Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 9 การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ - Coggle Diagram
บทที่ 9 การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ
[2]แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะและ
การขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
2.1) แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ
1) แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะในคนปกติ
(4) ตลอดการถ่ายปัสสาวะจะไม่มีอาการเจ็บปวด
(5) ปัสสาวะช่วงแรกจะพุ่งแรงและใหญ่กว่าตอนสุด
(3) เวลาที่ใช้ในการถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้งมักไม่เกิน 30 วินาที
(6) ปัสสาวะประมาณ 4-6 ครั้งต่อวัน และปัสสาวะกลางวันบ่อยกว่ากลางคืน
(2) กรณีอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ทันที ต้องสามารถกลั้นได้ และเมื่อจะปัสสาวะก็สามารถปัสสาวะได้ทันที
(7) มักถ่ายปัสสาวะก่อนนอน ตอนเช้าหลังตื่นนอน ก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร
(1) อยากถ่ายปัสสาวะเมื่อมีปริมาณปัสสาวะอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ 100-400 มิลลิลิตร
(8) การถ่ายปัสสาวะจะเว้นช่วงห่างประมาณ 2–4 ชั่วโมงในเวลากลางวัน
และ 6-8 ชั่วโมง ในเวลากลางคืน
(9) จำนวนปัสสาวะประมาณ 250-400 มิลลิลิตรต่อครั้ง
หรือไม่ควรน้อยกว่า 30 มิลลิลิตร ใน 1 ชั่วโมง
(10) Residual urine ไม่ควรเกิน 50 มิลลิลิตร ในผู้ใหญ่
และไม่ควรเกิน 100 มิลลิลิตรในผู้สูงอายุ
2) ลักษณะของปัสสาวะที่ปกติ
(4) มีความเป็นกรดอ่อนๆ pH ประมาณ 4.6-8.0
(5) มีความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) ประมาณ 1.015-1.025
(3) สีเหลืองจางจนถึงสีเหลืองเข้ม สีเหลืองฟางข้าว หรือสีเหลืองอำพัน
(6) เมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic examination) ไม่พบ Casts, Bacteria, Albumin หรือน้ำตาล ไม่พบเม็ดเลือดแดง
(2) ลักษณะใส ไม่ขุ่น ไม่มีตะกอน
(7) ปัสสาวะใหม่มีกลิ่นแอมโมเนียอ่อนๆ ถ้าตั้งทิ้งไว้นานๆ จะได้กลิ่นแอมโมเนียที่แรง
(1) ปริมาณปัสสาวะปกติในผู้ใหญ่ ประมาณวันละ 800–1,600 มิลลิลิตร
2.2) การขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
4) ปัสสาวะตอนกลางคืน (Nocturia) เป็นภาวะที่มีการถ่ายปัสสาวะในตอนกลางคืน
มากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป
5) ปัสสาวะขัด ปัสสาวะลำบาก (Dysuria) เป็นภาวะที่มีการเบ่งถ่ายปัสสาวะ ต้องใช้เวลาและใช้แรงในการเบ่งเพิ่มขึ้น
3) ปัสสาวะมากกว่าปกติ (Polyuria หรือ Diuresis) เป็นภาวะที่ไตผลิตปัสสาวะออกมาจำนวนมากกว่าปกติ
6) ถ่ายปัสสาวะบ่อยหรือกะปริบกะปรอย (Pollakiuria) เป็นภาวะที่มีการถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งกว่าปกติ
2) ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ (Oliguria) เป็นภาวะที่มีปัสสาวะน้อยกว่า 500 มิลลิลิตร
ใน 24 ชั่วโมง
7) ปัสสาวะรดที่นอน (Enuresis) เป็นภาวะที่มีปัสสาวะไหลออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ
ในเด็กที่มีอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป
1) ไม่มีปัสสาวะ (Anuria/Urinary suppression) เป็นภาวะที่มีปริมาณปัสสาวะ
น้อยกว่า 50 มิลลิลิตรต่อวัน
8) ปัสสาวะคั่ง (Urinary retention) เป็นภาวะที่มีน้ำปัสสาวะคั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะเป็นจำนวนมากกว่าปกติและไม่สามารถจะถ่ายปัสสาวะออกมาได้
9) กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้ (Urinary incontinence)
เป็นภาวะที่ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้
(1) กลั้นปัสสาวะไม่อยู่โดยสิ้นเชิง (True Incontinence)
(2) กลั้นปัสสาวะไม่ทัน หรือ ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน
(Urge incontinence/ Urgency/ Overactive bladder)
(3) ปัสสาวะเล็ด (Stress incontinence)
(5) ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ที่เกิดจากภาวะหรือโรคอื่น ๆ (Functional Incontinence)
(4) ปัสสาวะท้น (Overflow incontinence)
[1]ปัจจัยที่มีผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะ
1.2) น้ำและอาหาร (Food and fluid)
1) จำนวนน้ำที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake) ถ้าร่างกายได้รับน้ำมากจำนวนครั้งของการขับถ่ายและปริมาณปัสสาวะก็จะมาก
2) จำนวนน้ำที่ร่างกายสูญเสีย (Loss of body fluid) เช่น
การสูญเสียเหงื่อ มีไข้สูง เสียเลือดมาก อาเจียน ท้องเสีย เป็นต้น
3) อาหารที่ร่างกายได้รับ (Food intake)เช่น อาหารที่มีความเค็มมาก ปัสสาวะจะออกน้อยลงและเข้มข้นมากเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนจะทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น
1.3) ยา (Medication)
ยาที่ขับออกทางระบบปัสสาวะจะส่งผลให้สีของน้ำปัสสาวะเปลี่ยนแปลง
ยาที่มีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติจะรบกวน
การขับถ่ายปัสสาวะทำให้ปัสสาวะคั่ง
1.1) อายุ (Age)
1) วัยเด็ก เด็กทารกกระเพาะปัสสาวะมีความจุน้อย
การขับถ่ายปัสสาวะจึงบ่อยครั้งกว่าผู้ใหญ่
2) ผู้สูงอายุ เมื่อมีน้ำปัสสาวะเพียง 150-200 มิลลิลิตร กระเพาะปัสสาวะก็และทำให้ถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้น
1.4) ด้านจิตสังคม (Psychosocial factors)
ความเครียดและความวิตกกังวลกระตุ้น ให้อยากถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
ความกลัวที่รุนแรงอาจทำให้กลั้นปัสสาวะไม่ได้
ความปวดมีผลยับยั้งการถ่ายปัสสาวะ
ความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะเมื่อได้ยินคนพูดเรื่องถ่ายปัสสาวะหรือได้ยินเสียงน้ำไหล
1.5) สังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural factor)
วัฒนธรรมที่ถือความเป็นส่วนตัวสูง
การขับถ่ายปัสสาวะเป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่ต้องการให้ใครเห็น
1.6) ลักษณะท่าทาง (Body position)
ผู้ชายจะใช้ท่ายืนซึ่งพบว่าผู้ชายบางรายจะมีปัญหา
ในการขับถ่ายปัสสาวะเมื่ออยู่ในท่านอนราบ
ผู้หญิงจะใช้ท่านั่ง ถ้าจำเป็นต้องใช้หม้อนอนบนเตียงราบ
อาจจะไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้หมด
1.7) กิจกรรมและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
(Activity and Muscle tone)
2) ผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะไว้เป็นเวลานาน ทำให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวน้อยลงเนื่องจากปัสสาวะไหลตลอดเวลา
3) สตรีในภาวะหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ก็ทำให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวลดลง
1) การออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำให้การเผาผลาญอาหารเพิ่มขึ้น
4) ผู้ที่นอนอยู่บนเตียงนาน ๆ ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว มีผลทำให้ความตึงตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อหูรูดลดลง
1.8) พยาธิสภาพ (Pathologic conditions)
พยาธิสภาพของโรคหลายชนิดมีผลต่อ
การสร้างปัสสาวะทั้งปริมาณและคุณภาพ
ในสตรีตั้งครรภ์มดลูกมีการขยายตัวขึ้นทำให้กดทับกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้ความจุของกระเพาะปัสสาวะลดลง
1.9 การผ่าตัดและการตรวจเพื่อการวินิจฉัยต่าง ๆ (Surgical and diagnostic procedure)
3) การฉีดยาชาที่ไขสันหลัง ส่งผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะของผู้ป่วย
ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะ
2) การส่องกล้องเพื่อตรวจในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (Cystoscopy)
1) ความเครียดและความวิตกกังวลในกระบวนการรักษาทำให้ร่างกายหลั่ง ADH
[4]หลักการส่งเสริมสุขภาพในระบบทางเดินปัสสาวะ
4.1) ส่งเสริมให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ ควรได้รับน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว หรือประมาณ 1,500-2,000 มิลลิลิตร อาจต้องเพิ่มขึ้นให้สัมพันธ์กับจำนวนน้ำที่สูญเสียออกจากร่างกาย
4.2) ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
3) ดื่มน้ำ 2 แก้วก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์
4) อาบน้ำด้วยฝักบัวแทนอาบในอ่างอาบน้ำ
2) ฝึกถ่ายปัสสาวะบ่อยๆ ทุก 2-4 ชั่วโมง
5) ใส่ชุดชั้นในที่ทำด้วยผ้าฝ้ายดีกว่าทำด้วยไนล่อน
1) ดื่มน้ำ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
6) หลีกเลี่ยงการใส่กางเกงที่แน่นหรือคับเกินไป
7) เพิ่มความเป็นกรดของปัสสาวะ โดยการรับประทานวิตามินซี
และดื่มน้ำผลไม้ที่เป็นกรด
8) ใช้ Estrogen cream ตามแผนการรักษาของแพทย์
4.3) ส่งเสริมให้กล้ามเนื้อทำงานอย่างเต็มที่ การกระตุ้นให้บริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันกล้ามเนื้อหย่อนสมรรถภาพได้
4.4) การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ กรณีปัสสาวะไม่ออก
2) ช่วยให้ผู้ป่วยได้ถ่ายปัสสาวะในท่าที่สะดวกเป็นธรรมชาติ
3) การเปิดก๊อกน้ำให้ได้เห็น หรือได้ยินเสียงน้ำไหล
1) จัดให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียวในที่มิดชิดขณะถ่ายปัสสาวะ
4) การใช้ความร้อนช่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ
5) ให้เวลาในการขับถ่ายปัสสาวะ ไม่เร่งรัดผู้ป่วยเกินไป
6) ช่วยกดหน้าท้องเบาๆ เหนือบริเวณกระเพาะปัสสาวะ
4.5) สอนให้นวดกระเพาะปัสสาวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความบกพร่องที่ระบบประสาทควบคุมการถ่ายปัสสาวะ
4.6) เสริมสร้างนิสัยของการถ่ายปัสสาวะ เป็นวิธีที่ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีความบกพร่องเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในช่วงเวลาถ่ายปัสสาวะที่ยาวนานมาก
4.7) การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ กรณีที่ไม่สามารถไปห้องน้ำได้
ผู้ป่วยเป็นผู้ชาย ใช้กระบอกปัสสาวะ (Urinal)
ผู้ป่วยเป็นผู้หญิง ใช้หม้อนอน (Bedpan)
[3]ส่วนประกอบของปัสสาวะที่ผิดปกติ
3.2) น้ำตาลในปัสสาวะ (Glycosuria) ภาวะที่มีน้ำตาลปนออกมาในน้ำปัสสาวะ โดยคนปกติจะตรวจไม่พบน้ำตาลในปัสสาวะ
3.1) ปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria) ภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงปนออกมาในน้ำปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะเป็นสีแดง อาจเห็นชัดเป็นเลือดสดๆ
3.3) โปรตีนในปัสสาวะ (Proteinuria หรือ Albuminuria) ภาวะที่มีโปรตีนหรือแอลบูมิน ในปัสสาวะมากกว่า 150 มิลลิกรัมต่อวัน
3.4) คีโตนในปัสสาวะ (Ketonuria) ภาวะที่ตรวจพบคีโตนในน้ำปัสสาวะโดยคีโตนเป็นผลจากการเผาผลาญไขมันให้เป็นพลังงาน
3.5) ปัสสาวะมีสีเหลืองน้ำตาลของบิลิรูบิน (Bilirubinuria หรือ Choluria) ภาวะที่ตรวจพบ
บิลิรูบินในน้ำปัสสาวะ
3.6) ปัสสาวะมีสีดำของฮีโมโกลบิน (Hemoglobinuria) ภาวะที่ตรวจพบบิลิรูบินในน้ำปัสสาวะ
3.7) ปัสสาวะเป็นหนอง (Pyuria) ภาวะปัสสาวะที่มีเซลล์หนอง เม็ดเลือดขาว
ในน้ำปัสสาวะบางครั้ง
3.8) นิ่วในปัสสาวะ (Calculi) ภาวะที่มีก้อนนิ่วปนออกมากับน้ำปัสสาวะเนื่องจากมีการตกตะกอนของเกลือแร่ในร่างกาย
3.9) ไขมันในปัสสาวะ (Chyluria) ภาวะปัสสาวะที่มีไขมันออกมาในน้ำปัสสาวะทำให้เห็น
ปัสสาวะเป็นสีขาวขุ่น
[5]การสวนปัสสาวะ
5.2) ชนิดของการสวนปัสสาวะ
1) การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว (Intermittent catheterization)
เป็นการใส่สายสวนปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ
2) การสวนคาสายสวนปัสสาวะ (retained catheterization)
เป็นการสอดใส่สายสวนปัสสาวะชนิด Foley catheter
ผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ
5.3) อุปกรณ์
3) สารหล่อลื่นสายสวนชนิดละลายน้ำได้
2) ชุดสวนปัสสาวะที่ปราศจากเชื้อ (Sterile catheterization set)
1) ชุดทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ 1 ชุด
5) กระบอกฉีดยาปลอดเชื้อ (Sterile syringe)
ขนาด 10 มิลลิลิตร 1 อัน
6) Transfer forceps
4) น้ำกลั่นปลอดเชื้อ (Sterile water) และน้ำยาทำลายเชื้อ
(Antiseptic solution)
8) โคมไฟ หรือไฟฉาย
7) ถุงรองรับปัสสาวะปลอดเชื้อและเป็นระบบปิด
(Sterile urine bag) 1 ใบ
9) พลาสเตอร์, เข็มกลัด, ผ้าปิดตา
10) สายสวนปัสสาวะ การเลือกใช้สายสวนปัสสาวะ
ควรพิจารณาวัตถุประสงค์ของการใช้งานและขนาดของสายสวนปัสสาวะ
5.1) วัตถุประสงค์ของการสวนปัสสาวะ
4) เพื่อเก็บน้ำปัสสาวะส่งตรวจเพาะเชื้อ
5) เพื่อสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ หรือใส่ยาในกระเพาะปัสสาวะ
3) เพื่อตรวจสอบจำนวนน้ำปัสสาวะที่เหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะ
6) เพื่อศึกษาความผิดปกติของท่อปัสสาวะ
2) เพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะว่างในผู้ป่วยที่ต้องทำหัตถการต่างๆ
7) เพื่อตรวจสอบจำนวนน้ำปัสสาวะที่ขับออกมา
ในผู้ป่วยอาการหนักอย่างถูกต้อง
1) เพื่อระบายเอาน้ำปัสสาวะออกในผู้ป่วยที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะเองได้
[6]วิธีการสวนปัสสาวะ
6.1) การสวนคาสายสวนปัสสาวะ (Indwelling หรือ Retention catheter)
(4) ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาด
(5) วางชุดสวนปัสสาวะลงบนเตียงระหว่างขาของผู้ป่วย และเปิดผ้าห่อออกด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ
(3) จัดท่า ปิดตา คลุมผ้าผู้ป่วย โดยผู้หญิงจัดท่า Dorsal recumbent position
เท้าห่างกันประมาณ 2 ฟุต ถอดผ้าถุงออกจัดผ้า (Drape) ให้เรียบร้อย
เปิดเฉพาะบริเวณฝีเย็บ (Perineum)
ผู้ชายจัดท่า Supine position ขาแยกออกจากกันเล็กน้อย
(6) เทน้ำยาลงในถ้วย บีบ KY-jelly ลงในผ้าก๊อซ (ถ้ามี) หรือในชามกลมใบใหญ่
(2) กั้นม่าน และจัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ
(7) ตรวจสอบประสิทธิภาพของบอลลูนที่ปลาย Foley catheter โดยใช้กระบอก ฉีดยาดูดน้ำกลั่นแล้วฉีดเข้าตรงปลายหางที่มีแถบสีที่ทำไว้สำหรับใส่น้ำกลั่น
(1) ล้างมือให้สะอาด เตรียมของใช้ ไปที่เตียงผู้ป่วย
(8) ค่อยๆ สอดสายสวนปัสสาวะเข้าไปในรูเปิดของท่อปัสสาวะลึก 2-3 นิ้ว (เพศหญิง)
หรือ 6-8 นิ้ว (เพศชาย) หรือจนกว่าน้ำปัสสาวะจะไหล
(9) สอดปลายสายของถุงรองรับปัสสาวะลอดบริเวณเจาะกลางออกมา ระวังอย่าให้ปลายสาย contaminate แล้วต่อหางสายสวนเข้ากับปลายสายของถุงรองรับปัสสาวะให้แน่นสนิท
6.2) การถอดสายสวนปัสสาวะที่คาไว้ (Removing Indwelling or Retention catheters)
(2) บอกผู้ป่วย ใส่ถุงมือทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ และบริเวณ Urethra meatus ให้สะอาด
(3) ต่อ Syringe เข้ากับหางของสายสวนปัสสาวะที่ใช้สำหรับใส่น้ำกลั่นแล้วดูดน้ำกลั่นออกจนหมด
(1) เตรียมเครื่องใช้ให้เรียบร้อย
(4) บอกผู้ป่วยให้หายใจเข้าออกลึกๆ เพื่อให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย ขณะที่ค่อย ๆ ดึงเอาสายสวนออกแล้วใส่ในถุงที่เตรียมไว้
(5) ใช้กระดาษชำระเช็ดบริเวณ Perineum ให้แห้ง
(6) สังเกตลักษณะจำนวนปัสสาวะในถุงก่อนเอาไปเททิ้ง
(7) กระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมาก ๆ สังเกตความผิดปกติของผู้ป่วย
[8]หลักการพยาบาลผู้ป่วยได้รับการใส่ถุงยางอนามัย
เพื่อระบายปัสสาวะ (Condom catheter)
2) ป้องกันการเกิดแผลกดทับในรายที่ต้องรักษาตัวนาน ๆ
3) ป้องกันการติดเชื้อจากการใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้
1) เพื่อรักษาความสะอาด และป้องกันการระคายเคืองของผิวหนัง
เนื่องจากสัมผัสปัสสาวะบ่อย ๆ
4) ป้องกันการอักเสบในรายที่มีแผล
[7]การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
7.2) วิธีการเก็บปัสสาวะจากสายสวนปัสสาวะที่คาไว้
2) เตรียม Syringe sterile เข็มปลอดเชื้อ Sterile swab น้ำยาฆ่าเชื้อ
1) ใช้ Clamp หนีบสายสวนปัสสาวะที่ใต้รอยต่อระหว่างสายต่อของถุงกับสายสวนไว้นานประมาณ 15–30 นาที
3) ล้างมือ สวมถุงมือสะอาด เช็ดบริเวณที่จะเก็บปัสสาวะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
4) ใช้กระบอกฉีดยาที่มีเข็มปลอดเชื้อแทงที่สายสวนปัสสาวะตรงตำแหน่งที่ทำความสะอาดฆ่าเชื้อไว้แล้ว
7.3) วิธีการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
ให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะทิ้งก่อนเริ่มเก็บ และรวบรวม น้ำปัสสาวะที่เก็บได้หลัง 08.00 น. จนครบกำหนด 24 ชั่วโมง แล้วถ่ายปัสสาวะเก็บเป็นครั้งสุดท้าย
7.1) วิธีการเก็บปัสสาวะแบบรองเก็บปัสสาวะช่วงกลาง (Clean mid-stream urine)
เก็บปัสสาวะในช่วงถัดมาประมาณครึ่งภาชนะ หรือประมาณ 30-50 ml.
โดยห้ามสัมผัสด้านในของภาชนะ แล้วปัสสาวะช่วงสุดท้ายทิ้งไป
นำปัสสาวะไปส่งให้เจ้าหน้าที่โดยเร็วที่สุด