Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Topical drugs for mucocutaneous infection (ยาต้านเชื้อราชนิดทาภายนอก) -…
Topical drugs for mucocutaneous infection
(ยาต้านเชื้อราชนิดทาภายนอก)
Nystatin/ไนสแตติน
กลไกการออกฤทธิ์
ยา Nystatin เป็น polyene macrolide ที่คล้ายกับ amphotericin B ออกฤทธิ์โดยการทำให้เกิด pore forming และเนื่องจากยาไม่ละลายน้ำทำให้พัฒนาเป็นยาฉีดไม่ได้ และมีความเป็นพิษมาก จึงให้ทาง parental ไม่ได้ นอกจากนี้ยังดูดซึมจากทางเดินอาหารได้น้อยมาก จึงต้องให้ทาง topical เท่านั้น
ข้อบ่งใช้
เป็นยาต้านเชื้อรา ใช้รักษาการติดเชื้อราตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น เชื้อราในช่องปาก ช่องคลอด ลำไส้ ผิวหนัง และเยื่อเมือก
ผลข้างเคียง
ระคายเคืองในปาก ท้องไส้ปั่นป่วน คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย มีผื่นขึ้น เป็นต้น หากอาการหารดังกล่าวไม่หายไปหรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันผู้ป่วยควรไปพบแพทย์
หากพบผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการใช้ยา Nystatin ดังต่อไปนี้ ควรหยุดใช้ยาและไปพบแพทย์ทันที
หัวใจเต้นเร็ว
มีปัญหาในการหายใจ หลอดลมหดเกร็ง
ปฏิกิริยาทางผิวหนังชนิดรุนแรง อาจทำให้มีอาการผิดปกติบางอย่าง ได้แก่ มีไข้ เจ็บคอ หน้าบวม ลิ้นบวม แสบตา เจ็บผิว มีผื่นสีแดงหรือสีม่วงกระจายตามร่างกาย ทำให้เกิดแผลพุพองและผิวลอก หรือเกิดกลุ่มอาการสตีเวนส์–จอห์นสัน ซึ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ผิวหนังและเยื่อบุผิวทั่วร่างกาย
ลมพิษ
ปวดกล้ามเนื้อ
ข้อห้ามใช้
ห้ามให้เด็กใช้ยานี้โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์
ห้ามใช้หากมีภาวะภูมิไวเกินต่อยา
คำแนะนำในการใช้ยา
ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะ เพราะยาอาจทำให้เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
ให้ใช้ยาติดต่อกันทุกวันจนครบตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร แม้อาการจะดีขึ้นแล้วก็ตาม มิฉะนั้นเชื้อจะดื้อยา
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ห้ามหยุดยาหรือปรับขนาดยาเอง
Topical Azoles
กลไกลการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง ergosterol ของเชื้อรา โดยไม่ให้เอนไซม์ 14 – alpha demethylase เปลี่ยน lanosterol ไปเป็น ergosterol ได้ เยื่อหุ้มเซลล์ที่ไม่มี ergosterol จะไม่มีสามารถกันการซึมผ่านของสารน้ำได้ เกิดการรั่วของสารต่างๆภายในเซลล์ออกมา ในที่สุดเซลล์จะตาย
ข้อบ่งใช้
Imidazoles รูปแบบยาทาภายนอก สำหรับโรคกลาก – เกลื้อนเฉพาะที่ Glabrous ไม่มีข้อบ่งใช้รักษาโรคผิวหนังติดเชื้อแบคทีเรีย ยกเว้น Ketoconazole เป็นรูปแบบยากิน รักษาโรคติดเชื้อรา และมีรูปแบบครีมและแชมพู
Triazoles รูปแบบยาใช้ภายใน รักษาโรคติดเชื้อราอวัยวะภายใน ยกเว้น Terconazole รูปแบบครีมทาและยาเหน็บสำหรับใช้ภายนอก
ผลข้างเคียง
เอนไซม์การทำงานของตับในเลือดผิดปกติ
ยา Ketocona zole จะยับยั้งการสร้างฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) จึงอาจทำให้เกิดภาวะนมโตในผู้ชาย (Gynecomastia)
ผลต่อระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ คือ เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง
ข้อห้ามใช้
ผู้ที่มีภาวะโรคตับ หากใช้ยาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานจะมีผลเพิ่มการทำงานของตับ ทำให้เกิดพิษต่อตับ
ยา Ketoconazole
ไม่ควรใช้ในเพศหญิงตั้งครรภ์และช่วงให้นมบุตร ระหว่างการใช้ยาห้ามดื่มประเภทแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้เกิด Disulfiram like reaction (อาการหน้าแดง หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้)
คำแนะนำในการใช้ยา
ยารูปแบบรับประทานทาน
ผู้ที่มีภาวะโรคตับ ควรระมัดระวังการใช้ยาต้านเชื้อรา หากจำเป็นต้องใช้ควรปรึกษาแพทย์ และตรวจประเมินตับเป็นประจำหากต้องใช้ยาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
หากรับประทานยาลดกรด ควรรับประทานก่อนยา Ketoconazole และ Itraconazole อย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือหลังรับประทานยา Ketoconazole และ Itraconazole อย่างน้อย 2 ชั่วโมง
ยารูปแบบครีม (cream)
ทายาวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ทาจนผื่นหายหมดแล้วทาต่ออีก 1 สัปดาห์ การทาให้เลยขอบผื่นออกมาไม่น้อยกว่า 2 ซม.
ควรระมัดระวังไม่ให้ยานี้เข้าไปในตา จมูก ปากหรือเยื่อเมือกอื่นๆ
ก่อนใช้ยาควรทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะทำให้สะอาด
Topical allylamines
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์โดยการยับยั้ง squalene epoxidase ทำให้มีการคั่งของ squaleneออกฤทธิ์โดยการยับยั้ง squalene epoxidase ทำให้มีการคั่งของ squalene ทำให้เซลล์ตาย
ยามีสภาวะเป็น lipophilic สามารถสะสมได้ดีในไขมัน เข้าสู่ผิวหนัง แล้วขับออกทางต่อมไขมัน ยาจะถูกทำลายที่ตับ และขับออกทางไต
ผลข้างเคียง
มีผื่น ลมพิษ อาจทำให้ผิวลอกได้
ถ้าใช้ไปนานๆ อาจทำให้มีพิษต่อไต
Terbinafine ถ้าเป็นแบบกินจะทำให้มีอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องเสีย การรับรสผิดไป
ข้อบ่งใช้
Terbinafine และ Naftifine เป็นยาที่ให้ทางปาก
รักษาโรคสังคังและโรคกลากที่ลำตัว
ใช้รักษาโรคกลาก ให้โดยการทาที่ผิวหนัง
ใช้รักษาเชื้อราที่ผิวหนังและเล็บ
การพยาบาลในผู้ป่วยที่ใช้ยาต้านเชื้อรา
เมื่อเกิดอาการคัน ให้เปลี่ยนยาต้านเชื้อรา เพื่อป้องกันผลข้างเคียงของผิวหนัง