Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่๑ การสร้างสภาพแวดล้อมเชิงสร้างสรรค์ในห้องเรียน - Coggle Diagram
บทที่๑
การสร้างสภาพแวดล้อมเชิงสร้างสรรค์ในห้องเรียน
ห้องเรียนคืออะไร
สถานที่ซึ่งเกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้เรียน
โดยการนำข้อมูลที่มีอยู่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนเพื่อนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจ
โดยกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ การติดตามพัฒนาการของผู้เรียน การกระตุ้นให้ผู้เรียนต้องการเรียนรู้
ห้องเรียน
ชั้นเรียนปกติมีพื้นที่ใช้สอยโดยเฉลี่ยที่ 80 ตารางเมตร
มีตู้หรือชั้นวางอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนและชั้นเลื่อนสำหรับวางเครื่องฉายโปรเจคเตอร์
มีกระดานดำอยู่ตรงกลางผนังโดยที่ปลายกระดานดำทั้งสองด้านจะมีบอร์ดสำหรับติดประกาศ อาทิ ตารางเรียน กฎและข้อปฏิบัติในชั้นเรียน
ในทุกห้องเรียนมีคอมพิวเตอร์สำหรับครูประจำ 1 เครื่อง พร้อมติดตั้งเครื่องโปรเจคเตอร์ไว้บนเพดาน
ส่วนบริเวณหลังห้องจะมีกระดานขนาดใหญ่สำหรับติดประกาศ ผลงานผู้เรียน และสื่อการเรียนการสอนต่างๆ
การจัดวางโต๊ะ เก้าอี้จะแตกต่างกันออกไปในแต่ละชั้นเรียน โดยกำหนดให้มีพื้นที่ว่างตรงกลางห้องเรียน
มีห้องพิเศษซึ่งติดตั้งอุปกรณ์เพื่อการเรียนการสอนโดยเฉพาะด้าน
สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้
เป็นหน้าที่ของครูที่จะสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแง่มุมทางกายภาพ
ให้ความสำคัญต่อแง่มุมทางจิตใจเพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกสบายใจในการเรียน
สภาพแวดล้อมเชิงกายภาพ
องค์ประกอบทางกายภาพ เช่น แสง เสียง พื้นที่ เฟอร์นิเจอร์ โดยจะต้องกระตุ้นประสาทสัมผัสการมองเห็น การได้ยิน เพื่อส่งเสริมให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
สภาพแวดล้อมเชิงจิตตภาพ
ห้องเรียนจะต้องมีบรรยากาศซึ่งทำให้ผู้เรียนทุกคนรู้สึกดี ปลอดภัยและสบาย
ครูจะต้องสอดส่องดูแลการเข้าสังคมและการจับกลุ่มปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียนในชั้นเรียน
ลักษณะของสภาพแวดล้อมเชิงจิตภาพที่ดีชั้นเรียน
ปลอดภัยจากสิ่งคุกคามและอันตรายต่อร่างกาย
มีบรรยากาศเป็นมิตร
ผู้เรียนรู้สึกดีที่จะเป็นสมาชิกในชั้นเรียน
สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี
มีบรรยากาศกระตุ้นการเรียนรู้
มีบรรยากาศของการเรียนรู้ร่วมกัน
ธรรมชาติของการทำงานในชั้นเรียน
เป็นงานที่มีมิติหลากหลาย เช่น ครูจะต้องมีส่วนร่วมในการอธิบายแนวความคิดและสาธิตทักษะต่างๆ กระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
เป็นงานที่ต้องทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน เช่น ขณะที่ครูกำลังสอนแนวคิดต่างๆ จะต้องพิจารณายกตัวอย่างที่เหมาะสม
เป็นงานที่ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เช่น หากผู้เรียนกำลังทะเลาะกัน ครูจะต้องพิจารณาแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าว
เป็นงานที่ไม่สามารถคาดเดาได้ เช่น การที่ผู้เรียนซึ่งมักเงียบ ลุกขึ้นมาพูดแสดงความเห็นโดยไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการเรียนการสอน
เป็นงานที่มีความเป็นสาธารณะ เช่น การแอบอ่านหนังสือการ์ตูนในชั้นเรียน
เป็นงานที่ต้องสั่งสมความทรงจำและประวัติที่ผ่านมา เช่น ผู้เรียนอาจจดจำว่าครูไม่เคยลงโทษตามที่คำขู่เลย ดังนั้น ผู้เรียนจึงไม่เคารพเชื่อฟังหากครูเตือนว่าจะลงโทษในครั้งต่อๆไป
การบริหารจัดการชั้นเรียน
ครูต้องบริหารจัดการกิจกรรมการเรียนการสอน โดยต้องวิเคราะห์วัตถุประสงค์ จัดกิจกรรมการเรียนการเรียนรู้ที่เหมาะสม
ครูจะต้องจัดการพฤติกรรมของผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนใส่ใจและทุ่มเทพลังงานทั้งหมดไปยังกระบวนการเรียนรู้
ครูจะต้องบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงกายภาพและจิตตภาพเพื่อทำให้เกิดสภาพที่น่าทำงาน