Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อระบบขับถ่ายปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์ (Urinary system Infection…
การติดเชื้อระบบขับถ่ายปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์ (Urinary system Infection during pregnancy)
ชนิดของการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะแต่ไม่แสดงอาการ (Asymptomatic bacteriuria: ASB)
เป็นการตรวจพบแบคทีเรียในปัสสาวะมากกว่า 105 colony forming unit/ml (cfu/ml) จากการเก็บปัสสาวะอย่างสะอาด 2 ครั้งติดต่อกัน โดยไม่มีอาการแสดงของการติดเชื้อ
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ Escherichia Coli (E. Coli) ที่อยู่รอบท่อปัสสาวะ โดยมีปัจจัยส่งเสริม คือ การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนขณะตั้งครรภ์ ทำให้ท่อไตตึงตัว ทำให้การเคลื่อนไหวและการหดรัดตัวของท่อไตเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนขณะตั้งครรภ์ ทำให้ท่อไตตึงตัว ทำให้การเคลื่อนไหวและการหดรัดตัวของท่อไตการขยายขนาดใหญ่ขึ้นและกดเบียดกระเพาะปัสสาวะทำให้รูเปิดของหลอดไตที่กระเพาะปัสสาวะเกิดการบิดงอการขยายขนาดใหญ่ขึ้นและกดเบียดกระเพาะปัสสาวะทำให้รูเปิดของหลอดไตที่กระเพาะปัสสาวะเกิดการบิดงอขับปัสสาวะออกไม่สะดวก
การติดเชื้อเฉียบพลันที่กระเพาะปัสสาวะ (Acute cystitis)
เป็นการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ ร่วมกับมีอาการเจ็บปวดขณะถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะแสบขัดปัสสาวะบ่อย ปวดปัสสาวะจนต้องรีบปัสสาะ (urgency) ปัสสาวะมีสีขุ่นหรือสีแดง (เกิดจากการมีเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวออกมากับปัสสาวะ)
การติดเชื้อเฉียบพลันที่กรวยไต (Acute pyelonephritis)
เป็นการตรวจพบแบคทีเรียในปัสสาวะ
มากกว่า 105 cfu/ml ร่วมกับปัสสาวะเป็นหนอง มีไข้ หนาวสั่น และปวดบริเวณบั้นเอว
กลุ่มอาการโรคไตรั่ว หรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ (Nephrotic syndrome)
เป็นพบโปรตีนในปัสสาวะมากประมาณ 5 กรัมต่อวัน โปรตีนในเลือดต่ำ ไขมันในเลือดสูง และมีอาการบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ มีผลต่อการตั้งครรภ์คือทำให้ทารกในครรภ์น้ำหนักน้อย หรือคลอดก่อนกำหนด
ภาวะไตวาย (renal failure)
5.1 ไตวายเรื้อรัง (chronic renal failure) มักมีสาเหตุมาจากโรคหลายอย่าง เช่น DM, SLE,
glomerulonephritis ส่วนใหญ่มักจะไม่มีการตั้งครรภ์
5.2 ไตวายเฉียบพลัน (acute renal failure) มักมีสาเหตุจากการแท้งติดเชื้อ (septic abortion),preeclampsia with severe feature, hemolytic uremia syndrome ปัจจุบันสามารถดูแลภาวะนี้ได้ดี ทำให้มารดาที่มีภาวะนี้ได้รับการดูแลและสามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะจะกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว ทำให้เกิดการแท้ง การเจ็บครรภ์คลอด
ก่อนกำหนด และ/หรือถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด ส่วนในรายที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดอาจเกิด septic shock
ผลต่อทารก
ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อย ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ และทารกตายคลอด
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินของโรค ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับสตรีตั้งครรภ์และทารก และ
แผนการรักษาพยาบาล เพื่อให้สตรีตั้งครรภ์คลายความวิตกกังวล
เน้นความสำคัญของการมาตรวจครรภ์ตามนัดอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อประเมินภาวะสุขภาพ
ของมารดาและทารกในครรภ
แนะนำการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ หรือป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
3.1 พักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยแนะนำให้นอนตะแคงเพื่อไม่ให้มดลูกไปกดทับท่อไต
3.2 ดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว หรือ 2,000-3,000 มิลลิลิตร และไม่กลั้นปัสสาวะ
3.3 ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายโดยเฉพาะอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
กรณีที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและได้รับการรักษา ติดตามการเปลี่ยนแปลงของโรค
รวมทั้งสังเกตอาการผิดปกติ เช่น อาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ไตวาย เป็นต้น
กรณีที่ต้องรับเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ให้การพยาบาลดังนี้
5.1 อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าในถึงความจำเป็นในการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
5.2 ดูแลให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ แนะนำให้นอนตะแคงเพื่อไม่ให้มดลูกกดทับท่อไต
5.3 ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง เพื่อประเมินการติดเชื้อในร่างกาย
5.4 ประเมินเสียงหัวใจของทารกและการดิ้นของทารกเพื่อประเมินสภาวะของทารกในครรภ์ รวมทั้งเตรียมการตรวจและติดตามผลการตรวจต่าง ๆ
ระยะคลอด
ให้การพยาบาลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป และเน้นเรื่องการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกทุก
ครั้งหลังการขับถ่าย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ระยะหลังคลอด
การป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
ให้คำแนะนำเช่นเดียวกับคำแนะนำเพื่อป้องกันการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ โดยเน้นการคุมกำเนิด ในรายที่มีบุตรเพียงพอแล้วหรือเป็นโรคไตติดเรื้อรังควรคุมกำเนิดแบบถาวร เพราะการตั้งครรภ์จะทำให้โรครุนแรงมากขึ้น
พยาธิสรีรวิทยา
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณปากช่องคลอด หรือทวารหนักใกล้ท่อปัสสาวะ ย้อนกลับขึ้นไป(ascending infection) ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทำงานของ ระบบทางเดินปัสสาวะขณะตั้งครรภ์ จากผลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) และการขยายตัวของขนาดมดลูก เป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อระบบทางเดิน ปัสสาวะได้ ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาขณะตั้งครรภ์ของไต