Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลระยะที่หนึ่งของการคลอด - Coggle Diagram
การพยาบาลระยะที่หนึ่งของการคลอด
ทฤษฎีการเริ่มต้นการคลอด(Theories of labor onset)
5.ทฤษฎีการกระตุ้นฮอร์โมน oxytocin (oxytocin stimulation theory) เชื่อว่า การคลอดเป็นภาวะเครียดของร่างกายที่ทำให้ต่อมใต้สมองส่วนหลังหลั่ง oxytocin ออกมามาก กล้ามเนื้อมดลูกก็จะทำงาน ทำให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูก
6.ทฤษฎีการขาดฮอร์โมน progesterone (grogesterone deprivation theory) เชื่อว่า กล้ามเนื้อมดลูกจะเริ่มมีการหดรัดตัวเมื่อระดับ progesterone ในกระแสเลือดลดลงจากระดับปกติ แต่ทฤษฎีนี้ยังไม่ได้รับความเชื่อมั่น
4.ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของอัตราส่วนระหว่างestrogenและprogesterone(changes in the estrogen//progesterone ratio) เชื่อว่า ระยะท้าย ๆ ของการตั้งครรภ์จะมี estrogen ในเลือดเพิ่มมากขึ้น alpha receptor ทำงานมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัว และเกิดการเจ็บครรภ์คลอด
7.ทฤษฎีการหลั่งฮอร์โมน prostaglandin (prostaglandin cascade theory) เชื่อว่า การหดรัดตัวของมดลูกเกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างต่อมหมวกไตของทารกกับมดลูก สร้าง prostaglandin ออกมา ส่งผลให้มีการหดรัดตัวของมดลูกและมีอาการเจ็บครรภ์ ทฤษฎีนี้ค่อนข้างได้รับความเชื่อถือมากที่สุด
3.ทฤษฎีอายุของรก (placental aging theory) เชื่อว่า หลังอายุครรภ์ 40 สัปดาห์ การไหลเวียนของเลือดบริเวณรกจะลดลงทำให้เนื้อเยื่อของรกเสื่อมสภาพ เป็นผลให้ผลิตฮอร์โมน progesterone ลดลง ไม่สามารถใช้อธิบายการคลอดก่อนกำหนดในกรณีต่าง ๆ ได้
8.ทฤษฎีการกระตุ้นของฮอร์โมน estrogen (estrogen stimulation theory) เชื่อว่า estrogen ที่เพิ่มขึ้นในกระแสเลือดเมื่อครรภ์ครบกำหนดจะช่วยทำให้มดลูกหดรัดตัวช่วยให้การสังเคราะห์ prostaglandin ที่รกและเยื่อหุ้มรกเพิ่มขึ้น
2.ทฤษฎีความดัน (pressure theory) เชื่อว่า การคลอดเกิดส่วนนำของทารกเคลื่อนตํ่าลงมากดบริเวณมดลูกส่วนล่าง จนกระทั่งตัวรับรู้ความดัน ส่งสัญญาณไปยังต่อมใต้สมองของ ให้มีการหลั่ง oxytocin กระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวและเกิดการคลอดขึ้น ทฤษฎีนี้สามารถใช้อธิบายได้ทั้งการคลอดก่อนกำหนดและการคลอดครบกำหนดที่มีการเคลื่อนตํ่าของ ส่วนนำตามปกติ ไม่สามารถอธิบายการเจ็บครรภ์คลอดในรายที่ส่วนนำของทารกไม่เคลื่อนตํ่า
9.ทฤษฎีฮอร์โมน cortisol ของทารกในครรภ์ (fetal cortisol theory) เชื่อว่า เมื่อทารกในครรภ์เจริญเติบโตเต็มที่ ต่อมหมวกไตจะไวต่อ adreno corticotropic hormone ที่สร้าง จากต่อมใต้สมองเพิ่มมากขึ้น ช่วยกระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมน cortisol มากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อมดลูก เริ่มหดรัดตัวและเกิดการเจ็บครรภ์คลอด ทฤษฎีนี้ค่อนข้างได้รับความเชื่อถือ
1.ทฤษฎีการยืดขยายของมดลูก (uterine stretch theory) เชื่อว่าเมื่อครรภ์ครบกำหนด มดลูกมีการยืดขยายถึงจุดสูงสุดไม่สามารถยืดขยายได้อีกแล้ว เกิดกระบวนการทำให้มีการทำงานประสานกันของมดลูกส่วนบนและส่วนล่าง (depolarization) หดรัดตัว
ความเจ็บปวดในการคลอด
การรับใหม่
ตรวจครรภ์ 4 ท่า
ตรวจร่างกาย
สัญญาณชีพ
ชั่งน้ำหนัก
วัดส่วนสูง
ตรวจระบบทั่วไป
การซักประวัติ
ประวัติการตั้งครรภ์
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
ประวัติการคลอดก่อนกำหนด (คลอดก่อน 37 สัปดาห์)
ครรภ์แรก หรือครรภ์ที่ 4 ขั้นไป • เคยคลอดลูกน้ำหนัก ≥ 4,000 gms.
เคยผ่าตัดที่มดลูก
มีประวัติเป็นโรคหัวใจ
ประวัติครอบครัว
โรคหรือภาวะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคเลือด ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ครรภ์แฝดในญาติสายตรง ภาวะพร่องเอ็นไซม์ G-6PD
โรคติดต่อร้ายแรงของบุคคลในครอบครัว เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ วัณโรค ไวรัสตับอักเสบ
อาการสำคัญลักษณะการเจ็บครรภ์จริง
1.การหดรัดตัวของมดลูก
-สมํ่าเสมอ เริ่มถี่ทุก 10 นาที แล้วถี่ขึ้นเรื่อย ๆ รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ
-ปวดบริเวณหลังส่วนล่างร้าวมาหน้าขา
-ปวดรุนแรงขึ้นเมื่อเดิน อาการปวดไม่สามารถยับยั้งได้โดยการฉีดยาระงับปวด
2 มีน้ำเดิน หรือถุงนํ้าครํ่าแตก (membrane rupture)
3 สารคัดหลั่งจากช่องคลอด (Show) ลักษณะอาจเป็นมูก (mucous show) หรือมูกปนเลือด (mucous-bloody show) ออกมาทางช่องคลอด
การตรวจภายใน (Pelvic exam ย่อ PV)
การฟังควรสังเกตความสมํ่าเสมอของจังหวะและอัตราการเต้นของหัวใจด้วย ถ้ามากกว่า 160 ครั้ง/นาที หรือน้อยกว่า 120 ครั้ง/นาที ควรรีบรายงานแพทย์
เตรียมบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกโดยโกนขนบริเวณหัวเหน่า ผีเย็บ และทารกหนัก เป็นการเตรียมผิวหนังเพื่อให้ง่ายต่อการทำความสะอาด การตัดและซ่อมแซมฝีเย็บภายหลังคลอด
สวนอุจจาระ (unison enema) เพื่อไม่ให้อุจจาระไหลออกมาเปรอะเปื้อน บริเวณฝีเย็บในระหว่างการคลอด ลดสิ่งขัดขวางการเคลื่อนตํ่าของส่วนนำ องค์การอนามัยโลก ได้รวบรวมรายงานวิจัยและสรุปผลว่า
ตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการตามความเหมาะสม ได้แก่ ความเข้มข้น ของเลือด (Hot), ภูมิต้านทานต่อเชื้อซิฟิลิสในเลือด (VDRL) , ตรวจภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Anti HIV) , ตรวจหาโปรตีนและน้ำตาลในปัสสาวะ (Urine strip) ในผู้คลอดที่ไม่มีผลตรวจ หรือผลตรวจทางห้องปฏิบัติการข้างต้นเกิน 3 เดือน
การเฝ้าคลอด และการเตรียมสำหรับคลอด
การตรวจสภาพของปากมดลูก ควรใช้นิ้วคลำหาสิ่งต่อไปนี้
1 การถ่างขยายของปากมดลูก (Cervix dilatation)
2 ความหนาบางของปากมดลูก (Cervix effacement)
ความหนาของคอมดลูก ประมาณ 2 cms. เท่ากับ Cx effacement 0%
ความหนาของคอมดลูก ประมาณ 1.5 cms. เท่ากับ Cx effacement 20-25%
ความหนาของคอมดลูก ประมาณ 1 cms. เท่ากับ Cx effacement 50%
ความหนาของคอมดลูก ประมาณ 0.5 cms. เท่ากับ Cx effacement 75-80%
ความหนาของคอมดลูก ประมาณ 0.2-0.3 cms. เท่ากับ Cx effacement 100%
3 ตำแหน่งของปากมดลูก (Position of cervix)
การตรวจสภาพของถุงน้ำครํ่า
Ml (membrane intact) หมายถึง ถุงนํ้าครํ่ายังไม่แตก ML (membrane leak)
หมายถึง ถุงนํ้าครํ่ารั่ว มีนํ้าครํ่าซึมออกมาทีละน้อย
MR (membrane rupture) หมายถึง ถุงนํ้าครํ่าแตก แบ่งได้เป็น
-SRM (spontaneous rupture of membrane) หมายถึง ถุงน้ำคร่ำแตกเอง
-ARM (artificial rupture of membrane) หมายถึง เจาะถุงน้ำคร่ำ ลักษณะนํ้าครํ่า Clear หมายถึง ลักษณะนํ้าครํ่าไม่มีสิ่งอื่นปน Mild meconium stained หมายถึง ลักษณะนํ้าครํ่ามีขี้เทาปนเล็กน้อย Moderate meconium stained หมายถึง ลักษณะนํ้าครํ่ามีขี้เทาปนปานกลาง Thick meconium stained หมายถึง ลักษณะนํ้าคร่ำมีขี้เทาปนมาก
ข้อบ่งนี้ในการตรวจภายในการตรวจภายในควรตรวจในกรณีต่อนี้
เมื่อถุงน้ำทูนหัวแตก
เมื่อการหดรัดตัวของมดลูกรุนแรงและถี่มากขึ้น
ผู้ป่วยแรกรับ เพื่อให้ทราบว่าขณะนี้อยู่ในระยะไหนของการคลอด
เมื่อผู้คลอดมีความรู้สึกอยากเบ่ง
การตรวจหาส่วนนำ
1.ชนิดของส่วนนำ (presentation) เช่น ศีรษะ (Vertex) ก้น (Breech)
ท่า (position) เช่น LOA, ROA, OPP
3.ระดับของส่วนนำ (station) ใช้ Ischial spines แบ่งคั่นส่วนบนและล่าง ดังนี้
ระดับบน
ส่วนนำอยู่สูงกว่า ischial spines 2 cms. เรียกระดับ -2
ส่วนนำอยู่สูงกว่า ischial spines 3 cms. เรียกระดับ -3
ส่วนนำอยู่สูงกว่า Ischial spines 1 cms. เรียกระดับ -1
ส่วนนำอยู่สูงกว่า ischial spines เรียกระดับ 0
ระดับล่าง
ส่วนนำอยู่ต่ำกว่า ischial spines 1 cms. เรียกระดับ +1
ส่วนนำอยู่ต่ำกว่า ischial spines 2 cms. เรียกระดับ +2
ส่วนนำอยู่ต่ำกว่า ischial spines 3 cms. เรียกระดับ +3