Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลมารดาและทารกที่มีภาวะติดเชื้อขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อระบบขับถ่าย…
การพยาบาลมารดาและทารกที่มีภาวะติดเชื้อขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อระบบขับถ่ายปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์
(Urinary system Infection during pregnancy)
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะแต่ไม่แสดงอาการ (Asymptomatic bacteriuria: ASB)
- ตรวจพบแบคทีเรียในปัสสาวะมากกว่า 105 cfu/ml โดยไม่มีอาการแสดงของการติดเชื้อ
-
-
การติดเชื้อเฉียบพลันที่กรวยไต (Acute pyelonephritis)
- ตรวจพบแบคทีเรียในปัสสาวะ มากกว่า 105 cfu/ml ร่วมกับปัสสาวะเป็นหนอง
มีไข้ หนาวสั่น และปวดบริเวณบั้นเอว
กลุ่มอาการโรคไตรั่ว หรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ (Nephrotic syndrome)
- พบโปรตีนในปัสสาวะมากประมาณ 5 กรัมต่อวัน โปรตีนในเลือดต่ำ
ไขมันในเลือดสูง และมีอาการบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ
การติดเชื้อเฉียบพลันที่กระเพาะปัสสาวะ (Acute cystitis)
- เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ
ร่วมกับมีอาการเจ็บปวดขณะถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะแสบขัด
พยาธิสรีรวิทยา
- เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณปากช่องคลอด หรือทวารหนักใกล้ท่อปัสสาวะ
ย้อนกลับขึ้นไป (ascending infection) ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทำงานของ
ระบบทางเดินปัสสาวะขณะตั้งครรภ์ จากผลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone)
และการขยายตัวของขนาดมดลูก เป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะได้
ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาขณะตั้งครรภ์ของไต
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (Lower UTI)
- ท่อปัสสาวะอักเสบ
- กระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบขัด กระปิดกระปรอย กลั้นปัสสาวะไม่ได้
- ปัสสาวะเป็นเลือดหรือสีน้ำล้างเนื้อ
- ปวดบริเวณหัวหน่าว
อาการและอาการแสดงติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน (Upper UTI)
- กรวยไตอักเสบ
- ปัสสาวะเป็นสีขุ่น หรือสีน้ำล้างเนื้อ
- เจ็บบริเวณชายโครง
- ปวดหลังบริเวณตำแหน่งของไต
- มีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน
การพยาบาล
ระยะหลังคลอด
- การป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
- ให้คำแนะนำเช่นเดียวกับคำแนะนำเพื่อป้องกันการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์
ระยะตั้งครรภ์
- ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินของโรค
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับสตรีตั้งครรภ์และทารก และแผนการรักษาพยาบาล
- เน้นความสำคัญของการมาตรวจครรภ์ตามนัดอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
- แนะนำการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ หรือป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
- พักผ่อนอย่างเพียงพอ
- ดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว
- ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย
- แนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติที่ต้องรีบาพบแพทย์
ระยะคลอด
- เน้นเรื่องการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกทุกครั้งหลังการขับถ่าย
- การสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ
- ในกรณีที่คลอดก่อนกำหนดเตรียมอุปกรณ์ในการช่วยเหลือทารกแรกเกิดให้พร้อม
-
-
-