Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจนและการดูดเสมหะ, ระบบการให้ออกซิเจน,…
การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจนและการดูดเสมหะ
ปัจจัยที่มีผลตอการไดรับออกซิเจนของบุคคล
ความเครียด ทำให้เกิดภาวะนอนไม่หลับ การหายใจถี่ขึ้น ต้องการออกซิเจนมากขึ้น
อาหารที่มีไขมันมาก จะมีปริมาณออกซิเจนน้อย เวลารับประทานอาหารที่มีไขมันมากจะทำให้ ปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำลง
การเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายหนัก ๆ ขณะออกกำลังกาย ร่างกายต้องการออกซิเจนมากกว่าปกติ
ผู้สูงอายุ ร่างกายของคนเราจะเสื่อมลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ความเสื่อมเกิดขึ้นได้ทุกระบบในร่างกาย
อยู่ในที่ที่มีมลพิษสูง การที่ร่างกายได้รับสารพิษจากอากาศ ทำให้ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ในขบวนการขจัดสารพิษ
การสูบบุหรี่ มีผลเสียต่อร่างกายในหลาย ๆ ระบบ
การเดินทางหรืออาศัยในที่สูง ภาวะดังกล่าวจะมีความหนาแน่นของอากาศลดลง มีผลให้ออกซิเจนมี ระดับต่ำกว่าปกติ ทำให้ร่างกายได้ออกซิเจนน้อยกว่าปกติ ถ้าร่างกายปรับตัวไม่ได้กับภาวะพร่องออกซิเจน ทำให้เกิดการภาวะพร่องออกซิเจน
การดื่มสุราและเครื่องดื่มที่เป็นแอลกอฮอล์ การดื่มในปริมาณมากเกินควรจะส่งผลให้ร่างกายเกิดผล เสียแบบเฉียบพลับและเรื้อรัง ซึ่งส่งผลต่อตับ สมอง หรือหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น ในแบบเฉียบพลัน ถ้าดื่มมาก ๆ จนมีปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือด 30 mg% จะเริ่มควบคุมตัวเองไม่ได้ มีอาการร่าเริง ปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือด 50 mg% จะกระทบต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย ปริมาณแอลกอฮอล์ใน กระแสเลือด 200 mg% จะทำให้เกิดอาการสับสน และถ้าปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดมากกว่า 400 mg% ส่งผลต่อระบบสมองทำให้ได้รับออกซิเจนน้อยลง
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
การประเมินภาวะสุขภาพ
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
การวางแผนการพยาบาล
วัตถุประสงค์
เกณฑ์การประเมินผล
การวางแผน
การปฏิบัติการพยาบาล
การประเมินผลการพยาบาล
ประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
ประเมินผลกิจกรรมการพยาบาล
ประเมินผลคุณภาพการบริการ
การประเมินภาวะพร่องออกซิเจน
การประเมินสภาพร่างกาย
ระบบประสาทส่วนกลาง สังเกตและประเมินพบ ความรู้สึกตัวของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลง
ระบบผิวหนัง
ระบบหัวใจและหลอดเลือด ประเมินพบ ชีพจรเต้นเร็วผิดปกติ
ระบบทางเดินอาหาร
ระบบทางเดินหายใจ ระยะแรกของเซลล์พร่องออกซิเจนอย่างอ่อน
การประเมินการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ระดับค่าก๊าซในหลอดเลือดแดง :เป็นการตรวจเพื่อหา ประสิทธิภาพการทำงานของปอด เพื่อประเมินความสามารถในการแลกเปลี่ยนก๊าซ และการหายใจ ค่าเหล่านี้ บอกถึงความสามารถของ Hemoglobin
ค่าการอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด : ใช้ pulse oximeter เป็นอุปกรณ์ที่วัดร้อยละของฮีโมโกลบินที่จับกับออกซิเจน (oxyhemoglobin) ต่อปริมาณ
ฮีโมโกลบินทั้งหมดในเลือด การแปลผลต้องพิจารณาปริมาณเม็ดเลือดแดงและหรือค่าฮีโมโกลบินร่วมด้วย จึง เป็นการวัด arterial oxygen saturation (SPO2)
การตรวจหาระดับฮีโมโกลบิน :ในเลือดค่าฮีโมโกลบินปกติในผู้หญิง 11.5 – 16.5 gm % (กรัมเปอร์เซนต์) และในผู้ชาย 13.0 - 18 gm % (กรัมเปอร์เซนต์)
ความสำคัญของก๊าซออกซิเจนที่มีต่อร่างกาย
ความดันออกซิเจน ทำให้เกิดการขนส่งออกซิเจนสู่เนื้อเยื่อ ความดันออกซิเจนและการขนส่งสู่เนื้อเยื่อ หลังจากเลือดที่ออกจากปอดมีความดันออกซิเจนใน เลือดสูงอยู่ เม็ดเลือดแดงจะปล่อยออกซิเจนจำนวนน้อยสู่กระแสเลือดเพื่อส่งไปหาเซลล์ต่างๆ แต่เมื่อการ เดินทางไปในอวัยวะที่ไกลขึ้น ความเข้มข้นออกซิเจนในเลือดลดลง เม็ดเลือดแดงจะปล่อยออกซิเจนจำนวน มากขึ้นตามลำดับ เพื่อให้ออกซิเจนออกมาอยู่ในกระแสเลือดเพื่อส่งไปสู่เซลล์ โดย เลือดเป็นตัวกลางการ ส่งผ่านออกซิเจนสู่เซลล์ ส่วน เม็ดเลือดแดงเป็นถังเก็บออกซิเจนที่จะค่อยๆ ปล่อยออกซิเจนออกมาเรื่อย ๆ
การหมุนเวียน เพื่อกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อเซลล์เนื้อเยื่อขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกออก จะมีการขนส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปที่ปอด เพื่อทำการหายใจระบายออก กลไกการขนส่งมี 2 อย่างที่เป็นหลัก
การขนส่งคาร์บอนไดออกไซด์โดย hemoglobin ในเม็ดเลือดแดง
คาร์บอนไดออกไซด์ไปรวมกับน้ำ เพื่อเกิดสารประกอบ กรดคาร์บอนิก (H2CO3) และแตกตัว เป็นไฮโดรเจนไออน (H+) กับไบคาร์บอเนต (HCO3)
การทำงานของเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ขนส่งก๊าซ เม็ดเลือดแดง เป็นเซลล์เม็ดเลือดชนิดหนึ่ง มีหน้าที่ หลักในการขนและส่งก๊าซในระบบหมุนเวียน มีอายุขัยประมาณ 120 วัน ร่างกายเรามีการทำลายและการ สร้างเม็ดเลือดใหม่ตลอดเวลา แต่ละเซลล์เม็ดเลือดแดง จะมีส่วนประกอบที่เป็น Hemoglobin (ฮีโมโกลบิน)อยู่ถึง 97 %ทำหน้าที่ในการ“จับกับก๊าซเพื่อการขนส่ง”
สาเหตุและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ
Hiccup
สาเหตุของอาการสะอึก
สาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่พบ บ่อย เช่น กินอิ่มมากเกินไป ดื่มเครื่องดื่มพวกที่ทำให้เกิดแก๊ส (Carbonate) ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ จัด หรือมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของกระเพาะอาหารทันทีการสะอึกต่อเนื่อง หรือ อาการสะอึกที่ควบคุมรักษายาก มักเป็นอาการสะอึกที่เกิดจากพยาธิ สภาพของโรค โดยโรคที่พบบ่อย เช่น โรคทางสมอง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการสะอึก
ให้ชิมของเปรี้ยวจัด
แนะนำให้หายใจเข้าออกในถุงปิด เพื่อเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ให้ดมสารที่มีกลิ่นฉุน
แนะนำให้กลั้นหายใจเป็นพัก ๆ
ใช้เทคนิคเบี่ยงเบนความสนใจ
ดูแลความปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อม
Dyspnea
สาเหตุของการหายใจลำบาก
สาเหตุเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
สาเหตุเกี่ยวกับหัวใจ
สาเหตุเกี่ยวกับประสาท
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการหายใจลำบาก
ดูแลประคับประคองด้านจิตใจ และประเมินสัญญาณชีพตามความเหมาะสม
เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน
ดูแลให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง และให้ออกซิเจนร่วมด้วย
ดูแลให้ยาขยายหลอดลม หรือยาขับเสมหะ ตามแผนการรักษา
ดูแลให้ออกซิเจนชนิดละอองฝอย
ฝึกให้ผู้ป่วยหายใจและการไออย่างมีประสิทธิภาพ
Hemoptysis
สาเหตุของการไอเป็นเลือด
การอักเสบ
เนื้องอก และมะเร็ง
อุบัติเหตุ
ความผิดปกติของหลอดเลือดและโรคปอดต่าง ๆ ทำให้เกิดการไอเป็นเลือดได้
ชนิดของการไอเป็นเลือด
ไอจนมีเลือดปนออกมา
ไอจนมีเลือดออกเป็นสาย
ไอจนมีเลือดสดออกมา
ไอจนมีเสมหะสีคล้ายสนิม
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการไอเป็นเลือด
ให้ผู้ป่วยพักผ่อนและให้การหายใจเคลื่อนไหวน้อยที่สุด
ประเมินชีพจร หายใจ และความดันโลหิต
ถ้าเสียเลือดมาก อาจต้องให้เลือด และพยาบาลจะต้องเฝ้าระวังการแพ้เลือดที่อาจเกิดขึ้นได้
ผู้ปุวยอาจตกใจมาก ทำให้มีอาการหายใจเร็วขึ้น พยาบาลต้องคอย ปลอบโยน ให้กำลังใจ และให้การดูแลจนผู้ป่วยควบคุมตนเองได้
Chest pain
ลักษณะแตกต่างกันตามสาเหตุ
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจาก เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบมักเป็นตรงบริเวณหัวใจ
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากหัวใจ
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากเยื่อหุ้มปอดอักเสบ
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากหลอดลมอักเสบ
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากกล้ามเนื้ออักเสบ
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากเส้นประสาท
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก
ประเมินหาสาเหตุของอาการว่า อาการเจ็บหน้าอกเกิดจากหัวใจหรือ ปอด ถ้าเป็นอาการเจ็บ หน้าอกจากหัวใจ
จัดเตรีมอุปกรณ์การให้ออกซิเจนและพิจารณาให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วย
สังเกตอาการ ถ้าผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดที่เยื่อหุ้มปอด ควรแนะนำให้นอนตะแคงทับด้านที่ เป็น ถ้าอาการไม่ดีขึ้น อาจต้องให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
อาการไอ
ลักษณะของอาการไอ
ไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะ
ไอมีเสมหะ ซึ่งเสมหะที่เป็นหนอง มักเกิดจากการติดเชื้อในทางเดินลมหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการไอ
สังเกตและบันทึกลักษณะ เสียง ความถี่ และระยะเวลาของการไอ
ถ้าไอมีเสมหะให้สังเกต บันทึกจำนวน ลักษณะ สี และกลิ่นของเสมหะด้วย
ดูแลความสะอาดของปาก ฟัน และสิ่งแวดล้อม
กระตุ้นให้ดื่มน้ำอุ่นบ่อย ๆ และปริมาณมาก
ประเมินประสิทธิภาพการไอ
กระตุ้นให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ
สอนการไออย่างมีประสิทธิภาพ
ดูแลให้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการไอตามแผนการรักษาของแพทย์
สาเหตุของการไอ
ฝุ่น ควัน สารเคมี อาหาร หรือน้ำที่สำลักเข้าไป
ความร้อน - เย็นของอากาศ จะทำให้การไอมากขึ้น
การอักเสบหรือการบวมบริเวณทางเดินหายใจ
ความปลอดภัยขณะผู้ป่วยได้รับออกซิเจน
อาจเกิดการทำลายเนื้อเยื่อในปอด
อาจเกิดอันตรายกับดวงตา
อาจทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจแห้งและเกิดการระคายเคืองได้
อาจเกิดการหยุดหายใจ ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ศูนย์การหายใจจะไม่เป็นตัวควบคุม การหายใจ แต่ใช้ chemoreceptor reflex เป็นตัวควบคุมแทน
อาจเกิดการติดเชื้อโรคแทรกซ้อน การให้ออกซิเจนอุปกรณ์ที่ใช้มีโอกาสก่อให้เกิดการติดเชื้อได้
อาจเกิดอุบัติเหตุจาการเกิดไฟไหม้หรือการระเบิด
หลักปฏิบัติในการให้ออกซิเจนชนิดต่าง ๆ
ปรับระดับลูกลอยใน flow meter จะได้ปริมาณของออกซิเจนมีหน่วยเป็นลิตรต่อนาทีตามที่ต้องการ
หมุนปุ่มเปิด flow meter ปรับอัตราการไหลของออกซิเจนทิ้งไว้ 1 – 2 นาที เพื่อทดสอบว่า มีออกซิเจนไหลผ่าน และได้ปริมาณตามแผนการรักษาทุกครั้งก่อนสวมอุปกรณ์ให้ผู้ป่วย
ต่อกระบอกความชื้นที่ใส่น้ ากลั่นปลอดเชื้อ ให้ระดบัน้ าอยู่ตรงตำแหน่งขีดที่กำหนดข้าง กระบอกปูองกันไม่ให้ flow meter เสียหรือน้อยกว่าขีด
กรณีให้ nasal cannula
ทำความสะอาดช่องจมูกทั้งสองข้าง และทุก 8 ชั่วโมงเพื่อให้ช่องจมูกโล่ง
สวมเขี้ยวเข้าในช่องจมูกทั้ง 2 ข้างโดยให้ส่วนโค้งแนบไปกับโพรงจมูก
ประเมินสัญญาณชีพและระดับความรู้สึกตัว
กรณีให้ mask ให้ปฏิบัติ
imple mask ครอบหน้ากากบริเวณสันจมูกและปากให้แนบสนิท ปรับสายคล้องทัด เหนือใบหูรอบศีรษะ จัดให้พอดีปูองกันการรั่วของออกซิเจน
ชนิดมีถุง เปิดออกซิเจนไหลผ่านถุง 10 -20 ลิตร/ นาที จนถุงโปุงเต็มที่เพื่อไล่ก๊าซอื่นที่ ค้างในถุงออกรวมทั้งทดสอบถุงไม่รั่วแล้วจึงใส่เหมือน simple mask
กรณีให้ oxygen hood (oxygen box) ให้ปฏิบัติ
ต่อท่อออกซิเจนเข้ากับกล่อง
วางครอบเฉพาะศีรษะและไหล่ ระวังไม่ให้สายอยู่ใกล้หน้าเด็ก
กรณีให้ T- piece ให้ปฏิบัติ
ควรดูดเสมหะออกก่อนเพื่อให้ออกซิเจนไหลผ่านหลอดลมคอได้สะดวก
ต่อสาย T – piece ครอบท่อหลอดลมคอ จัดสายไม่ให้เกิดภาวะดึงรั้งกรณีผู้ป่วยที่ได้รับยาในรูปการสูดละอองยาเข้าทางเดินหายใจโดยตรง ควรปรับอัตราการไหลของออกซิเจน 6 – 8 ลิตร/ นาที
ลงบันทึกทางการพยาบาล
ล้างมือให้สะอาด สวมmask เพื่อปูองกันการนำเชื้อเข้าสู่ผู้ป่วย
บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
ข้อชี้บ่งของการให้ออกซิเจน
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ hypoxemia ตามมาหลังได้รับการรักษาเบื้องต้นแล้ว
เกิดภาวะบาดเจ็บขั้นรุนแรง
มีภาวะขาดออกซิเจนในเลือด
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิดเฉียบพลัน
การให้ออกซิเจนเป็นเวลาช่วงสั้น ๆ ในการทำผ่าตัด
ข้อควรระวังและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ออกซิเจน
อาจเกิดภาวะกดการหายใจผู้ป่วยที่หายใจเอง
อาจเกิดภาวะปอดแฟบ
ควรระวังการให้ออกซิเจนในผู้ปุวยที่ได้รับพิษจาก paraquat
ขณะทำผ่าตัดด้วยวิธีเลเซอร์ในทางเดินหายใจ ควรจำกัดความเข้มข้นของออกซิเจนที่ใช้ในต่ำ ที่สุด
ควรระวังการให้ความชื้นร่วมกับออกซิเจนโดยเฉพาะการให้ความชื้นแบบ nebulizer
การมีความเข้มข้นระดับสูงของออกซิเจน บริเวณที่เกิดไฟไหม้จะทำให้ขบวนการติดไฟ เพิ่มความรุนแรงยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของการให้ออกซิเจนเพื่อการรักษา
เป็นการลดอาการขาดออกซิเจนเรื้อรัง
เป็นการช่วยการทำงานของระบบทางเดินหายใจ หัวใจ และระบบการไหลเวียนโลหิตและ หลอดเลือดจากภาวะพร่องออกซิเจน
เป็นการรักษาภาวะพร่องออกซิเจนทำให้ออกซิเจนในเลือดต่ำ
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจน
หมั่นสังเกตและประเมินภาวะของผู้ป่วย
หมั่นตรวจดูอุปกรณ์ที่ให้ออกซิเจน
ดูแลทางเดินหายใจโดยท่าทางเดินหายใจ
ดูแลความสะอาดของจมูกและปากบ่อยๆ หรือ ทุก 2 - 3 ชั่วโมง
ดูแลด้านจิตใจ เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยและญาติ
อาการและอาการแสดงของภาวะขาดออกซิเจน
อัตราการเต้นของชีพจรเร็วขึ้น
ในช่วงแรกอัตราการหายใจเร็วและลึก ระยะ ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นหายใจสั้นและตื้น
แสดงพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป
มีอาการวิงเวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุน
ความดันโลหิตลดลง
ความอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าเพิ่มขึ้น
หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ
ระดับความรู้สึกตัวลดลง
มีภาวะซีด
ระดับการมีสมาธิลดลง
มีอาการเขียวคล้ำ
วิตกกังวล กระสับกระส่าย
กรณีเป็นภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง
อาการหายใจลำบาก
เทคนิคการพยาบาลที่เกี่ยวข้องในการให้ออกซิเจนแบบต่าง ๆ และบทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
อุปกรณ์และวิธีการให้ออกซิเจนเพื่อการรักษา
ระบบการไหลของออกซิเจนชนิดต่ำ
การให้ออกซิเจนชนิดเขี้ยว
ข้อดี ผู้ปุวยสามารถดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารได้โดยไม่ต้องปลดสายออก ไม่ค่อยรู้สึก อึดอัดหรือรำคาญมากนัก และติดต่อสารกับผู้อื่นได้สะดวก
ข้อเสีย อาจมีการระคายเคืองช่องจมูกทั้งสองข้าง ทำให้เยื่อบุจมูกบวมและมีน้ำมูกออกมาอุดทำให้ท่อตันได้ จึงควรทำความสะอาดท่อและรูจมูกทุก 8 ชั่วโมง และปรับสายรัดรอบศีรษะของผู้ปุวยให้ พอเหมาะปรับอัตราไหลของออกซิเจน และเฝ้าระวังการเกิดแผลกดทับบริเวณใบหูที่กดกับสายยาง
การให้ออกซิเจนทางหน้ากาก
Simple mask เป็นชนิดที่ให้ออกซิเจนความเข้มข้นร้อยละ 40-50 การปรับอัตรา ไหลของออกซิเจน 5 – 8 ลิตร/ นาที
Reservoir bag (partial rebreathing mask) ให้ความเข้มข้นสูงกว่าร้อยละ 60– 90 ซึ่งสูงกว่าชนิดไม่มีถุงชนิดนี้ ออกซิเจนจากเครื่องจะไหลเข้าถุง การหายใจครั้งแรกจะเป็นออกซิเจนบริสุทธิ์ เมื่อหายใจออกคาร์บอนไดออกไซด์จะไหลกลับเข้าในถุงประมาณ 1/ 3 ของความจุของถุงไปผสมรวมกับ ออกซิเจนในถุง
Non rebreathing mask ลักษณะคล้าย partial rebreathing ยกเว้นรูระบาย อากาศส่วนหน้ากากลักษณะเป็นลิ้นไหลทางเดียว (unidirectional valve) ทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้อากาศไหลออกสู่ ภายนอกอย่างเดียวไหลเข้าไม่ได้ ระหว่างหน้ากากกับถุงมีลิ้นกั้นไม่ให้คาร์บอนไดออกไซด์จากลมหายใจออก เข้าถุงสำรอง และถูกผลักออกทางรูระบายอากาศด้านข้าง
ระบบการไหลของออกซิเจนชนิดสูง
การให้ออกซิเจนชนิดT- piece เป็นอุปกรณ์ให้ออกซิเจนผู้ป่วยที่มีท่อทางเดินหายใจ ทำด้วย พลาสติกเบา เพื่อไม่ให้ดึงรั้งท่อเจาะหลอดลมคอ ลักษณะเป็นท่อสายลูกฟูก เรียกว่า corrugated tube
การให้ออกซิเจนทางท่อหลอดลม เป็นอุปกรณ์คล้ายหน้ากากคล้อง ไว้กับคอ ครอบบนท่อเจาะหลอดลมคอ ออกซิเจนจะไหลเข้าทางรูเปิดขณะหายใจเข้า
การให้ออกซิเจนชนิด croupette tent เป็นอุปกรณ์ให้ออกซิเจนที่ครอบตัวผู้ป่วยลักษณะ คล้ายเต็นท์ ประกอบด้วยมุ้งพลาสติก มีซิบเปิด-ปิด ครอบบนโครงโลหะ ด้านหลังกล่องใส่น้ำแข็ง ทำให้อากาศ ในมุ้งมีความชื้นสูง มีท่อระบายน้ำทิ้งที่เกิดจากน้ำแข็งละลาย
การให้ออกซิเจนชนิด hood หรือ oxygen box เป็นอุปกรณ์ใช้ครอบศีรษะและไหล่ผู้ป่วย เด็ก ลักษณะเป็นกระโจมหรือกล่องพลาสติกให้ออกซิเจนมีท่อน าออกซิเจนเข้าภายใน
การให้ออกซิเจนทางท่อช่วยหายใจ เป็นท่อช่วยหายใจซึ่งแพทย์ จะใส่ท่อนี้เข้าไปในหลอดลมของผู้ป่วย แล้วต่อเข้ากับเครื่องช่วยหายใจ
ระบบให้ความชื้น
ชนิดละอองฝอย ให้ความชื้นในทางเดินหายใจที่อยู่ลึกเหมาะกับผู้ป่วยที่มีเสมหะเหนียว มักเห็นเป็นหมอก สายให้ ออกซิเจนมักมีขนาดใหญ่และเป็นลูกฟูก
ชนิดละอองโต ให้ความชื้นในส่วนต้นของทางเดินหายใจ 30 – 40 % สายให้ก๊าซมีขนาดเล็ก น้ำจะปุดเป็นฟองเมื่อ เปิดให้กับผู้ป่วย
แหล่งให้ออกซิเจน
ถังบรรจุออกซิเจน ก่อนใช้ออกซิเจนจากถังบรรจุออกซิเจน ต้องมี อุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหลของก๊าซ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการไหลของ ออกซิเจนออกจากแหล่งจัดเก็บออกซิเจน
ระบบท่อ ก่อนใช้ออกซิเจนจากระบบท่อ ต้องมีอุปกรณ์ควบคุมอัตรา การไหลของก๊าซเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการไหลของออกซิเจนออกจาก แหล่งจัดเก็บออกซิเจนมาตามระบบ
บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
การจัดท่าผู้ป่วย
การบริหารการหายใจ
การหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องหรือกระบังลม
การหายใจโดยการห่อปาก
การหายใจเข้าลึกๆ
การดูดเสมหะ
การช่วยทำให้ทางเดินหายใจโล่ง
การเพิ่มความสามารถในการขยายตัวของทรวงอกและปอด
การเพิ่มปริมาณออกซิเจนที่เข้าปอด
การลดความต้องการปริมาณออกซิเจนในร่างกาย เมื่อการเผาผลาญสารอาหารภายในเซลล์ มากขึ้นร่างกายจะต้องการออกซิเจนมากขึ้น
การผ่อนคลายความวิตกกังวล
เครื่องดูดเสมหะ
เครื่องดูดเสมหะชนิดเคลื่อนที่
ชนิดติดฝาผนัง
วิธีการดูดเสมหะ
การดูดเสมหะทางจมูก
การดูดเสมหะทางท่อช่วยหายใจหรือทางท่อหลอดคอ
การดูดเสมหะทางปาก
การพยาบาลผู้ป่วยด้านจิตใจก่อน/ ขณะ/ และหลังการดูดเสมหะ
แสดงท่าทางสุภาพอ่อนโยน
อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าในถึงวัตถุประสงค์และความจำเป็นของการดูดเสมหะ
บอกให้ผู้ป่วยทราบก่อนว่า “จะท าการดูดเสมหะอย่างเบามือที่สุด ถ้าเจ็บหรือทนไม่ไหวให้ยก มือขึ้น” เพื่อให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย และให้ความร่วมมือ
อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าจะมีการหายใจลำบากในขณะดูด
ทำการดูดเสมหะด้วยความเบามือ และนุ่มนวล
หลังดูดเสมหะเสร็จเช็ดทำความสะอาด เก็บของใช้ และจัดสิ่งแวดล้อมให้เรียบร้อย
พูดให้กำลังใจก่อนเดินออกจากเตียงผู้ป่วย
การเก็บเสมหะ มี 2 วิธี
การเก็บเสมหะส่งตรวจ
การตรวจเสมหะแบบเพาะเชื้อ
ระบบการให้ออกซิเจน
ข้อควรปฏิบัติและต้องคำนึงถึง