Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 10 การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ - Coggle Diagram
บทที่ 10
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ
10.1 ความสำคัญของการขับถ่ายอุจจาระ
โดยทั่วไปความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระมักเกิดขึ้นเมื่อตื่นนอนหรือหลังมื้ออาหาร ทั้งนี้ เป็นเพราะการตื่นนอนและการลุกขึ้นเดินทำให้ลำไส้มีการเคลื่อนตัวของลำไส้เพิ่มขึ้น
ดังนั้นการขับถ่ายอุจจาระจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นการขับของเสียออกจากร่างกาย หากร่างกายไม่ขับถ่ายอาจทำให้เกิดสารพิษและของเสียที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ ยิ่งถ้าร่างกายมีการสะสม ของเสียตกค้างเป็นเวลานานนั้น
ในภาวะปกติอุจจาระจะมีส่วนประกอบเป็นน้ำประมาณร้อยละ 70-80 ส่วนที่เป็น ของแข็งครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งเป็นแบคทีเรีย
10.2 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขับถ่ายอุจจาระ
10.2.7 ความเหมาะสม (Opportunity)
สิ่งแวดล้อมมีส่วนช่วยในการขับถ่าย สถานที่ไม่เป็นส่วนตัว
10.2.9 ยา (Medication)
อาการข้างเคียงของยาบางชนิดมีผลต่อระบบทางเดิน อาหารอาจทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
10.2.6 ความสม่ำเสมอในการขับถ่าย (Defecation habits )
การเปลี่ยนแปลง เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน การรับประทานอาหาร น้ำ รวมทั้งการออกกำลังกาย
10.2.10 การตั้งครรภ์(Pregnancy)
เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ทารกในครรภ์โตขึ้นมด ลงก็ขยายตัวโตด้วย
10.2. 5 อารมณ์ (Emotion)
เมื่ออารมณ์มีการเปลี่ยนแปลง เช่น หงุดหงิด หรือวิตก กังวล
10.2.11 อาการปวด (Pain)
โรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoid) การผ่าตัดส่วนลำไส้ ตรง (Rectal surgery) และการผ่าตัดหน้าท้อง (Abdominal surgery)
10.2.4 การเคลื่อนไหวของร่างกาย (Body movement)
การเคลื่อนไหวของ ร่างกาย จะช่วยทำให้การทำงานของลำไส้เป็นไปอย่างปกติ
10.2.12 การผ่าตัดและการดมยาสลบ (Surgery and Anesthesia)
การดมยาสลบ ชนิดทั่วไป (General anesthesia: GA) เป็นสาเหตุของการเกิด Peristalsis ลดลง
10.2.3 ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake)
น้ำจะเป็นตัวสำคัญที่ทำให้ อุจจาระมีลักษณะนุ่มพอดี ไม่แห้ง แข็งเกินไป
10.2.13 การตรวจวินิจฉัยโรค (Diagnostic test)
การตรวจวินิจฉัยโรคของระบบ ทางเดินอาหารส่งผลรบกวนการทำงานของลำไส้ชั่วคราว
10.2.2 ชนิดของอาหารที่รับประทาน (Food intake)
อาหารจำพวกพืชผัก ผลไม้ ที่ มีกากใยมาก
10.2.1 อายุ (Age)
ในเด็กเล็ก ความสามารถในการควบคุมการขับถ่ายได้เมื่ออาย ตั้งแต่ 24-30 เดือนขึ้นไป ในเด็กเล็กอาจมีการถ่ายอุจจาระวันละหลายๆ ครั้ง เมื่ออายุมากขึ้นเซลล์ กล้ามเนื้อจะลดขนาดลง และกำลังกล้ามเนื้อก็จะลดลง
10.3 ลักษณะของอุจจาระปกติและสาเหตุของอุจจาระที่ผิดปกติ
Type 4
Like a sausage or snake, smooth and soft (ลักษณะยาวหรือขดม้วน เรียบ และนุ่ม)
Type 5
Soft blobs with clear-cut edges (ลักษณะเป็นก้อนนุ่ม ๆ แยกออกจากันชัดเจน)
Type 3
Like a sausage but with cracks on surface (ลักษณะยาวหรือขดม้วน แต่พื้นผิวบนนุ่ม ๆ)
Type 6
Fluffy pieces with ragged edges, a mushy stool (ลักษณะเป็นก้อนนุ่มปุย มีขอบขยักไม่เรียบ)
Type 2
Sausage shaped but lumpy (ลักษณะยาวแต่เป็นก้อน)
Type 7
Watery, no solid pieces (entirely liquid) (ลักษณะเป็นน้ำไม่มีเนื้ออุจจาระปน)
Type 1
Separate hard lumps, like nuts (Difficult to pass) ลักษณะแข็งคล้ายเมล็ดถั่ว คนไทยเรียกว่า “ขี้แพะ”
10.4 สาเหตุและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายอุจจาระ
10.4.3 ภาวะท้องอืด (Flatulence หรือ Abdominal distention)
เป็นความรู้สึกแน่น อึดอัด ไม่ผายลม ไม่สบายในท้องซึ่งเกิดจากมีแรงดันในช่องท้อง เพิ่มขึ้นจากลมภายในลำไส้ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ถ้าเป็นมากแรงดัน ในท้องที่เพิ่มจะดันกระบังลมให้สูงขึ้น ปอดขยายไม่เต็มที่ทำให้หายใจลำบาก ผู้ปุวยมักกระวนกระวาย ไม่อยากอาหารหรือน้ำ ถ้าเป็นติดต่อกันนานจะทำให้เกิดการขาดอาหารหรือน้ำตามมาได้
10.4.4 การกลั้นอุจจาระไม่ได้ (Fecal incontinence)
การกลั้นอุจจาระไม่ได้ทำให้มีการถ่ายอุจจาระและผายลมออกมาทันทีเมื่อรู้สึกปวด ถ่าย ซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางร่างกาย มักเกิดจากการรบกวนที่หูรูดทวารหนัก
10.4.2 การอัดแน่นของอุจจาระ (Fecal impaction)
เป็นอาการที่สืบเนื่องจากท้องผูก เป็นการสะสมของอุจจาระที่แห้งแข็งในลำไส้ตรงและ น้ำถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกายเรื่อย ๆ อุจจาระยิ่งแห้งแข็งมาก และอัดกันแน่นเป็นก้อนทำให้ถ่ายออก ไม่ได้อุดตันที่ส่วนล่างของลำไส้ใหญ่
10.4.5 ภาวะท้องเสีย (Diarrhea)
ภาวะท้องเสีย หรืออุจจาระร่วง หมายถึง การเพิ่มจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระ และการที่อุจจาระเป็นน้ำเหลว หรือมีมูกปน โดยถือว่าถ่ายเป็นน้ าเหลว 3 ครั้งในเวลา 12 ชั่วโมง หรือ ถ่ายเป็นน้ำปนมูกเพียงครั้งเดียว
10.4.1 ภาวะท้องผูก (Constipation)
ภาวะท้องผูกหรืออาการท้องผูก หมายถึง การขับถ่ายซึ่งอุจจาระมีลักษณะแห้งแข็ง ต้อง ออกแรงมากช่วยในการเบ่งเพื่อขับอุจจาระออกมาลำบากเกิดความเจ็บปวดเมื่อถ่ายอุจจาระ
10.4.6 การถ่ายอุจจาระทางหน้าท้อง (Fecal diversion)
การผ่าตัดเอาลำไส้มาเปิดออกทางหน้าท้อง เพื่อให้เป็นทางออกของอุจจาระ มักทำใน ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่ลำไส้เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก การติดเชื้อที่ทำให้ลำไส้เกิดเนื้อตาย (Ulcerative colitis and Crohn’s disease)
10.5 การสวนอุจจาระ
การสวนอุจจาระ (Enema)
เป็นกิจกรรมทางการพยาบาลซึ่งเป็นบทบาทกึ่งอิสระ ที่มีการใส่สารอาจจะเป็นน้ า น้ ามัน หรือสารเคมีเข้าไปในล าไส้ใหญ่ส่วนล่างโดยผ่านทางทวารหนัก
10.6 ข้อคำนึงในการสวนอุจจาระ
5) การปล่อยน้ำ เปิด Clamp ให้น้ำไหลช้า ๆ ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที
6) ความลึกของสายสวนที่สอดเข้าไปในลำไส้
4) แรงดันของสารน้ำที่สวนให้แก่ผู้ป่วย
3) ท่านอนของผู้ป่วย ท่านอนตะแคงซ้ายกึ่งคว่ำ (Sim’s position)
7) การหล่อลื่นหัวสวนด้วยสารหล่อลื่น
2) ปริมาณสารละลายใช้สวนอุจจาระ ขึ้นอยู่กับอายุและขนาดร่างกาย
8) ทิศทางการสอดหัวสวน
9) ระยะเวลาที่สารน้ำกักเก็บอยู่ในลำไส้ใหญ่
1) อุณหภูมิของสารน้ำ อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 105˚F (40.5 ˚C)
10) การแก้ไขเมื่อสารละลายในหม้อสวนไม่ไหลเป็นปกติ
10.7 การเก็บอุจจาระส่งตรวจ
10.7.1 ชนิดการเก็บอุจจาระส่งตรวจ
2) การตรวจอุจจาระหาเลือดแฝง (Occult blood) ตรวจในรายที่สงสัยว่า มีเลือดแฝง ในอุจจาระ
3) การตรวจอุจจาระโดยการเพาะเชื้อ (Stool culture) เพื่อน าไปเพาะเชื้อ เลี้ยงเชื้อ แบคทีเรียและดูความไวต่อยาของเชื้อที่เพาะได้
1) การตรวจอุจจาระหาความผิดปกติ(Fecal examination หรือ Stool examination)
10.7.2 อุปกรณ์เครื่องใช้
2) ใบส่งตรวจ
3) ไม้แบน สำหรับเขี่ยอุจจาระ
1) ภาชนะมีฝาปิดมิดชิด
4) กระดาษชำระ
5) หม้อนอน
10.8 กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ
ตัวอย่าง
หญิงไทยรายหนึ่ง อายุ 35 ปี ให้ประวัติว่ามีอาการท้องผูกต้องใช้ยาระบายก่อนนอน เป็นประจำทุกคืน และมีพฤติกรรมไม่ชอบรับประทานผักและผลไม้ ดื่มน้ำน้อยวันละไม่ถึง 1,000 ml. จงประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาลในการให้การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระสำหรับหญิงรายนี้