให้ความอยากอาหารลดลง รู้สึกเบื่ออาหาร กลืนอาหารไม่ลงคอ หรือมีอาการปากคอขมโดยไม่ทราบสาเหตุ
ความสำคัญของอาหารต่อภาวะเจ็บป่วยและความต้องการพลังงานของร่างกายในภาวะเจ็บป่วย
อาหาร
สิ่งใด ๆ ซึ่งรับประทานเข้าไปแล้ว เพื่อเสริมสร้างความเจริญเติบโตและ
การมีโภชนาการที่ดีให้แก่ร่างกาย
อาหารได้มาจากพืชและสัตว์ อาหารที่รับประทานเข้าไปจะย่อยได้
สารอาหารสาคัญ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน วิตามิน และ แร่ธาตุ
อาหาร (Food) และสารอาหาร (Nutrient) มีความสำคัญต่อภาวะการเจ็บป่วย และด้วยศาสตร์การดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์ทางเลือก
สิ่งมีชีวิตย่อยและดูดซึมสารอาหารเข้าสู่เซลล์เพื่อนาไปสร้างพลังงานในการดำรงชีวิต และสร้างเสริมการเจริญเติบโต
ในภาวะการเจ็บป่วย สารอาหารจะเข้าสู่เซลล์เพื่อสร้างเสริม ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และปรับสมดุลให้ร่างกายกลับมาสู่ภาวะปกติ หายจากการเจ็บป่วย ดารงชีวิตได้อย่างปกติและมีความสุข
ผู้ป่วยได้รับสารอาหารและพลังงานไม่เพียงพอ ย่อม
ส่งผลกระทบ ดังนี้
เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ภูมิคุ้มกันโรคลดลง
การหายของแผลช้า
ความแข็งแรงและโครงสร้างของผิวหนังผิดปกติ
วันนอนโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น
อัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น จะเห็นได้ว่าอาหารมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างยิ่งทั้งในภาวะปกติและภาวะเจ็บป่วย ซึ่งความต้องการพลังงานของร่างกายในภาวะเจ็บป่วย
ความต้องการพลังงานของร่างกายในภาวะเจ็บป่วย
ขึ้นอยู่กับ เพศ อายุ ส่วนสูง น้าหนัก และความรุนแรงของโรค
ความต้องการพลังงานหรือพลังงานที่ต้องการใช้ (Energy Expenditure: EE)
เป็นพลังงานที่เพียงพอหรือเหมาะสมกับความต้องการของร่างกายในการสร้าง Adenosine triphosphate: ATP
ความต้องการพลังงานพื้นฐาน (Basal energy expenditure: BEE) หรือพลังงานที่ต้องการขณะพัก (Resting Energy Expenditure: REE )
พลังงานที่น้อยที่สุดที่ทำให้เกิดกระบวนการเมทาบอลิสซึมของร่างกายก่อนที่จะมีการทางานของอวัยวะอื่น ๆ
ความต้องการพลังงานทั้งหมด (Total Energy Expenditure: TEE)
ผลรวมของพลังงานทั้งหมดใน 1 วัน รวมถึง BEE พลังงานที่ใช้ในการย่อย และดูดซึมสารอาหาร การใช้พลังงานจากการทางานของร่างกายในแต่ละวัน และการใช้พลังงานของผู้ป่วยเฉพาะโรค
การประเมินภาวะโภชนาการ
ใช้สัญญาลักษณ์ย่อ “ABCD”
การประเมินทางชีวเคมี (Biochemical assessment: B)
เป็นวิธีการเจาะเลือด เพื่อประเมินภาวะโภชนาการ
การประเมินภาวะโลหิตจาง (Anemia)
ค่าของฮีโมโกลบิน (Hb)ค่าต่ำกว่า 10 mg% แสดงผลภาวะโลหิตจาง
ชาย ค่าปกติ 14 –18 mg %
หญิง ค่าปกติ 12-16 mg%
Hematocrit (Hct) การแปลผล ค่าต่ากว่า 30 % แสดงผลภาวะโลหิตจาง
ชาย ค่าปกติ 40 –54 %
หญิง ค่าปกติ 37-47 %
การตรวจร่างกายทางคลินิก (Clinical assessment: C)
เป็นวิธีการตรวจร่างกายเช่นเดียวกับการประเมินภาวะสุขภาพ
ตรวจร่างกายเบื้องต้น
ผิวหนัง ผม ฟัน เหงือก ริมฝีปาก ลิ้น และเปลือกตา
ตรวจ Conjunctiva ของเปลือกตาล่าง (ปกติจะมีสีชมพูค่อนข้างแดง)
