Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมภาวะโภชนาการ - Coggle Diagram
การส่งเสริมภาวะโภชนาการ
ความหมายของโภชนาการและภาวะโภชนาการ
ความหมายของโภชนาการ (Nutrition)
โภชนาการเป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะของการกิน มิได้มุ่งหวังเพียงจัดการปรุงแต่งอาหาร แต่ยังต้องมุ่งเน้นเรื่องคุณภาพของอาหาร หรือปริมาณของสารอาหารที่ร่างกายจะนามาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด
ภาวะโภชนาการ (Nutritional Status)
หมายถึง สิ่งที่แสดงถึงระดับที่ร่างกายจาเป็นต้องได้รับสารอาหาร เพื่อ
นามาใช้ในด้านสรีระอย่างเพียงพอ
ภาวะโภชนาการดี
(Good nutritional status)
ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ คือ มีสารอาหารครบถ้วน ในปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
ภาวะโภชนาการไม่ดี
(Bad nutritional status)
ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือได้รับสารบางชนิดมากเกินไป หรือได้รับเพียงพอ แต่ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสารอาหารที่ได้รับ
ภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ (Malnutrition)
ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการ และอาจขาดพลังงานด้วยหรือไม่ก็ได้
ภาวะโภชนาการเกิน
(Over nutrition)
ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหาร
มากเกินความต้องการของร่างกาย และเก็บสะสมไว้จนเกิดอาการปรากฏ
การได้รับสารอาหารบางอย่างที่ขับถ่ายยากในปริมาณมากเกินไป จนมีการเก็บสะสมในร่างกาย และทำให้เกิดโทษ
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการ
อายุ
เพศ
การใช้ยา
ภาวะสุขภาพ
ความชอบส่วนบุคคล
ผลจากการดื่มแอลกอฮอล์
วิถีชีวิต
เศรษฐานะ
วัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนา
ปัจจัยด้านจิตใจ
ความสำคัญของอาหารต่อภาวะเจ็บป่วยและความต้องการพลังงานของร่างกายในภาวะเจ็บป่วย
ขึ้นอยู่กับ เพศ อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก และความรุนแรงของโรค
ความต้องการพลังงานหรือพลังงานที่ต้องการใช้ (Energy Expenditure: EE)
เป็นพลังงานที่เพียงพอหรือเหมาะสมกับความต้องการของร่างกายในการสร้าง Adenosine triphosphate: ATP
ความต้องการพลังงานพื้นฐาน
(Basal energy expenditure: BEE)
พลังงานที่น้อยที่สุดที่ทำให้
เกิดกระบวนการเมทาบอลิสซึมของร่างกายก่อนที่จะมีการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ
เพศชาย
BEE = 66.47+ (13.75 x น้ าหนัก (Kg )) + (5. 00 x ความสูง (Cm )) – (6.75 x อายุ (ปี))
เพศหญิง
BEE = 655.09 + (9.56 x น้ าหนัก (Kg)) +(1.85 x ความสูง (Cm )) –(4.68 x อายุ (ปี))
ความต้องการพลังงานทั้งหมด
(Total Energy Expenditure: TEE)
ผลรวมของพลังงานทั้งหมดใน 1 วัน
TEE = BEE x Activity factor x stress factor
Activity factor
หมดสติและใช้ เครื่องช่วยหายใจ = 1.0
มีกิจกรรมเฉพาะบนเตียง = 1.2
มีกิจกรรมนอกเตียงได้ = 1.3
Stress factor
ขาดอาหาร = 0.7
มีไข้ = 1.0 + 0.13 (ต่อองศาเซลเซียส)
การติดเชื้อที่รุนแรงน้อย = 1.0
การติดเชื้อที่รุนแรงปานกลาง = 1.2-1.3
การติดเชื้อที่รุนแรงมาก = 1.4-1.5
ไตวายไม่ได้ล้างไต = 1.0
ผ่าตัดไม่มีภาวะแทรกซ้อน = 1.0
ติดเชื้อในช่องท้อง = 1.2-1.37
ติดเชื้อในกระแสเลือด = 1.4-1.8
แผลไหม้ น้อยกว่าร้อยละ 20 = 1.0-1.5
แผลไหม้ ร้อยละ 20-40 = 1.5-1.85
แผลไหม้ ร้อยละ 41-100 = 1.5-2.05
การบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อ = 1.8-2.0
กระดูกหัก = 1.2-1.37
บาดเจ็บที่ศีรษะ = 1.4-1.6
การประเมินภาวะโภชนาการ
การวัดสัดส่วนของร่างกาย (Anthropometric measurement: A)
ดัชนีมวลของร่างกาย
(Body Mass Index ; BMI)
เป็นการประเมินมวลของร่างกายทั้งหมด
BMI = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร)2
การประเมินทางชีวเคมี
(Biochemical assessment: B)
เป็นวิธีการเจาะเลือด เพื่อประเมินภาวะโภชนาการ
การตรวจร่างกายทางคลินิก
(Clinical assessment: C)
เป็นวิธีการตรวจร่างกายเช่นเดียวกับการประเมินภาวะสุขภาพ แต่จะให้ความสนใจตรวจร่างกายเบื้องต้น
การประเมินจากประวัติการรับประทานอาหาร
(Dietary assessment: D)
ประวัติการรับประทานอาหาร ชนิดของอาหารที่บริโภค พฤติกรรมการรับประทานอาหาร
การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ
Obesity (ภาวะอ้วน)
คือ ร่างกายมีการสะสมของมวลไขมันในร่างกายมากเกินไป มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ทั้งเพศชายและเพศหญิง ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป
และจากการวัดขนาดรอบเอวในผู้ชายรอบเอว มากกว่า 40 นิ้ว (102 เซนติเมตร) ผู้หญิง 35 นิ้ว (88 เซนติเมตร) อัตราส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพก เพศชาย ≥ 0.9 เพศหญิง ≥ 0.85
การพยาบาลผู้ที่มีภาวะอ้วน
คำนวณพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน
จำกัดมื้ออาหารและสัดส่วนของอาหารตามพีระมิดอาหาร
จำกัดการใช้น้ำมัน ไขมัน น้ำตาล
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แป้งและไขมันสูง
รับประทานอาหารครั้งละน้อย แต่บ่อยครั้งและจำกัดอาหารมื้อเย็น
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารขณะดูโทรทัศน์
เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารจากผักผลไม้ และธัญพืชที่ไม่ขัดสี
ส่งเสริมให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหรือสัปดาห์ละ 3 วัน
Emaciation (ภาวะผอมแห้ง)
คือ ภาวะที่ผอมมากเกินไป BMI น้อยกว่าหรือเท่ากับ 16 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และน้ำหนักลดลงตลอดเวลาและลดลงเป็นเวลานาน ร่วมกับขาดสารอาหาร
ผู้ป่วยที่มีปัญหาความผิดปกติของระบบ
ทางเดินอาหาร
Anorexia nervosa
ภาวะเบื่ออาหารเป็นความรู้สึกไม่อยากรับประทาน
อาหาร อาจรู้สึกต่อต้าน ตรงข้ามกับความรู้สึกอยากอาหาร (Appetite)
Bulimia Nervosa
เป็นความผิดปกติของพฤติกรรมการรับประทานโดยหลังจากรับประทานเสร็จจะรู้สึกไม่สบายใจและรู้สึกผิดที่รับประทานเข้าไปมากมาย จึงต้องหาวิธีเอาออก
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะ Anorexia nervosa และ Bulimia nervosa
หาสาเหตุ ที่พบได้บ่อย ๆ
ส่งเสริมความรู้สึกอยากอาหารให้มากที่สุดและลดความรู้สึกเบื่ออาหาร
ดูแลด้านจิตใจ
การใช้ยา
การดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
พยายามให้รับประทานอาหารทางปากมากที่สุด
พิจารณาและแนะน าเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
ส่งเสริมให้มีการเคลื่อนไหวของร่างกาย
การให้อาหารด้วยวิธีพิเศษ
Nausea and vomiting (อาการคลื่นไส้และอาเจียน)
อาการคลื่นไส้ เป็นความรู้สึกอยากขับอาหารที่กินเข้าไปแล้วออกทางปาก มักเป็นอาการนำก่อนอาเจียน แต่อาจเกิดคลื่นไส้โดยไม่อาเจียนได้
อาการที่มักเกิดร่วมด้วย คือ มีน้ำลายมาก
อาจเป็นลม ตาลาย เวียนศีรษะ
ท าให้เกิดความไม่สุขสบาย รับประทานอาหารไม่ได้ เมื่อเกิดอาการ
คลื่นไส้ติดต่อกันแม้จะไม่อาเจียนก็ทำให้ร่างกายขาดอาหารได
อาการอาเจียน การที่มีแรงดันจากภายในดันเอาสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้นออกมาทางปาก
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน
การพยาบาลผู้ป่วยขณะอาเจียน
จัดหาภาชนะรองรับอาเจียน เตรียมกระดาษเช็ดปากหรือผ้า
จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่อาเจียนออกได้สะดวก ช่วยลูบหลังลงเบา ๆ
คอยอยู่เป็นเพื่อนขณะที่ผู้ป่วยก าลังอาเจียน ควรเฝ้าดูด้วยความ
เห็นใจ สงบ ไม่แสดงท่าทีรังเกียจ
สังเกตสิ่งต่าง ๆ เพื่อบันทึกและรายงานอย่างถูกต้อง ควรบันทึก
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นร่วมกับการอาเจียนหรือสิ่งที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุของการอาเจียน
การพยาบาลผู้ป่วยหลังอาเจียน
ดูแลความสะอาดของร่างกายและเครื่องใช้
จัดสิ่งแวดล้อม ดูแลให้อากาศถ่ายเท
ให้ผู้ป่วยพักผ่อนในบรรยากาศที่สงบ
น้ำและอาหาร ระยะแรกให้งดอาหารและน้ำ และเริ่มให้ทีละน้อย
เมื่ออาการดีขึ้นจึงให้อาหารธรรมดา
การป้องกันและแก้ไขอาการอาเจียน
พยายามหาสาเหตุแล้วแก้ไขที่สาเหตุ
พยายามหลีกเลี่ยงและลดแหล่งของความเครียดต่าง ๆ
ให้ผู้ป่วยสูดหายใจเข้าออกลึก ๆ ยาว ๆ ภายหลังอาเจียน และเมื่อรู้สึกคลื่นไส
หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวร่างกายหรือเปลี่ยนท่าเร็ว ๆ รวมทั้งหลีกเลี่ยง
การมองสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็ว ๆ ไปมา
พิจารณาให้ยาระงับอาเจียน
ดูแลความสะอาดร่างกาย ปาก ฟัน เครื่องใช้ สิ่งแวดล้อม
เตรียมพร้อมถ้ามีการอาเจียนซ้ า
Abdominal distention (ภาวะท้องอืด)
เป็นความรู้สึกแน่น อึดอัด ไม่สบายในท้องที่เกิดจากมีแรงดันในท้องเพิ่ม
ทำให้เกิดอาการที่ตามมา เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องอืด
จัดให้นอนศีรษะสูง 45 -60 องศา เพื่อช่วยลดอาการแน่นท้อง และผายลมสะดวก
งดอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส
แสดงความเข้าใจและเห็นใจ และยินดีให้การช่วยเหลืออย่างจริงใจ
ค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะท้องอืดและช่วยเหลือตามสาเหตุ
Dysphagia and aphagia (ภาวะกลืนลำบากและกลืนไม่ได้)
ภาวะกลืนล าบาก (Dysphagia) เป็นความรู้สึกที่ผู้ป่วยเกิดความลำบากในการกลืน
ภาวะกลืนไม่ได้ (Aphagia) จึงไม่สามารถกลืนได้ ไม่ว่าจะเป็นอาหารแข็ง อาหารธรรมดา อาหารอ่อน อาหารเหลว จนกระทั่งรุนแรงมากที่สุด
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากและกลืนไม่ได้
สังเกตและประเมินอาการเกี่ยวกับการกลืนไม่ได้หรือกลืนล าบากว่าเกิดขึ้น
ทันทีทันใดหรือค่อย ๆ มากขึ้น
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ
ดูแลการได้รับยาตามแผนการรักษา
ระมัดระวังการสำลัก
ดูแลด้านความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะความสะอาดของปากและฟัน
การเตรียมผู้ป่วยเพื่อตรวจหรือรักษา
การดูแลด้านจิตใจ ปลอบโยน ให้ก าลังใจ
การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่รับประทานอาหารเองไม่ได้
การป้อนอาหาร (Feeding)
การช่วยให้ผู้ป่วยได้รับอาหารเข้าสู่ร่างกายทางปาก โดย
ผู้ป่วยอาจไม่สะดวกในการใช้มือในการตักอาหาร
การใส่และถอดสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
การใส่สายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า การใส่ NG tube โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการรักษาที่แตกต่างกัน
การถอดสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
เป็นการถอดสายยางที่เคยใส่ไว้เพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง แต่การถอดสายให้อาหารออกนั้นเป็นบทบาทกึ่งอิสระของพยาบาล เมื่อแผนการรักษาเปลี่ยนไป
การให้อาหารทางสายยางให้อาหารที่ใส่เข้าทางรูเปิดของกระเพาะอาหาร
การให้อาหารวิธีนี้เป็นหัตถการโดยแพทย์ และมีรอยแผลตำแหน่งที่เปิดออกทางหน้าท้องจึงต้องทำแผลวันละครั้ง หรือเมื่อจำเป็น
การล้างภายในกระเพาะอาหาร
การล้างภายในกระเพาะอาหาร ใช้มากในกรณีที่รับประทานยาพิษ ได้รับยาเกินขนาด (Over dose) รวมถึงเป็นการล้างกระเพาะอาหารเพื่อห้ามเลือด
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมภาวะโภชนาการ
การประเมินภาวะสุขภาพ
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
การวางแผนการพยาบาล
การปฏิบัติการพยาบาล
การประเมินผลการพยาบาล
ประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
ประเมินผลกิจกรรมการพยาบาล