Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจนและการดูดเสมหะ - Coggle Diagram
บทที่ 7 การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจนและการดูดเสมหะ
ความสำคัญของก๊าซออกซิเจนที่มีต่อร่างกาย
การทำงานของเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ขนส่งก๊าซ เม็ดเลือดแดง เป็นเซลล์เม็ดเลือดชนิดหนึ่ง มีหน้าที่ หลักในการขนและส่งก๊าซในระบบหมุนเวียนมีอายุขัยประมาณ120 วันร่างกายเรามีการทำลายและการ สร้างเม็ดเลือดใหม่ตลอดเวลา
ความดันออกซิเจน ทำให้เกิดการขนส่งออกซิเจนสู่เนื้อเยื่อ
การหมุนเวียนเพื่อกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับออกซิเจนของบุคคล
การเดินทางหรืออาศัยในที่สูง
อยู่ในที่ที่มีมลพิษสูง
การเล่นกีฬาหรือออกกาลังกายหนัก ๆ
ความเครียด ทำให้เกิดภาวะนอนไม่หลับ
อาหารที่มีไขมันมาก จะมีปริมาณออกซิเจนน้อย
ผู้สูงอายุ ร่างกายของคนเราจะเสื่อมลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น
การสูบบุหรี่ มีผลเสียต่อร่างกายในหลายๆ ระบบ
การดื่มสุราและเครื่องดื่มที่เป็นแอลกอฮอล์
การประเมินภาวะพร่องออกซิเจน
การประเมินสภาพร่างกาย
ระบบทางเดินหายใจ, ระบบหัวใจและหลอดเลือด, ระบบประสาทส่วนกลาง,ระบบผิวหนัง,ระบบทางเดินอาหาร
การประเมินการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ระดับค่าก๊าซในหลอดเลือดแดง(Arterial blood gas: ABG)
ค่าการอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Arterial oxygen saturation)
การตรวจหาระดับฮีโมโกลบิน (Hemoglobin: Hb)
สาเหตุและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ
อาการไอ (Cough)
สาเหตุของการไอ
การอักเสบหรือการบวมบริเวณทางเดินหายใจ
ฝุ่น ควัน สารเคมี อาหาร หรือน้ำที่สำลักเข้าไป
ความร้อน - เย็นของอากาศ จะทำให้การไอมากขึ้น
ลักษณะของอาการไอ
ไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะ เช่น ไอเนื่องจากมีฝุ่นละอองมาก เป็นต้น
ไอมีเสมหะ ซึ่งเสมหะที่เป็นหนอง มักเกิดจากการติดเชื้อในทางเดินลมหายใจ เช่น โรคปอด
Hemoptysis อาการไอเป็นเลือด
ชนิดของการไอเป็นเลือด
ไอจนมีเลือดสดออกมา พบในวัณโรคปอด
ไอจนมีเลือดปนออกมา คือ มีเสมหะและเลือดปนเป็นเนื้อเดียวกัน
ไอจนมีเลือดออกเป็นสาย มีเลือดเป็นสายปนกับเสมหะแต่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน พบในโรค หลอดลมอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง
ไอจนมีเสมหะสีคล้ายสนิม จากมีเลือดเก่าๆ ปนออกมาด้วย พบในวัณโรคปอด
สาเหตุของการไอเป็นเลือด
อุบัติเหตุ
การอักเสบ ทำให้เกิดอาการไออย่างรุนแรงหรือมีแผลในคอ
เนื้องอก และมะเร็ง
Hiccup การสะอึก
สาเหตุของอาการสะอึก
การสะอึกต่อเนื่อง หรือ อาการสะอึกที่ควบคุมรักษายาก มักเป็นอาการสะอึกที่เกิดจากพยาธิ สภาพของโรค
โดยโรคที่พบบ่อย เช่น โรคทางสมอง
ยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง มีก้อนในบริเวณลำคอ เช่น คอพอก อาจสัมพันธ์กับปัญหาทาง จิตใจ หรือ อารมณ์
อาการสะอึกเป็นอาการปกติทั่วไป ไม่ได้เกิดจากโรค โดยมีสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่พบ บ่อย เช่น กินอิ่มมากเกินไป ดื่มเครื่องดื่มพวกที่ทำให้เกิดแก๊ส
Dyspnea อาการหายใจลำบาก
สาเหตุของการหายใจลำบาก
สาเหตุเกี่ยวกับทางเดินหายใจเช่นทางเดินหายใจอุดกั้นหรือปอดถูกทำลายเป็นต้น
สาเหตุเกี่ยวกับหัวใจ เช่น การทำงานของหัวใจไม่ดี เนื่องจากกล้ามเนื้อบางส่วนของหัวใจ
สาเหตุเกี่ยวกับประสาท ทาให้การควบคุมการหายใจไม่ดี เช่น โรคไขสันหลังอักเสบ
Chest pain อาการเจ็บหน้าอก
มีลักษณะแตกต่างกันตามสาเหตุดังนี้
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากกล้ามเนื้ออักเสบ มักมีอาการเจ็บเฉพาะที่
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากเยื่อหุ้มปอดอักเสบ
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจาก เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบมักเป็นตรงบริเวณหัวใจ
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากหัวใจ
บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
อาการและอาการแสดงของภาวะขาดออกซิเจน
วิตกกังวล(anxiety)กระสับกระส่าย(restlessness)
ระดับการมีสมาธิลดลง (decreased ability to concentrate)
ระดับความรู้สึกตัวลดลง (decreased level of consciousness)
ความอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าเพิ่มขึ้น (increased fatigue)
มีอาการวิงเวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุน (vertigo)
แสดงพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป (behavior changes)
อัตราการเต้นของชีพจรเร็วขึ้น (increase pulse rate) ขั้นรุนแรง และพบ bradycardia
ในช่วงแรกอัตราการหายใจเร็วและลึก (increase rate and depth respiration)
ความดันโลหิตลดลง (blood pressure will decrease)
มีภาวะซีด (pallor)
มีอาการเขียวคล้า (cyanosis)
กรณีเป็นภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง พบนิ้วปุูม (clubbing) 14. อาการหายใจลาบาก (dyspnea)
วัตถุประสงค์ของการให้ออกซิเจนเพื่อการรักษา
เป็นการลดอาการขาดออกซิเจนเรื้อรัง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งฟอง
เป็นการช่วยการทำงานของระบบทางเดินหายใจ หัวใจ และระบบการไหลเวียนโลหิต
เป็นการรักษาภาวะพร่องออกซิเจนทำให้ออกซิเจนในเลือดต่ำ
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจน
หมั่นสังเกตและประเมินภาวะของผู้ป่วยเกี่ยวกับ
หมั่นตรวจดูอุปกรณ์ที่ให้ออกซิเจน
ดูแลทางเดินหายใจโดยท่าทางเดินหายใจ(Clear air way)
ดูแลความสะอาดของจมูกและปากบ่อยๆ หรือ ทุก 2 - 3 ชั่วโมง
ดูแลด้านจิตใจ เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยและญาติ
เทคนิคการพยาบาลที่เกี่ยวข้องในการให้ออกซิเจนแบบต่าง ๆ
ระบบการให้ออกซิเจน
ระบบการไหลของออกซิเจนชนิดต่ำ (Low flow system)
การให้ออกซิเจนชนิดเขี้ยว (nasal cannula) หรือ nasal prongs
การให้ออกซิเจนทางหน้ากาก (mask)
Simple mask เป็นชนิดที่ให้ออกซิเจนความเข้มข้นร้อยละ 40-50
Reservoir bag (partial rebreathing mask) ให้ความเข้มข้นสูงกว่าร้อยละ 60– 90 ซึ่งสูงกว่าชนิดไม่มีถุงชนิดนี้ ออกซิเจนจากเครื่องจะไหลเข้าถุง
Non rebreathing mask ลักษณะคล้าย partial rebreathing ยกเว้นรูระบาย อากาศส่วนหน้ากากลักษณะเป็นลิ้นไหลทางเดียว (unidirectional valve) ทั้ง 2 ข้าง
ระบบการไหลของออกซิเจนชนิดสูง (High flow system)
การให้ออกซิเจนชนิดT- piece เป็นอุปกรณ์ให้ออกซิเจนผู้ป่วยที่มีท่อทางเดินหายใจ ทำด้วย
พลาสติกเบา เพื่อไม่ให้ดึงร้ังท่อเจาะหลอดลมคอ ลักษณะเป็นท่อสายลูกฟูก
การให้ออกซิเจนทางท่อหลอดลม (tracheostomy collar) เป็นอุปกรณ์คล้ายหน้ากากคล้อง ไว้กับคอ ครอบบนท่อเจาะหลอดลมคอ ออกซิเจนจะไหลเข้าทางรูเปิดขณะหายใจเข้า
การให้ออกซิเจนชนิด croupette tent เป็นอุปกรณ์ให้ออกซิเจนที่ครอบตัวผู้ป่วยลักษณะ คล้ายเต็นท์ ประกอบด้วยมุ้งพลาสติก มีซิบเปิด-ปิด ครอบบนโครงโลหะ
การให้ออกซิเจนชนิด hood หรือ oxygen box เป็นอุปกรณ์ใช้ครอบศีรษะและไหล่ผู้ป่วยเด็ก
การให้ออกซิเจนทางท่อช่วยหายใจ (endotracheal tube: ET) เป็นท่อช่วยหายใจซึ่งแพทย์ จะใส่ท่อนี้เข้าไปในหลอดลมของผู้ป่วย แล้วต่อเข้ากับเครื่องช่วยหายใจ
แหล่งให้ออกซิเจน (Oxygen source)
ถังบรรจุออกซิเจน (Oxygen tank) ก่อนใช้ออกซิเจนจากถังบรรจุออกซิเจน ต้องมีอุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหลของก๊าซ (regulation of gas flow)
ระบบท่อ (Oxygen pipeline) ก่อนใช้ออกซิเจนจากระบบท่อ ต้องมีอุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหลของก๊าซ (regulation of gas flow)
บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
การจัดท่าผู้ป่วย
ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะที่มีออกซิเจนในเซลล์ต่า (hypoxia) ควรจัดอยู่ในท่าศีรษะสูง (high fowler’s position) ในท่านี้จะช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น โดยกระบังลมจะหย่อนลง ทำให้ปอดขยายตัวเต็มที่ และมีปริมาณอากาศเพิ่มมากขึ้น
การบริหารการหายใจ
วิธีการหายใจจะช่วยให้การระบายอากาศหายใจดีขึ้น มีประโยชน์ทั้งในผู้ปุวยที่มีปัญหาการ หายใจชนิดปอดถูกกำจัด และชนิดปอดถูกอุดกั้น เพราะเทคนิคการหายใจจะช่วยเพิ่มปริมาตรอากาศที่เข้า ออกจากปอด
การหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องหรือกระบังลม (diaphragmatic breathing)
สามารถทำได้ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการหายใจเรื้อรังและเฉียบพลัน
การหายใจโดยการห่อปาก (pursed - lip breathing) การหายใจวิธีนี้จะช่วยลดการคั่ง ของอากาศในถุงลม โดยการรักษาความดันบวกในการหายใจ ทาให้หลอดลมขยายตัวนานกว่าปกติ ช่วยให้ อากาศออกจากถุงลมปอดได้มากขึ้น
การหายใจเข้าลึกๆ (deep breathing) การหายใจเข้าลึกๆ ช่วยขยายหลอดลม กระตุ้นการสร้างสารเคลือบภายในปอด และช่วยขยายพื้นที่การแลกเปลี่ยนออกซิเจนที่ปอด
การดูดเสมหะ (suction)
วิธีการดูดเสมหะ
เป็นการใช้สายยางชนิดดูดเสมหะสอดใส่เข้าทางเดินหายใจแล้วดูด เสมหะออกจากทางเดินหายใจ เพื่อช่วยผู้ป่วยที่ไม่สามารถไอเพื่อขับเสมหะออกได้
เครื่องดูดเสมหะ มีให้เลือกใช้อยู่ 2 ชนิด
เครื่องดูดเสมหะชนิดเคลื่อนที่(mobilesuction)
ชนิดติดฝาผนัง (wall suction)
วิธีการดูดเสมหะ
การดูดเสมหะทางจมูก (Nasopharygeal) หรือปาก (oropharyngeal suction) เป็น การดูดเสมหะผ่านทางจมูก หรือ nasal airway ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อยาวภายในกลวง ลักษณะของท่อโค้ง
การดูดเสมหะทางท่อช่วยหายใจ(Endotracheal) หรือทางท่อหลอดคอ (tracheostomy suction) เป็นการดูดเสมหะผ่านท่อช่วยหายใจEndotrachealหรือทางท่อเจาะคอที่ เจาะผ่านหลอดลมออกมาภายนอก(tracheostomy tube)ซึ่งเป็นหัตถการโดยแพทย์
การเตรียมเครื่องใช้สาหรับการดูดเสมหะทางปาก
1.oralairwayหรอื nasalairway
เครื่องดูดเสมหะ
สายหล่อลื่นหรือน้ากลั่น
สายดูดเสมหะที่สะอาดปราศจากเชื้อ ตามขนาดผู้ปุวย
ท่อต่อ (connector) ใช้ต่อสายดูดเสมหะ
ไม้กดลิ้นที่สะอาด
ถุงมือสะอาด
ขวดน้าเกลือใช้ภายนอก (normal saline external use)
ความปลอดภัยขณะผู้ป่วยได้รับออกซิเจน
อาจเกิดการทำลายเนื้อเยื่อในปอด ออกซิเจนจะก่อพิษในปอดได้หากได้รับในระยะเวลานาน คือ 24 – 48 ชั่วโมง และความเข้มข้นของก๊าซ มากกว่าร้อยละ 60 อาการเป็นพิษนี้พบได้ตั้งแต่ อาการระคาย เคืองของหลอดลม เกิดการอักเสบ
อาจเกิดอันตรายกับดวงตา (retrolental fibroplasias) คือ การได้รับออกซิเจนความเข้มข้นสูงเป็นระยะเวลานาน ๆ
อาจทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจแห้งและเกิดการระคายเคืองได้ เนื่องจากออกซิเจนเป็นก๊าซ แห้ง เมื่อผ่านเข้าในระบบทางเดินหายใจจะทาให้เยื่อบุแห้ง
อาจเกิดการหยุดหายใจ ในผู้ปุวยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ศูนย์การหายใจจะไม่เป็นตัวควบคุม การหายใจ แต่ใช้ chemoreceptor reflex เป็นตัวควบคุมแทน
อาจเกิดการติดเชื้อโรคแทรกซ้อน การให้ออกซิเจนอุปกรณ์ที่ใช้มีโอกาสก่อให้เกิดการติดเชื้อ ได้ เช่น น้ำกลั่นในขวด humidifier สายที่นำออกซิเจนมาสู่ผู้ป่วย
อาจเกิดอุบัติเหตุจาการเกิดไฟไหม้หรือการระเบิด เพราะการสันดาป (combustion) เป็น ขบวนการที่เชื้อเพลิงทำปฏิกิริยากับออกซิเจนจนเกิดเป็น oxide มีความร้อนและพลังงานเกิดขึ้น
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
การประเมินภาวะสุขภาพ (Health assessment)
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
การวางแผนการพยาบาล (Planning)
การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation) สิ่งที่ต้องประเมิน
ประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
ประเมินผลกิจกรรมการพยาบาล
ประเมินผลคุณภาพการบริการ