Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดเอ (hepetitis A virus: HAV)
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลีย เบื่อาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และปวดศีรษะ มักไม่มีอาการของดีซ่าน ตรวขพบน้ำดีในปัสสาวะแสดงว่าตับมีการทำงานผิดปกติ
ตัวเหลือง ตาเหลือง ตรวจพบ alkaline phosphastase เพิ่มขึ้น
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
การตั้งครรภ์ไม่มีผลทำให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น หากมีการติดเชื้อ HAV ขณะตั้งครรภ์นั้น ร่างกายมารดาจะสร้าง antibody ต่อเชื้อ HAV ซึ่งสามารถผ่านไปยังทารกในครรภ์ได้ และมีผลคุ้มกันทารกไปจนถึงหลังคลอดประมาณ 6-9 เดือนจากนั้นจะหมดไป
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การขับถ่าย การสัมผัสเชื้อโรค
การตรวจร่างกาย
ตรวจพบลักษณะอาการทางคลินิกของการติดเชื้อ HAV เช่นมีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด และอาจมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจหา antibody-HAV และ IgM-anti HAV และตรวจการทำงานของตับ
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษา การดูแลตนเองที่เหมาะสม และการป้องกันภาวะแทรกซ้อน
แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว
พักผ่อนเพียงพอ
รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และย่อยง่าย
มาตรวจตามนัด เพื่อประเมินสภาวะของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B virus)
พยาธิสรีรภาพ
ระยะแรก
เมื่อได้รับเชื้อ Hepatitis B virus เข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว แต่ผู้ที่ได้รับเชื้อยังไม่มีอาการและอาการแสดงของการได้รับเชื้อและเอนไซม์ตับปกติ ซึ่งแสดงว่าไม่มีอาการอักเสบของตับ แต่หากตรวจเลือดจะพบ HBAg ให้ผลบวก และพบ Hepatitis B virus DNA จำนวนมาก
ระยะที่สอง
ประมาณ 2-3 เดือนหลังจากได้รับเชื้อ Hepatitis B virus จะเข้าสู่ระยะที่สองผู้ติดเชื้อจะมีอาการอ่อนเพลียคล้ายเป็นหวัด คลื่นไส้อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงจากตับโต ปัสสาวะเข้ม ตัวเหลืองตาเหลือง ตับเริ่มมีการอักเสบชัดเจน ตรวจพบเอนไซม์ตับสูงขึ้น ในระยะนี้ร่างกายจะสร้าง anti-HBe ขึ้นมาเพื่อทำลาย HBeAg ดังนั้นหากตรวจเลือดจะพบ anti-HBe ให้ผลบวกและจำนวน Hepatitis B virus DNA ลดลง
ระยะที่สาม
ระยะที่ anti-HBe ทำลาย HBeAg จนเหลือน้อยกว่า 105 copies/mL อาการตับอักเสบจะค่อย ๆ ดีขึ้น ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน และเข้าสู่ระยะโรคสงบ (inactive carrier) ซึ่งหากตรวจเลือดพบ HBAg ให้ผลลบ anti-HBe ให้ผลบวก และค่าเอนไซม์ ตับปกติ
ระยะที่สี่
เป็นระยะที่เชื้อกลับมามีการแบ่งตัวขึ้นมาใหม่ ทำให้เกิดการอักเสบของตับขึ้นมาอีก ตรวจเลือดจะพบ HBAg ให้ผลลบ และ anti-HBe ให้ผลบวกในระยะนี้ถ้า anti-HBe ไม่สามารถทำลาย HBeAg ได้จนเหลือน้อยกว่า 105 copies/mL จะเข้าสู่ภาวะตับอักเสบเรื้อรังจนเนื้อตับเสียหาย มีพังผืดแทรกจนเป็นตับแข็งและกลายเป็นมะเร็งตับ
อาการและอาการแสดง
จะเริ่มมีไข้ต่ำ ๆ เบื่อาหาร อาเจียน ปวดท้อง อาจปวดทั่วไปหรือปวดบริเวณชายโครงขวา คลำพบตับโต กดเจ็บ ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีชาแก่ ในปลายสัปดาห์แรกจะเริ่มมีตาเหลืองตัวเหลือง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
หากมีการติดเชื้อ Hepatitis B virus ในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ทารกตายในครรภ์ หรือเสียชีวิตแรกเกิด และทารกที่คลอดมามีโอกาสที่จะติดเช้อได้
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
การเป็นพาหะของโรคตับอักสบจากไวรัสบี
เคยมีอาการแสดงของโรคตับอักเสบจากไวรัสบี
การตรวจร่างกาย
พบอาการและอาการแสดง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ตับโต ตัวเหลืองตาเหลือง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตวจการทำงานของตับ
ตรวจหา antigen และ antibody ของไวรัส
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ตรวจคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกคนว่าเป็นพาหะของโรคหรือไม่
ให้คำแนะนำแก่สตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับสาเหตุ การติดต่อ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การดำเนินของโรค
อธิบายแก่สตรีตั้งครรภ์เข้าใจและตระหนักความสำคัญของการมาตรวจตามนัด
ระยะคลอด
ให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียงและให้การดูแลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป
หลีกเลี่ยงการเจาะถุงน้ำคร่ำ และการตรวจทางช่องคลอดเพื่อป้องกันถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการคลอด
เมื่อศีรษะทารกคลอด ดูดมูก เลือดและสิ่งคัดหลั่งต่าง ๆ ออกจากปากและจมูกทารกให้มากที่สุด
ระยะหลังคลอด
ไม่จำเป็นต้องงดให้นมมารดาแก่ทารก เนื่องจากอัตราการถ่ายทอดเชื้อจากมารดาสู่ทารกผ่านนมพบได้น้อยมาก
แนะนำการปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับมารดาหลังคลอดทั่วไป โดยเน้นการรักษาความสะอาดของร่างกาย การป้องกันการปนเปื้อนของเลือดหรือน้ำคาวปลา
แนะนำให้นำทารกมารับวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
หัดเยอรมัน (Rubella/German measles)
พยาธิสรีรภาพ
กลุ่มไม่มีอาการทางคลินิก
ตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อหัดเยอรมันอย่างเดียว และกลายเป็นพาหะของโรคต่อไป
กลุ่มที่มีอาการทางคลินิก
มีผื่นที่ใบหน้า ลามไปที่ลำตัวและแขนขา ลักษณะของผื่นจะเป็นตุ่มเกิดได้ตั้งแต่วันที่ 7-10 หลังได้รับเชื้อ และจะคงอยู่ 4 สัปดาห์ อาจมีอาการปวดข้อ พบต่อมน้ำเหลืองโต ทั้งสองกลุ่มสามารถทำให้ทารกเกิดการติดเชื้อได้ เชื้อหัดเยอรมันจะเข้าไปทำลายผนังหลอดเลือดและเนื้อรกทำให้เนื้อรถและหลอดเลือดกลายเป็นเนื้อตาย เชื้อจะเข้าไปในเซลล์ที่กำลังแบ่งตัว ทำให้เซลล์ติดเชื้อ ส่งผลให้เซลล์เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ การสร้างอวัยวะต่าง ๆบกพร่อง เกิดเป็นความพิการแต่กำเนิด ซึ่งความรุนแรงของความพิการจะลดลงตามอายุครรภ์ที่มารดาเกิดการติดเชื้อหัดเยอรมันและความพิการในทารกจะลดลงมากหรือไม่พบเลยถ้าเกิดการติดเชื้อหลังอายุครรภ์ 16 สัปดาห์
อาการและอาการแสดง
มีไข้ต่ำ ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว เบื่ออาหาร ตาแดง ไอ เจ็บคอ และต่อมน้ำเหลืองบริเวณหลังหูโต อาจมีอาการปวดข้อ โดยไข้จะเป็นอยู่ 1-2 วันก็จะหายไป หลังจากนั้นจะมีผื่นขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีแดง มองเห็นเป็นปื้นหรือจุดกระจัดกระจาย
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ไม่ทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น และไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น จึงไม่เกิดผลกระทบต่อมารดา แต่อาจรู่สึกไม่สุขสบายเล็กน้อยเท่านั้น
ผลกระทบต่อทารก
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราว เช่น ตับม้ามโต ตัวเหลือง โลหิตจาง
ความผิดปกติถาวร ได้แก่ หูหนวก หัวใจพิการ ตาบอด
ความผิดปกติที่ไม่พบขณะแรกเกิด แต่ปรากฎภายหลัง เช่น ภาวะเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ สูญเสียการได้ยิน
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
การสัมผัสผู้ติดเชื้อหัดเยอรมัน หรือผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อ
อาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ
การตรวจร่างกาย
อาจพบผื่นสีแดงคล้ายหัด ตาแดง ไอ จาม เจ็บคอ ปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
หากผล HAI titer น้อยกว่า 1:8 หรือ 1:10 แสดงว่าไม่ติดเชื้อ และไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ
การพยาบาล
ให้วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อเยอรมันแก่สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนมาก่อน
ในสตรีที่มาฝากครรภ์ควรตรวจดูว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่ หากยังไม่มีภูมิคุ้มกันแนะนำให้สตรีตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการเข้าชุมชนในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อหัดเยอรมัน
แนะนำให้มาฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ และมารับการตรวจที่โรงพยาบาลทันทีที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อหัดเยอรมัน
ประเมินสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับการได้รับภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน การสัมผัสกับผู้ที่เป็นโรค
เปิดโอาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึกและซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับผลของการติดเชื้อต่อสุบภาพของตนเองและทารกในครรภ์
สุกใส (Varicella-zoster virus:VZV)
พยาธิสภาพ
เมื่อรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือกบุทางเดินหายใจ จากการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยมารดาติดเชื้อไวรัสสุกใสขณะตั้งครรภ์ มีผลต่อความพิการของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อในช่วง 3 เดือน ของการตั้งครรภ์ ส่งผลต่อความพิการของทารกในครรภ์ได้สูง
อาการและอาการแสดง
มีไข้ต่ำ ๆ นำมาก่อนประมาณ 1-2 วันแล้วค่อยมีผื่นขึ้น มักขึ้นตามไรผม จะเห็นเป็นตุ่มน้ำใส ๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ำค้างบนกลีบกุหลาบ (dewdrops on a rose patel) ค่อยลามไปบริเวณหน้าลำตัว และแผนหลัง มีอาการปวดเมื่อยตามตัวร่วมด้วย คล้ายอาการของไข้หวัดใหญ่
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
มักมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็ก โดยเฉพาะในสตรีตั้งครรภ์ ซึ่งมีภาวะภูมิคุ้มกันที่ลดลงจากการตั้งครรภ์ พบว่ามีความรุนแรงของการติดเชื้อสุกใสมากขึ้น โดยเฉพาะในระยะอายุครรภ์ใกล้ครบกำหนดคลอดจะยิ่งอันตราย ทำให้ระบบหายใจล้มเหลว บางรายอาจจะมีอาการทางสมอง ทำให้ซึมลง และมีอาการชัก ทำให้เสียชีวิตได้ทั้งแม่ และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อทารก
การติดเชื้อในครรภ์ โดยเฉพาะในไตรมาสแรก อาจทำให้เกิดความพิการก่อนกำเนิดได้
การติดเชื้อปริกำเนิด ผ่านทางมดลูก และช่องทางคลอด โดยมีความเสี่ยงสูงในรายที่สตรีตั้งครรภ์มีการติดเชื้อสุดใสในระยะก่อนคลอด 5 วัน และหลังคลอด 2 วัน
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
การสัมผัสผู้ติดเชื้อสุกใส หรือผู้้ที่เป็นพาหะของเชื้อ
การตรวจร่างกาย
มีไข้ มีผื่นตุ่มน้ำใสตามไรผม ตุ่มน้ำใส บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ำค้างบนกลีบกุหลาบ ลามไปบริเวณหน้าลำตัว และแผนหลัง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgM ต่อไวรัสสุกใส ไวรัสงูสวัด (VZV) ด้วยเทคนิค ELISA เป็นการตรวจหาการติดเชื้อของโรคสุกใสและงูสวัด
การตรวจหาแอนติบอดี IgG ต่อไวรัสสุกใสไวรัสงูสวัด (VZV) ด้วยเทคนิค ELISA เป็นการตรวจหาภูมิต้านทานต่อโรคสุกใสและงูสวัด
การพยาบาล
ระยะก่อนตั้งครรภ์
แนะนำให้สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่วางแผนตั้งครรภ์ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันสุกใสก่อนการตั้งครรภ์ โดยหลีกเลี่ยงการรับวัคซีนในระยะตั้งครรภ์
ระยะตั้งครรภ์
แนะนำให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง วิตามินซีสูง รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง โดยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคโดยอธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจถึงภาวะของโรค การแพร่กระจายเชื้อและการปฏิบัติตน
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึก เพื่อลดความวิตกกังวลของสตรีตั้งครรภ์และครอบครัว
ระยะหลังคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัง Universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังคลอด
ระยะหลังคลอด
กรณีที่มารดามีอาการ ให้แยกทารกแรกเกิดจากมารดาในระยะ 5 วันแรกหลังคลอด เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากมารดา
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค โดยการใช้หลัก Universal precaution ในการสัมผัสน้ำคาวปลา
กรณีพ้นระยะการติดต่อ หรือมารดามีการตกสะเก็ดแล้ว สามารถแนะนำเกี่ยวกับการให้นมมารดาได้
แนะนำการรับประทานอาหารโปรตีนและวิตามินซีสูง พักผ่อนเพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
โรคติดเชื้อไซโทเมกะโรไวรัส (Cytomegalovirus:CMV)
พยาธิสรีรภาพ
เชื้อ CMV ติดต่อเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ทั้งทางตรงและทางอ้อม ประชากรส่วนใหญ่มักจะได้รับเชื้อไวรัสชนิดนี้ตั้งแต่วัยเด็ก โดยมีอาการของโรค นอกจากบางกลุ่มที่อาจเป็นโรค Monocucleosis ซึ่งมีอาการไข้สูงเป็นเวลานาน มีตับอักเสบเล็กน้อย ดังนั้นในกลุ่มประชากรส่วนใหญ่ การติดเชื้อ CMV ไม่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อ CMV ก่อให้เกิดอาการโรคที่รุนแรงในกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ การติดเชื้อในทารกในครรภ์ คนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ และผู้ติดเชื้อ HIV
อาการและอาการแสดง
ไข้สูงนาน ปวดกล้ามเนื้อ มีอาการปวดบวม ตับอีกเสบ และอาการทางสมอง การติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์เป็นการติดเชื้อในครรภ์ตรวจได้จากปัสสาวะภายใน 2 สัปดาห์หลังคลอด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ขณะตั้งครรภ์ระบบภูมิคุ้มกันจะลดลง หากไวรัส CMV ที่แฝงตัวอยู่ มีการติดเชื้อซ้ำ หรือติดเชื้อใหม่ในขณะตั้งครรภ์ จะทำให้มีการดำเนินโรครุนแรงขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อแท้ง คลอดก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด มีการติดเชื้อของถุงน้ำคร่ำ
ผลกระทบต่อทารก
ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อภาวะ IUGR แท้ง Frtal distress คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดน้อย ทารกเสียชีวิตในครรภ์ และตายคลอด
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
เกี่ยวกับประวัติการติดเชื้อในอดีต
การตรวจร่างกาย
มีไข้ คออักเสบ ต่อมน้ำเหลืองโต ข้ออักเสบ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การเจาะเลือดส่งตรวจพบ Atypical Lymphocytes และเอ็นไซน์ตับสูงขึ้น
Amniocentesis for CMV DNA PCR เพื่อยืนยันการติดเชื้อของทารกในครรภ์
การตรวจ Plasma specimen for culture
การตรวจพิเศษ
การตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง เพื่อดูพัฒนาการและความผิดปกติของทารกในครรภ์
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ซักประวัติ เพื่อคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกรายเกี่ยวกับการเจ็บป่วยติดเชื้อ CMV ในอดีต
อธิบายสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวทราบเกี่ยวกับโรค
แนะนำและเน้ย้ำให้เห็นความสำคัญของการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังคลอด
ระยะหลังคลอด
ให้การดูแลในระยะหลังคลอดเหมือนมารดาทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
งดให้นมมารดา หากมารดาหลังคลอดมีการติดเชื้อ
แนะนำการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นย้ำเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความสำคัญของการมาตรวจตามนัดหลังคลอด
การติดเชื้อโปรโตซัว (Toxoplasmosis)
เป็นการติดเชื้อที่เกิดจากปรสิต คือ Toxoplasma gondii ซึ่งเป็นโปรโตซัวชนิดอาศัยในเซลล์โดยติดเชื้อได้ทั้งในคนและสัตว์ โดยทั่วไปการติดเชื้อนี้มักหายได้เองหรือไม่มีอาการ ยกเว้นในกลุ่มคนที่มีความบกพร่องของภูมิต้านทาน รวมทั้งการติดเชื้อของทารกในครรภ์และเด็กแรกเกิดซึ่งภูมิต้านทานยังสมบูรณ์ หรืออาจทำให้เกิดโรคทาง retina ในผู้ใหญ่อีกด้วย โดยทั่วไปการติดเชื้อในคนมักไม่มีอาการ แต่การติดเชื้อในทารกในครรภ์อาจก่อให้เกิดความพิการรุนแรงได้
อาการและอาการแสดง
มักไม่ค่อยแสดงอาการ ถ้ามีจะมีอาการน้อย คือ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ แต่อาจมีกลุ่มอาการของ Mononucleosis รายที่รุนแรงจะมีพยาธิที่สมอง Chrorioretinitis ปอดบวม กล้ามเนื้อหัใจอักเสบ รายที่รุนแรงมักพบในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตีตั้งครรภ์
การแท้ง คลอดก่อนกำเนิด ถุงน้ำคร่ำและเยื่อหุ้มทารกอักเสบ ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารก
ทารกคิดเชื้อในครรภ์ กรณีที่ทารกมีการติดเชื้อแต่กำเนิดทารกแรกเกิดจะมีลักษณะสำคัญ คือ ไข้ ชัก ทารกหัวบาตร microephaly, chrioretinitis, หันปูนจับในสมอง ตับและม้ามโต ตาและตัวเหลือง ทารกมักเสียชีวิตหลังคลอด และทารกที่ติดเชื้อ สมองและตาจะถูกทำลาย
การประเมินและการวินิฉัย
การซักประวัติ
ประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรค
การตรวจร่างกาย
มักไม่แสดงอาการ หรือมีอ่อนเพลียเล็กน้อย อาจพบภาวะปอดบวม หัวใจอักเสบ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจเลือดหา DNA ของเชื้อ
การวินิจฉัยก่อนคลอด โดยกาตรวจสายสะดือทารกหรือน้ำคร่ำ
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค เปิดโอกาสให้ซักถาม
ติดตามผลการตรวจเลือด
เน้นการรักษาอย่างต่อเนื่อง การรับประทานยา
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution เพื่อป้องกันการกระจายเชื้อ
ภายหลังทารกคลอดเช็ดตาด้วย 0.9% NSS เช็ดตาทันที จากนั้นป้ายตาด้วย 1% tetracyclin ointment
ระยะหลังคลอด
เฝ้าระวังการตกเลือดและการติดเชื้อหลังคลอด
แนะนำการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นเรื่องการรักษาความสะอาด การมาตรวจตามนัด
การติดเชื้อไวรัสซิก้า (Zika)
อาการและอาการแสดง
ส่วนใหญ่มักมีอาการไข้ ผื่นแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
มักแสดงอาการมากในไตรมาสที่ 3 อาการที่พบบ่อยคือ มีผื่นขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ และบางการศึกษาพบผื่นหลังคลอด อาการอื่น ๆ ที่พบ คือ อาการไข้ หนาวสั่น รู้สึกไม่สุขสบาย ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อตึงตัว อาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง ตัวตาเหลือง ชา อัมพาตครึ่งซีก ปวดศีรษะ ตาแดงและเยื่อบุตาอักเสบ
ผลกระทบต่อทารก
มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท ตาและการมองเห็น ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ทารกตายในครรภ์ และตายหลังคลอด นอกจากนี้ภาวะศีรษะเล็กในทารกเป็นภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทหลักที่พบได้
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
ซักประวัติอาการของผู้ป่วย
การตรวจร่างกาย
มีไข้ อ่อนแรง เยื่อบุตาอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองโต ตัวเหลือง ซีด บวมปลายมือปลายเท้า เลือดออกตามผิวหนัง มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ
การทดสอบทางห้องปฏิบัติการ
โดยใช้สิ่งส่งตรวจ เช่น เลือด ปัสสาวะ น้ำลาย เทคนิคที่ใช้ในการตรวจ ได้แก่ การตรวจหาพันธุกรรมของเชื้อด้วยวิธี Reverse Transcriptase Chain Reaction
การตรวจพิเศษ
การตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง เพื่อประเมินเส้นรอบศีรษะทารกในครรภ์
การพยาบาล
ให้คำแนะนำในการป้องกันสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคติดต่อเชื้อไวรัสซิกา อาการและอาการแสดงของโรค ความรุนแรงของโรค วิธีการปฏิบัติเมื่อสงสัยว่าบุคคลในบ้านป่วยเป็นโรคโดยเฉพาะสตรีตั้งครรภ์และการป้องกันโรค
ใช้ยากำจักแมลงหรือยาทาป้องกันยุงกัด
นอนในมุ้ง และปิดหน้าต่าง ปิดประตูหรือใช้มุ้งลวดป้องกันยุงเข้าบ้าน
สวมเสื้อผ้าเนื้อหนา สีอ่อน ๆ ที่สามารถคลุมผิวหนังและร่างกายได้มิดชิด
การติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์
อธิบายเกี่ยวกับการดำเนินของโรค
ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิ หากมีไข้ดูแลให้ได้รับยาลดไข้ตามแผนการรักษา
เตรียมสตรีตั้งครรภ์เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และติดตามเพื่อรายงานแพทย์
ประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ โดยการฟังเสียงหัวใจทารก การวัดระดับยอดมดลูก การส่งตรวจและติดตามผลการทำ NST การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง และประเมินการดิ้นของทารกในครรภ์
โรคโควิด-19 กับการตั้งครรภ์ COVID-19 during Pregnancy)
อาการและอาการแสดง
ไม่มีอาการแสดงใด ๆ และมีอาการและอาการแสดงของอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป หรือให้ประวัติว่ามีไข้ในการป่วยครั้งนี้ร่วมกับมีอาการของระบบหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจติดขัด หรือหายใจลำบาก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์ทำให้การดำเนินของโรครุนแรงขึ้นเนื่องจากภูมิต้านของร่างกายขณะตั้งครรภ์ลดต่ำลง สตรีตั้งครรภ์เสี่ยงตอการคลอดก่อนกำหนด มีการติดเชื้อของเยื่อหุ้มเด็กเล็ก ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด รกเสื่อม และรกลอกตัวก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารก
ทารกในครรภ์พัฒนาการล่าช้า คลอดน้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
ประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสผู้ติดเชื้อ ระยะเวลาและประวัติการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง และมีการแพร่ระบาดรวมถึงประวัติอาการและอาการแแสดงของโรค
การตรวจร่างกาย
มีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ไอแห้ง หายใจติดขัด อาจมีคัดจมูก มีน้ำมูก เจ็บคอ ไอเป็นเลือด หรือท้องเสีย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจเลือดจะพบเม็ดเลือดขาวต่ำ โดยเฉพาะ lymphocyte ค่า C-reative protein สูงขึ้น เกล็ดเลือดต่ำ ค่าเอนไซม์และ creatine phosphokinase สูง
การยืนยันการติดเชื้อไวรัส โดยตรวจหา viralnucleic acid
ให้ส่งส่งคัดหลั่งตรวจหาเชื้อไวรัสอื่น ๆ
การส่งเพาะเชื้อแบคทีเรียจากเลือด
การตรวจพิเศษ
การตรวจเอกซเรย์ปอดหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องอกพบมีปอดอักเสบ
การพยาบาล
การดูแลและการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19
หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการไอ เป็นไข้ หรือผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง
การรักษาระยะห่าง social distancing ในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น ด้วยการอยู่ห่างกัน 1-2 เมตร
หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสบริเวณดวงตา ปาก และจมูก
รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่เสมอ หรือปรุงอาหารให่สุกร้อนทั่วถึง
การดูแลสตรีตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีประวัติการเดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงหรือสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วย COVID-19 ควรปฏิบัติ
แยกตนเองออกจากครอบครัว และสังเกตอาการจนครบ 14 วัน งดการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
งดการออกไปในที่ชุมชนสาธารณะโดยไม่จำเป็น และงดการพูดคุย หรืออยู่ใกล้ชิดผู้อื่นในระยะใกล้กว่า 2 เมตร
กรณีครบกำหนดนัดฝากครรภ์ ต้องแจ้งพยาบาลผดุงครรภ์ให้ทราบว่าตนเองอยู่ในระหว่างหารเฝ้าระวัง