Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจนและการดูดเสมหะ - Coggle Diagram
การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจนและการดูดเสมหะ
ความสำคัญของก๊าซออกซิเจนที่มีต่อร่างกาย
ความดันออกซิเจน ทำให้เกิดการขนส่งออกซิเจนสู่เนื้อเยื่อ
หลังจากเลือดที่ออกจากปอดมีความดันออกซิเจนในเลือดสูงอยู่ เม็ดเลือดแดงจะปล่อยออกซิเจนจำนวนน้อยสู่กระแสเลือดเพื่อส่งไปหาเซลล์ต่างๆแต่เมื่อการเดินทางไปใน อวัยวะที่ไกลขึ้น ความเข้มข้นออกซิเจนในเลือดลดลง เม็ดเลือดแดงจะปล่อยออกซิเจนจ านวนมากขึ้นตามล าดับ เพื่อให้ออกซิเจนออกมาอยู่ในกระแสเลือดเพื่อส่งไปสู่เซลล์ โดยเลือดเป็นตัวกลางการส่งผ่านออกซิเจนสู่เซลล์
ออกซิเจนในถุงลมยิ่งเยอะ ออกซิเจนในเลือดก็ยิ่งเยอะตาม และสุดท้ายออกซิเจนในเม็ดเลือดแดงก็จะเยอะขึ้นตาม
การหมุนเวียน เพื่อกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
เมื่อเซลล์เนื้อเยื่อขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกออก จะมีการขนส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กลับไปที่ปอด เพื่อท าการหายใจระบายออก กลไกการขนส่งมี 2อย่างที่เป็นหลัก
การขนส่งCO2โดย hemoglobin ในเม็ดเลือดแดง
คาร์บอนไดออกไซด์ไปรวมกับน้ำ เพื่อเกิดสารประกอบ กรดคาร์บอนิก (H2CO3) และแตกตัวเป็น ไฮโดรเจนไออน (H+) กับไบคาร์บอเนต (HCO3)
การทำงานของเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ขนส่งก๊าซ
แต่ละเซลล์เม็ดเลือดแดง จะมีส่วนประกอบที่เป็น Hemoglobin อยู่ถึง 97%ซึ่งตัว Hemoglobinนี้ ท าหน้าที่ “จับก๊าซเพื่อการขนส่ง”
Hemoglobinแต่ละตัว สามารถจับกับแก๊สได้ 4 โมเลกุล มีการศึกษาพบว่า ในเม็ดเลือดแดงในแต่ละเซลล์นั้นมี Hemoglobinมากมายถึง 50 ล้านหน่วย
เม็ดเลือดแดง มีหน้าที่หลักในการขน-ส่งก๊าซในระบบหมุนเวียน มีอายุขัย∞120 วัน
การประเมินภาวะพร่องออกซิเจน
การประเมินสภาพร่างกาย
ระบบประสาทส่วนกลาง
สังเกตและประเมินพบ ความรู้สึกตัวของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลง กระสับกระส่าย สับสน มึนศีรษะ ปวดศีรษะ (เนื่องจากหลอดเลือดสมองขยายตัว)เพ้อ หมดสติ หรือชัก
ระบบผิวหนัง
ระยะแรก พบว่า ผิวหนังผู้ป่วยเย็น ซีด เพราะร่างกายจะตอบสนองต่อภาวะพร่องออกซิเจน โดยหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะส าคัญ เช่น สมอง เป็นต้น เลือดที่เลี้ยงผิวหนัง ไต ปอด เพราะต้องการออกซิเจนน้อยกว่า และทนต่อการขาดออกซิเจนได้
ต่อมาพบอาการเขียวคล้ำ (Cyanosis) โดยเห็นชัดบริเวณริมฝีปาก เล็บมือเล็บเท้า และเสียชีวิตในที่สุด
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ประเมินพบ ชีพจรเต้นเร็วผิดปกติ ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นในระยะแรก เพื่อปรับชดเชย
ระยะต่อมาหัวใจเต้นผิดจังหวะ บีบตัวช้าลง เจ็บหน้าอก และหัวใจหยุดเต้นในระยะสุดท้าย30
ระบบทางเดินอาหาร
ประเมินและสังเกตพบมีอาการคลื่นไส้อาเจียนในระยะแรก
ระบบทางเดินหายใจ
สังเกตพบ ผู้ป่วยมีอาการหายใจไม่สะดวก หายใจล าบากเมื่อนอนราบ (Orthopnea)ต้องนั่งหายใจหลังจากนอนหลับไปแล้วระยะหนึ่งต้องลุกขึ้นมานั่งหายใจ (Paroxysmalnocturnal dyspnea)
มีอาการกระสับกระส่าย การหายใจไม่สม่ำเสมอ เวลาหายใจเข้าจะลึกกว่าเวลาหายใจออก เมื่อหายใจเข้ามีเสียงดัง และแสดงอาการหายใจหอบสังเกตจากปีกจมูกบาน มีการหายใจแบบอ้าปากเสมือนว่าหิวอากาศ(Air hunger)และใช้กล้ามเนื้อซี่โครงและไหล่ช่วยในการหายใจ เมื่อเกิดการขาดออกซิเจนระดับรุนแรงผู้ป่วยจะหยุดหายใจในที่สุด
ระยะแรกของเซลล์พร่องออกซิเจนอย่างอ่อน
การประเมินการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ค่าการอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (ARTERIAL OXYGEN SATURATION)
จึงเป็นการวัด Arterial oxygen saturation (SPO2)
ค่าการอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดปกติอยู่ระหว่าง 98-99 %
การแปลผลต้องพิจารณาปริมาณเม็ดเลือดแดงและหรือค่าฮีโมโกลบินร่วมด้วย
หากวัด SPO2ได้น้อยกว่า 90% จำเป็นต้องได้รับการรักษา
ใช้ Pulse oximeterเป็นอุปกรณ์ที่วัดร้อยละของฮีโมโกลบินที่จับกับออกซิเจน (Oxyhemoglobin)ต่อปริมาณฮีโมโกลบินทั้งหมดในเลือด
ยกเว้นผู้ป่วยโรคปอดอุดตันเรื้อรัง(Chronic obstructive pulmonary disease: COPD)
การตรวจหาระดับฮีโมโกลบิน (HEMOGLOBIN)
ในเลือดค่าฮีโมโกลบินปกติ
ในผู้หญิง11.5 –16.5 gm% (กรัมเปอร์เซนต์)
ในผู้ชาย 13.0 -18 gm% (กรัมเปอร์เซนต์)
สาเหตุของHYPOXIA/HYPOXEMIA พบความผิดปกติของระบบต่างๆ ผู้ป่วยที่จ าเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยออกซิเจน
โรคเลือดโดยเฉพาะเม็ดเลือดแดงน้อย
ระบบเผาผลาญเมตาบอลิซึมผิดปกติต่าง ๆ
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลายความผิดปกติของกล้ามเนื้อการบาดเจ็บของสมอง และได้รับยาที่กดการหายใจ
ระบบทางเดินหายใจ
ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดโดยเฉพาะการผ่าตัดส่วนอกและช่องท้อง
ระดับค่าก๊าซในหลอดเลือดแดง (ARTERIAL BLOOD GAS: ABG)
PaCO2เป็นการวัดความดันของคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในเลือด
ถ้าระดับของ CO2ในเลือดสูงเพิ่มขึ้นอัตราการหายใจจะเร็วขึ้นเพื่อให้ปอดสามารถขับ CO2 ที่คั่งออก ค่าปกติอยู่ระหว่าง 35-45 mmHg
PaO2เป็นตัวบ่งชี้ให้ทราบถึงปริมาณของออกซิเจน (O2)ในเลือดที่จับกับ Hemoglobin (Hb)ค่าปกติอยู่ระหว่าง 80 -100 mmHg
การแปลผลภาวะขาดออกซิเจน แปลผล 3 ระดับ
Moderate hypoxemia:PaO2มีค่าระหว่าง 40-60mmHg
Severe hypoxemia:PaO2มีค่าน้อยกว่า 40 mmHg
Mild hypoxemia:PaO2มีค่าระหว่าง 60 –80 mmHg
pHเป็นตัวชี้วัดภาวะความเป็นกรดด่างของร่างกาย ค่าปกติ อยู่ระหว่าง 7.35 -7.45
ถ้าค่าต่ ากว่า 7.35แสดงว่าเกิดภาวะเป็นกรด
ถ้าค่าสูงกว่า 7.45แสดงว่าเกิดภาวะเป็นด่าง
HCO3เป็นการวัดค่าความเข้มข้นไฮโดรเจนไอออน (HCO3-) ในเลือดที่ช่วยบอกการทำงานของไตหรือความเป็นกรดด่างในร่างกายได้ ค่าปกติอยู่ระหว่าง 18-25 mEg/L
ค่าเหล่านี้บอกถึงความสามารถของ Hemoglobin (Hb) ในการจับO2 เข้าสู่เซลล์ และนำCO2ออกจากเซลล์ ประกอบด้วย pH, PaCO2, PaO2, HCO3, และ SaO2
SaO2เป็นค่าเปรียบเทียบระหว่าง Hemoglobin ที่มี O2ที่อิ่มตัวกับความสามารถสูงสุดของ Hemoglobin ที่จะจับกับ O2ได้ ค่าปกติอยู่ระหว่าง 97-100 %
เป็นการตรวจเพื่อหาประสิทธิภาพการท างานของปอด และประเมินความสามารถในการแลกเปลี่ยนก๊าซและการหายใจ
การแปรผลระดับค่าก๊าซในหลอดเลือดแดง (ARTERIAL BLOOD GAS: ABG)
ค่า pHสูงกว่าปกติ ค่าPaCO2ต่ำกว่าปกติ ส่วนค่า HCO3 ปกติ
อาการและอาการแสดงที่พบ คือ Hyperventilation หัวใจเต้นเร็ว ประสาทสัมผัสเปลี่ยนแปลงไป ชา หมดความรู้สึก มีอาการชาตามมือตามหน้า ระดับความรู้สึกลดลงจนไม่รู้สึกตัว ไม่เป็นจังหวะ
การแปลผลภาวะระบบทางเดินหายใจเป็นด่างเฉียบพลัน (Acute respiratory alkalosis)
การแปลผลภาวะการเผาผลาญเป็นกรดเฉียบพลัน (Acute metabolic acidosis)
อาการและอาการแสดงที่พบ คือ Hypoventilationจะมีอาการง่วงเหงาหาวนอน ประสาทสัมผัสเปลี่ยนแปลงไป ระดับความรู้สึกลดลงจนไม่รู้สึกตัว หัวใจเต้นเร็วไม่เป็นจังหวะ
ค่า pHและค่าHCO3 ต่ ากว่าปกติ ส่วนค่า PaCO2ปกติ
ค่า pH ต่ำกว่าปกติ ค่า PaCO2สูงกว่าปกติ ส่วนค่า HCO3 ปกติ
อาการและอาการแสดงที่พบ คือ อาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ประสาทสัมผัสเปลี่ยนไป มีอาการสั่นกระตุก (tremor) ชัก (convulsion)
การแปลผลภาวะระบบทางเดินหายใจเป็นกรดเฉียบพลัน (Acute respiratory acidosis)
การแปลผลภาวะการเผาผลาญเป็นด่างเฉียบพลัน (Acute metabolic alkalosis)
ค่า pHและค่า HCO3 สูงกว่าปกติ ส่วนค่า PaCO2ปกติ
อาการและอาการแสดงที่พบ คล้ายกับ metabolic acidosis แต่ไม่มีอาการปวดศีรษะ
ปัจจัยที่มีผลตอการไดรับออกซิเจนของบุคคล
อาหารที่มีไขมันมาก
ออกซิเจนในเลือดต่ำลง
ความเครียด
ผู้สูงอายุ
การเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายหนักๆ
การสูบบุหรี่
อยู่ในที่ที่มีมลพิษสูง
การดื่มสุราและเครื่องดื่มที่เป็นแอลกอฮอล์
การเดินทางหรืออาศัยในที่สูง
สาเหตุและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ
การสะอึก (HICCUP)
สาเหตุของการสะอึก (HICCUP)
มีก้อนในบริเวณลำคอเช่นคอพอก
อาจสัมพันธ์กับปัญหาทางจิตใจหรือ อารมณ์ เช่น ตื่นเต้นเครียดกังวลกลัวและซึมเศร้า64
ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่นยาเคมีบ าบัดรักษาโรคมะเร็ง
การสะอึกต่อเนื่อง หรืออาการสะอึกที่ควบคุมรักษายาก
มีสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อย เช่น กินอิ่มมากเกินไป ดื่มเครื่องดื่มพวกที่ท าให้เกิดแก๊ส (Carbonate) ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่จัด หรือมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของ กระเพาะอาหารทันที เช่น ดื่มเครื่องดื่มเย็นจัด หรือ กินอาหารร้อนจัด เมื่อท้องว่างกินอาหารรสจัด เช่น เผ็ด เปรี้ยว เค็ม และหวานจัด หายใจเอาควันต่าง ๆ เข้าไป
มักเป็นอาการสะอึกที่เกิดจาก พยาธิสภาพของโรค
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการสะอึก
อาการสะอึกส่วนใหญ่เป็นอาการชั่วคราว โดยทั่วไปจะหายได้เอง ไม่ต้องรักษา แต่มีวิธีการทางภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อาจช่วยให้หายเร็วขึ้น โดยเชื่อว่าวิธีการ เหล่านี้สามารถขัดขวางรีเฟล็กซ์ท าให้เกิดสะอึกได้ ซึ่งที่ใช้กันบ่อย
แนะนำให้หายใจเข้าออกในถุงปิด เพื่อเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
แนะนำให้กลั้นหายใจเป็นพัก ๆ
ให้ชิมของเปรี้ยวจัด เช่นน้ ามะนาว เป็นต้น หรือดื่มน้ าเปล่า
ใช้เทคนิคเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น ชวนคุยในเรื่องที่สนุกตื่นเต้น เป็นต้น
ให้ดมสารที่มีกลิ่นฉุน เช่น แอมโมเนีย เป็นต้น
ดูแลความปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อม เช่น ถือแก้วน้ าแล้วหลุดออกจากมือ ขณะสะอึก หรือขณะรับประทานอาหารอาจส าลักได้ เป็นต้น
แต่เมื่อเป็นการสะอึกที่ต่อเนื่องนานเกิน 2 วันขึ้นไป แพทย์จะให้การรักษา เพราะการสะอึกจะก่อความร าคาญ และอาการทรมาน มีผลต่อการกิน การดื่ม การพูด และการนอนหลับของผู้ป่วย เพื่อรักษาสาเหตุของการเจ็บป่วย เช่น รักษาโรคกรดไหลย้อนและโรคที่กล่าวข้างต้น
อาการหายใจลำบาก (DYSPNEA)
สาเหตุของอาการหายใจลำบาก (DYSPNEA)
สาเหตุเกี่ยวกับหัวใจ เช่น การท างานของหัวใจไม่ดี เนื่องจากกล้ามเนื้อบางส่วนของหัวใจตายหรือลิ้นหัวใจรั่ว ในผู้ป่วยที่มีอาการซีกซ้ายของหัวใจวายอาการหายใจ ลำบากอาจเกิดขึ้นในเวลากลางคืน หรือเกิดขึ้นเป็นพัก ๆ เป็นต้น
สาเหตุเกี่ยวกับประสาท ท าให้การควบคุมการหายใจไม่ดี เช่น โรคไขสันหลังอักเสบ ผู้ป่วยที่หายใจล าบากอาจมีเสียง wheeze ร่วมด้วย อาการนี้เกิดขึ้นเนื่องจาก มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อรอบหลอดลม ท าให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกไม่สะดวก เวลาหายใจอาจมีเสียง wheezeดังได้ยินชัดเจนอาการนี้พบได้ในโรคหืด หรือ หลอดลมอักเสบ เป็นต้น
สาเหตุเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น ทางเดินหายใจอุดกั้น หรือปอดถูกทำลาย เป็นต้น
การพยาบาลผู้ป่วยที่อาการหายใจลำบาก
เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจ (Endotracheal tube: ET) เป็นต้น
ดูแลให้ยาขยายหลอดลม หรือยาขับเสมหะ ตามแผนการรักษา
ดูแลประคับประคองด้านจิตใจ และประเมินสัญญาณชีพตามความเหมาะสม ทุก 1-2 ชั่วโมง
ดูแลให้ออกซิเจนชนิดละอองฝอย (Nebulizer)เพื่อให้หายใจสะดวก
ดูแลให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง (Fowler’s position) และให้ออกซิเจนร่วมด้วย
ฝึกให้ผู้ป่วยหายใจและการไออย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดอาการหายใจลำบากโดยหายใจด้วยกล้ามเนื้อกระบังลม (หายใจเข้าท้องพอง หายใจออกท้องแฟบ) หายใจออกทางปาก โดยห่อริมฝีปาก (Pursed –lip breathing) ในกรณีที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ การหายใจโดยวิธีนี้จะช่วยให้ทางเดินหายใจไม่ปิดในขณะหายใจออก อากาศจะค้างในปอด น้อยลง ระยะเวลาในการหายใจออกจะมากขึ้น และจะช่วยให้เสมหะที่อยู่ในปอดส่วนลึก ๆ ถูกขับออกมาได้ง่ายขึ้น
อาการไอเป็นเลือด (HEMOPTYSIS)
สาเหตุของอาการไอเป็นเลือด
การอักเสบ ทำให้เกิดอาการไออย่างรุนแรง หรือมีแผลในคอ กล่องเสียง หลอดลมใหญ่ และในเนื้อปอด
เนื้องอก และมะเร็ง
อุบัติเหตุ
ความผิดปกติของหลอดเลือดและโรคปอดต่าง ๆ ท าให้เกิดการไอเป็นเลือดได้
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการไอเป็นเลือด
ประเมินชีพจร หายใจ และความดันโลหิต เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลงและความรุนแรงของการเสียเลือด
ถ้าเสียเลือดมาก อาจต้องให้เลือด และพยาบาลจะต้องเฝ้าระวังการแพ้เลือดที่อาจเกิดขึ้นได้
ให้ผู้ป่วยพักผ่อนและให้การหายใจเคลื่อนไหวน้อยที่สุด
ผู้ป่วยอาจตกใจมาก ท าให้มีอาการหายใจเร็วขึ้น (hyperventilation) พยาบาลต้องคอยปลอบโยน ให้ก าลังใจ และให้การดูแลจนผู้ป่วยควบคุมตนเองได้ เพื่อช่วยให้เกิดความเชื่อมั่นและลดความตกใจ
ชนิดของอาการไอเป็นเลือด (HEMOPTYSIS)
ไอจนมีเลือดปนออกมา คือ มีเสมหะและเลือดปนเป็นเนื้อเดียวกัน พบในโรคมะเร็งของหลอดลม หรือวัณโรคปอด
ไอจนมีเลือดออกเป็นสาย มีเลือดเป็นสายปนกับเสมหะแต่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน พบในโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง หรือมะเร็งหลอดลม
ไอจนมีเลือดสดออกมา พบในวัณโรคปอด
ไอจนมีเสมหะสีคล้ายสนิม จากมีเลือดเก่า ๆ ปนออกมาด้วย พบในวัณโรคปอด
อาการเจ็บหน้าอก(CHEST PAIN)
มีสาเหตุจาก
จากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบมักเป็นตรงบริเวณหัวใจ และเจ็บตลอดเวลา อาจมีลักษณะในข้อ2 ร่วมด้วย ถ้าการอักเสบลุกลามถึงเยื่อหุ้มปอด
จากหัวใจเช่นภาวะหลอดเลือดแดงหัวใจโคโรนารี (Coronary artery) ตีบแคบมักมีอาการแน่นหน้าอกบริเวณกระดูก sternumโดยเฉพาะจะเจ็บหรือปวดมากเมื่อเวลา ออกก าลังกายและอาการเจ็บจะหายไปเมื่อพัก อาจมีปวดร้าวไปถึงหัวไหล่ คอ และแขน
จากเยื่อหุ้มปอดอักเสบ มักเจ็บตรงบริเวณที่มีอาการอักเสบ และมักเจ็บมาก เมื่อเวลาหายใจเข้าลึก ๆหรือเวลาไอ ท าให้ผู้ป่วยต้องหายใจตื้น ๆ
จากหลอดลมอักเสบ มักมีอาการแน่นหน้าอกบริเวณหลังกระดูก อาจเจ็บตลอดเวลา และเจ็บมากเมื่อเวลาไอ
จากกล้ามเนื้ออักเสบ มักมีอาการเจ็บเฉพาะที่ และเจ็บเมื่อใช้มือกดที่บริเวณนั้น
จากเส้นประสาท เช่น โรครากประสาทสันหลัง (Posterior nerve root) จะปวดร้าวไปตามแขนงของประสาท Intercostalnerve ซึ่งอยู่ตามแนวกระดูกซี่โครง และปวดตลอดเวลา พบในโรคงูสวัด (Herpes zoster) เป็นต้น
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บอก
ระเมินหาสาเหตุของอาการว่า อาการเจ็บหน้าอกเกิดจากหัวใจหรือ ปอด ถ้าเป็นอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial infarction : MI) จะมีอันตรายกว่าการเจ็บหน้าอกจากระบบหายใจมาก
จัดเตรียมอุปกรณ์การให้ออกซิเจนและพิจารณาให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วย
สังเกตอาการ ถ้าผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดที่เยื่อหุ้มปอด ควรแนะนำให้นอนตะแคงทับด้านที่เป็นถ้าอาการไม่ดีขึ้น อาจต้องให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
อาการไอ (COUGH)
ลักษณะของอาการไอ
ไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะ
ไอมีเสมหะ
เสมหะที่เป็นหนอง มักเกิดจากการติดเชื้อในทางเดินลมหายใจ
เสมหะที่ไม่เป็นหนอง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการไอ
ดูแลความสะอาดของปาก ฟัน และสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร
กระตุ้นให้ดื่มน้ำอุ่นบ่อย ๆ และปริมาณมาก เพื่อให้เสมหะอ่อนตัว
ถ้าไอมีเสมหะให้สังเกต บันทึกจ านวน ลักษณะ สี และกลิ่นของเสมหะด้วย
กระตุ้นให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ เพื่อให้เสมหะที่ค้างในปอดเคลื่อนออกมาได้ง่าย จากการเปลี่ยนท่าหรืออิริยาบถ
สังเกตและบันทึกลักษณะ เสียง ความถี่ และระยะเวลาของการไอ
สอนการไออย่างมีประสิทธิภาพ (Effective cough) โดยการให้ผู้ป่วยนั่งหรือนอนยกศีรษะสูง (Fowler’s position) และหายใจเข้าลึก ๆ เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง กลั้นหายใจสักครู่ แล้วไอออกมาอย่างแรง โดยเฉพาะผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่มักกลัวเจ็บต้องอธิบายให้ทราบถึงความจำเป็น
ประเมินประสิทธิภาพการไอ ลักษณะไอแห้ง ๆ หรือไอแบบมีเสมหะ โดยการฟังเสียงไอ
ดูแลให้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการไอตามแผนการรักษา
สาเหตุของอาการไอ (COUGH)
ฝุ่น ควัน สารเคมี อาหาร หรือน้ำที่สำลักเข้าไป
ความร้อน -เย็นของอากาศ จะทำให้การไอมากขึ้น
การอักเสบหรือการบวมบริเวณทางเดินหายใจ
อาการไอน้อยกว่า 2 สัปดาห์ อาจเกิดจากไข้หวัด การติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง
ไอมากกว่า 2 สัปดาห์ อาจเกิดจากหลอดลมอักเสบ จมูกและไซนัสอักเสบเรื้อรัง หอบหืด หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ปอดอักเสบเรื้อรัง จากการติดเชื้อ หรือมะเร็งหลอดลม
ความปลอดภัยขณะผู้ป่วยได้รับออกซิเจน
ภาวะแทรกซ้อนที่มีโอกาสเกิดขณะได้รับออกซิเจน
อาจเกิดอันตรายกับดวงตา (Retrolentalfibroplasias)
อาจเกิดการหยุดหายใจ
อาจเกิดการท าลายเนื้อเยื่อในปอด
อาจเกิดอุบัติเหตุจากการเกิดไฟไหม้หรือการระเบิด
อาจท าให้เยื่อบุทางเดินหายใจแห้งและเกิดการระคายเคืองได้
อาจเกิดการติดเชื้อโรคแทรกซ้อน
หลักปฏิบัติในการให้ออกซิเจนชนิดต่าง ๆ
หมุนปุ่มเปิด flow meter ปรับอัตราการไหลของออกซิเจนทิ้งไว้ 1–2 นาที เพื่อทดสอบว่ามีออกซิเจนไหลผ่าน และได้ปริมาณตามแผนการรักษาทุกครั้งก่อนสวมอุปกรณ์ให้ผู้ป่วย
กรณีให้ nasal cannula ให้ปฏิบัติ
ท าความสะอาดช่องจมูกทั้งสองข้าง และทุก 8 ชั่วโมงเพื่อให้ช่องจมูกโล่ง ท าให้ได้รับออกซิเจนปริมาณถูกต้อง
สวมเขี้ยวเข้าในช่องจมูกทั้ง 2 ข้างโดยให้ส่วนโค้งแนบไปกับโพรงจมูก คล้องสายกับใบหู2 ข้าง ปรับสายให้พอดีไว้ใต้คาง หรืออ้อมรอบศีรษะ เพื่อให้อยู่ในต าแหน่งป้องกันเลื่อนหลุด
ปรับระดับลูกลอยใน flow meter จะได้ปริมาณของออกซิเจนมีหน่วยเป็นลิตรต่อนาทีตามที่ต้องการสวมท่อสายยางของอุปกรณ์ให้ออกซิเจน กับท่อflow meter
กรณีให้ mask ให้ปฏิบัติ
simple mask ครอบหน้ากากบริเวณสันจมูกและปากให้แนบสนิท ปรับสายคล้องทัดเหนือใบหูรอบศีรษะ จัดให้พอดีป้องกันการรั่วของออกซิเจน
ชนิดมีถุง เปิดออกซิเจนไหลผ่านถุง 10 -20 ลิตร/ นาที จนถุงโป่งเต็มที่เพื่อไล่ก๊าซอื่นที่ค้างในถุงออกรวมทั้งทดสอบถุงไม่รั่วแล้วจึงใส่เหมือน simple mask
ต่อกระบอกความชื้นที่ใส่น้ ากลั่นปลอดเชื้อ ให้ระดับน้ าอยู่ตรงต าแหน่งขีดที่ก าหนดข้างกระบอกป้องกันไม่ให้ flow meter เสียหรือน้อยกว่าขีด ออกซิเจนต้องผ่านความชื้นจะไม่ท าให้ระคายเคืองเยื่อเมือกในช่องจมูกและคอ
กรณีให้ oxygen hood (oxygen box) ให้ปฏิบัติ
ต่อท่อออกซิเจนเข้ากับกล่อง
วางครอบเฉพาะศีรษะและไหล่ ระวังไม่ให้สายอยู่ใกล้หน้าเด็ก ให้ออกซิเจนในปริมาณพอเพียงและไม่ให้ออกซิเจนระคายเคืองตาเด็ก
ใส่ flow meter กับแหล่งที่มาของออกซิเจนที่มาจากชนิดผนัง (wall type) จากถังใช้ high-pressure gas regulator ให้ถูกต้องและแน่นพอดี
กรณีให้ T-piece ให้ปฏิบัติ
ควรดูดเสมหะออกก่อนเพื่อให้ออกซิเจนไหลผ่านหลอดลมคอได้สะดวก
ต่อสาย T –piece ครอบท่อหลอดลมคอ จัดสายไม่ให้เกิดภาวะดึงรั้งกรณีผู้ป่วยที่ได้รับยาในรูปการสูดละอองยาเข้าทางเดินหายใจโดยตรง(Aerosol therapy) ควรปรับอัตราการไหลของออกซิเจน 6 –8 ลิตร/ นาที โดยหลักการอัตราการไหลของก๊าซสูงขึ้นท าให้ aerosol มีอนุภาคขนาดเล็ก
ประเมินสัญญาณชีพและระดับความรู้สึกตัว เพื่อประเมินอาการผู้ป่วย
ลงบันทึกทางการพยาบาล ได้แก่ อาการ สัญญาณชีพ ปริมาณออกซิเจนที่ให้อุปกรณ์ที่ใช้ และปฏิกิริยาผู้ป่วยเมื่อได้รับออกซิเจน
ล้างมือให้สะอาด สวม mask เพื่อป้องกันการน าเชื้อเข้าสู่ผู้ป่วย
บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
ข้อชี้บ่งของการให้ออกซิเจน
เกิดภาวะบาดเจ็บขั้นรุนแรง(Severe trauma)
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิดเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction: MI)
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะHypoxemia ตามมาหลังได้รับการรักษาเบื้องต้นแล้ว
การให้ออกซิเจนเป็นเวลาช่วงสั้น ๆ ในการทำผ่าตัด
มีภาวะขาดออกซิเจนในเลือด คือ มีภาวะPaO2< 60 mmHg (มม.ปรอท) หรือ SaO2< 90 % เมื่อหายใจเข้าในบรรยากาศปกติ
ข้อควรระวังและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ออกซิเจน
ควรระวังการให้ออกซิเจนในผู้ป่วยที่ได้รับพิษจาก paraquatเช่น ยาฆ่าหญ้า เป็นต้น หรือผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบ าบัด อาจท าให้เสริมฤทธิ์ของสารพิษที่ได้รับเข้า สู่ร่างกายเร็วขึ้นวัดระดับออกซิเจน ถ้าไม่มีภาวะออกซิเจนต่ าอย่างรุนแรงไม่ต้องให้ออกซิเจนเสริม เพราะการให้ออกซิเจนมากไปจะไปกระตุ้นให้เกิดผังพืดที่ปอด ได้มากขึ้น
ขณะทำผ่าตัดด้วยวิธีเลเซอร์ในทางเดินหายใจ ควรจ ากัดความเข้มข้นของออกซิเจนที่ใช้ในต่ าที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงการติดไฟ
อาจเกิดภาวะปอดแฟบ (lung atelectasis) ออกซิเจนเป็นพิษ (oxygen toxicity) หรือกดการท างานของ ciliaที่ก าลังพัดโบกก าจัดสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ และระบบภูมิคุ้มกันเม็ดเลือดขาวเพื่อให้ความเข้มข้นของออกซิเจนขณะหายใจเข้า (FiO2) ≥0.5
Fraction of inspired oxygen (FiO2) = ความเข้มข้นของก๊าซออกซิเจนขณะหายใจเข้า
ควรระวังการให้ความชื้นร่วมกับออกซิเจนโดยเฉพาะการให้ความชื้นแบบ nebulizerสามารถเพิ่มภาวะการติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินหายใจได้เนื่องจากการสูดดมโดยตรง
อาจเกิดภาวะกดการหายใจผู้ป่วยที่หายใจเอง เมื่อค่าPaO2≥ 60 มม.ปรอท โดยที่ค่า PaCO2สูงกว่าภาวะปกติ
Partial pressure of arterial oxygen(PaO2)=ค่าความดันบางส่วนของก๊าซออกซิเจนในหลอดเลือดแดงและ Partial pressure of arterial carbondioxide (PaCO2)=ค่าความดันบางส่วนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในหลอดเลือดแดง
การมีความเข้มข้นระดับสูงของออกซิเจน บริเวณที่เกิดไฟไหม้จะทำให้ขบวนการติดไฟเพิ่มความรุนแรงยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของการให้ออกซิเจนเพื่อการรักษา
เป็นการลดอาการขาดออกซิเจนเรื้อรัง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งฟอง
เป็นการช่วยการทำงานของระบบทางเดินหายใจ หัวใจ และระบบการไหลเวียนโลหิตและหลอดเลือดจากภาวะพร่องออกซิเจน
เป็นการรักษาภาวะพร่องออกซิเจนทำให้ออกซิเจนในเลือดต่่ำโดยวิธีการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในถุงลมปอด และกระแสเลือด
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจน
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง (CLEAR AIR WAY)
ดูดเสมหะที่ค้างตามท่าทางเดินหายใจเป็นระยะๆ เพื่อป้องกันการอุดตัน
สอนการไออย่างถูกวิธี เพื่อให้ระบายเสมหะออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดท่านอน ท่านั่ง ให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย และปอดขยายได้เต็มที่โดยให้อยู่ในท่าศีรษะสูง
กระตุ้นให้ได้รับน้ าอย่างเพียงพอ เพื่อให้น้ าช่วยละลายเสมหะให้ขับออกได้ง่าย
ดูแลความสะอาดของจมูกและปากบ่อยๆ หรือ ทุก 2 -3 ชั่วโมง ผู้ป่วยมักคอแห้ง มีกลิ่นปาก เจ็บคอ
ทาริมฝีปากด้วย กลีเซอรีนบอแรกซ์–Vaseline
ท าความสะอาดช่องจมูก
ถ้าเจ็บคอ ให้ล้างปากด้วยน้ ายา หรือบ้วนด้วยน้ าสะอาดบ่อยๆ
ดูแลความสะอาดบริเวณหน้า โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ได้รับ Oxygen mask จะมีเหงื่อออกมาก ควรเช็ด maskและทาแป้งให้บ่อยๆ หรือทุก 2 -3 ชั่วโมง เพื่อให้สบายขึ้น
ให้จิบน้ำบ่อยๆ
หมั่นตรวจดูอุปกรณ์ที่ให้ออกซิเจน
ออกซิเจนไม่รั่ว จากขวดทำน้ำกลั่นที่ทำความชื้น
ถ้าเป็นออกซิเจนถัง จะต้องให้มีออกซิเจนอยู่เสมอ โดยดูจากที่หน้าปัดบอกระดับของออกซิเจน ถ้าเหลือ 1/3 ของถัง ควรเตรียมถังใหม่เพื่อเปลี่ยนได้ทันทีและต้องตั้งถัง อย่าล้มถังในขณะให้
ขวดทำความชื้น มีน้ำอยู่พอเหมาะไม่มากหรือน้อยจนเกินไป
เปลี่ยนและน าอุปกรณ์การใช้ออกซิเจน ไปท าความสะอาดและท าให้ปลอดเชื้อ ถ้าเป็นอุปกรณ์ชนิดพลาสติก อาจขุ่นมีน้ าขัง หรือหยดน้ าเกาะอยู่ ให้เทน้ าออกแล้วสลัด ให้แห้ง เพื่อไม่ให้กีดขวางทางน าออกซิเจนสู่ปอด
ตรวจดูสายยาง ให้อยู่ในต าแหน่งที่ถูกต้อง ไม่เลื่อนหลุดจากที่รอยต่อต่างๆ ต้องคงที่ไม่บิดงอ ไม่อุดตัน
ถ้าให้ออกซิเจนจากระบบ pipeline ที่มีรูเปิด (outlet) ส าหรับเสียบ flow meter จะต้องดูให้ flow meterเสียบเข้าที่
ดูแลด้านจิตใจ
แนะน า อธิบาย ให้ผู้ป่วยรู้จักเครื่องมือต่างๆ ได้ง่าย
ดูแลควบคุมอัตราการไหของออกซิเจนให้เพียงพอ ไม่ให้ผู้ป่วยอึดอัด
พยาบาลควรมีความช านาญในการใช้เครื่องมือ
สนใจ รับฟังความต้องการของผู้ป่วยอย่างจิงจัง
บอกประโยชน์ของการได้รับออกซิเจน
ให้เวลาผู้ป่วยในการพูดคุย สัมผัสผู้ป่วย และรีบไปดูแลทันทีเมื่อผู้ป่วยขอความช่วยเหลือ
หมั่นสังเกตและประเมินภาวะของผู้ป่วย
ความผิดปกติของสีผิว ดูลักษณะบริเวณริมฝีปาก เล็บมือ เล็บเท้า ผิวหนัง ว่ามีอาการเขียวหรือไม่ ในรายที่ให้ออกซิเจนทางกระโจมสังเกตอาการหนาวสั่นด้วย
ระดับความรู้สึกตัว
ตรวจวัดสัญญาณชีพ ดูลักษณะ และอัตราเร็วของการหายใจ ความดันโลหิตและชีพจร
วัดปริมาตรหายใจเข้า-ออกต่อครั้ง (Tidal Volume)ในกรณีที่ผู้ป่วยอาการหนักและมีเครื่องมือวัดโดยเฉพาะติดตามผลค่าก๊าซให้ออกซิเจน (Blood gas)
อาการและอาการแสดงของภาวะขาดออกซิเจน
อัตราการเต้นของชีพจรเร็วขึ้น (decrease pulse rate) ขั้นรุนแรง และพบ bradycardia
ในช่วงแรกอัตราการหายใจเร็วและลึก (increase rate and depth respiration) ระยะต่อมาจะเปลี่ยนเป็นหายใจสั้นและตื้น (shallow and slow respiration)
แสดงพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป (behavior changes)
ความดันโลหิตลดลง (blood pressure will decrease)
มีอาการวิงเวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุน (vertigo)
หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ (cardiac dysthymias)
ความอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าเพิ่มขึ้น(decreased fatigue)
มีภาวะซีด (pallor)
ระดับความรู้สึกตัวลดลง(decreased level of consciousness)
มีอาการเขียวคล้ า (cyanosis)
ระดับการมีสมาธิลดลง (decreased ability to concentrate)
กรณีเป็นภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง พบนิ้วปุ้ม (clubbing)
วิตกกังวล (anxiety) กระสับกระส่าย(restlessness)
อาการหายใจลำบาก (dyspnea)
เทคนิคการพยาบาลที่เกี่ยวข้องในการให้ออกซิเจนแบบต่าง ๆ
ระบบให้ความชื้น (HUMIDIFICATION)
ชนิดละอองโต (Bubble)
ให้ความชื้นในส่วนต้นของทางเดินหายใจ 30 –40 %สายให้ก๊าซมีขนาดเล็กน้ าจะปุดเป็นฟองเมื่อเปิดให้กับผู้ป่วยมักใช้กับ oxygen cannula, simple face mask, และ partial rebreathing mask
ชนิดละอองฝอย (Jet)
ให้ความชื้นในทางเดินหายใจที่อยู่ลึกเหมาะกับผู้ป่วยที่มีเสมหะเหนียว มักเห็นเป็นหมอก สายให้ออกซิเจนมักมีขนาดใหญ่และเป็นลูกฟูก (corrugated)ได้แก่croupettetent, oxygen box (hood), T-piece, และtracheostomy collar
ระบบการให้ออกซิเจน
ระบบการไหลของออกซิเจนชนิดต่ำ (LOW FLOW SYSTEM)
การให้ออกซิเจนชนิดเขี้ยว (nasal cannula/nasal prongs) เป็นการให้ออกซิเจนทางจมูก วิธีนี้ผู้ป่วยจะได้รับออกซิเจนที่มีความเข้มข้นต่ า ซึ่งจะได้ออกซิเจนร้อยละ 30 –40 ในขณะที่ปรับอัตราการไหลของออกซิเจน4 –6 ลิตร/ นาที
ข้อดี ผู้ป่วยสามารถดื่มน้ าหรือรับประทานอาหารได้โดยไม่ต้องปลดสายออก ไม่ค่อยรู้สึกอึดอัดหรือร าคาญมากนัก และติดต่อสารกับผู้อื่นได้สะดวก
ข้อเสียอาจมีการระคายเคืองช่องจมูกทั้งสองข้าง ท าให้เยื่อบุจมูกบวมและมีน้ ามูกออกมาอุดท าให้ท่อตันได้ จึงควรท าความสะอาดท่อและรูจมูกทุก 8 ชั่วโมง และปรับสายรัดรอบศีรษะของผู้ป่วยให้พอเหมาะ ปรับอัตราไหลของออกซิเจน และเฝ้าระวังการเกิดแผลกดทับบริเวณใบหูที่กดกับสายยาง
การให้ออกซิเจนทางหน้ากาก (MASK)
ESERVOIR BAG (PARTIAL REBREATHING MASK)
ให้ความเข้มข้นสูงกว่าร้อยละ 60–90 ซึ่งสูงกว่าชนิดไม่มีถุงชนิดนี้ O2 จากเครื่องจะไหลเข้าถุง
NON REBREATHING MASK
ส่วนหน้ากากลักษณะเป็นลิ้นไหลทางเดียว (unidirectional valve) ทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้อากาศไหลออกสู่ภายนอกอย่างเดียวไหลเข้าไม่ได้ ระหว่างหน้ากากกับถุงมีลิ้นกั้น ไม่ให้CO2จากลมหายใจออกเข้าถุงส ารอง และถูกผลักออกทางรูระบายอากาศด้านข้าง แต่ยอมให้ออกซิเจนไหลเข้าถุงส ารองขณะหายใจเข้า ไม่มีการสูดกลับของลมหายใจออก อากาศที่ได้มีความเข้มข้นของO2สูงมาก
เหมาะส าหรับผู้ป่วยที่ต้องการO2 บริสุทธิ์ในความเข้มข้นสูง หรือในผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจล้มเหลว
ลักษณะคล้าย partial rebreathing ยกเว้นรูระบายอากาศ
ข้อเสียไม่ควรให้ติดต่อกันนาน เพราะO2 ที่ความเข้มข้นสูงกว่าร้อยละ 60 มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ ท าให้ขนกวัด (cilia) ถูกท าลาย สารลดแรงตึงผิว (surfactant) ในปอดถูกท าลายเกิดปอดแฟบ (atelectasis) สารน้ าซึมออกจากหลอดเลือดฝอยเยื่อหุ้มถุงลมหนาขึ้น หลอดเลือดไปเลี้ยงสมองหดรัดตัว ท าให้เลือดไปเลี้ยงสมองลดลง เกิดอาการมึนงง คลื่นไส้ อาเจียน และกระสับกระส่าย
SIMPLE MASK
เป็นชนิดที่ให้ออกซิเจนความเข้มข้นร้อยละ 40-50
การปรับอัตราไหลของออกซิเจน 5 –8 ลิตร/ นาที
ระบบการไหลของออกซิเจนชนิดสูง (HIGH FLOW SYSTEM)
การให้ออกซิเจนชนิด CROUPETTETENT
การให้ออกซิเจนชนิด HOOD หรือ OXYGEN BOX
การให้ออกซิเจนทางท่อหลอดลม (TRACHEOSTOMY COLLAR)
การให้ออกซิเจนทางท่อช่วยหายใจ (ENDOTRACHEAL TUBE: ET TUBE)
การให้ออกซิเจนชนิดT-PIECE
แหล่งให้ออกซิเจน (OXYGEN SOURCE)
ถังบรรจุออกซิเจน (Oxygen tank)
ระบบท่อ (Oxygen pipeline)
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
การวางแผนการพยาบาล (Planning)
เกณฑ์การประเมินผล
อัตราการหายใจอยู่ในช่วง 16-24 ครั้ง/ นาทีลักษณะการหายใจปกติ
ผลเลือด Hb = 12 - 16 g/ dl และHct = 37 - 47 %
ไม่มีพบอาการของภาวะพร่องออกซิเจน เช่น หายใจหอบเหนื่อย ปลายมือปลายเท้า
เขียว และค่า O2 sat ≥ 95%
ฟังปอด พบ ทางเดินหายใจโล่งไม่มีเสมหะ
ผู้ปุวยได้รับ O2 cannula 2 lit/ min และปลอดภัย
การวางแผน
วัตถุประสงค์
การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
สอนการไออย่างมีประสิทธิภาพ การไออย่างมีประสิทธิภาพจะท าให้ลดการคั่งค้างของเสมหะที่ปอดท าให้ปอดขยายตัวได้เพิ่มขึ้น
วัด vital signs ทุก 4 ชม เพื่อการประเมินสัญญาณชีพจะช่วยให้ทราบความรุนแรงของภาวะพร่องออกซิเจน
จัดท่านอนศีรษะสูง เพื่อท าให้กระบังคมเคลื่อนต่ าลง ปอดขยายตัวได้เต็มที่เพิ่มพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซมากขึ้น
ประเมิน O2 saturation ทุก 2 ชม. เพื่อเป็นการวัดระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด
จัดสิ่งแวดล้อมให้มีความปลอดภัย ติดปูายห้ามสูบบุหรี่ หรือห้ามน าวัตถุไวไฟเข้าใกล้บริเวณเตียงผู้ปุวย และดูแลให้น้ ากลั่นใน humidifier ในระดับปกต
ติดตามผลเลือด Hb, Hct และ Chest X-Ray เพื่อทราบค่าแสดงถึงความเข้มข้นของเลือในร่างกายและ Chest X-ray เป็นการประเมินความก้าวหน้าของการรักษา เพื่อติดตามผลการรักษา อาการinfiltration ในปอดลดลง คงที่ หรือเพิ่มขึ้น
ปรับออกซิเจนให้ได้ 2 lit/ min แล้วจัดให้สาย cannula อยู่ในต าแหน่งที่เหมาะสมคล้องสายกับหูทั้งสองข้างให้พอด
ดูแลส่งเสริมการพักผ่อนและการนอนหลับผู้ปุวยให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายเพราะการพักผ่อนบนเตียงจะช่วยลดการใช้ออกซิเจนในการท ากิจกรรม ท าให้อาการเหนื่อยอ่อนเพลียลดลง
ประเมินสภาพผู้ปุวยก่อนได้รับออกซิเจน ประเมินภาวะพร่องออกซิเจน ประเมินอัตราการหายใจ ชีพจร สีของเล็บ ปลายมือปลายเท้า เยื่อบุผิวหนัง ลักษณะการซีด และเขียว
ให้การพยาบาลด้านจิตใจและจิตวิญญาณ เพื่อลดความวิตกกังวลและความกลัว
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
ประเมินผลกิจกรรมการพยาบาล
ประเมินผลคุณภาพการบริการ
ประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
การประเมินภาวะสุขภาพ (Health assessment)