Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 การสร้างสภาพแวดล้อมเชิงสร้างสรรค์ในห้องเรียน, 6220160417…
บทที่ 1 การสร้างสภาพแวดล้อมเชิงสร้างสรรค์ในห้องเรียน
ห้องเรียนคืออะไร ?
เป็นสถานที่เพื่อการเรียนรู้ที่มีชีวิตชีวาสำหรับเหล่าผู้เรียน
คือ สถานที่ซึ่งเกิดการปฎิสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้เรียน
เป็นสถานที่กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ การติดตามพัฒนาการของผู้เรียน
ห้องเรียนเป็นเหมือนระบบนิเวศหนึ่ง
สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้
หมายถึง สภาพแวดล้อมทั้งหมดและวัฒนธรรมของชั้นเรียนนั้น ๆ
เป็นหน้าที่ครูที่จะสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมทั้งในแง่มุมกายภาพและจิตใจ
ครูจะต้องรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนรูสึกสบายใจในการเรียน
ครูจะต้องสร้างทัศนคติให้ผู้เรียน เพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างครู-ผู้เรียน
สภาพแวดล้อมเชิงจิตตภาพ
ห้องเรียนจะต้องมีบรรยากาศซึ่งทำให้ผูเรียนทุกคนรู็สึกดี ปลอดภัยและสบาย
ครูจะต้องสอดส่งดูแลการเข้าสังคมและการจับกลุ่มปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียนในชั้นเรียนด้วย
ลักษณะของสภาพแวดล้อมเชิงจิตตภาพที่ดีในชั้นเรียน ได้แก่
ปลอดภัยจากสิ่งคุกคามและอันตรายต่อร่างกาย
มีบรรยากาศเป็นมิตร
ผู้เรียนรู้สึกดีที่จะเป็นสมาชิกในชั้นเรียน
สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างเสรี
มีบรรยากาศกระตุ้นการเรียนรู้
มีบรรยากาศของการเรียนรู้ร่วมกัน
สภาพแวดล้อมเชิงกายภาพ
หมายถึง องค์ประกอบทางกายภาพ เช่น แสง เสียง พื้นที่ เฟอร์นิเจอร์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อผู้เรียนในการเรียนรู้
ควรจัดให้เหมาะสม โดยต้องกระตุ้นประสาทสัมผัสการมองเห็น การได้ยิน เพื่อส่งเสริมให้การเรียนการสอนนั้นมีประสิทธิภาพมากที่สุด
จะต้องมีพื้นที่ว่างเพียงพอให้ครูเดินได้รอบ เพื่อดูแลตรวจสอบผู้เรียนอย่างทั่วถึง
การจัดวางสื่อการเรียนการสอนที่ใช้ประจำต้องให้สามารรถหยิบจับได้ง่าย
ห้องเรียน
ต้องมีการออกแบบพื้นที่ใช้สอยโดยเฉลี่ยที่ 80 ตารางเมตร
พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้สำหรับวางโต๊ะ เก้าอี้ สำหรับครูและผู้เรียนหรือชั้นวางสื่ออุปกรณ์ต่าง ๆ
ก่อนที่ครูจะจัดห้องเรียนทุกครั้งครูต้องคำนึงถึงหลักต่อไปนี้
วิธีการสินหลัก เช่น สอนทั้งชั้นเรียน หรือ สอนโดยแบ่งกลุ่มย่อย
มีกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวหรือไม่
ชนิดและลักษณะรวมถึงที่เก็บอุปกรณ์การเรียนการสอนมีพร้อมใช้หรือไม่
การจัดวางโต๊ะ เก้าอี้บังทัศวิสัยของกระดานดำ หรือสื่อ อุปกรณ์อื่น ๆ หรือไม่
ยุคปัจจุบันจะมีพื้นที่ห้องเรียนที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เอื้อำนวยต่อการจัดวางคอมพิวเตอร์สำหรับผู้เรียน
ธรรมชาติของการทำงานในชั้นเรียน
Doyle (ได้จำแนก 6 ลักษณะเด่นของการทำงานในชั้นเรียนไว้ดังนี้)
เป็นงานที่มีมิติหลากหลาย
ครูจะต้องปรับตัวให้เข้ากับผู้เรียน
ครูต้องมีส่วนร่วมในการอธิบาย การสาธิตทักษะต่าง ๆ
เป็นงานที่ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
เป็นงานที่ต้องทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน
เช่นในขณะที่สอนแนวคิดต่าง ๆ นั้น จะต้องพิจารณายกตัวอย่างที่เหมาะสมกับประสบการณ์ของผู้เรียน
ครูต้องหมั่นตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนและคอยตรวจสอบพฤติกรรมของผู้เรียนด้วยเช่นกัน
เป็นงานที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ครูไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ใดในชั้นเรียนบ้าง - เช่น ผู้เรียนมักเงียบ แต่อยู่ดี ๆ ก็ลุกขึ้นมาแสดงความเห็นอย่างหนักแน่นจริงจัง โดยไม่เกี่ยวกับหัวข้อการเรียน
เป็นงานที่มีความเป็นสาธารณะ ชั้นเรียนไม่มีความเป็นส่วนตัว ทำให้บางครั้งผู้เรียนเริ่มมีพฤติกรรมเป็นส่วนตัว -เช่น การแอบอ่านหนังสือการ์ตูนในชั้นเรียน
เป็นงานที่ต้องสั่งสมความทรงจำและประวติที่ผ่านมา ครูจะต้องรวบรวมประสบการณ์ทั้งแง่บวกและแง่ลบเพื่อประมวลปฏิกิริยาในอนาคต - เช่น ผู้เรียนอาจจะได้ว่าครูไม่เคยลงโทษตามที่คำขู่เลย ดังนั้น ผู้เรียนจึงไม่เคารพเชื่อฟังหากครูเตือนว่าจะลงโทษในครั้งต่อ ๆ ไป
การบริหารจัดการชั้นเรียนคืออะไร
การบริหารจัดการชั้นเรียนแบ่งออกเป็น 3 ระดับ
ระดับที่ 1
ครูต้องบริหารการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยต้องวิเคราะห์วัตถุประสงค์ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม
ระดับที่ 2
ครูต้องจัดการพฤติกรรมผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนใส่ใจและทุ่มเทพลังงานทั้งหมดไปยังกระบวนการเรียนรู็ และต้องให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วม
ระดับที่ 3
ครูจะต้องบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเชิงกายภาพและจิตตภาพเพื่อทำให้เกิดสภาพที่น่าทำงาน โดยครูจะต้องบริการจัดการทั้งสามระดับในเวลาเดียวกัน
6220160417 นางสาววิชุดา วิชัย กลุ่ม 5 เลขที่ 22