Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อไวรัสรับอักเสบชนิดเอ (hepatitis A virus: HAV)
อาการและอาการแสดง
เบื่ออาหาร
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และปวดศีรษะ
อ่อนเพลีย
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
มารดาจะสร้าง antibody ต่อเชื้อ HAV ซึ่งสามารถผ่านไปยังทารกในครรภ์ได้
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การขับถ่าย การสัมผัสเชื้อโรค
การตรวจร่างกาย ตรวจพบลักษณะอาการทางคลินิกของการติดเชื้อ HAV
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจหา antibody-HAV และ IgM-anti HAV และตรวจการทํางานของตับ
การป้องกันและการรักษา
รักษาแบบประคับประคองตามอาการที่ปรากฏ
พิจารณาให้ immune serum globulin (ISG) ในรายที่สัมผัสเชื้อ
ทารกที่คลอดจากสตรีตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อในระยะใกล้คลอดควรได้รับ ISG ขนาด 0.5 mg แก่ทารกทันทีหลังคลอด
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษา การดูแลตนเองที่เหมาะสม และการป้องกันภาวะแทรกซ้อน
พักผ่อนอย่างเพียงพอ
รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และย่อยง่าย และดื่มน้ําให้เพียงพอ
มาตรวจตามนัดเพื่อประเมินสภาวะของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อตับ และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี(Hepatitis B virus)
พยาธิสรีรภาพ
ระยะแรก
เชื้อจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว
ไม่มีอาการแสดงของการได้รับเชื้อและเอนไซม์ตับปกติ
หากตรวจเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลบวก และพบ Hepatitis B virus DNA (viral load) จํานวนมาก
ระยะที่สอง
ผู้ติดเชื้อจะมีอาการอ่อนเพลียคล้ายเป็นหวัด คลื่นไส้อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงจากตับโต ปัสสาวะเข้ม ตัวเหลืองตาเหลือง ตับเริ่มมีการอักเสบชัดเจน ตรวจพบเอนไซม์ตับสูงขึ้น ในระยะนี้ร่างกายจะสร้าง anti-HBe ขึ้นมาเพื่อทําลาย HBeAg ดังนั้นหากตรวจเลือดจะพบ anti-HBe ให้ผลบวกและจํานวน Hepatitis B virusDNA ลดลง
ระยะที่สาม
anti-HBe ทําลาย HBeAg จนเหลือน้อยกว่า 105 copies/mL (20,000 IU/mL) อาการตับอักเสบจะค่อย ๆ ดีขึ้น ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน และเข้าสู่ระยะโรคสงบ (inactive carrier)
ระยะที่สี่
เกิดการอักเสบของตับขึ้นมาอีก หากตรวจเลือดเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลลบ และ anti-HBe ให้ผลบวก ในระยะนี้ถ้า anti-HBe ไม่สามารถทําลาย HBeAg ได้จนเหลือน้อยกว่า 105 copies/mL จะเข้าสู่ภาวะตับอักเสบเรื้อรังจนเนื้อตับเสียหาย มีพังผืดแทรกจนเป็นตับแข็งและกลายเป็นมะเร็งตับ
อาการและอาการแสดง
เชื้อจะฟักตัว เฉลี่ย 120 วัน ในระยะแรกผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ
เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง
มีไข้ต่ํา ๆ
ปวดท้องทั่วไปหรือปวดบริเวณชายโครงขวา
คลําพบตับโต กดเจ็บ
ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีชาแก่
สัปดาห์แรกจะเริ่มมีตาเหลืองตัวเหลือง
โรคตับอักเสบเรื้อรัง
ภาวะตับวาย กลายเป็นมะเร็งตับและเสียชีวิตในที่สุด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
เสี่ยงในการคลอดก่อนกําหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกแรกเกิดน้ําหนักตัวน้อย
โรคตับแข็งและมะเร็งตับในอนาคต
เสียชีวิตแรกเกิด และทารกที่คลอดมามีโอกาสที่จะติดเชื้อได้
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ การเป็นพาหะของโรคตับอักเสบจากไวรัสบี หรือเคยมีอาการแสดงของโรคตับอักเสบจากไวรัสบี
การตรวจร่างกาย พบอาการและอาการแสดง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ตับโต ตัวเหลืองตาเหลือง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการตรวจการทํางานของตับ และตรวจหา antigen และ antibody ของไวรัส ได้แก่ HBsAg, Anti-Hbs, Anti-HBc, HBeAg และ Anti-HBe
การป้องกันและรักษา
คัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกราย โดยตรวจหา HBsAg เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก
พักผ่อนอย่างเพียงพอ งดการออกแรงทํางานหนัก
หลีกเลี่ยงการทําหัตถการเช่น การทํา chorionic sampling และ amniocentesis
ทรกที่เกิดจากสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ Hepatitis B virus ควรได้รับการฉีด Hepatitis B immunoglobulin (HBIG) ให้เร็วที่สุด และฉีด HB vaccineภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด
สามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมารดาได้ทันที ไม่จําเป็นต้องรอจนกระทั่งทารกแรกเกิดได้รับวัคซีนแล้วจึงเริ่มเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
ให้พาสมาชิกในครอบครัวและสามีมาตรวจเลือดเพื่อหา HBsAg และ HBsAb
การพยาบาล
คัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกคนว่าเป็นพาหะของโรคหรือไม่
ให้คําแนะนําแก่สตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับสาเหตุ การติดต่อ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ในรายที่มีการติดเชื้อเรื้อรัง แนะนําการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
หลีกเลี่ยงการเจาะถุงน้ําคร่ํา และการตรวจทางช่องคลอดเพื่อป้องกันถุงน้ําคร่ําแตกก่อนเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการคลอด
เมื่อศีรษะทารกคลอด ดูดมูก เลือดและสิ่งคัดหลั่งต่างๆออกจากปากและจมูกของทารกให้มากที่สุด
ทําความสะอาดทารกทันทีที่คลอด
ให้นมมารดาแก่ทารก
เน้นการรักษาความสะอาดของร่างกาย การป้องกันการปนเปื้อนของเลือดหรือน้ําคาวปลา การล้างมือให้สะอาดก่อนการดูแลทารก
แนะนําให้นําทารกมารับวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และนําบุตรมาตรวจตามนัด
หัดเยอรมัน (Rubella/German measles)
พยาธิสรีรภาพ
กลุ่มไม่มีอาการทางคลินิก
จะตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อหัดเยอรมันอย่างเดียว และจะกลายเป็นพาหะของโรค
กลุ่มที่มีอาการทางคลินิก
เชื้อหัดเยอรมันจะเข้าไปทําลายผนังหลอดเลือดและเนื้อรกทําให้เนื้อรกและหลอดเลือดกลายเป็นเนื้อตาย ส่วนในทารกเชื้อจะเข้าไปในเซลล์ที่กําลังแบ่งตัว ทําให้เซลล์ติดเชื้อ ส่งผลให้เซลล์เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ การสร้างอวัยวะต่าง ๆ บกพร่อง เกิดเป็นความพิการแต่กําเนิด
การพยาบาล
ห้วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อเยอรมันแก่สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนมาก่อน
ตรวจดูว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่ หากยังไม่มีภูมิคุ้มกันแนะนําให้สตรีตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการเข้าชุมชนในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อหัดเยอรมัน
แนะนําให้มาฝากครรภ์อย่างสม่ําเสมอ
ประเมินสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับการได้รับภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึกและซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับผลของการติดเชื้อต่อสุขภาพของตนเองและทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
เกิดการแท้ง ตายคลอด หรือพิการแต่กําเนิด
ตับม้ามโต ตัวเหลือง โลหิตจาง เกล็ดเลือดต่ํา ปอดบวม กระดูกบาง
หูหนวก หัวใจพิการ ตาบอด ต้อกระจก ต้อหิน สมองพิการ และปัญญาอ่อน
ภาวะเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ สูญเสียการได้ยิน ลิ้นหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตสูง สมองอักเสบ
การประเมินและการวินิจฉัย
ซักประวัติการสัมผัสผู้ติดเชื้อหัดเยอรมัน หรือผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อ
การตรวจร่างกาย พบผื่นสีแดงคล้ายหัด ตาแดง ไอ จาม เจ็บคอ ปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว ต่อมน้ําเหลืองโต
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจ IgM antibody และ IgG antibody โดยจะตรวจ 2 ครั้ง โดยตรวจครั้งแรกเมื่อมีอาการ และครั้งที่สองห่างจากครั้งแรก 2-3 สัปดาห์ หากพบ antibody เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 4 เท่าจากครั้งแรก
ตรวจ Hemagglutination inhibition test (HAI) เพื่อหา titer ของ antibody ของเชื้อหัดเยอรมันหากผล HAI titer น้อยกว่า 1:8 หรือ 1:10 แสดงว่าไม่ติดเชื้อ และไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ และควรเจาะเลือดตรวจหา HAI titer อย่างน้อย 2 ครั้ง
การป้องกันและการรักษา
ให้ภูมิคุ้มกันเนื่องจากเป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง คุ้มกับค่าใช้จ่าย และควรเน้นการฉีดวัคซีนในเด็กหญิง สตรีวัยเจริญพันธุ์
ภายหลังคลอดต้องเก็บเลือดจากสายสะดือส่งตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อและตรวจร่างกายอย่างละเอียด
อาการและอาการแสดง
เบื่ออาหาร ตาแดง
ตาแดง ไอ เจ็บคอ และต่อน้ําเหลืองบริเวณหลังหูโต
มีไข้ต่ํา ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว
มีปวดข้อ โดยไข้จะเป็นอยู่ 1-2 วันก็จะหายไป
สุกใส (Varicella-zoster virus: VZV)
พยาธิสรีรภาพ
ชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือกบุทางเดินหายใจ ซึ่งเชื้อโรคมีระยะฟักตัวนาน 10-20 วัน ในกรณีที่โรคสุกใสเกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอด จะเรียกว่า congenital varicella syndrome ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยมารดาติดเชื้อไวรัสสุกใสขณะตั้งครรภ์ ซึ่งจะมีผลต่อความพิการของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อในช่วง 3 เดือน ของการตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลต่อความพิการของทารกในครรภ์ได้สูง
อาการและอาการแสด
ไข้ต่ําๆ นํามาก่อนประมาณ1-2 วันแล้วค่อยมีผื่นขึ้น
ลักษณะของผื่น และตุ่ม มักจะขึ้นตามไรผม หรือหลังก่อน จะเห็นเป็นตุ่มน้ําใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ําค้างบนกลีบกุหลาบ (dewdrops on a rose petal) แล้วค่อยลามไปบริเวณหน้าลําตัว และแผ่นหลัง
มีอาการปวดเมื่อยตามตัว คล้ายอาการของไข้หวัดใหญ่
อาจมีต่อมน้ําเหลืองที่คอ และหลังหูโตขึ้น จนคลําได้ก้อนกดเจ็บ
อาจจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ผื่น
ตอนเป็นตุ่มน้ําจะรู้สึกคันมาก โดยตุ่มจะทยอยขึ้นเต็มที่ภายใน 4 วัน หลังจากนั้นจะพัฒนาไปเป็นตุ่มหนอง และแห้งลงจนตกสะเก็ดในที่สุด ลักษณะที่บางเม็ดขึ้นเป็นตุ่มน้ําใสๆ และบางเม็ดกลายเป็นตุ่มกลัดหนอง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ปัญหาภาวะปอดอักเสบ หรือปอดบวม ทําให้ระบบ
หายใจล้มเหลว
มีอาการทางสมอง ทําให้ซึมลง และมีอาการชัก ทําให้เสียชีวิตได้ทั้งแม่ และทารก
ติดเชื้อในครรภ์
ความผิดปกติของตา ปัญญาอ่อนศีรษะขนาดเล็ก เนื้อสมองเหี่ยวลีบ แขนขาลีบเล็ก และผิวหนังผิดปกติ
อัตราการตายในระยะแรกคลอดสูง
ติดเชื้อปริกําเนิด
อัตราเสียชีวิตของทารกที่ติดเชื้อสูงถึงร้อยละ 20-30
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติการสัมผัสผู้ติดเชื้อสุกใส หรือผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อ
การตรวจร่างกายมีไข้มีผื่นตุ่มน้ําใสตามไรผม ตุ่มน้ําใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ําค้างบนกลีบกุหลาบ ลามไปบริเวณหน้าลําตัว และแผ่นหลัง มีอาการปวดเมื่อยตามตัวร่
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgM ต่อไวรัสสุกใส ไวรัสงูสวัด (VZV) ด้วยเทคนิค ELISAเป็นการตรวจหาการติดเชื้อของโรคสุกใสและงูสวัด
ตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgG ต่อไวรัสสุกใสไวรัสงูสวัด (VZV) ด้วยเทคนิค ELISA เป็นการตรวจหาภูมิต้านทานต่อโรคสุกใสและงูสวัด
การป้องกันและการรักษา
หลีกเลี่ยงคนที่ป่วยเป็นสุกใส
พักผ่อนอย่างเพียงพอและดื่มน้ํามากๆ หากมีไข้ ใช้ยาลดไข้ในกลุ่มพาราเซตามอล หลีกเลี่ยงยาในกลุ่มแอสไพริน
ช้ยาต้านเชื้อไวรัสสุกใสAcyclovir ซึ่งควรจะให้ในระยะเวลา 24-48 ชั่วโมง หลังมีผื่นขึ้น ซึ่งการให้ยาในช่วงนี้สามารถทําให้ระยะเวลาของโรคสั้นลง
การพยาบาล
วางแผนตั้งครรภ์ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันสุกใสก่อนการตั้งครรภ์โดยหลีกเลี่ยงการรับวัคซีนในระยะตั้งครรภ์
แนะนําให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง วิตามินซีสูง รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง โดยออกกําลังกายสม่ําเสมอ
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจถึงภาวะของโรค การแพร่กระจายเชื้อและการปฏิบัติตน
ปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึก เพื่อลดความวิตกกังวลของสตรีตั้งครรภ์และครอบครัว
เน้นหลัก Universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ในขณะรอคลอด และขณะคลอด
แยกทารกแรกเกิดจากมารดาในระยะ5วันแรกหลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากมารดา
มีการตกสะเก็ดแล้วสามารถแนะนําเกี่ยวกับการให้นมมารดาได้
ดูแลให้ทารกรับวัคซีน VariZIG แก่ทารกแรกเกิดทันทีหากมารดาการติดเชื้อในช่วง 5วันก่อนคลอดถึง 2วันหลังคลอด
เน้นย้ําให้เห็นความสําคัญของการมาตรวจตามนัดและมาพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการผิดปกติ
โรคติดเชื้อไซโทเมกะโรไวรัส (Cytomegalovirus: CMV)
พยาธิสรีรภาพ
เชื้อ CMV ติดต่อเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ ทารกได้รับเชื้อจากมารดาในครรภ์ในระยะคลอดในระยะให้นมการถ่ายเลือด การปลูกถ่ายอวัยวะเพศสัมพันธ์ทางหายใจโดยสัมผัสละอองฝอยในอากาศ และทางการสัมผัสน้ําลาย ปัสสาวะ
อาการและอาการแสดง
ไข้สูงนาน ปวดกล้ามเนื้อ หรือมีอาการ ปอดบวมตับอักเสบ และอาการทางสมอง
hepatosplenomegaly, thrombocytopenia, petechiae, microcephaly, chorioretinitis, hepatitis และ sensorineuralhearing loss
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกําหนด รกลอกตัวก่อนกําหนด มีการติดเชื้อของถุงน้ําคร่ํา
เสี่ยงต่อภาวะ IUGR แท้ง fetal distress คลอดก่อนกําหนด น้ําหนักแรกเกิดน้อย ทารกเสียชีวิตในครรภ์ และตายคลอด
การประเมินและการการวินิจฉัย
การซักประวัติเกี่ยวกับประวัติการติดเชื้อในอดีต ลักษณะของอาการและอาการแสดงที่เกิดขึ้น
ารตรวจร่างกายมีไข้ คออักเสบ ต่อมน้ําเหลืองโต ข้ออักเสบ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เจาะเลือดส่งตรวจพบ Atypical Lymphocytes และเอ็นไซน์ตับสูงขึ้นพบเชื้อ CMV ในปัสสาวะ และในเม็ดเลือดขาว หรือเจาะเลือด พบว่า IgG เพิ่มขึ้น 4เท่าในช่วงการติดเชื้อเฉียบพลัน
Amniocentesis for CMV DNA PCR เพื่อยืนยันการติดเชื้อของทารกในครรภ์
ตรวจPlasma specimen for culture หรือquantitative real-time PCRในสตรีตั้งครรภ์ที่สงสัยว่าจะมีการติดเชื้อ
การตรวจพิเศษการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อดูพัฒนาการและความผิดปกติของทารกในครรภ์ ภาวะ microcephaly, fetal growth, hypochlorism
แนวทางการป้องกันและการรักษา
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่มีการติดเชื้อ
มีประวัติการติดเชื้อ CMV ควรวางแผนเว้นระยะการมีบุตรไปก่อนอย่างน้อย 2 ปี
ล้างมือด้วยสบู่
ให้ immunoglobulin ของ anti-cytomegaloviral human
ให้ยาต้านไวรัสเช่นValtrex, Ganciclovil, Valavir
ประเมินอาการและอาการแสดงของทารกแรกเกิดที่มีการติดเชื้อ
การพยาบาล
คัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกรายเกี่ยวกับการเจ็บป่วยติดเชื้อ CMV ในอดีต
อธิบายสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวทราบเกี่ยวกับโรค สาเหตุ อาการและอาการแสดง การดําเนินของโรค ผลกระทบ และแผนการรักษาพยาบาล
เน้นย้ําให้เห็นความสําคัญของการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
เน้นหลัก Universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ในขณะรอคลอด และขณะคลอด ควรแยกห้องคลอด และอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ
ดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทําความสะอาดร่างกายทันทีหลังคลอด
ดให้นมมารดา หากมารดาหลังคลอดมีการติดเชื้อ
น้นย้ําเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความสําคัญของการมาตรวจตามนัดหลังคลอด
แนะนําให้สังเกตอาการผิดปกติของทารกที่ต้องรีบพามาพบแพทย์
การติดเชื้อโปรโตซัว (Toxoplasmosis)
พยาธิสรีรภาพ
ป็นการติดเชื้อที่เกิดจากปรสิตคือToxoplasma gondiiซึ่งเป็นโปรโตซัวชนิดอาศัยในเซลล์โดยติดเชื้อได้ทั้งในคนและสัตว์มีพาหะหลักคือ แมว ส่วนพาหะชั่วคราวคือหนูกระต่ายแกะรวมทั้งคนการติดต่อเกิดขึ้นได้โดยการรับประทานผักหรือผลไม้ที่ปนเปื้อนดินที่มีoocyte ของเชื้อซึ่งขับออกมาปนกับอุจจาระแมว
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ Mononucleosis รายที่รุนแรงจะมีพยาธิที่สมอง Chorioretinitis ปอดบวม กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ถุงน้ําคร่ําและเยื่อหุ้มทารกอักเสบ ถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด รกลอกตัวก่อนกําหนด
ไข้ ชัก หัวบาตร microcephaly, chorioretinitis, หินปูนจับในสมอง (Cerebral calcification) ตับและม้ามโต ตาและตัวเหลือง เสียชีวิตหลังคลอด สมองและตาถูกทําลาย
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรค เช่น แมว
ตรวจร่างกายมักไม่แสดงอาการ หรือมีอ่อนเพลียเล็กน้อย อาจพบภาวะปอดบวม หัวใจอักเสบ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจเลือดหา DNA ของเชื้อ ทดสอบน้ําเหลืองดู titer IgG และ IgM
การวินิจฉัยก่อนคลอด โดยการตรวจเลือดสายสะดือทารกหรือน้ําคร่ํา พบ IgA และ IgM
ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อประเมินลักษณะสุขภาพของทารกในครรภ์ ลักษณะของรกและน้ําคร่ํา
แนวทางการป้องกันและการรักษา
ทําความสะอาดอุจจาระแมว สวมถุงมือยาง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
ลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ปรุงสุก ผักผลไม้ที่ไม่ผ่านการล้างไข่ดิบ นมสดที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์และควรล้างมือให้สะอาดหลังจับต้องเนื้อสัตว์ดิบ
ถ้าพบ IgM ในมารดา อนุมานว่ามีการติดเชื้อ และรักษาด้วย spiramycin จะช่วยลดการติดเชื้อในครรภ์ได้
วินิจฉัยในทารกก่อนคลอด สามารถกระทําได้ การเจาะเลือดสายสะดือทารกเพื่อหาการติดเชื้อ และการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อหาความผิดปกติทางสรีระของทารก
การพยาบาล
ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเปิดโอกาสให้ซักถาม
ติดตามผลการตรวจเลือด
เน้นการรักษาอย่างต่อเนื่อง การรับประทานยา และการสังเกตอาการข้างเคียงของยา
เน้นหลัก Universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ในขณะรอคลอด และขณะคลอด ควรแยกห้องคลอด และอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่าง ๆ
หลังทารกคลอดเช็ดตาด้วย 0.9%NSS เช็ดตาทันทีจากนั้นป้ายตาด้วย 1% tetracycline ointment หรือ 0.5% erythromycin ointment หรือ 1% Silver nitrate (AgNO3) หยอดตาตาทารก หลังคลอด
เฝ้าระวังการตกเลือดและการติดเชื้อหลังคลอด
เน้นเรื่องการรักษาความสะอาด การมาตรวจตามนัด การสังเกตอาการผิดปกติของทารก ต้องรีบพามาพบแพทย์
การติดเชื้อไวรัสซิก้า(Zika)
พยาธืสภาพ
โรคติดเชื้อไวรัสซิกาหรือไข้ซิกา (Zika Virus Disease; ZIKV) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อฟลาวิไวรัส(Flavivirus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนําโรค ซึ่งเป็นยุงชนิดเดียวกับที่เป็นพาหะนําโรค โรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya) และไข้เหลือง
อาการและอาการแสดง
ไข้ ผื่นแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ
เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผื่นขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์
อาการไข้ หนาวสั่นรู้สึกไม่สุขสบาย ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อตึงตัว
อ่อนเพลียแรง ตัวตาเหลือง ชา อัมพาตครึ่งซีก ป
ปวดศีรษะ ตาแดงและเยื่อบุตาอักเสบ ต่อมน้ําเหลืองโต ปวดตามร่างกาย ซีด บวม ตามปลายมือปลายเท้า
คลื่นไส้ อาเจียน เลือดออกตามผิวหนัง และอาการทางระบบทางเดินหายใจ
ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท ตาและการมองเห็น
ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ทารกตายในครรภ์ และตายหลังคลอด
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติโดยการซักประวัติอาการของผู้ป่วย
การตรวจร่างกายมีไข้ อ่อนแรง เยื่อบุตาอักเสบ ต่อมน้ําเหลืองโต ตัวเหลือง ซีด บวมปลายมือปลายเท้า เลือดออกตามผิวหนัง มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ
การทดสอบทางห้องปฏิบัติการ
ใช้สิ่งส่งตรวจ เช่นเลือด ปัสสาวะ น้ําลาย
การตรวจหาพันธุกรรมของเชื้อด้วยวิธี ReverseTranscriptase Polymerase Chain Reaction (RT-PCR)
การตรวจหาภูมิคุ้มกัน (IgM) ด้วยวิธี ELISA หรือImmunofluorescence
ใช้สิ่งส่งตรวจ เช่น น้ําคร่ํา เลือดจากสะดือหรือรก
การตรวจพิเศษการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อประเมินเส้นรอบศีรษะทารกในครรภ์
แนวทางการป้องกันและการรักษา
ระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาระบบเฝ้าระวังทางกีฏวิทยาระบบเฝ้าระวังทารกที่มี
ความพิการแต่กําเนิดและระบบเฝ้าระวังกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบประสาท
ดื่มน้ํามาก ๆ และรักษาตามอาการ เช่น ใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้หรือบรรเทาอาการปวด
ห้ามรับประทานยาแอสไพริน หรือยากลุ่มลดการอักเสบที่ไม่ใช่ สเตียรอยด์ (NSAIDs)
การพยาบาล
แนะนําในการป้องกันสาเหตุและปัจจัยที่ทําให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสซิกา อาการและอาการแสดงของโรค ความรุนแรงของโรค
แนะการใช้ยากําจัดแมลงหรือยาทาป้องกันยุงกัด
นอนในมุ้ง และปิดหน้าต่าง ปิดประตูหรือใช้มุ้งลวดติดป้องกันยุงเข้าบ้าน
หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรค
หากมีอาการไข้ ออกผื่น ตาแดง ปวดข้อ หรืออาการที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ และเข้ารับการรักษาทันที
ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิ หากมีไข้ดูแลให้ได้รับยาลดไข้ตามแผนการรักษา
ประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ โดยการฟังเสียงหัวใจทารก การวัดระดับยอดมดลูก การส่งตรวจและติดตามผลการทํา NST การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง และประเมินการดิ้นของทารกในครรภ์
ยึดหลัก universal precautionเมื่อทารกคลอด ให้รีบดูดน้ําคร่ําและสารคัดหลั่งที่อยู่ในคอ ช่องปาก และจมูกของทารกออกมาให้สะอาด
ตรวจร่างกายทารกแรกเกิด ประเมินสภาพร่างกายทั่วไปโดยเฉพาะการวัดขนาดของศีรษะ หากน้อยว่าปกติให้รีบรายงานกุมารแพทย์ทราบ
โรคโควิด-19 กับการตั้งครรภ์ (COVID-19 during Pregnancy)
พยาธิสภาพ
โรคโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่ระบาดได้รวดเร็วจนแพร่กระจายทั่วโลกเกิดจากเชื้อไวรัสตระกูลCorona ชื่อ SARS-CoV-2 การติดต่อส่วนใหญ่ผ่านทางสัมผัสละอองฝอยจากการไอ หรือจาม อาการของโรคคล้ายกับไข้หวัดใหญ่
อาการและอาการแสดง
อุณหภูมิร่างกายตั้งแต่37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจติดขัด หรือหายใจลําบาก
ผลกระทบต่อการสตรีตั้งครรภ์และทารก
เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกําหนด มีการติดเชื้อของเยื่อหุ้มเด็ก ถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด รกเสื่อม และรกลอกตัวก่อนกําหนด
ทารกในครรภ์พัฒนาการล่าช้า คลอดน้ําหนักตัวน้อย คลอดก่อนกําหนด
การประเมินและการวินิจฉัย
ซักประวัติประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสผู้ที่การติดเชื้อ ระยะเวลาและประวัติการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยงและมีการแพร่ระบาดรวมถึงประวัติอาการและอาการแสดงของโรค
การตรวจร่างกายมีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ไอแห้ง หายใจติดขัด อาจมีคัดจมูก มีน้ามูกเจ็บคอไอเป็นเลือด หรือท้องเสีย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
รวจเลือดจะพบเม็ดเลือดขาวต่ําโดยเฉพาะ lymphocyte ค่า C-reactive protein สูงขึ้นเกล็ดเลือดต่ําค่าเอนไซม์ตับและ creatine phosphokinase สูง
ยืนยันการติดเชื้อไวรัส โดยตรวจหา viralnucleic acid
real-time polymerase chainreaction(RT-PCR)จากสารคัดหลั่งเช่น น้ําลายจากจมูกและลําคอเสมหะ
กรณีที่ผลตรวจไม่พบเชื้อให้ตรวจซ้ําา อีก1ครั้ง หากตรวจ2 ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 24 ชั่วโมงแล้วยังไม่พบเชื้อถือว่าไม่เป็นโรค
ส่งสิ่งคัดหลั่งตรวจหาเชื้อไวรัสอื่นและการส่งเพาะเชื้อแบคทีเรียจากเลือด
การตรวจพิเศษได้แก่ การตรวจเอกซเรย์ปอดหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องอกพบมีปอดอักเสบ
แนวทางการรักษา
เน้นให้บุคลากรใส่ชุด PPEการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในรพ.และไปกับรถพยาบาล บุคลากรต้องใส่ fullPPE
ถ้ามีไข้ห้ามใช้ยากลุ่ม NSAIDs
ให้ยาต้านไวรัส พิจารณาตามแนวทางของกรมควบคุมโรค
ให้ยาต้านไวรัส พิจารณาตามแนวทางของกรมควบคุมโรค
ไม่ให้ออกซิเจนทาง face mask หรือ face mask with bag
On EFMถ้าอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป
การระงับความรู้สึกหลีกเลี่ยง general anesthesia
ให้ corticosteroids สําหรับกระตุ้นปอดทารกในครรภ์
หลีกเลี่ยงการเข้าไปสัมผัสผู้ป่วยใกล้ชิด ใช้การประเมินผ่านทาง videocall แทน หากจําเป็นต้องเข้าไป ให้ใส่ชุด full PPE
การพยาบาล
หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการไอ เป็นไข้ หรือผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง และในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด
รักษาระยะห่าง social distancing ในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น
หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสบริเวณดวงตา ปาก และจมูก
รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่เสมอ
พักผ่อนอยู่ที่บ้าน ถ้ามีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หายใจเหนื่อย ควรรีบไปพบแพทย์
แยกตนเองออกจากครอบครัว และสังเกตอาการจนครบ 14 วัน งดการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
อาบน้ําหรือเช็ดทําความสะอาดบริเวณเต้านมและหัวนมด้วยน้ําและสบู่
ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ําและสบู่นานอย่างน้อย 20 วินาที หรือแอลกอฮอล์เข้มข้น 70%ขึ้นไปและสวมหน้ากากอนามัย ตลอดการทํากิจกรรมเกี่ยวกับการเตรียมนม และการปั๊มนม