Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ - Coggle Diagram
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ
ปัจจัยที่มีผล
อายุ หรือการพัฒนาในวัยต่างๆ
วัยเด็ก ความจุน้อยน้อย ปัสสาวะบ่อยกว่าผู้ใหญ่
ผู้สูงอายุ ปัสสาวะบ่อย มักตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน
น้ำ และอาหาร
จำนวนที่ได้รับ และจำนวนที่สูญเสีย
ยา
บางตัวอาจมีผล
ด้านจิตสังคม
ความเครียด ความกลัว ความปวด
สังคม และวัฒนธรรม
การเลี้ยงดูในครอบครัว
ลักษณะท่าทาง
ผู้ชายปกติใช้ท่ายืน จะมีปัญหาการขับถ่ายเมื่ออยู่ในท่านอนราบ
ผู้หญิงปกติใช้ท่านั่ง จำเป็นต้องใช้หม้อนอนบนเตียงราบ
กิจกรรมและความตึงของกล้ามเนื้อ
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ คาสายปัสสาวะนาน นอนบนเตียงนานๆ
พยาธิสภาพ
มีผลต่อการสร้างปัสสาวะทั้งปริมาณ และคุณภาพ
การผ่าตัด และการตรวจเพื่อวินิจฉัยต่างๆ
ความเครียด ตรวจวินิจฉัย ฉีดยาชาที่ไขสันหลัง
แบบแผนการขับถ่าย
และการขับถ่ายที่ผิดปกติ
แบบแผนการขับถ่าย
แบบแผนปกติ
ปริมาณ 100 - 400 มล.
สามารถกลั้นได้ เมื่ออยู่ในสภาวะที่ถ่ายไม่ได้
ขับถ่ายครั้งละไม่เกิน 30 วินาที
ช่วงแรกจะพุ่งแรง และใหญ่กว่าตอนสุด
ตลอดการถ่ายไม่มีอาการเจ็บปวด
ปัสสาวะ 4 - 6 ครั้ง และกลางวันบ่อยกว่ากลางคืน
มักถ่ายก่อนนอน ตอนเช้าหลังตื่นนอน ก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร
Residual urine ไม่ควรเกิน 50 มล. ในผู้ใหญ่ และไม่ควรเกิน 100 มล. ในผู้สูงอายุ
ลักษณะที่ปกติ
ปกติในผู้ใหญ่ ประมาณวันละ 800-1,600 มล.
ใส ไม่ขุ่น ไม่มีตะกอน
สีเหลืองจางจนถึงเข้ม สีเหลืองฟางข้าว หรือสีเหลืองอำพัน
pH 4.6 - 8.0
ความถ่วงจำเพาะ 1.015 - 1.025
ตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ไม่พบ Casts,Bacteria,Albumin หรือน้ำตาล ไม่พบเม็ดเลือดแดง
การขับถ่ายที่ผิดปกติ
ไม่มีปัสสาวะ
ปัสสาวะน้อยกว่า 500 มล./วัน
ปัสสาวะมากกว่า 2,500 - 3,000 มล./วัน
ปัสสาวะตอนกลางคืน มากกว่า 2 ครั้ง
ปัสสาวะขัด ลำบาก ต้องใช้แรงเบ่งเพิ่ม
ปัสสวะบ่อย หรือกะปริบกะปรอย
ปัสสาวะรดที่นอน ในผู้ที่อายุมากกว่า 5 ปี
ปัสสาวะคั่ง ไม่ขับถ่าย 8 - 10 ชั่วโมง
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือกลั้นไม่ได้
กลั้นไม่ทัน ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน
เล็ด ซึมออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ
ท้น มีปัสสาวะมากกว่าจะเก็บไว้ได้
กลั้นไม่อยู่โดยสิ้นเชิง ไหลตลอดเวลา
กลั้นไม่อยู่เกิดจากภาวะ หรือโรคอื่นๆ
ส่วนประกอบที่ผิดปกติ
ปัสสาวะเป็นเลือด
มีเม็ดเลือดแดงปนออกมาในน้ำปัสสาวะ
น้ำตาลในปัสสาวะ
มีน้ำตาลปนออกมาในน้ำปัสสาวะ
โปรตีนในปัสสาวะ
มีโปรตีน หรือแอลบูมินในปัสสาวะมากกว่า 150 มล.
คีโตนในปัสสาวะ
ตรวจพบคีโตนในน้ำปัสสาวะ
ปัสสาวะมีสีเหลืองน้ำตาลของบิลิรูบิน
ตรวจพบบิลิรูบินในน้ำปัสสาวะ
ปัสสาวะมีสีดำของฮีโมโกลบิน
มีการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงทำให้เกิด Oxyhemoglobin ในปัสสาวะ
ปัสสาวะเป็นหนอง
ปัสสาวะที่มีเซลล์หนอง เม็ดเลือดขาวในปัสสาวะบางครั้ง
นิ่วในปัสสาวะ
มีก้อนนิ้วปนออกมากับน้ำปัสสาวะ
ไขมันในปัสสาวะ
มีไขมันออกมาในน้ำปัสสาวะ
หลักการส่งเสริมสุขภาพ
ให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
ควรได้รับน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 6 - 8 แก้ว หรือประมาณ 1,500 - 2,000 มล.
ป้องกันการติดเชื้อ
ฝึกถ่ายบ่อยๆ ทุก 2 - 4 ชั่วโมง
ดื่มน้ำ 2 แก้วก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์
อาบน้ำด้วยฝักบัวแทนอาบในอ่างน้ำ
ใส่ชุดชั้นในที่ทำด้วยฝ้ายดีกว่าทำด้วยไนลอน
เลี่ยงการใส่กางเกงในที่แน่น หรือคับเกินไป
ให้กล้ามเนื้อทำงานอย่างเต็มที่
กระตุ้นบริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
ช่วยเหลือผู้ป่วยกรณีปัสสาวะไม่ออก
จัดให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียวในที่มิดชิดขณะปัสสาวะ
ช่วยให้ปัสสาวะในท่าที่สะดวก ไม่เร่งรัดผู้ป่วยเกินไป
ใช้ความร้อนช่วยในการขับถ่าย
สอนนวดกระเพาะปัสสาวะ
เทคนิคที่ช่วยทำให้กระเพาะปัสสาวะว่าง ไม่มีปัสสาวะคั่ง
สร้างนิสัยของการถ่ายปัสสาวะ
ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีความบกพร่องเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในช่วงเวลาขับถ่ายปัสสาวะ
ช่วยเหลือผู้ป่วย กรณีที่ไม่สามารถไปห้องน้ำได้
ผู้ป่วยหญิงใช้หม้อนอน
ผู้ป่วยชายใช้กระบอกปัสสาวะ
การสวนปัสสาวะ
วัตถุประสงค์
ระบายน้ำปัสสาวะในผู้ป่วยที่ไม่สามารถถ่ายเองได้
ช่วยให้กระเพาะปัสสาวะว่างในผู้ป่วยที่ต้องทำหัตถการต่างๆ
ตรวจสอบจำนวนน้ำปัสสาวะที่ค้างในกระเพาะปัสสาวะ
เก็บน้ำปัสสาวะส่งตรวจเพาะเชื้อ
สวนล้าง หรือใส่ยาในกระเพาะปัสสาวะ
ชนิดสายสวน
สวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว ถ้าไม่มีน้ำปัสสาวะไหลแล้ว จะถอดออก
สวนคาสายปัสสาวะ ใส่สายสวนตลอดเวลา
อุปกรณ์
ชุดทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ุ
ชุดสวนปัสสาวะปราศจากเชื้อ
สารหล่อลื่นสายสวนชนิดละลายน้ำได้
น้ำกลั่นปลอดเชื้อ
กระบอกฉีดยาปลอดเชื้อ
ถุงรองรับปัสสาวะปลอดเชื้อ และระบบปิด
โคมไฟ หรือไฟฉาย
พลาสเตอร์ เข็มกลัด ผ้าปิดตา
สายสวนปัสสาวะที่พิจารณาตามการใช้งานต่างๆ
วิธีสวน
สวนคาสายปัสสาวะ
อธิบายการทำ และประโยชน์ ล้างมือ เตรียมของ กั้นม่าน จัดแสง
แขวนถุงรองรับปัสสาวะให้ต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะ จัดท่า ปิดตา
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ุภายนอก วางชุดสวน และเปิดด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ
ใช้ transfer forceps จัดวางเครื่องใช้ตามลำดับ เทน้ำยาลงในถ้วย บีบสารหล่อลื่นลงผ้าก๊อซ
ฉีกซองสายสวนใช้ transfer forceps คีบ ฉีกซองกระบอกฉีดยาด้วยวิธีปลอดเชื้อ
เปิดซองถุงมือ และใส่ถุงมือปลอดเชื้อ ตรวจสอบประสิทธิภาพของบอลลูน
แหวก Labia จนเห็นรูเปิดของท่อปัสสาวะ เช็ดโดยรอบด้วยน้ำเกลือ
ใช้มือข้างถนัดจับสายสวนหล่อลื่น ยกภาชนะรอรับปัสสาวะวางบนผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลางระหว่างขา
ให้ forceps จับให้มั่นคง ค่อยๆสวนสายเข้าไป จนมีปัสสาวะไหลออกมา แล้วดันเข้าไปอีกนิด จับสายสวนอยู่กับที่สักครู่
หมุนสายสวนช้าๆ หยิบกระบอกฉีดยาที่บรรจุน้ำกลั่น ดันน้ำกลั่นเข้าไปทางหางไม่เกิน 10 มล.
ถอดปลายสายถุงรองรับ เช็ดบริเวณ vulva ให้แห้ง ถอดถุงมือ ติดพลาสเตอร์ยึดสายสวนกับต้นขา
เก็บของใช้ไปทำสะอาด และบันทึกรายงานการสวนคาสานปัสสวะ
ถอดสายสวนปัสสาวะ
เตรียม ถุงมือสะอาด syringe กระดาษชำระ ชุดความทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ุ ถุงกระดาษหรือพลาสติก
บอกผู้ป่วย ใส่ถุงมือ ต่อ syringe เข้ากับหางสายสวน ดูดน้ำกลั่นออกให้หมด
ใช้กระดาษชำระเข็ดให้แห้ง สังเกตลักษณะ จำนวนปัสสาวะก่อนเททิ้ง
บันทึกวันที่เอาสายออก จำนวน สี ลักษณะของปัสสาวะในบันทึกทางการพยาบาล
กระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ
การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
วิธีเก็บแบบรองเก็บปัสสาวะช่วงกลาง
ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ุด้วยน้ำสะอาด
ล้างมือ เช็ดให้แห้ง ให้ปัสสาวะช่วงต้นทิ้งไปเล็กน้อย
เก็บในช่วงถัดมาประมาณครึ่งภาชนะ หรือ 30 - 50 มล.
ปัสสาวะช่วงสุดท้ายทิ้งไป โดยห้ามสัมผัสด้านในภาชนะ
นำปัสสาวะไปส่งเจ้าหน้าโดยเร็วที่สุด
วิธีเก็บปัสสาวะจากสายสวนที่คาไว้
ใช้ Clamp หนีบสายสวนที่ใต้รอยต่อระหว่างสายต่อถุงกับสายสวนไว้นาน 15 - 30 นาที
เตรียม syringe sterile เข็มปลอดเชื้อ sterile swab น้ำยาฆ่าเชื้อ
ล้างมือ สวมถุงมือ เช็ดบริเวณที่จะเก็บด้วยน้ำยาปลอดเชื้อ
ใช้กระบอกฉีดยาที่มีเข็มปลอดเชื้อแทบที่สายสวนตรงตำแหน่งที่ทำความสะอาดไว้
ดูดปัสสาวะ 10 มล. ส่งตรวจเพาะเชื้อทันที
วิธีเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
รวมปัสสาวะจนครบ 24 ชม.แล้วส่งตรวจ
เริ่มเก็บ 08.00น.จนถึง 08.00 ของอีกวัน
แนะนำให้งดโปรตีน คาเฟอีน ก่อนเก็บ 6 ชม.
แนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ ก่อนและหลังระหว่างการเก็บ
หลักการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการ
ใส่ถุงยางอนามัย เพื่อระบายปัสสาวะ
วัตถุประสงค์
รักษาความสะอาด และป้องกันการระคายเคืองผิว
ป้องกันแผลกดทับ การติดเชื้อ การอักเสบ
การดูแล
เปลี่ยนให้ผู้ป่วยทุกวัน ก่อนที่จะเช็ดตัวหรืออาบน้ำ
ใช้สบู่ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ุ เช็ดให้แห้ง
ใส่ถุงยางอันใหม่ แต่ถ้าหนังหุ้มปลายองคชาตมีรอยถลอก แดง บวม ให้งดใส่ชั่วคราว และรายงานแพทย์
กระบวนการพยาบาล
การวางแผน และปฏิบัติ
ประเมินอาการ และอาการแสดงของการติดเชื้อ
ประเมินสัญญชีพ
ให้การพยาบาลโดยยึดหลัก Aseptic technique
ทำความสะอาดฝีเย็บ วันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น
ใช้สบู่อ่อนและน้ำ หรือน้ำยาทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ุภายนอก
หลีกเลี่ยงการใช้แป้ง หรือโลชั่น
รักษาการระบายให้อยู่ในระบบปิดเสมอ อย่าปล่อยให้ปัสสาวะเต็มถุง
เททิ้งอย่างน้อยทุก 8 ชม.ก่อนและหลังเทควรเช็ดด้วย 70% แอลกอฮอล์ ปลายท่อเปิดของถุง
ส่งเสริมให้ปัสสาวะเป็นกรด อาจเปลี่ยนสายสวน ระหว่าง 5 วันถึง 2 สัปดาห์
ดูแลสายสวน และถุงรองรับปัสสาวะให้ต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะเสมอ
กระตุ้นให้ผู้ป่วยลุกขึ้น และออกกำลังกาย ถ้าติดเชื้อให้แยกห้องผู้ป่วย
ดูแลให้ยา ติดตามผล รายงานแพทย์เมื่อพบความผิดปกติ
วินิจฉัย
การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
การประเมิน
ซักประวัติ แบบแผนและลักษณะการขับถ่าย
ตรวจร่างกายในระบบทางเดินปัสสาวะ
วิเคราะห์การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ประเมินผล
หลังให้การพยาบาลควรประเมินทุกครั้งตามเกณฑ์ประเมินผล