สังเกตดูลักษณะเล็บเรียบเป็นมัน มีสีชมพู (ลักษณะเล็บที่คล้ายรูปช้อน ผิวไม่เรียบ แสดงถึงการขาดธาตุเหล็ก และลักษณะเล็บมีแถบสีขาวพาดขวาง แสดงถึงภาวะขาดโปรตีน) กด
ตรงกลางเล็บแล้วปล่อย (ปกติจะกลับมาสีชมพูเหมือนเดิมไม่เกิน 2 วินาที)
ตรวจดูฝ่ามือ ให้เทียบกันทั้ง 2 ข้าง (ปกติจะมีสีชมพู)
การวัดสัดส่วนของร่างกาย (Anthropometric measurement: A
การวัดส่วนสูงและน้าหนักแล้วนำมาคานวณค่าดัชนีมวลกาย
ดัชนีมวลของร่างกาย (Body Mass Index ; BMI)
เป็นการประเมินมวลของร่างกายทั้งหมด โดยวัดส่วนสูงและน้าหนักแล้ว นำมาประเมินภาวะโภชนาการโดยคานวณหาดัชนีมวลของร่างกายมีหน่วยเป็นกิโลกรัมต่อตารางเมตร
สูตรคำนวณ
BMl = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร)2
การประเมินจากประวัติการรับประทานอาหาร(Dietary assessment: D)
ประกอบด้วย
ชนิดของอาหารที่บริโภค
พฤติกรรมการรับประทานอาหาร
ประวัติการรับประทานอาหาร
มีประวัติรับประทานอาหารเจตลอดชีวิต
ผลการประเมิน: มีโอกาสขาดสารอาหารที่จาเป็นต่อร่างกาย
มีประวัติเลือกรับประทานอาหารประเภททอด และอาหารรสหวาน
ผลการประเมิน: มีโอกาสเกิดภาวะโภชนาการเกิน (น้าหนักเกินมาตรฐาน)
มีประวัติชอบรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ
ผลการประเมิน: มีโอกาสเกิดโรคพยาธิใบไม้ในตับ
การล้างภายในกระเพาะอาหาร (Gastric lavage)
การล้างภายในกระเพาะอาหาร ใช้มากในกรณีที่รับประทานยาพิษ ได้รับยาเกินขนาด (Over dose) รวมถึงเป็นการล้างกระเพาะอาหารเพื่อห้ามเลือด
วัตถุประสงค์
ทดสอบหรือยับยั้งการมีเลือดออกจานวนน้อยในทางเดินอาหารส่วนบน
ตรวจสอบการอุดตันของสาย
ล้างกระเพาะอาหารในกรณีที่ผู้ป่วยกินยาหรือสารพิษ
ตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคปอดและหลอดลม ในกรณีที่ไม่สามารถนำเสมหะจากผู้ป่วยไปตรวจได้ ปัจจุบันไม่นิยมใช้เพราะใช้เครื่องดูดเสมหะได้
อุปกรณ์เครื่องใช้
ผ้าเช็ดปาก หรือผ้าขนหนูผืนเล็ก หรือผ้ากันเปื้อน
สายยางสำหรับใส่ในกระเพาะอาหาร
ชามรูปไตหรืออ่างกลม
Ky jelly
สารละลายที่ใช้ล้างกระเพาะอาหาร ใช้น้าเกลือ (Isotonic saline)
ถุงมือสะอาด 1 คู่ และ Mask
ชุดล้างกระเพาะอาหาร (ภาชนะสาหรับใส่สารละลายทั้งสำหรับเทสารละลายและที่ดูดออกจากผู้ป่วย และ Toomey syringe)
วิธีปฏิบัติ
6) ใช้ Toomey syringe ดูดสารละลาย 50 ซีซี
7) หักพับสายไว้ก่อนปลดรอยต่อ จากนั้นต่อสายกับกระบอกฉีดยาแล้วปล่อยสายที่หักพับไว้ ค่อยดันสารละลายผ่านกระบอกฉีดยาเข้าทางสาย
5) ปูผ้าคลุมบนเตียงและตัวผู้ป่วยตรงที่จะปลดสาย
8) ดูดน้ำออกเบา ๆ หรือปล่อยให้สารละลายไหลออกเอง ถ้าไม่มีน้ำออกให้ผู้ป่วยพลิกตัวไปมา ถ้ายังดูดไม่ออกให้รายงานแพทย์ บันทึกสารน้ำที่ใส่กับที่ดูดออกมาต้องมีปริมาณเท่ากัน
4) เตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ให้พร้อม ทาการใส่สายยางก่อน วิธีปฏิบัติเหมือนการใส่สายให้อาหาร
9) ใส่สารละลายเข้าไปแล้วปล่อยหรือดูดน้ำออกเรื่อย ๆ จนการไหลผ่านดี หรือครบจานวนตามแผนการรักษาพับสายไว้ ปลดกระบอกฉีดยา ปิดปลายสาย
3) ล้างมือก่อนจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้
10) ถ้ากรณีล้างกระเพาะอาหาร เพื่อห้ามเลือดในกระเพาะอาหาร ต้องทำการล้างจนสารน้ำมีลักษณะสีแดงจางที่สุด หรือมีลักษณะใส
2) ประเมินสภาพผู้ป่วย อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ ปิดประตูหรือกั้นม่านให้เรียบร้อย
11) เมื่อสิ้นสุดการล้างกระเพาะอาหารแล้ว ให้ทาความสะอาดช่องปากและจัดท่าผู้ป่วยในท่าที่สุขสบาย
1) ตรวจสอบคำสั่งการรักษา
12) เก็บเครื่องใช้ทาความสะอาด และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ
Obesity (ภาวะอ้วน)
คือ ร่างกายมีการสะสมของมวลไขมันในร่างกายมากเกินไป มีค่าดัชนีมวล
กาย (BMI) ทั้งเพศชายและเพศหญิง ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป
การวัดขนาดรอบเอวในผู้ชายรอบเอว มากกว่า 40 นิ้ว (102 เซนติเมตร) ผู้หญิง 35 นิ้ว (88 เซนติเมตร) อัตราส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพก
เพศชาย ≥ 0.9 เพศหญิง ≥ 0.85
การพยาบาลผู้ที่มีภาวะอ้วน
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แป้งและไขมันสูง
รับประทานอาหารครั้งละน้อย แต่บ่อยครั้งและจากัดอาหารมื้อเย็น
จำกัดการใช้น้ามัน ไขมัน น้ำตาล
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารขณะดูโทรทัศน์
จำกัดมื้ออาหารและสัดส่วนของอาหารตามพีระมิดอาหาร
เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารจากผักผลไม้ และธัญพืชที่ไม่ขัดสี
คำนวณพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน
ส่งเสริมให้ออกกาลังกายอย่างสม่าเสมอหรือสัปดาห์ละ 3 วัน
Emaciation (ภาวะผอมแห้ง)
คือ ภาวะที่ผอมมากเกินไป BMI น้อยกว่าหรือเท่ากับ 16 กิโลกรัมต่อ
ตารางเมตร
น้ำหนักลดลงตลอดเวลาและลดลงเป็นเวลานาน ร่วมกับขาดสารอาหาร มีการควบคุมอาหารหรือ อดอาหาร ออกกาลังกายมากเกินไป
Anorexia nervosa
ภาวะเบื่ออาหารเป็นความรู้สึกไม่อยากรับประทานอาหาร อาจรู้สึกต่อต้าน เมื่อนึกถึงหรือเมื่อเห็นอาหาร รับประทานแล้วไม่ค่อยรู้สึกอร่อย
อาการเบื่ออาหารอาจเกิดควบคู่กับคลื่นไส้ อาเจียน
กลไกการเกิดไม่ทราบแน่นอน แต่น่าจะเกี่ยวกับการกระตุ้นที่ไม่เหมาะสมของศูนย์ความหิว (Feeding center)และศูนย์ความอิ่ม (Satiety center) ในสมองส่วนไฮโปทาลามัส
ภาวะเบื่ออาหารทาให้รับประทานอาหารได้น้อย หรือไม่ยอมรับประทาน ทาให้อ่อนเพลีย น้าหนักลด ขาดอาหาร อาจเป็นโรคจากการขาดสารอาหารและพลังงาน หรือโรคแผลในกระเพาะอาหารได้
Bulimia Nervosa
เป็นความผิดปกติของพฤติกรรมการรับประทาน โดยจะ
รับประทานวันละหลาย ๆ ครั้ง ครั้งละมาก ๆ
หลังจากรับประทานเสร็จจะรู้สึกไม่สบายใจและรู้สึกผิดที่รับประทานเข้าไปมากมาย จึงต้องหาวิธีเอาออกโดยอาจล้วงคอให้อาเจียนออกมาจนหมดหรือกินยาระบายอย่างหนัก ตลอดจนอดอาหาร
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะ Anorexia nervosa และ Bulimia nervosa
ส่งเสริมความรู้สึกอยากอาหารให้มากที่สุดและลดความรู้สึกเบื่ออาหาร โดยจัดให้รับประทานอาหารในท่าสบายจัดบรรยากาศที่สะอาดและสุขสบาย รับประทานอาหารที่หลากหลาย
ดูแลด้านจิตใจ พยายามให้ช่วงเวลารับประทานอาหารเป็นเวลาที่จิตใจสบายสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายขณะที่รับประทานอาหารเท่าที่ทำได้
หาสาเหตุ ที่พบได้บ่อย ๆ เช่น โรคปากและฟัน คออักเสบ โรคมะเร็ง เป็นต้นแล้วขจัดสาเหตุ
การใช้ยา แพทย์อาจพิจารณาให้ยากระตุ้นความอยากอาหาร ในรายที่ไม่พบโรคทางร่างกายและต้องการให้รับประทานอาหารมากขึ้น
การดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
พิจารณาและแนะนำเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
ส่งเสริมให้มีการเคลื่อนไหวของร่างกาย หรือทำกิจกรรมตามสภาพ
ร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งจะทำให้ระบบทางเดินอาหารทางานได้ดีขึ้น
พยายามให้รับประทานอาหารทางปากมากที่สุด โดยอำนวยความสะดวก
และช่วยเหลือเกี่ยวกับการรับประทานตามความเหมาะสม
การให้อาหารด้วยวิธีพิเศษ
การให้อาหารทางสายที่ใส่ทางจมูกถึงกระเพาะอาหาร การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ การให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำ
Nausea and vomiting (อาการคลื่นไส้และอาเจียน)
อาการอาเจียน
คือ การที่มีแรงดันจากภายในดันเอาสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหาร หรือ
ลำไส้เล็กส่วนต้นออกมาทางปาก เป็นผลจากมีการบีบตัวของลาไส้เล็กส่วนต้น หรือกระเพาะอาหารส่วนล่างอย่างแรง
อาการคลื่นไส้
เป็นความรู้สึกอยากขับอาหารที่กินเข้าไปแล้วออกทางปาก มักเป็นอาการนำก่อนอาเจียน แต่อาจเกิดคลื่นไส้โดยไม่อาเจียนได้
อาการที่มักเกิดร่วมด้วย
ความดันเลือดลดลง ชีพจรเร็วขึ้นแล้วกลับช้าลง
หายใจเร็วขึ้น เหงื่อออกชุ่มที่หน้าผาก และทั่วตัว
ตาลาย เวียนศีรษะ
มีน้ำลายมาก อาจเป็นลม
Abdominal distention (ภาวะท้องอืด)
เป็นความรู้สึกแน่น อึดอัด ไม่สบายในท้องที่เกิดจากมีแรงดันในท้องเพิ่ม ถ้าเป็นมากแรงดันในท้องที่เพิ่มจะดันกระบังลมให้สูงขึ้น ปอดขยายไม่เต็มที่ทาให้หายใจลาบาก
ผู้ป่วยมักกระวนกระวายไม่อยากอาหาร หรือน้ำ
ถ้าเป็นติดต่อกันนานจะทาให้เกิดการขาดอาหารหรือน้ำตามมาได้
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องอืด
แสดงความเข้าใจและเห็นใจ และยินดีให้การช่วยเหลืออย่างจริงใจ
ค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะท้องอืดและช่วยเหลือตามสาเหตุ
งดอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส
จัดให้นอนศีรษะสูง 45-60องศา เพื่อช่วยลดอาการแน่นท้อง และผายลมสะดวก
Dysphagia and aphagia (ภาวะกลืนลำบากและกลืนไม่ได้)
ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia)
เป็นความรู้สึกที่ผู้ป่วยเกิดความลำบากในการกลืน อาจ
รู้สึกว่ากลืนแล้วติดอยู่ที่ใดที่หนึ่งหรือกลืนแล้วรู้สึกเจ็บทั้งสองอย่าง
ภาวะกลืนไม่ได้ (Aphagia)
จึงไม่สามารถกลืนได้ ไม่ว่าจะเป็นอาหารแข็ง อาหารธรรมดา อาหารอ่อน อาหารเหลว
รุนแรงมากที่สุด คือ กลืนไม่ได้เลยแม้แต่น้าหรือน้ำลาย
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากและกลืนไม่ได้
6) การเตรียมผู้ป่วยเพื่อตรวจหรือรักษา การตรวจรักษาโดยการส่องกล้องเข้าไปดูที่หลอดอาหาร (Esophagoscopy) หลังการตรวจผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บและมีเสมหะมาก
7) การดูแลด้านจิตใจ ปลอบโยน ให้กำลังใจ การสังเกตและการดูแลเอาใจใส่ที่ดีสามารถบอกถึงสาเหตุและอาจแก้ไขอาการได้
5) ดูแลด้านความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะความสะอาดของปากและฟัน
4) ระมัดระวังการสำลัก
3) ดูแลการได้รับยาตามแผนการรักษา
2) ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ
1) สังเกตและประเมินอาการเกี่ยวกับการกลืนไม่ได้หรือกลืนลำบากว่าเกิดขึ้นทันทีทันใดหรือค่อย ๆ มากขึ้น ชนิดของอาหารที่กลืนไม่ได้ มีอาการเจ็บร่วมด้วยหรือไม่
การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่รับประทานอาหารเองไม่ได้
การให้อาหารทางสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
การให้อาหารทางสายให้อาหารทางจมูกถึงกระเพาะอาหาร (Nasogastric feeding) นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า NG tube feeding
หมายถึง วิธีการให้อาหารแก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปาก แต่การทางานของระบบทางเดินอาหารยังอยู่ในภาวะปกติ โดยให้อาหารผ่านทางสายให้อาหารซึ่งสอดผ่านทางจมูกเข้าสู่กระเพาะอาหาร
มี 2 วิธี ได้แก่
Drip feeding
เป็นการให้อาหารทางสาย NG โดยใช้ชุดให้อาหาร (Kangaroo)
มีลักษณะคล้ายกับชุดให้สารน้าสามารถปรับจานวนหยดของอาหาร และควบคุมเวลาการให้อาหารได้ตามความต้องการ
เหมาะสาหรับผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของ
ระบบประสาท หรือหลังการผ่าตัดสมอง
Bolus dose
เป็นการให้อาหารทางสาย NG โดยใช้ Toomey syringe เหมาะ
สำหรับผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้เอง
อุปกรณ์เครื่องใช้
Stethoscope
แก้วน้ำ
ถุงมือสะอาด 1 คู่
กระดาษหรือผ้าเช็ดปาก
Toomey syringe ขนาด 50 ml 1 อัน
สำลีชุบ 70% Alcohol 2 ก้อน
ผ้ากันเปื้อน
ในกรณีที่มียาหลังอาหารบดยาเป็นผงและละลายน้ำประมาณ 15-30 ซีซี
ชุดทำความสะอาดปาก ฟัน และจมูก
อาหารเหลวสำเร็จรูป หรืออาหารปั่น (Blenderized diet
ถาดสำหรับใส่เครื่องใช้
การใส่และถอดสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร (Nasogastric intubation)
วัตถุประสงค์
เป็นการเพิ่มแรงดันเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร (Compression) โดยใช้
สายที่มีลูกโป่งทางด้านนอกสามารถเป่าลมเข้าไปทาให้โป่งขึ้นบางส่วนของทางเดินอาหารเพื่อยับยั้งการมีเลือดออก
ล้างภายในกระเพาะอาหาร (Gastric lavage) ใช้มากในกรณีที่กินยาพิษ
ได้รับยาเกินขนาด (Over dose)
เป็นการลดแรงดันในกระเพาะอาหารหรือลาไส้ (Decompression) เพื่อให้
แก๊ส สิ่งที่ค้างอยู่หรือน้าคัดหลั่งระบายออก มักต้องต่อกับเครื่องดูดสุญญากาศ
เก็บสิ่งตกค้างในกระเพาะอาหารไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เป็นทางให้อาหาร น้ำ หรือยา ในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานทางปากไม่ได้หรือ ได้รับไม่เพียงพอ
การใส่สายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า การใส่ NG tube
อุปกรณ์เครื่องใช้
สารหล่อลื่น เช่น K.Y. jelly เป็นต้น
แก้วน้ำ
Stethoscope
หลอดดูดน้ำ
ถุงมือสะอาด 1 คู่
พลาสเตอร์
Toomey syringe ขนาด 50 ml 1 อัน
กระดาษเช็ดปาก
สาย NG tube เบอร์ 14-18 fr.
ชามรูปไต
ถาดสำหรับใส่เครื่องใช้
ผ้าเช็ดตัว
การถอดสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
เป็นการถอดสายยางที่เคยใส่ไว้เพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง แต่การถอดสายให้อาหารออกนั้นเป็นบทบาทกึ่งอิสระของพยาบาลเมื่อแผนการรักษาเปลี่ยนไป
อุปกรณ์เครื่องใช้
ผ้ากันเปื้อนหรือผ้าเช็ดตัว
2) ชามรูปไต
3) น้ายาบ้วนปาก
4) สาลีชุบ 70% Alcohol
5) ไม้พันสาลีชุบเบนซิน (Benzene) และน้าเกลือ (Normal saline)
6) ถุงมือสะอาด
7) ผ้าก๊อส
วิธีปฏิบัติ
1) อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจเหตุผล
2) ไขหัวเตียงสูงเพื่อจัดให้ผู้ป่วยอยู่ท่านั่ง
3) ตรวจคาสั่งการรักษา เพื่อยืนยันแผนการรักษา
4) ล้างมือให้สะอาด เช็ดให้แห้งและใส่ถุงมือ สวมmask
5) ปูผ้ากันเปื้อนหรือผ้าขนหนู และแกะพลาสเตอร์ที่ยึดสายจมูกออก
6) หักพับสาย และดึงสายออก ขณะดึงสายให้ผู้ป่วยอ้าปากหายใจยาว ๆ ใช้ผ้า
ก๊อสจับสายที่ดึงออกมาด้วยมืออีกข้างหนึ่ง การดึงควรดึงอย่างนุ่มนวลแต่เร็วระวังสายยางสะบัด
7) เช็ดรอยพลาสเตอร์ด้วยเบนซิน เช็ดตามด้วยน้าเกลือและแอลกอฮอล์แล้วเช็ดให้แห้ง
8) ทาความสะอาดปาก ฟัน และจมูก เพื่อช่วยให้รู้สึกสะอาด และสดชื่น
การป้อนอาหาร (Feeding)
หมายถึง การช่วยให้ผู้ป่วยได้รับอาหารเข้าสู่ร่างกายทางปาก โดย ผู้ป่วยอาจไม่สะดวกในการใช้มือในการตักอาหาร หรือมีความอ่อนเพลียจากการเจ็บป่วย
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ได้รับอาหารตาม
ความต้องการของร่างกาย
อุปกรณ์เครื่องใช้
ถาดอาหารพร้อมอาหาร
ช้อนหรือช้อนส้อม
แก้วน้ำพร้อมน้ำดื่ม และหลอดดูดน้ำ
กระดาษหรือผ้าเช็ดปาก
ผ้ากันเปื้อน
วิธีปฏิบัติ
การเตรียมผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อม
3) ปูผ้ากันเปื้อนตั้งแต่ใต้คางลงไป หากผู้ป่วยที่อยู่ในท่านอนตะแคง ควรปู
บนที่ไหล่และหมอนด้วย
4) วางถาดอาหารในตาแหน่งที่ผู้ป่วยสามารถมองเห็นชนิดของอาหารได้
บอกรายการอาหารและเชิญชวนให้เกิดความอยากอาหารมื้อนั้น
2) จัดให้อยู่ในท่านั่ง กรณีที่นั่งไม่ได้จัดให้นอนตะแคงขวาเล็กน้อย
5) วางเครื่องใช้อื่น ๆ ในตาแหน่งที่สามารถหยิบได้สะดวก
1) ก่อนเวลาอาหาร แนะนาให้ผู้ป่วยออกกาลังกายบ้าง โดยเฉพาะในรายที่
เคลื่อนไหวด้วยตนเองได้ และควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือไม่สุขสบาย
6) ล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง
การป้อนอาหาร
4) หลังป้อนอาหารให้ผู้ป่วยดื่มน้า บ้วนปาก หรือแปรงฟัน และเช็ดปากให้
สะอาด
5) เก็บถาดอาหาร และเครื่องใช้ต่าง ๆ เมื่อผู้ป่วยรับประทานเสร็จ
3) ไม่ควรจ้องหน้าผู้ป่วย ระวังการตักอาหารไม่ทาอาหารหกรดผู้ป่วย และ
เช็ดปากให้เมื่อเปื้อนอาหาร
2) จังหวะในการป้อนต้องสัมพันธ์กับความสามารถในการรับประทานอาหารเคี้ยวและกลืนของผู้ป่วย
1) ขณะป้อนอาหารตักอาหารให้มีปริมาณที่เหมาะสม
สำหรับผู้ป่วยพิการ
ถ้าผู้ป่วยจับช้อนไม่ถนัดควรสาธิตการใช้ช้อนและส้อมในการตักอาหารใส่
ปากหรือดัดแปลงที่จับของให้จับได้สะดวก
ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อย ควรรับประทานอาหารเหลวที่
สอดคล้องกับการแผนรักษาของแพทย์
สาหรับผู้ป่วยกลืนลำบาก
จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งหรือศีรษะสูงในลักษณะก้มเล็กน้อย เพื่อป้องกัน
การสำลัก
สอบถามผู้ป่วยถึงความรู้สึกเกี่ยวกับอาหารในปาก เพื่อดูว่ามีอาหารที่
เหลือค้างในปาก
สอนวิธีการใช้ลิ้นและการกลืน เพื่อช่วยให้การกลืนได้ดีขึ้น
ควรเริ่มจากอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวก่อน ควรหลีกเลี่ยงอาหารเหลวและอาหารที่ต้องอาศัยการเคี้ยวมาก
ให้อาหารครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้ง
ในขณะรับประทานอาหารควรหยุดพักเป็นระยะ ๆ จะช่วยให้ได้รับประทานอาหารได้มากขึ้น
การให้อาหารทางสายยางให้อาหารที่ใส่เข้าทางรูเปิดของกระเพาะอาหาร
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับอาหารตามความต้องการของร่างกาย
อุปกรณ์เครื่องใช้
เหมือนกับการให้อาหารทางสาย NG tube
วิธีปฏิบัติ
1) แจ้งและอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจจุดประสงค์และวิธีทำ
2) จัดให้อยู่ในท่านั่ง หรือนอนในท่าศีรษะสูง
3) เปิดเสื้อผ้าบริเวณ Gastrostomy tube หรือ Jejunostomy tube ออก ปูผ้ากันเปื้อนไว้ใต้ Tube
5) ตรวจสอบคำสั่งการรักษา
6) ปลดผ้าก๊อซที่หุ้มปลายสายให้อาหารออกทาความสะอาดปลายสายด้วยสาลีชุบ 70% Alcohol
7) ใช้ Toomey syringe ต่อกับปลายสายดูด Gastric content เพื่อตรวจสอบความสามารถของกระเพาะอาหารในการบีบไล่อาหารไปยังลาไส้เล็ก
4) ล้างมือให้สะอาด ใส่ Mask
8) หักพับสาย ถอด Syringe แล้วดึง Plunger ออก และต่อกระบอกสูบเข้ากับสายให้อาหาร
9) เทอาหารใส่กระบอก Syringe และปล่อยให้อาหารไหลเข้าช้า ๆ ต่อเนื่องกันไปไม่ให้ขาดระยะ เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้ากระเพาะอาหาร หรือต่อส่วนปลายของสายชุดให้อาหาร
10) กรณีให้ยาหลังอาหาร
1) ก่อนที่อาหารจะหมดควรเหลืออาหารค้างใน Syringe ประมาณ 10 ซีซี
และควรรินยาลงไปตรง ๆ
2) ก่อนยาจะหมด เหลือค้างใน Syringe ประมาณ 5 มล. เติมน้ำสะอาด
เพื่อไล่เศษอาหารและยา ที่ตกค้างอยู่ในสายให้อาหาร
11) เช็ดปลายสายให้อาหารด้วยสาลีชุบ 70% Alcohol
12) หักพับปลายสายให้อาหาร เพื่อป้องกันอากาศเข้าไปในกระเพาะอาหาร
13) ปิดปลายสายอาหารให้เรียบร้อย
14) ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าเดิมอย่างน้อย 30 นาที เพื่อป้องกันอาหารไหลย้อน และสำลักได้
15) เก็บเครื่องใช้ทาความสะอาด และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย