Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจนและการดูดเสมหะ - Coggle Diagram
การดูผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจนและการดูดเสมหะ
ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับออกซิเจนของบุคคล
อยู่ในที่ที่มีมลพิษสูง ทาให้อากาศบริเวณนั้นมีออกซิเจนลดลง ทำให้ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ในขบวนการขจัดสารพิษ
การเดินทางหรืออาศัยในที่สูง จะมีความหนาแน่นของอากาศลดลงมีผลให้ออกซิเจนมี ระดับต่ำกว่าปกติ ทำให้ร่างกายได้ออกซิเจนน้อยกว่าปกติ ถ้าร่างกายปรับตัวไม่ได้กับภาวะพร่องออกซิเจน ทำให้เกิดการภาวะพร่องออกซิเจน
การเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายหนัก ๆ ขณะออกกำลังกาย ร่างกายต้องการออกซิเจนมากกว่าปกติ อาจทำให้ได้รับออกซิเจนไม่ทั่วถึงและเพียงพอ เป็นสาเหตุทำให้เหนื่อยเร็ว และอ่อนล้า
อาหารที่มีไขมันมาก จะมีปริมาณออกซิเจนน้อย เวลารับประทานอาหารที่มีไขมันมากจะทำให้ปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำลง
ผู้สูงอายุ ร่างกายของคนเราจะเสื่อมลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ความเสื่อมเกิดขึ้นได้ทุกระบบในร่างกาย
ความเครียด ทำให้เกิดภาวะนอนไม่หลับ การหายใจถี่ขึ้น ต้องการออกซิเจนมากขึ้น
การดื่มสุราและเครื่องดื่มที่เป็นแอลกอฮอล์การดื่มในปริมาณมากเกินควรจะส่งผลให้ร่างกายเกิดผล เสียแบบเฉียบพลับและเรื้อรัง ซึ่งส่งผลต่อตับ สมอง หรือหัวใจและหลอดเลือด
การสูบบุหรี่ มีผลเสียต่อร่างกายในหลาย ๆ ระบบ เช่น กล่องเสียง หลอดเลือดในสมอง ถุงลม และ ปอดทำให้ความสามารถในการรับออกซิเจนน้อยลง
การประเมินภาวะพร่องออกซิเจน
การประเมินสภาพร่างกาย
ระบบประสาทส่วนกลาง สังเกต ความรู้สึกตัวของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงกระสับกระส่่าย สับสน มึนศีรษะ เพ้อ หมดสติ ชัก
ระบบผิวหนัง ระยะแรกจะซีด ต่อมาพบอาการเขียวคล้ำ โดยเห็นชัดบริเวณริมฝีปาก เล็บมือเท้า และเสียชีวิตในที่สุด
ระบบหัวใจและหลอดเลือด ประเมินพบ ชีพจรเต้นเร็วผิดปกติ ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นในระยะแรก ระยะต่อมาหัวใจเต้นผิดจังหวะ บีบตัวช้าลง เจ็บหน้าอก และหัวใจหยุดเต้นในระยะสุดท้าย
ระบบทางเดินอาหาร ประเมินและสังเกตพบมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนในระยะแรก
ระบบทางเดินหายใจ สังเกต ผู้ป่วยมีอาการหายใจไม่สะดวก หายใจลำบากเมื่อนอนราบ หายใจไม่สม่ำเสมอ มีอาการกระสับกระส่าย
การประเมินการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
1) ระดับค่าก๊าซในหลอดเลือดแดง(Arterial blood gas: ABG) เป็นการตรวจเพื่อหา ประสิทธิภาพการทางานของปอด เพื่อประเมินความสามารถในการแลกเปลี่ยนก๊าซ และการหายใจ ค่าเหล่านี้ บอกถึงความสามารถของ Hemoglobin (ฮีโมโกลบิน) ในการจับออกซิเจนเข้าสู่เซลล์ และนาคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเซลล์ ประกอบด้วย pH, PaCO2, PaO2, HCO3, และ SaO2
2) ค่าการอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Arterial oxygen saturation) ใช้ pulse oximeter เป็นอุปกรณ์ที่วัดร้อยละของฮีโมโกลบินที่จับกับออกซิเจน (oxyhemoglobin) ต่อปริมาณ ฮีโมโกลบินทั้งหมดในเลือด การแปลผลต้องพิจารณาปริมาณเม็ดเลือดแดงและหรือค่าฮีโมโกลบินร่วมด้วย จงึ เป็นการวัด arterial oxygen saturation (SPO2) ค่าการอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดปกติอยู่ระหว่าง 98 - 99 % หากวัด SPO2ได้น้อยกว่า 90% จาเป็นต้องได้รับการรักษา ยกเว้นผู้ปุวยโรคปอดอุดตันเรื้อรัง
บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
อาการและอาการแสดงของภาวะขาดออกซิเจน
วิตกกังวล(anxiety)กระสับกระส่าย(restlessness)
ระดับการมีสมาธิลดลง (decreased ability to concentrate)
ระดับความรู้สึกตัวลดลง (decreased level of consciousness)
มีอาการวิงเวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุน (vertigo)
มีภาวะซีด (pallor) มีอาการเขียวคล้า (cyanosis)
วัตถุประสงค์ของการให้ออกซิเจนเพื่อการรักษา
เป็นการรักษาภาวะพร่องออกซิเจนทาให้ออกซิเจนในเลือดต่า โดยวิธีการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในถุงลมปอด และกระแสเลือด
เป็นการลดอาการขาดออกซิเจนเรื้อรัง โดยเฉพาะผู้ปุวยโรคถุงลมโป่งฟอง
เป็นการช่วยการทางานของระบบทางเดินหายใจ หัวใจ และระบบการไหลเวียนโลหิตและหลอดเลือดจากภาวะพร่องออกซิเจน
ข้อบ่งชี้ของการให้ออกซิเจน
มีภาวะขาดออกซิเจนในเลือด คือ มีภาวะPaO2 < 60 mmHg หรือ SaO2 < 90 % เมื่อ หายใจเข้าในบรรยากาศปกติ
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ hypoxemia ตามมาหลังได้รับการรักษาเบื้องต้นแล้ว เช่น ผู้ป่วยหลัง โดนไฟไหม้ เป็นต้น
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิดเฉียบพลัน (acute myocardial infarction: MI)
การให้ออกซิเจนเป็นเวลาช่วงสั้น ๆ ในการทาผ่าตัด เช่น หลังการดมยาสลบ หรือการทา ผ่าตัดใหญ่ เป็นต้น
การให้ออกซิเจนไม่มีข้อห้ามที่ชัดเจน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยและพยาธิสภาพของโรคและ สภาวะสุขภาพของผู้ป่วย
ความสำคัญของก๊าซออกซิเจนที่มีต่อร่างกาย
การทำงานของเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ขนส่งก๊าซ เม็ดเลือดแดงมีหน้าที่ หลักในการขนและส่งก๊าซในระบบ
ความดันออกซิเจน ทำให้เกิดการขนส่งออกซิเจนสู่เนื้อเยื่อ ความดันออกซิเจนและการขนส่งสู่เนื้อเยื่อ หลังจากเลือดที่ออกจากปอดมีความดันออกซิเจนในเลือดสูงอยู่ เม็ดเลือดแดงจะปล่อยออกซิเจนจำนวนน้อยสู่กระแสเลือดเพื่อส่งไปหาเซลล์ต่างๆ
การหมุนเวียนเพื่อกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อเซลล์เนื้อเยื่อขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกออก จะมีการขนส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กลับไปที่ปอด เพื่อทำการหายใจระบายออก กลไกการขนส่งมี 2 อย่างที่เป็นหลัก คือ การขนส่งคาร์บอนไดออกไซด์โดย hemoglobin ในเม็ดเลือดแดง และ คาร์บอนไดออกไซด์ไปรวมกับน้ำ เพื่อเกิดสารประกอบ กรดคาร์บอนิก (H2CO3) และแตกตัว
เป็นไฮโดรเจนไออน (H+) กับไบคาร์บอเนต (HCO3)