Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง - Coggle Diagram
การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. ความหมายของเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นการศึกษาหรือตรวจสอบทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นในการวิจัยมากำหนดประเด็นคำถามหรือกำหนดสมมุติฐานในการวิจัยให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
2. ความสำคัญของการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ได้ทราบความก้าวหน้าของผลการวิจัย
ได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัย ซึ่งสามารถนำมาแก้ไขปรับปรุงงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทำให้ผู้วิจัยค้นพบกระบวนการเรียนรู้ เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา
ได้รับความรู้ทำให้สามารถพิจารณาปัญหาได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ทำให้ทราบว่างานวิจัยที่ใกล้เคียง มีบุคคลใดได้ศึกษาไว้ และผลการวิจัยเป็นอย่างไร
3. วัตถุประสงค์ของการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการกำหนดปัญหาการวิจัย
เพื่อให้พัฒนากรอบความคิดในการวิจัยและสมมุติฐานการวิจัย ถูกต้องและชัดเจน
เพื่อทราบปัญหาในประเด็นที่สนใจ เขียนความเป็นมาและความสำคัญของการวิจัยได้ชัดเจน
เพื่อให้นำไปอภิปรายผลการวิจัย และทราบประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย
4. แหล่งศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
หนังสือ หรือตำรา (Textbook)
รายงานการวิจัย รายงานการศึกษา หรือวิทยานิพนธ์ หรือปริญญานิพนธ์
บทคัดย่องานวิจัย/วิทยานิพนธ์(Abstracts)
วารสาร (Journal)
สารานุกรม,พจนานุกรม, ศัพทานุกรม นามานุกรม และปทานุกรม
รายงานประจำปี(Yearbook)
คู่มือ(Handbook)
การสืบค้นจากฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่บันทึกด้วยคอมพิวเตอร์
หนังสือพิมพ์(Newspaper)
เอกสารประกอบการประชุม อบรมสัมมนา
5. หลักเกณฑ์ในการคดัเลอืกเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกงานวิจัย
พิจารณาจากชื่อเรื่องงานวิจัยว่าเกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงมากน้อยเพียงไร
พิจารณาจากประชากรและกลุ่มตัวอย่าง และตัวแปรที่ศึกษา
พิจารณาระเบียบวิธีการศึกษาและผลการวิจัยว่ามีความถูกต้อง น่าเชื่อถือเพียงใด
พิจารณาปี พ.ศ. และ ค.ศ.ที่ดำเนินการวิจัยว่าเป็นปัจจุบันเพียงใด
พิจารณาวารสารที่พิมพ์งานวิจัย มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการในศาสตร์นั้น
ถ้าเป็นงานวิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์ก็ให้พิจารณาระดับการศึกษา ชื่อเสียงของสถาบัน
งานวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย จะเป็นสิ่งที่สนับสนุนความน่าเชื่อถือ
หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกเอกสาร
พิจารณาคำสำคัญจากชื่อเรื่องว่ามีความเกี่ยวข้องในการวิจัยมากน้อยเพียงใด
พิจารณาความใหม่ เป็นปัจจุบัน โดยพิจารณาถ้ามากกว่า 10 ปีไม่ควรจะนำมาอ้างอิง
พิจารณาระบบการอ้างอิงของการเขียนเอกสารว่าน่าเชื่อถือหรือไม
6. เกณฑ์ในการพิจารณาคุณค่าของเอกสาร
ให้ความรู้ที่ถูกต้องเชื่อถือได้ ไม่ผิดพลาดบกพร่อง
ให้ความรู้ใหม่ที่สอดคล้องกับเหตุการณ์ จะต้องมีการพิจารณาให้รอบคอบก่อนนำมาศึกษา
มีเนื้อหาสาระที่สอดคล้องกับประเด็นการวิจัยที่ต้องการ
ภาพประกอบ ตาราง กราฟหรือแผนภูมิ ควรจะมีความถูกต้อง ชัดเจน และเพียงพอ
ใช้ภาษาเขียนที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย ชัดเจน สมเหตุสมผล มีการอ้างอิง และมีบรรณานุกรม
ให้พิจารณาผู้เขียนว่ามีความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์เป็นอย่างดีหรือไม่
สำนักพิมพ์ที่พิมพ์เอกสารควรจะเป็นสำนักพิมพ์ที่น่าเชื่อถือ
7. ขั้นตอนการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
กำหนดวัตถุประสงค์/ประเด็นของการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน
การค้นหาและคัดเลือกเอกสาร ที่เกี่ยวข้องกับประเด็น
ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่คัดเลือกอย่างละเอียดพร้อมทั้งวิเคราะห์
จดบันทึกข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การสังเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เขียนรายงานผลการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่่ยวข้อง
10. การอ่านเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การอ่านเพื่อคัดเลือกเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเบื้องต้น
การอ่านเพื่อประเมินคุณภาพและการเก็บความ
8. การสืบค้นเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้วยคอมพิวเตอร์
เลือกวิธีการสืบค้นโดยใช้ Search Engine ต่างๆ
ดำเนินการสืบค้น
กำหนดคำสำคัญ (Key Word)
9. หลักการของการประเมินคุณภาพรายงานสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ความสอดคล้องเนื้อหาสาระกับจุดมุ่งหมายในการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ความสมบูรณ์และถูกต้องของเนื้อหาสาระในรายงานสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ความเหมาะสมของวิธีการนำเสนอรายงานสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การใช้ประโยชน์จากรายงานสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
11. การจดบันทึกเอกสารและงานวิจัยที่เกี่่ยวข้อง
ในบัตรบันทึกแต่ละใบควรจดบันทึกสาระสำคัญย่อ ๆ หรือประเด็นเพียงหนึ่งประเด็น
การจดบันทึกรายงานการวิจัย/วิทยานิพนธ์/ปริญญานิพนธ์ ควรมีชื่อเรื่องงานวิจัยที่มา/ความสำคัญ/ปัญหาการวิจัย และวัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินการวิจัย สรุปผล และข้อเสนอแนะ
จดบันทึกชื่อเรื่อง/สาระสำคัญ/ประเด็นที่มุมขวาของบัตรบันทึกเพื่อความสะดวกในการนำไปเรียงลำดับ/จัดหมวดหมู่ในการสังเคราะห์
ด้านหลังของบัตรบันทึกควรได้จดบันทึกข้อมูลที่จะนำไปจัดทำบรรณานุกรมอย่างครบถ้วน
วิธีการจดบันทึก การย่อข้อความ/การคัดลอกข้อความ กรณีที่เป็นข้อความที่สำคัญ/การบันทึกแบบวิพากษ์/การบันทึกข้อคำถาม
ควรจดบันทึกเอกสารอ้างอิงในบรรณานุกรมหรือท้ายบทความ
12. การนำเสนอเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ก่อนที่จะนำเสนอควรจะมีบทนำที่ได้ระบุขอบเขตของสาระสำคัญของเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องว่ามีหัวข้ออะไรบ้าง
ควรจะนำเสนอสาระสำคัญของกรอบแนวคิด หลักการ ทฤษฏีของเอกสารหรืองานวิจัยนั้น ๆ ที่จะนำมาใช้ในงานวิจัยที่จะดำเนินการเท่านั้น
ควรนำเสนอในลักษณะของการสังเคราะห์ข้อความ ไม่ใช่เป็นการนำข้อความต่างๆมาเชื่อมต่อกันเท่านั้น
ในแต่ละตอนควรมีการสรุปประเด็น/สาระสำคัญ
ภาษาที่ใช้ต้องเป็นภาษาเชิงวิชาการที่ถูกต้อง
มีการอ้างอิงอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และชัดเจน
ผู้วิจัยควรได้สรุปกรอบแนวคิดการวิจัยในงานวิจัยที่ดำเนินการ
หลังจากเสร็จสิ้นการนำเสนอให้ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ เพื่อให้ลืมเลือนข้อมูลจากการจดจำแล้วให้นำกลับมาศึกษาใหม่
13. หลักการเรียบเรียงเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ระบุเหตุผลในการเลือกแนวคิด ทฤษฏี
วิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหาให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน
มีความทันสมัย ถูกต้องตามหลักวิชาการ เชื่อถือได้และต้องมีความเกี่ยวข้องประเด็นในการวิจัยอย่างชัดเจน
ประเด็นในการวิจัยอย่างชัดเจน
มีสาระที่สำคัญ และนำมาเขียนเรียบเรียงอย่างเป็นลำดับ
เนื้อหาสาระแต่ละตอน/ย่อหน้ามีความเชื่อมโยงกัน
ใช้สำนวนภาษาที่ถูกต้องตามหลักภาษาไทย เข้าใจง่าย
14. ประโยชน์ของการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ทำให้เกิดแนวความคิดในการกำหนดปัญหา
ช่วยเห็นภาพรวมของจุดเด่น-จุดบกพร่องของงานวิจัยฉบับอื่น ๆ
ได้แนวคิด ทฤษฎี ที่จะนำมาใช้ ทดสอบหรือพัฒนาในการวิจัย
ได้เรียนรู้วิธีการดำเนินการวิจัยที่จะนำมาใช้เป็นแนวทางในการวิจัย
ได้เรียนรู้เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล และการสร้างหรือพัฒนาเครื่องมือ
ได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อมูล เพื่อใช้กำหนดแนวทางในการวิเคราะห์
ได้เรียนรู้ในการออกแบบการนำเสนอตาราง แผนภาพและกราฟต่าง ๆ
ได้เรียนรู้การแปลความหมายของข้อมูล
ได้เรียนรู้วิธีการเขียนรายงานการวิจัยที่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ที่จะนำมาใช้เป็นแนวทาง
15.แนวทางการปฏิบัติในการทบทวนเอกสารและงายวิจัยที่เกี่ยวข้อง
อภิปรายประเด็นที่ต้องการทบทวนให้เกิดความชัดเจน
ความทันสมัยของเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ตรวจสอบรายละเอียดของข้อมูลให้ครบถ้วนตามที่ต้องการใช้
ใช้แนวคิดตนเอง แต่จะต้องไม่แตกต่างจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ประเมินและวิเคราะห์ความถูกต้องและสมบูรณ์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
สำเนาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อความสมบูรณ์
มีความตั้งใจในการทบทวน
มีระบบการจดบันทึกที่ดีมีประสิทธิภาพเพื่อทำให้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน
ระบุความน่าสนใจของประเด็นที่จะนำมาใช้
16.แนวคำถามสำหรับการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ใช้แนวคิด ทฤษฎีอะไรเป็นกรอบแนวคิดวิจัย
ใช้ระเบียบวิธีการวิจัย และมีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยอย่างไร
สรุปผลการวิจัยเป็นอย่างไร
ความน่าเชื่อถือของผลการวิจัย เป็นอย่างไร
มีประเด็นปัญหาอะไรที่งานวิจัยนั้น ๆ ไม่สามารถให้คำตอบหรือให้ข้อเสนอแนะเพื่อทำวิจัยต่อไป
บทที่ 3
กรอบแนวคิดในการวิจัย
1. ความหมายของกรอบแนวคิด
เป็นแนวคิดหรือรูปแบบจำลองที่ได้สร้างและพัฒนาใช้ในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาในการวิจัยครั้งนั้น ๆ โดยมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎี กฎ หรือ ผลการวิจัย ฯลฯ เพื่อที่ผู้วิจัยจะได้นำไปศึกษาและใช้ตรวจสอบข้อมูลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ว่า มีความสอดคล้องกันหรือไม่ อย่างไร
2. หลักการในการสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย
ความตรงต่อประเด็นของการวิจัย
ความง่ายและไม่ซับซ้อน
ความสอดคล้องกับความสนใจ
ความมีประโยชน์
3. รูปแบบของการนำเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัย
กรอบแนวคิดเชิงพรรณนา
กรอบแนวคิดแบบจำลองหรือฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์
กรอบแนวคิดแบบแผนภาพ
กรอบแนวคิดแบบแบบผสมผสาน
4. แหล่งข้อมูลของกรอบแนวคิดในการวิจัย
ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดของผู้วิจัย
5. ประโยชน์ของกรอบแนวคิดการวิจัย
ทราบว่าตัวแปรที่มุ่งศึกษามีกี่ตัวแปร และมีตัวแปรอะไรบ้างที่มุ่งศึกษา และตัวแปรที่เกี่ยวข้อง
กำหนดแบบการวิจัยที่เหมาะสมกับตัวแปรที่มุ่งศึกษา และควบคุมตัวแปรที่ไม่เกี่ยวข้อง จะทำให้การวิจัยมีความเที่ยงตรงภายในเพิ่มขึ้น
เป็นแนวทางในการวางแผนในการเก็บรวบรวมข้อมูลของตัวแปรที่ต้องการได้เหมาะสมกับลักษณะของตัวแปรและช่วงเวลา
พิจารณาภาพรวมของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไร ทำให้การเลือกสถิติที่นำมาใช้ในการวิจัยมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
ใช้ในการอภิปรายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรได้อย่างมีเหตุผล
6. ข้อบกพร่องของการกำหนดกรอบแนวคิด
กำหนดความหมายของแนวความคิดในเชิงปฏิบัติที่ไม่ชัดเจนและขาดความเชื่อมโยง
ระหว่างนิยามเชิงทฤษฎีกับนิยามเชิงปฏิบัติ
กำหนดจากการศึกษาทฤษฎี หรือผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอย่างไม่เพียงพอ
กำหนดอย่างไม่รอบคอบในการพิจารณาตัวแปรที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
ที่อาจจะมีอิทธิพลต่อตัวแปรที่มุ่งศึกษา หรือไม่ได้นำตัวแปรที่สำคัญมากำหนดเป็นตัวแปรที่มุ่งศึกษา
กำหนดโดยใช้สามัญสำนึก/ประสบการณ์ ของผู้วิจัยที่ไม่มีการอ้างอิงเชิงทฤษฎีและเชิงประจักษ์
17. หลักการของการประเมินคุณภาพรายงานสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ความสอดคล้องของเนื้อหาสาระในรายงานกับจุดมุ่งหมายในการศึกษา
ความสมบูรณ์ และถูกต้องของเนื้อหาสาระในรายงานสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ความเหมาะสมของวิธีการนำเสนอรายงาน
การใช้ประโยชน์จากรายงานสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง