Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจนและการดูดเสมหะ - Coggle Diagram
การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจนและการดูดเสมหะ
การประเมินภาวะพร่องออกซิเจน
การประเมินสภาพร่างกาย
ช้เทคนิคการสังเกต และการประเมินสัญญาณชีพ ประกอบด้วย อุณหภูมิร่างกาย (Temperature: T) ชีพจร (Pulse: P)
การหายใจ (Respiration: R) และความดันโลหิต (Blood pressure: BP) โดยใช้เทคนิคการสังเกตลักษณะทั่วไป
ระบบทางเดินหายใจ ระยะแรกของเซลล์พร่องออกซิเจนอย่างอ่อน สังเกตพบ ผู้ปุวยมีอาการ หายใจไม่สะดวก หายใจลำบากเมื่อนอนราบ (Orthopnea) ต้องนั่งหายใจหลังจากนอนหลับไปแล้วระยะหนึ่ง ต้องลุกขึ้นมานั่งหายใจ (paroxysmal nocturnal dyspnea) มีอาการกระสับกระส่าย การหายใจไม่สม่ำเสมอ เวลาหายใจเข้าจะลึกกว่าเวลาหายใจออก เมื่อหายใจเข้ามีเสียงดัง และแสดงอาการหายใจหอบสังเกตจากปีก จมูกบาน มีการหายใจแบบอ้าปากเสมือนว่าหิวอากาศ (air hunger) และใช้กล้ามเนื้อซี่โครงและไหล่ช่วยใน การหายใจเมื่อเกิดการขาดออกซิเจนระดับรุนแรงผู้ป่วยจะหยุดหายใจในที่สุด
ระบบหัวใจและหลอดเลือด ประเมินพบ ชีพจรเต้นเร็วผิดปกติ ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นใน ระยะแรก
เพื่อปรับชดเชย ระยะต่อมาหัวใจเต้นผิดจังหวะ บีบตัวช้าลง เจ็บหน้าอก และหัวใจหยุดเต้นในระยะ สุดท้าย
ระบบผิวหนัง ระยะแรก พบว่า ผิวหนังผู้ปุวยเย็น ซีด เพราะร่างกายจะตอบสนองต่อภาวะ พร่องออกซิเจน โดยหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญ เช่น สมอง เป็นต้น เลือดที่เลี้ยงผิวหนัง ไต ปอด เพราะต้องการออกซิเจนน้อยกว่า และทนต่อการขาดออกซิเจนได้ ต่อมาพบอาการเขียวคล้ำโดยเห็นชัด บริเวณริมฝีปาก เล็บมือเล็บเท้า และเสียชีวิตในที่สุด
ระบบประสาทส่วนกลาง สังเกตและประเมินพบ ความรู้สึกตัวของผู้ปุวยเปลี่ยนแปลง กระสับกระส่าย สับสน มึนศีรษะ ปวดศีรษะ (เนื่องจากหลอดเลือดสมองขยายตัว) เพ้อ หมดสติ หรือชัก
ระบบทางเดินอาหาร ประเมินและสังเกตพบมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนในระยะแรก
การประเมินการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ระดับค่าก๊าซในหลอดเลือดแดง (Arterial blood gas: ABG)
ค่าการอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Arterial oxygen saturation)
การตรวจหาระดับฮีโมโกลบิน (Hemoglobin: Hb)
ความสำคัญของก๊าชออกซิเจนที่มีต่อร่างกาย
ความดันออกซิเจนและการขนส่งสู่เนื้อเยื่อ หลังจากเลือดที่ออกจากปอดมีความดันออกซิเจนใน
เลือดสูงอยู่ เม็ดเลือดแดงจะปล่อยออกซิเจนจำนวนน้อยสู่กระแสเลือดเพื่อส่งไปหาเซลล์ต่างๆ
แต่เมื่อการเดินทางไปในอวัยวะที่ไกลขึ้น ความเข้มข้นออกซิเจนในเลือดลดลง เม็ดเลือดแดงจะปล่อยออกซิเจนจำนวน มากขึ้นตามลำดับ เพื่อให้ออกซิเจนออกมาอยู่ในกระแสเลือดเพื่อส่งไปสู่เซลล์
โดย เลือดเป็นตัวกลางการส่งผ่านออกซิเจนสู่เซลล์ ส่วนเม็ดเลือดแดงเป็นถังเก็บออกซิเจนที่จะค่อยๆ ปล่อยออกซิเจนออกมาเรื่อยๆ พบว่าออกซิเจนในถุงลมยิ่งเยอะ ออกซิเจนในเลือดก็ยิ่งเยอะตาม
และสุดท้ายออกซิเจนในเม็ดเลือดแดงก็จะเยอะขึ้นตาม
การทำงานของเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ขนส่งก๊าซ เม็ดเลือดแดง เป็นเซลล์เม็ดเลือดชนิดหนึ่ง มีหน้าที่ หลักในการขนและส่งก๊าซในระบบหมุนเวียน มีอายุขัยประมาณ 120 วัน ร่างกายเรามีการทำลายและการ สร้างเม็ดเลือดใหม่ตลอดเวลา แต่ละเซลล์เม็ดเลือดแดง จะมีส่วนประกอบที่เป็น Hemoglobin (ฮีโมโกลบิน) อยู่ถึง 97 % ซึ่งตัว Hemoglobin (ฮีโมโกลบิน)
นี้ทำหน้าที่ในการจับกับก๊าซเพื่อการขนส่งซึ่ง
Hemoglobin (ฮีโมโกลบิน) แต่ละตัวสามารถจับกับแก๊สได้ 4 โมเลกุล มีการศึกษาพบว่า
ในเม็ดเลือดแดงใน แต่ละเซลล์นั้นมี Hemoglobin (ฮีโมโกลบิน) มากมายถึง 50 ล้านหน่วย
การหมุนเวียน เพื่อกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เมื่อเซลล์เนื้อเยื่อขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจะมีการขนส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กลับไป ที่ปอด เพื่อทำการหายใจระบายออก กลไกการขนส่งมี 2 อย่างที่เป็นหลัก คือ การขนส่งคาร์บอนไดออกไซด์โดย hemoglobin ในเม็ดเลือดแดง คาร์บอนไดออกไซด์ไปรวมกับน้ า เพื่อเกิดสารประกอบ กรดคาร์บอนิก (H2CO3) และแตกตัวเป็นไฮโดรเจนไออน (H+) กับไบคาร์บอเนต (HCO3)
ความปลอดภัยขณะผู้ป่วยได้รับออกซิเจน
ข้อควรปฏิบัติและต้องคำนึงถึง
อาจเกิดการทำลายเนื้อเยื่อในปอด
อาจเกิดอันตรายกับดวงตา (retrolental fibroplasias)
อาจทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจแห้งและเกิดการระคายเคืองได้
อาจเกิดการหยุดหายใจ ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
อาจเกิดการติดเชื้อโรคแทรกซ้อน
อาจเกิดอุบัติเหตุจาการเกิดไฟไหม้หรือการระเบิด
บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
การให้ออกซิเจนเพื่อการรักษา (Oxygen therapy)
ข้อควรระวังและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ออกซิเจน
อาจเกิดภาวะกดการหายใจผู้ป่วยที่หายใจเอง
อาจเกิดภาวะปอดแฟบ (lung atelectasis) ออกซิเจนเป็นพิษ (oxygen toxicity) หรือกด การทำงานของ cilia ที่กำลังพัดโบกกำจัดสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ และระบบภูมิคุ้มกันเม็ดเลือดขาว เพื่อให้ความเข้มข้นของออกซิเจนขณะหายใจเข้า
ควรระวังการให้ออกซิเจนในผู้ป่วยที่ได้รับพิษจาก paraquat เช่น ยาฆ่าหญ้า เป็นต้น หรือ ผู้ปุวยที่ได้รับยาเคมีบำบัด อาจทำให้เสริมฤทธิ์ของสารพิษที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายเร็วขึ้น
ขณะทำผ่าตัดด้วยวิธีเลเซอร์ในทางเดินหายใจ ควรจำกัดความเข้มข้นของออกซิเจนที่ใช้ในต่ำ ที่สุด เพื่อหลีกเลี่ยงการติดไฟ ด้วยคุณสมบัติเคมีของออกซิเจนเอง
ควรระวังการให้ความชื้นร่วมกับออกซิเจนโดยเฉพาะการให้ความชื้นแบบ nebulizer สามารถเพิ่มภาวะการติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินหายใจได้ เนื่องจากการสูดดมโดยตรง
การมีความเข้มข้นระดับสูงของออกซิเจน บริเวณที่เกิดไฟไหม้จะทำให้ขบวนการติดไฟ เพิ่มความรุนแรงยิ่งขึ้น
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจน
ดูแลทางเดินหายใจโดยท่าทางเดินหายใจ(Clear air way) ให้โล่งตลอดเวลา เพื่อปูองกันไม่ให้ ขาดออกซิเจน จากการที่ออกซิเจนไม่สมารถผ่านเข้าสู่ถุงลมได้
ดูแลด้านจิตใจ เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยและญาติ
หมั่นตรวจดูอุปกรณ์ที่ให้ออกซิเจน
หมั่นสังเกตและประเมินภาวะของผู้ป่วยเกี่ยวกับ
ตรวจวัดสัญญาณชีพ
ความผิดปกติของสีผิว ดูลักษณะบริเวณริมฝีปาก เล็บมือ เล็บเท้า ผิวหนังว่ามีอาการ เขียวหรือไม่ ในรายที่ให้ออกซิเจนทางกระโจมสังเกตอาการหนาวสั่นด้วย
ระดับความรู้สึกตัว
วัดปริมาตรหายใจเข้า-ออกต่อครั้ง (Tridal Volume) ในกรณีที่ผู้ป่วยอาการหนักและมีเครื่องมือวัดโดยเฉพาะ
ติดตามผลค่าก๊าซให้ออกซิเจน (Blood gas)
ข้อชี้บ่งของการให้ออกซิเจน
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ hypoxemia ตามมาหลังได้รับการรักษาเบื้องต้นแล้ว เช่น ผู้ป่วยหลัง โดนไฟไหม้ เป็นต้น
เกิดภาวะบาดเจ็บขั้นรุนแรง (severe trauma)
มีภาวะขาดออกซิเจนในเลือด คือ มีภาวะPaO2 < 60 mmHg หรือ SaO2 < 90 % เมื่อหายใจเข้าในบรรยากาศปกติ
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิดเฉียบพลัน (acute myocardial infarction: MI)
การให้ออกซิเจนเป็นเวลาช่วงสั้น ๆ ในการทำผ่าตัด เช่น หลังการดมยาสลบ หรือการทำผ่าตัดใหญ่ เป็นต้น
วัตถุประสงค์ของการให้ออกซิเจนเพื่อการรักษา
เป็นการลดอาการขาดออกซิเจนเรื้อรัง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคถุงลมโปุงฟอง
เป็นการช่วยการทำงานของระบบทางเดินหายใจ หัวใจ และระบบการไหลเวียนโลหิตและหลอดเลือดจากภาวะพร่องออกซิเจน
เป็นการรักษาภาวะพร่องออกซิเจนทำให้ออกซิเจนในเลือดต่ำ โดยวิธีการเพิ่มปริมาณ ออกซิเจนในถุงลมปอด และกระแสเลือด
อาการและอาการแสดงของภาวะขาดออกซิเจน
อัตราการเต้นของชีพจรเร็วขึ้น (increase pulse rate) ขั้นรุนแรง และพบ bradycardia
ในช่วงแรกอัตราการหายใจเร็วและลึก (increase rate and depth respiration) ระยะ ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นหายใจสั้นและตื้น (shallow and slow respiration)
แสดงพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป (behavior changes)
ความดันโลหิตลดลง (blood pressure will decrease)
มีอาการวิงเวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุน (vertigo)
หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ (cardiac dysthymias)
ความอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าเพิ่มขึ้น (increased fatigue)
มีภาวะซีด (pallor)
ระดับความรู้สึกตัวลดลง (decreased level of consciousness)
มีอาการเขียวคล้ำ(cyanosis)
ระดับการมีสมาธิลดลง (decreased ability to concentrate)
กรณีเป็นภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง พบนิ้วปุ้ม(clubbing)
วิตกกังวล (anxiety) กระสับกระส่าย (restlessness)
อาการหายใจลำบาก (dyspnea)
ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับออกซิเจนของบุคคล
ความเครียด
อาหารที่มีไขมันมาก
การเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายหนัก ๆ
ผู้สูงอายุ
อยู่ในที่ที่มีมลพิษสูง
การสูบบุหรี่
การเดินทางหรืออาศัยในที่สูง
การดื่มสุราและเครื่องดื่มที่เป็นแอลกอฮอล
เทคนิคการพยาบาลที่เกี่ยวข้องในการให้ออกซิเจนแบบต่างๆ และการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาในการได้รับออกซิเจน การดูดเสมหะ และการเก็บเสมหะส่งตรวจ
อุปกรณ์และวิธีการให้ออกซิเจนเพื่อการรักษา
ระบบการให้ออกซิเจน
ระบบการไหลของออกซิเจนชนิดต่ำ(Low flow system)
การให้ออกซิเจนชนิดเขี้ยว (nasal cannula) หรือ nasal prongs
ข้อดี ผู้ป่วยสามารถดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารได้โดยไม่ต้องปลดสายออก ไม่ค่อยรู้สึก อึดอัดหรือรำคาญมากนัก และติดต่อสารกับผู้อื่นได้สะดวก
ข้อเสีย อาจมีการระคายเคืองช่องจมูกทั้งสองข้าง ทำให้เยื่อบุจมูกบวมและมีน้ ามูกออกมาอุดทำ ให้ท่อตันได้ จึงควรทำความสะอาดท่อและรูจมูกทุก 8 ชั่วโมง และปรับสายรัดรอบศีรษะของผู้ปุวยให้ พอเหมาะปรับอัตราไหลของออกซิเจน และเฝ้าระวังการเกิดแผลกดทับบริเวณใบหูที่กดกับสายยาง
การให้ออกซิเจนทางหน้ากาก (mask)
Simple mask
Reservoir bag (partial rebreathing mask)
Non rebreathing mask
ระบบการไหลของออกซิเจนชนิดสูง (High flow system)
การให้ออกซิเจนชนิดT- piece
การให้ออกซิเจนทางท่อหลอดลม (tracheostomy collar)
การให้ออกซิเจนชนิด croupette tent
การให้ออกซิเจนชนิด hood หรือ oxygen box
การให้ออกซิเจนทางท่อช่วยหายใจ (endotracheal tube: ET)
ระบบให้ความชื้น (Humidification)
ชนิดละอองโต (Bubble)
ชนิดละอองฝอย (Jet)
สาเหตุและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ
Dyspnea อาการหายใจลำบาก
สาเหตุของการหายใจลำบาก
สาเหตุเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น ทางเดินหายใจอุดกั้น
สาเหตุเกี่ยวกับหัวใจ เช่น การทำงานของหัวใจไม่ดี เนื่องจากกล้ามเนื้อบางส่วนของหัวใจตาย
สาเหตุเกี่ยวกับประสาท ท าให้การควบคุมการหายใจไม่ดี เช่น โรคไขสันหลังอักเสบ ผู้ปุวยที่หายใจลำบากอาจมีเสียง wheeze ร่วมด้วย อาการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากมีการหดเกร็งของ กล้ามเนื้อรอบหลอดลม ทำให้ผู้ปุวยหายใจเข้าออกไม่สะดวก เวลาหายใจอาจมีเสียง wheeze ดังได้ยิน ชัดเจน อาการนี้พบได้ในโรคหืด หรือหลอดลมอักเสบ เป็นต้น
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการหายใจลำบาก
ดูแลประคับประคองด้านจิตใจ และประเมินสัญญาณชีพตามความเหมาะสม ทุก 1 - 2 ชั่วโมง
เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ สำหรับช่วยเหลือผู้ปุวยฉุกเฉิน เช่น การใส่ท่อช่วย หายใจ (endotracheal tube: ET) เป็นต้น
ดูแลให้ผู้ปุวยนอนศีรษะสูง และให้ออกซิเจนร่วมด้วย
ดูแลให้ยาขยายหลอดลม หรือยาขับเสมหะ ตามแผนการรักษา
ดูแลให้ออกซิเจนชนิดละอองฝอย (nebulizer) เพื่อให้หายใจสะดวก
ฝึกให้ผู้ปุวยหายใจและการไออย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดอาการหายใจลำบากโดยหายใจ ด้วยกล้ามเนื้อกระบังลม (หายใจเข้าท้องพอง หายใจออกท้องแฟบ) หายใจออกทางปาก โดยห่อริมฝีปาก (pursed – lip breathing) ในกรณีที่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ การหายใจโดยวิธีนี้จะช่วยให้ทางเดิน หายใจไม่ปิดในขณะหายใจออก อากาศจะค้างในปอดน้อยลง ระยะเวลาในการหายใจออกจะมากขึ้น และจะช่วยให้เสมหะที่อยู่ในปอดส่วนลึก ๆ ถูกขับออกมาได้ง่ายขึ้น
Chest pain อาการเจ็บหน้าอก
สาเหตุการเจ็บหน้าอก
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากเยื่อหุ้มปอดอักเสบ มักเจ็บตรงบริเวณที่มีอาการอักเสบ และ มักเจ็บมากเมื่อเวลาหายใจเข้าลึก ๆ หรือเวลาไอ ท าให้ผู้ปุวยต้องหายใจตื้น ๆ
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจาก เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบมักเป็นตรงบริเวณหัวใจ และเจ็บ ตลอดเวลา อาจมีลักษณะในข้อ 2 ร่วมด้วย ถ้าการอักเสบลุกลามถึงเยื่อหุ้มปอด
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากกล้ามเนื้ออักเสบ มักมีอาการเจ็บเฉพาะที่ และเจ็บเมื่อใช้มือกดที่บริเวณนั้น
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากหัวใจ เช่น ภาวะหลอดเลือดแดงหัวใจโคโรนารี (coronary artery) ตีบแคบ มักมีอาการแน่นหน้าอกบริเวณกระดูก sternum โดยเฉพาะจะเจ็บหรือปวดมากเมื่อเวลา ออกกำลังกาย เช่น เดินขึ้นบันได เป็นต้น และอาการเจ็บจะหายไปเมื่อพัก อาจมีปวดร้าวไปถึงหัวไหล่ คอ และ แขน
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากหลอดลมอักเสบ มักมีอาการแน่นหน้าอกบริเวณหลังกระดูก อาจเจ็บตลอดเวลา และเจ็บมากเมื่อเวลาไอ
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากเส้นประสาท เช่น โรครากประสาทสันหลัง (posterior nerve root) จะปวดร้าวไปตามแขนงของประสาท intercostal nerve ซึ่งอยู่ตามแนวกระดูกซี่โครง และปวด ตลอดเวลา พบในโรคงูสวัด (herpes zoster) เป็นต้น
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก
ประเมินหาสาเหตุของอาการว่า อาการเจ็บหน้าอกเกิดจากหัวใจหรือ ปอด ถ้าเป็นอาการเจ็บ หน้าอกจากหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย (myocardial infarction) จะมีอันตรายกว่าการเจ็บหน้าอกจาก ระบบหายใจมาก
จัดเตรีมอุปกรณ์การให้ออกซิเจนและพิจารณาให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วย
สังเกตอาการ ถ้าผู้ปุวยมีอาการเจ็บปวดที่เยื่อหุ้มปอด ควรแนะนำให้นอนตะแคงทับด้านที่ เป็น ถ้าอาการไม่ดีขึ้น อาจต้องให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
Hemoptysis อาการไอเป็นเลือด
สาเหตุของการไอเป็นเลือด
การอักเสบ ทำให้เกิดอาการไออย่างรุนแรง หรือมีแผลในคอ กล่องเสียง หลอดลมใหญ่ และในเนื้อปอด
เนื้องอก และมะเร็ง
อุบัติเหตุ
ความผิดปกติของหลอดเลือดและโรคปอดต่าง ๆ ทำให้เกิดการไอเป็นเลือดได้ เช่น หลอดเลือดที่เลี้ยงปอดอุดตัน วัณโรค และปอดบวม เป็นต้น
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการไอเป็นเลือด
ประเมินชีพจร หายใจ และความดันโลหิต เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลงและความรุนแรงของการเสียเลือด
ถ้าเสียเลือดมาก อาจต้องให้เลือดและพยาบาลจะต้องเฝูาระวังการแพ้เลือดที่อาจเกิดขึ้นได้
ให้ผู้ป่วยพักผ่อนและให้การหายใจเคลื่อนไหวน้อยที่สุด
ผู้ป่วยอาจตกใจมาก ทำให้มีอาการหายใจเร็วขึ้น (hyperventilation) พยาบาลต้องคอย ปลอบโยน ให้กำลังใจ และให้การดูแลจนผู้ป่วยควบคุมตนเองได้ เพื่อช่วยให้เกิดความเชื่อมั่นและลดความตกใจ
ชนิดของการไอเป็นเลือด
ไอจนมีเลือดปนออกมา คือ มีเสมหะและเลือดปนเป็นเนื้อเดียวกัน พบในโรคมะเร็งของ หลอดลม หรือวัณโรคปอด
ไอจนมีเลือดออกเป็นสาย มีเลือดเป็นสายปนกับเสมหะแต่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน พบในโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง หรือมะเร็งหลอดลม
ไอจนมีเลือดสดออกมา พบในวัณโรคปอด
ไอจนมีเสมหะสีคล้ายสนิม จากมีเลือดเก่า ๆ ปนออกมาด้วยพบในวัณโรคปอด
Hiccup การสะอึก
สาเหตุของการสะอึก
โดยทั่วไป อาการสะอึกเป็นอาการปกติทั่วไป ไม่ได้เกิดจากโรค โดยมีสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่พบ บ่อย เช่น กินอิ่มมากเกินไป ดื่มเครื่องดื่มพวกที่ทำให้เกิดแก๊ส (Carbonate) ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ จัด หรือมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของกระเพาะอาหารทันที เช่น ดื่มเครื่องดื่มเย็นจัด หรือ กินอาหารร้อนจัด เมื่อท้องว่าง กินอาหารรสจัด ยาบางชนิด เช่น ยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง มีก้อนในบริเวณลำคอ เช่น คอพอก อาจสัมพันธ์กับปัญหาทาง จิตใจ หรือ อารมณ์ เช่น ตน่ืเต้น เครียด กังวล กลัว และซึมเศร้า
การสะอึกต่อเนื่อง หรือ อาการสะอึกที่ควบคุมรักษายาก มักเป็นอาการสะอึกที่เกิดจากพยาธิ สภาพของโรค โดยโรคที่พบบ่อย เช่น โรคทางสมอง (เช่น โรคเนื้องอกสมอง โรคอัมพาต โรคอัมพฤกษ์ จาก หลอดเลือดสมอง (stroke) และโรคสมองอักเสบ) โรคกรดไหลย้อน โรคไตวาย โรคตับวาย ภาวะหลังผ่าตัด กระเพาะอาหารหรือในช่องท้อง หรือหลังจากการใช้ยาสลบ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการสะอึก
แนะนำให้หายใจเข้าออกในถุงปิด เพื่อเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
แนะนำให้กลั้นหายใจเป็นพัก ๆ
ให้ชิมของเปรี้ยวจัด เช่น น้ำมะนาว เป็นต้น หรือดื่มน้ำเปล่า
ให้ดมสารที่มีกลิ่นฉุน เช่น แอมโมเนีย เป็นต้น
ดูแลความปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อม เช่น ถือแก้วน้ำแล้วหลุดออกจากมือขณะสะอึก หรือ ขณะรับประทานอาหารอาจสำลักได้ เป็นต้น
ใช้เทคนิคเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น ชวนคุยในเรื่องที่สนุกตื่นเต้น เป็นต้น
อาการไอ (Cough)
สาเหตุของการไอ
ฝุ่นควัน สารเคมี อาหาร หรือน้ำที่สำลักเข้าไป
ความร้อน เย็นของอากาศ จะทำให้การไอมากขึ้น
การอักเสบหรือการบวมบริเวณทางเดินหายใจ มีอาการไอน้อยกว่า 2 สัปดาห์ อาจเกิดจาก ไข้หวัด การติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง และถ้าไอมากกว่า 2 สัปดาห์ อาจเกิดจากหลอดลม อักเสบ จมูกและไซนัสอักเสบเรื้อรัง หอบหืด หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ปอดอักเสบเรื้อรัง จากการติดเชื้อ หรือ มะเร็งหลอดลม
ลักษณะของอาการไอ
ไอแห้งๆไม่มีเสมหะ เช่น ไอเนื่องจากมีฝุ่นละอองมาก เป็นต้น
ไอมีเสมหะ ซึ่งเสมหะที่เป็นหนอง มักเกิดจากการติดเชื้อในทางเดินลมหายใจ เช่น โรคปอด บวม และวัณโรคปอด เป็นต้น และเสมหะที่ไม่เป็นหนอง เช่น โรคหอบหืด เป็นต้น
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการไอ
ดูแลความสะอาดของปาก ฟัน และสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร
. กระตุ้นให้ดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆ และปริมาณมากเพื่อให้เสมหะอ่อนตัว
ถ้าไอมีเสมหะให้สังเกต บันทึกจำนวน ลักษณะ สี และกลิ่นของเสมหะด้วย
กระตุ้นให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ เพื่อให้เสมหะที่ค้างในปอดเคลื่อนออกมาได้ง่าย จากการเปลี่ยนท่าหรืออิริยาบถ
สังเกตและบันทึกลักษณะ เสียง ความถี่ และระยะเวลาของการไอ
สอนการไออย่างมีประสิทธิภาพ (effective cough) โดยการให้ผู้ปุวยนั่งหรือนอนยกศีรษะ สูง (Fowler’s position) และหายใจเข้าลึก ๆ เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง กลั้นหายใจสักครู่ แล้วไอออกมาอย่าง แรงโดยเฉพาะผู้ป่วยหลังผ่าตัดที่มักกลัวเจ็บต้องอธิบายให้ทราบถึงความจำเป็น
ประเมินประสิทธิภาพการไอ ลักษณะไอแห้งๆหรือไอแบบมีเสมหะ โดยการฟังเสียงไอ
ดูแลให้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการไอตามแผนการรักษาของแพทย์