Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจนและการดูดเสมหะ - Coggle Diagram
การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจนและการดูดเสมหะ
ความสำคัญของก๊าซออกซิเจน
ที่มีต่อร่างกาย
การทำงานของเม็ดเลือดแดง
มีหน้าที่ขนส่งก๊าซเม็ดเลือดแดงเป็นเซลล์เม็ดเลือดชนิดหนึ่งมีหน้าที่หลักในการขนและส่งก๊าซในระบบหมุนเวียนมีอายุขัยประมาณ 120 วันร่างกายเรามีการทำลายและการสร้างเม็ดเลือดใหม่ตลอดเวลาแต่ละเซลล์เม็ดเลือดแดงจะมีส่วนประกอบที่เป็น Hemoglobin (ฮีโมโกลบิน) อยู่ถึง 97 96 ซึ่งตัว Hemoglobin (ฮีโมโกลบิน) นี้ทำหน้าที่ในการ“ จับกับก๊าซเพื่อการขนส่ง” ซึ่ง
ความดันออกซิเจน
และการขนส่งสู่เนื้อเยื่อ
Hemoglobin (ฮีโมโกลบิน) แต่ละตัวสามารถจับกับแก๊สได้ 4 โมเลกุลมีการศึกษาพบว่าในเม็ดเลือดแดงในแต่ละเซลล์นั้นมี Hemoglobin (ฮิโมโกลบิน) มากมายถึง 50 ล้านหน่วย 2. ความดันออกซิเจนทำให้เกิดการขนส่งออกซิเจนสู่เนื้อเยื่อความดันออกซิเจนและการขนส่งสู่เนื้อเยื่อหลังจากเลือดที่ออกจากปอดมีความดันออกซิเจนในเลือดสูงอยู่เม็ดเลือดแดงจะปล่อยออกซิเจนจำนวนน้อยสู่กระแสเลือดเพื่อส่งไปหาเซลล์ต่างๆ แต่เมื่อการเดินทางไปในอวัยวะที่ไกลขึ้นความเข้มข้นออกซิเจนในเลือดลดลงเม็ดเลือดแดงจะปล่อยออกซิเจนจำนวนมากขึ้นตามลำดับเพื่อให้ออกซิเจนออกมาอยู่ในกระแสเลือดเพื่อส่งไปสู่เซลล์โดยเลือดเป็นตัวกลางการส่งผ่านออกซิเจนสู่เซลล์ส่วนเม็ดเลือดแดงเป็นถังเก็บออกซิเจนที่จะค่อยๆปล่อยออกซิเจนออกมาเรื่อย ๆ พบว่าออกซิเจนในถุงลมยิ่งเยอะออกซิเจนในเลือดก็ยิ่งเยอะตามและสุดท้ายออกซิเจนในเม็ดเลือดแดงก็จะเยอะขึ้นตาม
การหมุนเวียนเพื่อกำจัด
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
เมื่อเซลล์เนื้อเยื่อขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกออกจะมีการขนส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปที่ปอดเพื่อทำการหายใจระบายออกกลไกการขนส่งมี 2 อย่างที่เป็นหลักคือการขนส่งคาร์บอนไดออกไซด์โดย hemoglobin ในเม็ดเลือดแดงคาร์บอนไดออกไซด์ไปรวมกับน้ำเพื่อเกิดสารประกอบกรดคาร์บอนิก (H2CO3) และแตกตัวเป็นไฮโดรเจนไออน (H +) กับไบคาร์บอเนต (HCO3) สรุปการแลกเปลี่ยนก๊าซโดยรวมเกิดจากความดันออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ที่แตกต่างกันทำให้เกิดการถ่ายเทก๊าซจากที่ความเข้มข้นสูงสู่ที่ต่ำกว่าโดยมีระบบหมุนเวียนเลือดที่มีเม็ดเลือดแดงเป็นตัวนำ
ปัจจัยที่มีผลต่อการ
ได้รับออกซิเจนของบุคคล
การเดินทางหรืออาศัยในที่สูงภาวะดังกล่าวจะมีความหนาแน่นของอากาศลดลงมีผลให้ออกซิเจนมีระดับต่ำกว่าปกติทำให้ร่างกายได้ออกซิเจนน้อยกว่าปกติถ้าร่างกายปรับตัวไม่ได้กับภาวะพร่องออกซิเจนทำให้เกิดการภาวะพร่องออกซิเจน
อยู่ในที่ที่มีมลพิษสูงภาวะดังกล่าวทำให้อากาศบริเวณนั้นมีออกซิเจนลดลงการที่ร่างกายได้รับสารพิษจากอากาศทำให้ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในขบวนการขจัดสารพิษ
การเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายหนัก ๆ ขณะออกกำลังกายร่างกายต้องการออกซิเจนมากกว่าปกติอาจทำให้ได้รับออกซิเจนไม่ทั่วถึงและเพียงพอเป็นสาเหตุทำให้เหนื่อยเร็วและอ่อนล้า
ความเครียดทำให้เกิดภาวะนอนไม่หลับการหายใจถี่ขึ้นต้องการออกซิเจนมากขึ้น
อาหารที่มีไขมันมากจะมีปริมาณออกซิเจนน้อยเวลารับประทานอาหารที่มีไขมันมากจะทำให้ปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำลง
ผู้สูงอายุร่างกายของคนเราจะเสื่อมลงตามอายุที่เพิ่มขึ้นความเสื่อมเกิดขึ้นได้ทุกระบบในร่างกายเช่นระบบการหมุนเวียนเลือดและหัวใจทำให้ความสามารถในการรับออกซิเจนน้อยลง
การสูบบุหรี่มีผลเสียต่อร่างกายในหลาย ๆ ระบบเช่นกล่องเสียงหลอดเลือดในสมองถุงลมและปอดทำให้ความสามารถในการรับออกซิเจนน้อยลงทำให้หลอดเลือดมีคาร์บอนไดออกไซด์มากและมีออกซิเจนน้อยการสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานาน ๆ ส่งผลให้เกิดอาการพร่องออกซิเจนเป็นมากขึ้น
การดื่มสุราและเครื่องดื่มที่เป็นแอลกอฮอล์การดื่มในปริมาณมากเกินควรจะส่งผลให้ร่างกายเกิดผลเสียแบบเฉียบพลับและเรื้อรังซึ่งส่งผลต่อตับสมองหรือหัวใจและหลอดเลือดเป็นต้นในแบบเฉียบพลันถ้าดื่มมาก ๆ จนมีปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือด 30 mg% จะเริ่มควบคุมตัวเองไม่ได้มีอาการร่าเริงปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือด 50 mg% จะกระทบต่อการเคลื่อนไหวของร่างกายปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือด 200 mg96 จะทำให้เกิดอาการสับสนและถ้าปริมาณแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดมากกว่า 400 mg96 ส่งผลต่อระบบสมองทำให้ได้รับออกซิเจนน้อยลงระบบหัวใจและหลอดเลือดมีการสูบฉีดเลือดลดลงจนเกิดอาการหมดสติและอาจถึงตายได้
การประเมินภาวะพร่องออกซิเจน
การประเมินสภาพร่างกาย
1) ระบบทางเดินหายใจ
สังเกต ผู้ป่วยมีอาการหายใจไม่สะดวก หายใจลำบากเมื่อนอนราบ(Orthopnea) มีอาการกระสับกระส่าย การหายใจไม่สม่ำเสมอ
2) ระบบหัวใจและหลอดเลือดประเมินพบซีพจรเต้นเร็วผิดปกติความดันโลหิตเพิ่มขึ้นในระยะแรกเพื่อปรับชดเชยระยะต่อมาหัวใจเต้นผิดจังหวะบีบตัวช้าลงเจ็บหน้าอกและหัวใจหยุดเต้นในระยะสุดท้าย
3) ระบบประสาทส่วนกลางสังเกตและประเมินพบความรู้สึกตัวของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงกระสับกระส่ายสับสนมีนศีรษะปวดศีรษะ (เนื่องจากหลอดเลือดสมองขยายตัว) เพ้อหมดสติหรือชัก
4) ระบบผิวหนังระยะแรกพบว่าผิวหนังผู้ป่วยเย็นซีดเพราะร่างกายจะตอบสนองต่อภาวะพร่องออกซิเจนโดยหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญเช่นสมองเป็นต้นเลือดที่เลี้ยงผิวหนังไตปอดเพราะต้องการออกซิเจนน้อยกว่าและทนต่อการขาดออกซิเจนได้ต่อมาพบอาการเขียวคล้ำโดยเห็นชัดบริเวณริมฝีปากเล็บมือเล็บเท้าและเสียชีวิตในที่สุด
5) ระบบทางเดินอาหารประเมินและสังเกตพบมีอาการคลื่นไส้อาเจียนในระยะแรก
กระประเมินการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
1) ระดับค่าก๊าซในหลอดเลือดแดง (Arterial blood gas: ABG) เป็นการตรวจเพื่อหาประสิทธิภาพการทำงานของปอดเพื่อประเมินความสามารถในการแลกเปลี่ยนก๊าซและการหายใจค่าเหล่านี้บอกถึงความสามารถของ Hemoglobin (ฮีโมโกลบิน) ในการจับออกซิเจนเข้าสู่เซลล์และนำคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเซลล์ ประกอบด้วย pH, PaCO2 , PaO2 ,HCO3 และ SaO2
2) ค่าการอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Arterial oxygen saturation) ใช้ pulse Oximeter เป็นอุปกรณ์ที่วัดร้อยละของฮีโมโกลบินที่จับกับออกซิเจน (Oxyhemoglobin) ต่อปริมาณฮีโมโกลบินทั้งหมดในเลือดการแปลผลต้องพิจารณาปริมาณเม็ดเลือดแดงและหรือค่าฮีโมโกลบินร่วมด้วยจึงเป็นการวัด arterial oxygen saturation (SPO;) ค่าการอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดปกติอยู่ระหว่าง 98 99 6 หากวัด SPO, ได้น้อยกว่า 90% จำเป็นต้องได้รับการรักษายกเว้นผู้ป่วยโรคปอดอุดตันเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease: COPD)
3) การตรวจหาระดับฮีโมโกลบิน (Hemoglobin: Hb) ในเลือดค่าฮีโมโกลบินปกติในผู้หญิง 11.5 – 16.5 gm 9% (กรัมเปอร์เซนต์) และในผู้ชาย 13.0-18 gm% (กรัมเปอร์เซนต์)
สาเหตุ
อาการไอ
(Cough)
การอักเสบหรือการบวมบริเวณทางเดินหายใจมีอาการไอน้อยกว่า 2 สัปดาห์อาจเกิดจากไข้หวัดการติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่างและถ้าไอมากกว่า 2 สัปดาห์อาจเกิดจากหลอดลมอักเสบจมูกและไซนัสอักเสบเรื้อรังหอบหืดหลอดลมอักเสบเรื้อรังปอดอักเสบเรื้อรังจากการติดเชื้อหรือมะเร็งหลอดลม
ฝุ่นควันสารเคมีอาหารหรือน้ำที่สำลักเข้าไป
ความร้อน-เย็นของอากาศจะทำให้การไอมากขึ้น
อาการไอเป็นเลือด
(Hemoptysis)
อุบัติเหตุ
การอักเสบทำให้เกิดอาการไออย่างรุนแรงหรือมีแผลในคอกล่องเสียงหลอดลมใหญ่และในเนื้อปอดป็นต้น
เนื้องอกและมะเร็ง
ความผิดปกติของหลอดเลือดและโรคปอดต่าง ๆ ทำให้เกิดการไอเป็นเลือดได้เช่นหลอดเลือดที่เลี้ยงปอดอุดตันวัณโรคและปอดบวม
การสะอึก
(Hiccup)
โดยทั่วไปอาการสะอึกเป็นอาการปกติทั่วไปไม่ได้เกิดจากโรคโดยมีสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อยเช่นกินอิ่มมากเกินไปดื่มเครื่องดื่มพวกที่ทำให้เกิดแก๊ส (Carbonate) ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูบบุหรี่จัดหรือมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของกระเพาะอาหารทันทีเช่นดื่มเครื่องดื่มเย็นจัดหรือกินอาหารร้อนจัดเมื่อท้องว่างกินอาหารรสจัดเช่นเผ็ดเปรี้ยวเค็มและหวานจัดหายใจเอาควันต่าง ๆ เข้าไปผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
อาการหายใจลำบาก
(Dyspnea)
สาเหตุเกี่ยวกับทางเดินหายใจเช่นทางเดินหายใจอุดกั้นหรือปอดถูกทำลายเป็นต้น
สาเหตุเกี่ยวกับหัวใจเช่นการทำงานของหัวใจไม่ดีเนื่องจากกล้ามเนื้อบางส่วนของหัวใจตาย
3.สาเหตุเกี่ยวกับประสาท ทำให้การควบคุมการหายใจไม่ดี
อาการเจ็บหน้าอก
1) อาการเจ็บหน้าอกสาเหตุจากกล้ามเนื้ออักเสบมักมีอาการเจ็บเฉพาะที่และเจ็บเมื่อใช้มือกดที่บริเวณนั้น
2) อาการเจ็บหน้าอกสาเหตุจากเยื่อหุ้มปอดอักเสบมักเจ็บตรงบริเวณที่มีอาการอักเสบและมักเจ็บมากเมื่อเวลาหายใจเข้าลึก ๆ หรือเวลาไอทำให้ผู้ป่วยต้องหายใจตื้น ๆ
3) อาการเจ็บหน้าอกสาเหตุจากเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบมักเป็นตรงบริเวณหัวใจและเจ็บตลอดเวลาอาจมีลักษณะในข้อ 2 ร่วมด้วยถ้าการอักเสบลุกลามถึงเยื่อหุ้มปอด
4) อาการเจ็บหน้าอกสาเหตุจากหัวใจเช่นภาวะหลอดเลือดแดงหัวใจโคโรนารี (Coronary artery) ตีบแคบมักมีอาการแน่นหน้าอกบริเวณกระดูก sternum โดยเฉพาะจะเจ็บหรือปวดมากเมื่อเวลาออกกำลังกายเช่นเดินขึ้นบันไดเป็นต้นและอาการเจ็บจะหายไปเมื่อพักอาจมีปวดร้าวไปถึงหัวไหล่คอและแขน
5) อาการเจ็บหน้าอกสาเหตุจากหลอดลมอักเสบมักมีอาการแน่นหน้าอกบริเวณหลังกระดูกอาจเจ็บตลอดเวลาและเจ็บมากเมื่อเวลาไอ
6) อาการเจ็บหน้าอกสาเหตุจากเส้นประสาทเช่นโรครากประสาทสันหลัง (posterior nerve root) จะปวดร้าวไปตามแขนงของประสาท intercostal nerve ซึ่งอยู่ตามแนวกระดูกซี่โครงและปวดตลอดเวลาพบในโรคงูสวัด (herpes zoster) เป็นต้น
บทบาทพยาบาลในการส่งเสริม
การได้รับออกซิเจน
การให้ออกซิเจนเพื่อการรักษา
(Oxygen therapy)
ในภาวะที่ระบบการหายใจทำงานเป็นปกติร่างกายจะได้รับออกซิเจนเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย แต่เมื่อร่างกายเกิดภาวะพร่องออกซิเจนจนกลายเป็นเกิดภาวะขาดออกซิเจน
เทคนิคการพยาบาลที่เกี่ยวข้อง
ในการให้ออกซิเจนแบบต่างๆ
ระบบการไหลของออกซิเจนชนิดต่ำ
(Low flow System)
(1) การให้ออกซิเจนชนิดเขี้ยว (nasal cannula) หรือ nasal prongs เป็นการให้ออกซิเจนทางจมูกวิธีนี้ผู้ป่วยจะได้รับออกซิเจนที่มีความเข้มข้นต่ำซึ่งจะได้ออกซิเจนร้อยละ 30-40 ในขณะที่ปรับอัตราการไหลของออกซิเจน 4-6 ลิตร / นาที 1)
การให้ออกซิเจนทางหน้ากาก
(mask)
(2.1) Simple mask เป็นชนิดที่ให้ออกซิเจนความเข้มข้นร้อยละ 40-50 การปรับอัตราไหลของออกซิเจน 5-8 ลิตร / นาที
(2.2) Reservoir bag (partial rebreathing mask) ให้ความเข้มข้นสูงกว่าร้อยละ 60 90 ซึ่งสูงกว่าชนิดไม่มีถุงชนิดนี้ออกซิเจนจากเครื่องจะไหลเข้าถุงการหายใจครั้งแรกจะเป็นออกซิเจนบริสุทธิ์เมื่อหายใจออกคาร์บอนไดออกไซด์จะไหลกลับเข้าในถุงประมาณ 1/3 ของความจุของถุงไปผสมรวมกับออกซิเจนในถุงเมื่อการหายใจเข้าในครั้งต่อไปจะทำให้ได้ออกซิเจนผสมกับคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายส่วนคาร์บอนไดออกไซด์ที่เหลือจะขับออกทางรูด้านข้างของ mask
ระบบการไหลของออกซิเจนชนิดสูง
(High flow system)
(1) การให้ออกซิเจนชนิด T- piece เป็นอุปกรณ์ให้ออกซิเจนผู้ป่วยที่มีท่อทางเดินหายใจทำด้วยพลาสติกเบาเพื่อไม่ให้ดึงรั้งท่อเจาะหลอดลมคอลักษณะเป็นท่อสายลูกฟูกเรียกว่า corrugated tube สวมยึดติดกับท่อเจาะหลอดลมคอให้ความชื้นสูงไอน้ำอาจเกาะเป็นหยดน้ำไหลสู่ท่อหลอดลมคอได้ท่อทางหายใจออกมีความยาวประมาณไม่เกิน 6 นิ้วเพื่อไม่ให้คาร์บอนไดออกไซด์จากลมหายใจออกแล้วมาค้างภายในท่อ corrugated tube
(2) การให้ออกซิเจนทางท่อหลอดลม (tracheostomy collar) เป็นอุปกรณ์คล้ายหน้ากากคล้องไว้กับคอครอบบนท่อเจาะหลอดลมคอออกซิเจนจะไหลเข้าทางรูเปิดขณะหายใจเข้ามี corrugated tube เพื่อให้ได้ความชื้นแบบละอองฝอย (jet nebulizer) ออกซิเจนที่ได้จะไม่แห้ง
(3) การให้ออกซิเจนชนิด croupette tent เป็นอุปกรณ์ให้ออกซิเจนที่ครอบตัวผู้ป่วยลักษณะคล้ายเต็นท์ประกอบด้วยมุ่งพลาสติกมีซิบเปิด-ปิดครอบบนโครงโลหะด้านหลังกล่องใส่น้ำแข็งทำให้อากาศในมุ่งมีความชื้นสูงมีท่อระบายน้ำทิ้งที่เกิดจากน้ำแข็งละลายมีท่อนำออกซิเจนไหลเข้ามุ่ง 1 ท่อท่อให้คาร์บอนไดออกไซด์ไหลออกจากบุ้ง 1 ท่ออุณหภูมิในเต็นท์ต้องไม่ต่ำกว่าอุณหภูมิห้อง 10 – 15 ° F มีข้อเสียคือออกซิเจนหนักกว่าอากาศจึงทำให้ตกบนที่นอนพร้อมความชื้นทำให้ร่างกายผู้ป่วยขึ้นต้องหมั่นเปลี่ยนอุปกรณ์เครื่องนอน
(4) การให้ออกซิเจนชนิด hood หรือ oxygen box เป็นอุปกรณ์ใช้ครอบศีรษะและไหล่ผู้ป่วยเด็กลักษณะเป็นกระโจมหรือกล่องพลาสติกให้ออกซิเจนมีท่อนำออกซิเจนเข้าภายในอัตราการไหลของออกซิเจน 10-12 ลิตร / นาทีความเข้มข้นของออกซิเจนที่ได้ร้อยละ 60-70
(5) การให้ออกซิเจนทางท่อช่วยหายใจ (endotracheal tube: ET) เป็นท่อช่วยหายใจซึ่งแพทย์จะใส่ท่อนี้เข้าไปในหลอดลมของผู้ป่วยแล้วต่อเข้ากับเครื่องช่วยหายใจ (respirator) ใช้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจได้ด้วยตนเอง
ภาวะบ่งชี้ในการรักษาด้วยออกซิเจน
ความกดบรรยากาศสูง
โรคฟองแก๊สอุดตันในหลอดเลือดแดง
(air or gas Embolism)
โรคคาร์บอนมอนน็อคไซด์เป็นพิษ, การสำลักควันไฟ (CO poisoning and smoke inhalation)
การติดเชื้อของเนื้อเยื่อจากแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจน (Clostridial gas gangrene)
การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อเนื่องจากการถูกบดขยี้
(crush Injury: Compartment syndrome, acute traumatic ischemia)
โรคที่เกิดจากความดันเช่นอากาศหรือน้ำ (decompression sickness)
โลหิตจางเนื่องจากเสียเลือดจำนวนมาก
(exceptional blood loss)
การติดเชื้อและมีการตายของเนื้อเยื่อ
(necrotizing soft tissue infection)
การติดเชื้อเรื้อรังของเยื่อหุ้มกระดูก
(refractory osteomyelitis)
การปลูกถ่ายผิวหนังและกล้ามเนื้อ
(compromised skin graft or flap)
การได้รับบาดเจ็บจากรังสี (radiation Injury)
โรคแผลเรื้อรัง (Chronic wounds)
12.แผลไหม้จากความร้อน
13.โรคฝีในสมอง
บทบาทพยาบาลในการ
ส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
การจัดท่าผู้ป่วย
ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะที่มีออกซิเจนในเซลล์ต่ำ (hypoxia) ควรจัดอยู่ในท่าศีรษะสูง (high fowler's position) ในท่านี้จะช่วยให้หายใจสะดวกขึ้นโดยกระบังลมจะหย่อนลงทำให้ปอดขยายตัวเต็มที่และมีปริมาณอากาศเพิ่มมากขึ้น
การบริหารการหายใจ
วิธีการหายใจจะช่วยให้การระบายอากาศหายใจดีขึ้นมีประโยชน์ทั้งในผู้ป่วยที่มีปัญหาการหายใจชนิดปอดถูกกำจัดและชนิดปอดถูกอุดกั้นเพราะเทคนิคการหายใจจะช่วยเพิ่มปริมาตรอากาศที่เข้าออกจากปอด
วิธีการดูดเสมหะ
การดูดเสมหะทางจมูก (Nasopharyseal) หรือปาก (oropharyngeal suction) เป็นการดูดเสมหะผ่านทางจมูกหรือ nasal airway ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อยาวภายในกลวงลักษณะของท่อโค้งและมีความยืดหยุ่นให้สามารถสอดใส่เข้าทางรูจมูกผ่านไปถึงโพรงจมูกด้านหลัง (nasophgryngeal) ได้สะดวกหรือดูดเสมหะผ่านทางปาก (oral airway) ซึ่งเป็นท่อขนาดใหญ่กว่าสอดใส่เข้าทางปากผ่านช่องปากไปถึงโคนลิ้น
การดูดเสมหะทางท่อช่วยหายใจ (Endotracheal) หรือทางท่อหลอดคอ (tracheostomy suction) เป็นการดูดเสมหะผ่านท่อช่วยหายใจ Endotracheal หรือทางท่อเจาะคอที่เจาะผ่านหลอดลมออกมาภายนอก (tracheostomy tube) ซึ่งเป็นหัตถการโดยแพทย์ช่วยให้สามารถดูดเสมหะที่อยู่ในทางเดินหายใจส่วนล่างออกมาได้ง่าย
การเก็บเสมหะ
การเก็บเสมหะส่งตรวจ (Spatum examination) การเก็บเสมหะส่งตรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งวิเคราะห์โรควิธีเก็บเสมหะส่งตรวจให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึก ๆ แล้วไอออกมาเพื่อให้ได้เสมหะแล้วบ้วนลงภาชนะสะอาดชนิดมีฝาปิดควรตรวจดูให้แน่ใจว่าเป็นเสมหะไม่ใช่น้ำลายโดยเสมหะควรมีลักษณะเป็นเมือกเหนียวขุ่นข้นมีสีเหลืองสีเขียวหรือสีแดงปนปิดฝาให้สนิทนำส่งห้องปฏิบัติการ
การตรวจเสมหะแบบเพาะเชื้อ (Sputum culture) การเก็บเสมหะแบบเพาะเชื้อมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบว่าผู้ป่วยติดเชื้อชนิดใดและมีปฏิกิริยาต่อยาปฏิชีวนะตัวใดและเพื่อปรับเปลี่ยนแผนการรักษา
ความปลอดภัยขณะ
ผู้ป่วยได้รับออกซิเจน
อาจเกิดการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนการให้ออกซิเจนอุปกรณ์ที่ใช้มีโอกาสก่อให้เกิดการติดเชื้อได้เช่นน้ำกลั่นในขวด humidifier สายที่นำออกซิเจนมาสู่ผู้ป่วยเป็นต้นอุปกรณ์ที่ให้ออกซิเจนเช่น mask, cannula, tent, tracheostomy tube lV ผู้ป่วยที่ต้องนอนติดเตียง (bed redden) ดังนั้นควรมีการเฝ้าระวังในเรื่องการติดเชื้อ
อาจทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจแห้งและเกิดการระคายเคืองได้เนื่องจากออกซิเจนเป็นก๊าซแห้งเมื่อผ่านเข้าในระบบทางเดินหายใจจะทำให้เยื่อบุแห้งเกิดความบกพร่องในหน้าที่ของเซลล์ขนกวัด (cilia) ทำให้มีน้ำคัดหลั่งหนาและเกิดการอุดตันของทางเดินหายใจการป้องกันทำได้โดยต้องให้ออกซิเจนผ่านน้ำเสมอก่อนเข้าสู่ผู้ป่วย
อาจเกิดการทำลายเนื้อเยื่อในปอดออกซิเจนจะก่อพิษในปอดได้หากได้รับในระยะเวลานานคือ 24-48 ชั่วโมงและความเข้มข้นของก๊าซมากกว่าร้อยละ 60 อาการเป็นพิษนี้พบได้ตั้งแต่อาการระคายเคืองของหลอดลมเกิดการอักเสบและมีอาการไอตลอดเวลาซึ่งอาจทำให้เกิดอาการหายใจลำบากได้อาการพิษที่รุนแรงมากขึ้นจะทำให้ปอดมีความจุออกซิเจนลดลงและมีการทำลายของเนื้อเยื่อปอดทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซบริเวณถุงลมผิดปกติ
อาจเกิดอันตรายกับดวงตา (retrolental fibroplasias) คือการได้รับออกซิเจนความเข้มข้นสูงเป็นระยะเวลานาน ๆ จะเกิดกับหลอดเลือดหลังเลนส์เปลี่ยนแปลงมีผลทำให้ปิดกั้นลำแสงที่พุ่งตรงไปจอตาจึงเกิดความผิดปกติในการเห็นอาการพิษชนิดนี้มักพบได้ในทารกคลอดก่อนกำหนด
อาจเกิดการหยุดหายใจในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังศูนย์การหายใจจะไม่เป็นตัวควบคุมการหายใจ แต่ใช้ chemoreceptor reflex เป็นตัวควบคุมแทนโดยใช้ภาวะการขาดออกซิเจนเป็นตัวเร่งให้เกิดการหายใจดังนั้นถ้าให้ออกซิเจนความเข้มข้นสูงจะทำให้การเร่งจากภาวะการขาดออกซิเจนหายไปทำให้ผู้ป่วยหยุดหายใจได้เรียกว่าเกิดภาวะง่วงฉันจากการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ (CO, narcosis)
อาจเกิดอุบัติเหตุจาการเกิดไฟไหม้หรือการระเบิดเพราะการสันดาป (combustion) เป็นขบวนการที่เชื้อเพลิงทำปฏิกิริยากับออกซิเจนจนเกิดเป็น oxide มีความร้อนและพลังงานเกิดขึ้นเช่นการเผาไหม้และการระเบิด Explosion คือกระบวนการสันดาปที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว