Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจนและการดูดเสมหะ - Coggle Diagram
การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจนและการดูดเสมหะ
ความสำคัญของก๊าซออกซิเจนที่มีต่อร่างกาย
กำเนิดการแลกเปลี่ยนก๊าซ
การทำงานของเม็ดเลือดแดง
มีหน้าที่ขนส่งก๊าซเม็ดเลือดแดง เป็นเซลล์เม็ดเลือดแดงชนิดหนึ่ง ที่มีหน้าที่หลักในการขนส่งก๊าซในระบบหมุนเวียน มีอายุ 120 วัน
ความดันออกซิเจน
ทำให้เกิดการขนส่งออกซิเจนสู่เนื้อเยื่อต่าง ๆ โดยเลือดเป็นตัวกลางการส่งผ่านออกซิเจนสู่เซลล์ และเม็ดเลือดแดงเป็นถังเก็บออกซิเจน
การหมุนเวียน
เพื่อกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายโดย อาศัย Hemoglobon ในเม็ดเลือดแดง และ การรวมไปกับน้ำ เพื่อเกิดสารประกอบ กรดคาร์บอนิก และแตกตัวเป็นไฮโดรเจนไออน กับ ไบคาร์บอเนต
ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับออกซิเจนของบุคคล
อยู่ในที่ที่มีมลพิษสูง
ภาวะดังกล่าวทำให้อากาศบริเวณนั้นมีออกซิเจนลดลง การที่ร่างกายได้รับสารพิษจากอากาศ ทำให้ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ในขบวนการขจัดสารพิษ
การดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
หากดื่มในปรอมาณที่มากเกิน จะส่งผลให้ร่างกายเกิดผลแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ส่งผลต่อ ตับ สมอง และหลอดเลือดหัวใจ
การเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย
ร่างกายจะต้องการออกซิเจนมากกว่าปกติ อาจทำให้ได้รับออกซิเจนไม่ทั่วถึงและเพียงพอ ทำให้เหนื่อยเร็ว อ่อนล้า
ความเครียด
ทำให้เกิดภาวะนอนไม่หลับ การหายใจถี่ขึ้น ต้องการออกซิเจนมากขึ้น
อาหาร
อาหารที่มีไขมันมาก จะมีปริมาณออกซิเจนน้อย
ผู้สูงอายุ
ร่างกายเสื่อมลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น
การสูบบุหรี่
มีผลเสียต่อหลายระบบภายในร่างกาย เช่น ถุงลม ปอด ทำให้ความสามารถในการรับออกซิเจนน้อยลง ทำให้หลอดเลือดมีคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มมากขึ้น การสูบบัหรี่เป็นเวลานาน ๆ อาจเกิดภาวะพร่องออกซิเจนได้
การเดินทางหรืออาศัยในที่สูง
ภาวะดังกล่าวจะมีความหนาแน่นของอากาศลดลง มีผลให้ออกซิเจนมีระดับต่ำกว่าปกติ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยกว่าปกติ หากร่างกายปรับตัวไม่ได้ จะทำให้เกิดภาวะพร่องออกซิเจน
การประเมิณภาวะพร่องออกซิเจน
การประเมิณสภาพร่างกาย
ระบบทางเดินหายใจ
หายใจไม่สม่ำเสมอ
หายใจไม่สะดวก
หายใจลำบากเมื่อนอนราบ ต้องลุกขึ้นมานั่งหายใจหลังจากนอนหลับไปแล้วระยะหนึ่ง
กระสับกระส่าย
หายใจเข้ามีเสียงดัง
หายใจเข้าลึกกว่าหายใจออก
หายใจหอบ
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
หัวใจเต้นผิดจังหวะ ในระยะต่อมา
ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นในระยะแรก
หัวใจบีบตัวช้าลง
เจ็บหน้าอก
ชีพจรเต้นเร็วผิดปกติ
หัวใจหยุดเต้นในระยะสุดท้าย
ระบบประสาทส่วนกลาง
มึน หรือ ปวดศีรษะ
เพ้อ
สับสน
ชัก หรือ หมดสติ
กระสับกระส่าย
ระบบผิวหนัง
ริมฝีปาก เล็บมือ เล็บเท้า เขียวคล้ำ
ตัวเย็น ซีด
ระบบทางเดินอาหาร
คลื่นไส้
อาเจียน
การประเมิณการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ระดับก๊าซในหลอดเลือดแดง (Arterial blood gas: ABG)
การตรวจหาประสิทธิภาพการทำงานของปอด ในการแลกเปลี่ยนก๊าซและการหายใจ บอกถึงความสามารถของ Hemoglobin ในการจับกับออกซิเจนเข้าสู่เซลล์
Mild hypoxemia : PaO2 มีค่าระหว่าง 60 – 80 mmHg
Moderate hypoxemia : PaO2 มีค่าระหว่าง 40 - 60 mmHg
Severe hypoxemia : PaO2 มีค่าน้อยกว่า 40 mmHg
การแปลผลภาวะระบบทางเดินหายใจเป็นกรดเฉียบพลัน (Acute respiratory acidosis)
pH ต่ำกว่าปกติ
PaCO2 สูงกว่าปกติ
HCO3 ปกติ
อาการที่พบ คือ Hypoventilation ง่วงนอน ระดับความรู้สึกลดลงจนไม่รู้ตัว หัวใจเต้นเร็วไม่เป็นจังหวะ
การแปลผลภาวะระบบทางเดินหายใจเป็นด่างเฉียบพลัน (Acute respiratory alkalosis)
PaCO2 ต่ำกว่าปกติ
HCO3 ปกติ
pH สูงกว่าปกติ
อาการที่พบ คือ Hyperventilation หัวใจเต้นเร็ว ชาตามมือตามหน้า ระดับความรู้สึกลดลงจนไม่รู้ตัว
การแปลผลภาวะการเผาผลาญเป็นกรดเฉียบพลัน (Acute metabolic acidosis)
PaCO2 สูงกว่าปกติ
อาการที่พบ คือ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อาการสั่น กระตุก ชัก
pH และ HCO3 ต่ำกว่าปกติ
การแปลผลภาวะการเผาผลาญเป็นด่างเฉียบพลัน (Acute metabolic alkalosis)
PaCO2 ปกติ
อาการที่พบ คล้ายกับ metabolic acidosis แต่ไม่มีอาการปวดศีรษะ
pH และ HCO3 สูงกว่าปกติ
ค่าการอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด
(Arterial oxygen saturation)
ใช้ pulse oximeter เป็นอุปกรณ์ที่วัดร้อยละของฮีโมโกลบินที่จับกับออกซิเจน (oxyhemoglobin) ต่อปริมาณฮีโมโกลบินทั้งหมดในเลือด
ค่าการอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดปกติอยู่ระหว่าง 98 - 99%
น้อยกว่า 90% จำเป็นต้องได้รับการรักษา ยกเว้นผู้ป่วยโรคปอดอุดตันเรื้อรัง (COPD)
การตรวจหาระดับฮีโมโกลบิน
(Hemoglobin: Hb)
ค่าฮีโมโกลบินปกติในผู้หญิง 11.5 – 16.5 gm.%
ค่าฮีโมโกลบินปกติในผู้ชาย 13.0 - 18 gm.%
สาเหตุของ hypoxia และหรือ hypoxemia
โรคเลือดโดยเฉพาะเม็ดเลือดแดงน้อย เช่น โรคดลหิตจาง
ระบบเผาผลาญเมตาบอลิซึมผิดปกติต่าง ๆ
ระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่นโรคหัวใจชนิดต่าง ๆ ภาวะช็อคต่าง ๆ
ระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลาย ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ การบาดเจ็บของสมอง ได้รับยากดการหายใจ
ระบบทางเดินหายใจ เกิดการอุดกั้น การติดเชื้อ มีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง การบาดเจ็บที่ทรวงอก การหายใจล้มเหลว
ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดโดยเฉพาะการผ่าตัดส่วนอกและช่องท้อง
สาเหตุและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ
อาการไอ (Cough)
สาเหตุของการไอ
ฝุุน ควัน สารเคมี อาหาร หรือน้ำที่สำลักเข้าไป
ความร้อน - เย็นของอากาศ จะท าให้การไอมากขึ้น
การอักเสบหรือการบวมบริเวณทางเดินหายใจ
ลักษณะของอาการไอ
ไอแห้ง
ไอมีเสมหะ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการไอ
กระตุ้นให้ดื่มน้ำอุ่นบ่อย ๆ
ดูแลความสะอาดของปาก ฟัน และสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร
กระตุ้นให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ
ถ้าไอมีเสมหะให้สังเกต บันทึกจำนวน ลักษณะ สีและกลิ่นของเสมหะด้วย
สอนการไออย่างมีประสิทธิภาพ โดยการให้นั่งหรือนอนยกศีรษะสูง
สังเกตและบันทึกลักษณะ เสียง ความถี่ และระยะเวลาของการไอ
ดูแลให้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการไอตามแผนการรักษาของแพทย์
ประเมินประสิทธิภาพการไอ โดยการฟังเสียงไอ
การไอเป็นเลือด Hemoptysis
ชนิดของการไอเป็นเลือด
ไอจนมีเลือดปนออกมา มีเสมหะและเลือดปนเป็นเนื้อเดียวกัน
ไอจนมีเลือดออกเป็นสาย มีเลือดเป็นสายปนกับเสมหะแต่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน
ไอจนมีเลือดสดออกมา พบในวัณโรคปอด
ไอจนมีเสมหะสีคล้ายสนิม จากมีเลือดเก่า ๆ ปนออกมาด้วย
สาเหตุของการไอเป็นเลือด
การอักเสบ
เนื้องอก และมะเร็ง
อุบัติเหตุ
ความผิดปกติของหลอดเลือดและโรคปอดต่าง ๆ
อาการไอเป็นเลือด
มีฟองปน
มีประวัติเป็นโรคปอด
มีฤทธิ์เป็นด่าง
มีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วย
สีแดงสด
อาการอาเจียนเป็นเลือด
ไม่มีฟองปน
มีประวัติเป็นโรคกระเพาะอาหาร
มีฤทธิ์เป็นกรด (ปนกับน้ำย่อย)
สีคล้ำ
ไม่มีอาการเจ็บหน้าอก
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการไอเป็นเลือด
ประเมินชีพจร หายใจ และความดันโลหิต ประเมินอาการเปลี่ยนแปลงและความรุนแรงของการเสียเลือด
หากเสียเลือดมาก ต้องให้เลือด และเฝ้าระวังการแพ้เลือด
ให้ผู้ป่วยพักผ่อนและให้การหายใจเคลื่อนไหวน้อยที่สุด
ผู้ป่วยอาจตกใจมาก ทำให้หายใจเร็วขึ้น พยาบาลต้องคอยปลอบโยน ให้กำลังใจ จนผู้ป่วยควบคุมตนเองได้
การสะอึก Hiccup
สาเหตุของอาการสะอึก
ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
สูบบุหรี่จัด
ดื่มเครื่องดื่มพวกที่ทำให้เกิดแก๊ส
มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของกระเพาะอาหารทันที
กินอิ่มมากเกินไป
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการสะอึก
แนะนำให้หายใจเข้าออกในถุงปิด
แนะนำให้กลั้นหายใจเป็นพัก ๆ
ให้ชิมของเปรี้ยวจัด เช่น น้ำมะนาว
ใช้เทคนิคเบี่ยงเบนความสนใจ
ให้ดมสารที่มีกลิ่นฉุน เช่น แอมโมเนีย
ดูแลความปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อม
อาการหายใจลำบาก
Dyspnea
สาเหตุของการหายใจลำบาก
สาเหตุเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น ทางเดินหายใจอุดกั้น หรือปอดถูกทำลาย
สาเหตุเกี่ยวกับหัวใจ เช่น การทำงานของหัวใจไม่ดี
สาเหตุเกี่ยวกับประสาท ทำให้การควบคุมการหายใจไม่ดี เช่น โรคไขสันหลังอักเสบ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการหายใจลำบาก
เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน
ดูแลให้ยาขยายหลอดลม หรือยาขับเสมหะ ตามแผนการรักษา
ดูแลประคับประคองด้านจิตใจ
ดูแลให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง และให้ออกซิเจนร่วมด้วย
ดูแลให้ออกซิเจนชนิดละอองฝอย (nebulizer) เพื่อให้หายใจสะดวก
ฝึกให้ผู้ป่วยหายใจและการไออย่างมีประสิทธิภาพ
อาการเจ็บหน้าอก
Chest pain
ลักษณะอาการเจ็บหน้าอก
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจาก เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบมักเป็นตรงบริเวณหัวใจ
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากหัวใจ เช่น ภาวะหลอดเลือดแดงหัวใจโคโรนารี
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากเยื่อหุ้มปอดอักเสบ มักเจ็บตรงบริเวณที่มีอาการอักเสบ
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากหลอดลมอักเสบ
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากกล้ามเนื้ออักเสบ มักมีอาการเจ็บเฉพาะที่ และเจ็บเมื่อใช้มือกดที่บริเวณนั้น
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากเส้นประสาท เช่น โรครากประสาทสันหลัง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก
ประเมินหาสาเหตุของอาการว่า อาการเจ็บหน้าอกเกิดจากหัวใจหรือ ปอด ถ้าเป็นอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจ
สังเกตอาการ ถ้าผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดที่เยื่อหุ้มปอด ควรแนะนำให้นอนตะแคงทับด้านที่เป็น
จัดเตรีมอุปกรณ์การให้ออกซิเจนและพิจารณาให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วย
บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
การให้ออกซิเจนเพื่อการรักษา (Oxygen therapy)
อาการและอาการแสดงของภาวะขาดออกซิเจน
ระดับการมีสมาธิลดลง (decreased ability to concentrate)
ระดับความรู้สึกตัวลดลง (decreased level of consciousness)
ความอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าเพิ่มขึ้น (increased fatigue)
มีอาการวิงเวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุน (vertigo)
แสดงพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป (behavior changes)
อัตราการเต้นของชีพจรเร็วขึ้น (increase pulse rate) ขั้นรุนแรง และพบ bradycardia
ในช่วงแรกอัตราการหายใจเร็วและลึก (increase rate and depth respiration)
ระยะต่อมาจะเปลี่ยนเป็นหายใจสั้นและตื้น (shallow and slow respiration)
ความดันโลหิตลดลง (blood pressure will decrease)
หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ (cardiac dysthymias)
มีภาวะซีด (pallor)
มีอาการเขียวคล้ำ (cyanosis)
กรณีเป็นภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง พบนิ้วปุูม (clubbing)
วิตกกังวล (anxiety) กระสับกระส่าย (restlessness)
อาการหายใจลำบาก (dyspnea)
วัตถุประสงค์ของการให้ออกซิเจนเพื่อการรักษา
เป็นการลดอาการขาดออกซิเจนเรื้อรัง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคถุงลมโปุงฟอง
เป็นการช่วยการทำงานของระบบทางเดินหายใจ หัวใจ และระบบการไหลเวียนโลหิต
และหลอดเลือดจากภาวะพร่องออกซิเจน
เป็นการรักษาภาวะพร่องออกซิเจนทำให้ออกซิเจนในเลือดต่ำ
ข้อชี้บ่งของการให้ออกซิเจน
เกิดภาวะบาดเจ็บขั้นรุนแรง (severe trauma)
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิดเฉียบพลัน (acute myocardial infarction: MI)
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ hypoxemia
มีภาวะขาดออกซิเจนในเลือด
การให้ออกซิเจนเป็นเวลาช่วงสั้น ๆ ในการทำผ่าตัด
ข้อควรระวังและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ออกซิเจน
ขณะทำผ่าตัดด้วยวิธีเลเซอร์ในทางเดินหายใจ ควรจำกัดความเข้มข้นของออกซิเจนที่ใช้ในต่ำที่สุด
ควรระวังการให้ความชื้นร่วมกับออกซิเจนโดยเฉพาะการให้ความชื้นแบบ nebulizer
ควรระวังการให้ออกซิเจนในผู้ป่วยที่ได้รับพิษจาก paraquat
อาจเกิดภาวะปอดแฟบ (lung atelectasis) ออกซิเจนเป็นพิษ (oxygen toxicity)
การมีความเข้มข้นระดับสูงของออกซิเจน บริเวณที่เกิดไฟไหม้จะทำให้ขบวนการติดไฟเพิ่มความรุนแรงยิ่งขึ้น
อาจเกิดภาวะกดการหายใจผู้ป่วยที่หายใจเอง
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจน
หมั่นสังเกตและประเมินภาวะของผู้ป่วยเกี่ยวกับ
ระดับความรู้สึกตัว
ความผิดปกติของสีผิว ดูลักษณะบริเวณริมฝีปาก เล็บมือ เล็บเท้า ผิวหนังว่ามีอาการเขียวหรือไม่
วัดปริมาตรหายใจเข้า-ออกต่อครั้ง (Tridal Volume) ในกรณีที่ผู้ป่วยอาการหนักและมีเครื่องมือวัดโดยเฉพาะ
ตรวจวัดสัญญาณชีพ ดูลักษณะ และอัตราเร็วของการหายใจ ความดันโลหิตและชีพจร
ติดตามผลค่าก๊าซให้ออกซิเจน (Blood gas)
หมั่นตรวจดูอุปกรณ์ที่ให้ออกซิเจน
ออกซิเจนไม่รั่วจากขวดทำน้ำกลั่นที่ทำความชื้น
ถ้าเป็นออกซิเจนถัง จะต้องให้มีออกซิเจนอยู่เสมอ โดยดูจากที่หน้าปัดบอกระดับของออกซิเจน ถ้าเหลือ 1/3 ของถัง
ขวดทำความชื้นมีน้ำอยู่พอเหมาะไม่มากหรือน้อยจนเกินไป
ตรวจดูสายยาง ให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ไม่เลื่อนหลุดจากที่รอยต่อต่างๆ
เปลี่ยนและนำอุปกรณ์การใช้ออกซิเจน ไปทำความสะอาดและทำให้ปลอดเชื้อ
ถ้าให้ออกซิเจนจากระบบ pipeline ที่มีรูเปิด (outlet)
ดูแลทางเดินหายใจโดยท่าทางเดินหายใจ(Clear air way)
สอนการไออย่างถูกวิธี เพื่อให้ระบายเสมหะออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กระตุ้นให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ เพื่อให้น้ำช่วยละลายเสมหะให้ขับออกได้ง่าย
ดูดเสมหะที่ค้างตามท่าทางเดินหายใจเป็นระยะๆ เพื่อปูองกันการอุดตัน
การจัดท่านอน ท่านั่ง ให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย และปอดขยายได้เต็มที่โดยให้อยู่ในท่าศีรษะสูง
ดูแลความสะอาดของจมูกและปากบ่อยๆ หรือ ทุก 2 - 3 ชั่วโมง
ให้จิบน้ำบ่อยๆ
ถ้าเจ็บคอ ให้ล้างปากด้วยน้ำยา หรือบ้วนด้วยน้ำสะอาดบ่อยๆ
ทาริมฝีปากด้วย กลีเซอรีน บอแรกซ์
ทำความสะอาดช่องจมูก
ดูแลความสะอาดบริเวณหน้า โดยเฉพาะในผู้ปุวยที่ได้รับ Oxygen mask จะมีเหงื่อออกมาก
ควรเช็ด mask และทาแปูงให้บ่อยๆ หรือทุก 2 - 3 ชั่วโมง เพื่อให้สบายขึ้น
ดูแลด้านจิตใจ เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยและญาติ
ดูแลควบคุมอัตราการไหของออกซิเจนให้เพียงพอ ไม่ให้ผู้ป่วยอึดอัด
สนใจ รับฟังความต้องการของผู้ป่วยอย่างจิงจัง
แนะนำ อธิบายให้ผู้ป่วยรู้จักเครื่องมือต่าง ๆ ได้ง่าย
พยาบาลควรมีความชำนาญในการใช้เครื่องมือ
ให้เวลาผู้ป่วยในการพูดคุย สัมผัสผู้ป่วยบ้างและรีบไปดูแลทันทีเมื่อผู้ปุวยขอความช่วยเหลือ
บอกประโยชน์ของการได้รับออกซิเจน
เทคนิคการพยาบาลที่เกี่ยวข้องในการให้ออกซิเจนแบบต่าง ๆ
ระบบการให้ออกซิเจน
ระบบการไหลของออกซิเจนชนิดต่ำ
(Low flow system)
การให้ออกซิเจนชนิดเขี้ยว
(nasal cannula) หรือ nasal prongs
ข้อดี
ผู้ป่วยสามารถดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารได้โดยไม่ต้องปลดสายออก ไม่ค่อยรู้สึกอึดอัดหรือรำคาญมากนัก และติดต่อสารกับผู้อื่นได้สะดวก
ข้อเสีย
อาจมีการระคายเคืองช่องจมูกทั้งสองข้าง ทำให้เยื่อบุจมูกบวมและมีน้ำมูกออกมาอุดทำให้ท่อตันได้ จึงควรทำความสะอาดท่อและรูจมูกทุก 8 ชั่วโมง
เป็นการให้ออกซิเจนทางจมูก วิธีนี้ผู้ป่วยจะได้รับออกซิเจนที่มีความเข้มข้นต่ำ
ซึ่งจะได้ออกซิเจนร้อยละ 30 – 40 ในขณะที่ปรับอัตราการไหลของออกซิเจน 4 – 6 ลิตร/ นาที
การให้ออกซิเจนทางหน้ากาก (mask)
Simple mask
เป็นชนิดที่ให้ออกซิเจนความเข้มข้นร้อยละ 40-50
การปรับอัตราไหลของออกซิเจน 5 – 8 ลิตร/ นาที
Reservoir bag (partial rebreathing mask)
ให้ความเข้มข้นสูงกว่าร้อยละ 60–90
Non rebreathing mask
ลักษณะคล้าย partial rebreathing ยกเว้นรูระบาย
อากาศส่วนหน้ากากลักษณะเป็นลิ้นไหลทางเดียว (unidirectional valve) ทั้ง 2 ข้าง
ระบบการไหลของออกซิเจนชนิดสูง
(High flow system)
การให้ออกซิเจนชนิดT- piece
เป็นอุปกรณ์ให้ออกซิเจนผู้ป่วยที่มีท่อทางเดินหายใจ
ทำด้วยพลาสติกเบา เพื่อไม่ให้ดึงรั้งท่อเจาะหลอดลมคอ
การให้ออกซิเจนทางท่อหลอดลม (tracheostomy collar)
เป็นอุปกรณ์คล้ายหน้ากากคล้องไว้กับคอ ครอบบนท่อเจาะหลอดลมคอ
การให้ออกซิเจนชนิด croupette tent
เป็นอุปกรณ์ให้ออกซิเจนที่ครอบตัวผู้ป่วยลักษณะคล้ายเต็นท์
การให้ออกซิเจนชนิด hood หรือ oxygen box
เป็นอุปกรณ์ใช้ครอบศีรษะและไหล่ในผู้ป่วยเด็ก
การให้ออกซิเจนทางท่อช่วยหายใจ (endotracheal tube: ET)
เป็นท่อช่วยหายใจซึ่งแพทย์จะใส่ท่อนี้เข้าไปในหลอดลมของผู้ป่วย แล้วต่อเข้ากับเครื่องช่วยหายใจ (respirator) ใช้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถหายใจได้ด้วยตนเอง
ระบบให้ความชื้น (Humidification)
ชนิดละอองโต (Bubble)
ให้ความชื้นในส่วนต้นของทางเดินหายใจ 30 – 40 % สายให้ก๊าซมีขนาดเล็ก
ชนิดละอองฝอย (Jet)
ให้ความชื้นในทางเดินหายใจที่อยู่ลึกเหมาะกับผู้ป่วยที่มีเสมหะเหนียว มักเห็นเป็นหมอก
แหล่งให้ออกซิเจน (Oxygen source)
ถังบรรจุออกซิเจน (Oxygen tank)
ก่อนใช้ออกซิเจนจากถังบรรจุออกซิเจน ต้องมีอุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหลของก๊าซ (regulation of gas flow)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการไหลของออกซิเจนออกจากแหล่งจัดเก็บออกซิเจน
ระบบท่อ (Oxygen pipeline)
ก่อนใช้ออกซิเจนจากระบบท่อ ต้องมีอุปกรณ์ควบคุมอัตราการไหลของก๊าซ (regulation of gas flow) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการไหลของออกซิเจนออกจากแหล่งจัดเก็บออกซิเจนมาตามระบบท่อ
ภาวะบ่งชี้ในการรักษาด้วยออกซิเจน
โลหิตจางเนื่องจากเสียเลือดจำนวนมาก (exceptional blood loss)
การติดเชื้อและมีการตายของเนื้อเยื่อ (necrotizing soft tissue infection)
โรคแผลเรื้อรัง (chronic wounds) เช่น แผลเบาหวาน แผลจากการกดทับ และแผลจากการไหลเวียนหลอดเลือดดำ/หลอดเลือดแดงไม่ดี
การติดเชื้อเรื้อรังของเยื่อหุ้มกระดูก (refractory osteomyelitis)
โรคที่เกิดจากความดัน เช่น อากาศ หรือน้ำ (decompression sickness)
การปลูกถ่ายผิวหนังและกล้ามเนื้อ (compromised skin graft or flap)
การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อเนื่องจากการถูกบดขยี้
การได้รับบาดเจ็บจากรังสี (radiation Injury)
การติดเชื้อของเนื้อเยื่อจากแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจน (clostridial gas gangrene)
แผลไหม้จากความร้อน (thermal burn)
โรคคาร์บอนมอนน็อคไซด์เป็นพิษ/ การสำลักควันไฟ (CO poisoning and smoke inhalation)
โรคฝีในสมอง (intracranial abscess)
โรคฟองแก๊สอุดตันในหลอดเลือดแดง (air or gas Embolism)
ชนิดและลักษณะของห้องปรับบรรยากาศ
สามารถจุผู้ป่วยนอนได้ครั้งละ 1 คน เท่านั้น
ผู้ป่วยสามารถผ่อนคลาย นอนพัก หรืดูโทรทัศน์ ขณะเข้ารับการรักษา
สามารถทนความกดบรรยากาศได้สูงสุด 3 บรรยากาศ
เพิ่มความกดบรรยากาศด้วยออกซิเจนผู้ป่วยไม่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วยในการหายใจ
ลักษณะคล้ายหลอดแก้วใหญ่ทำด้วยพลาสติกอะครีลิค ใส ขนาด 0.7 X 2.2 เมตร
มีระบบสื่อสาร ผู้ป่วยสามารถพูดคุยติดต่อกับบุคคลภายนอกได้ขณะเข้ารับการรักษา
บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
การจัดท่าผู้ป่วย
ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะที่มีออกซิเจนในเซลล์ต่ำ (hypoxia) ควรจัดอยู่ในท่าศีรษะสูง (high fowler’s position)
การบริหารการหายใจ
การหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องหรือกระบังลม
(diaphragmatic breathing)
วิธีการปฏิบัติ
กระตุ้นให้ผู้ป่วยหดเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องไล่อากาศออกจากปอดให้มากที่สุด
ให้ผู้ป่วยเป่าลมออกทางปากช้า ๆ ประมาณ 2 – 3 เท่า ของระบบการหายใจเข้า
แนะนำให้ผู้ป่วยหยุดหายใจช้าๆ
สอนผู้ป่วยให้หายใจเข้าลึกๆ ทางจมูก (ปิดปากให้สนิท) ขณะผู้ป่วยสูดหายใจให้ดันกระบังลมลงให้ต่ำ
และใช้แรงดันผนังหน้าท้องให้ขยายออก
หลังจากฝึกปฏิบัติจนชำนาญแล้ว อาจใช้ของหนักประมาณ 5 ปอนด์ วางบนหน้าท้องเพื่อเพิ่มความแข็งแรง
ช่วยเหลือผู้ป่วยจัดท่าให้อยู่ในท่าที่สบาย
ให้ผู้ป่วยฝึกหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องหรือกระบังลมหายใจครั้งละ 10 – 20 นาที ทุกชั่วโมง จนเกิดความเคยชิน
ตรวจดูให้แน่ใจว่าจมูก หลอดลม ไม่มีน้ำมูก หรือเสมหะ และไม่มีอาการบวมคั่ง
การหายใจโดยการห่อปาก (pursed - lip breathing)
วิธีการปฏิบัติ
อธิบายให้ผู้ป่วยตั้งใจเป่าลมออกทางปากช้า ๆ
ใช้วิธีการหายใจ เมื่อผู้ป่วยมีการหายใจสั้น และฝึกการหายใจ 5-10 นาทีวันละ 4 ครั้ง
แนะนำผู้ป่วยให้หายใจออกทางปากช้า ๆ โดยการห่อปาก
แนะนำผู้ป่วยให้หายใจเข้าลึกๆ ทางจมูก (ปิดปากให้สนิท) และค่อย ๆ หยุดหายใจช้า ๆ เมื่อหายใจเข้าเต็มที่ ทำติดต่อกัน 3 ครั้ง
เนื่องจากหายใจลำบาก ถ้าผู้ป่วยฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จะช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ป่วย
ช่วยเหลือผู้ป่วยจัดท่าให้อยู่ในท่าที่สบาย
การหายใจเข้าลึกๆ (deep breathing)
วิธีการปฏิบัติ
แนะนำให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึก ๆ อย่างช้า ๆ
แนะนำผู้ป่วยให้กลั้นหายใจและไอออกแรงๆ
รวบตรึงบริเวณผ่าตัดด้วยหมอน โดยใช้มือกอดหมอน
เตรียมกระดาษเยื่อและชามรูปไต หรือกระโถนให้ผู้ป่วย
จัดท่าให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึก ๆ และไอได้สะดวก
การดูดเสมหะ (suction)
การช่วยทำให้ทางเดินหายใจโล่ง
กระตุ้นให้ไอบ่อย ๆ และให้ดื่มน้ำมาก ๆ
จัดท่านอนให้เหมาะสม กระตุ้นให้เปลี่ยนท่านอนบ่อยๆ
การทำ postural drainage เป็นการจัดท่าเพื่อช่วยระบายเสมหะที่ค้างอย
ทำการดูดเสมหะออก
การเพิ่มความสามารถในการขยายตัวของทรวงอกและปอด
จัดท่านอนศีรษะสูง
กระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจลึก ๆ บ่อยๆ
จัดให้มีการออกกำลังกายตามความสามารถของผู้ป่วย
ป้องกันอาการท้องอืดที่อาจเกิดขึ้น โดยให้อาหารที่ย่อยง่ายครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง
การเพิ่มปริมาณออกซิเจนที่เข้าปอด
ให้ออกซิเจนชนิดเขี้ยว (nasal cannula) หรือทางหน้ากาก (oxygen mask) หรือทางเต้นท์ (oxygen tents)
การลดความต้องการปริมาณออกซิเจนในร่างกาย
การเผาผลาญสารอาหารภายในเซลล์มากขึ้น ร่างกายจะต้องการออกซิเจนมากขึ้น
การผ่อนคลายความวิตกกังวล
แนะนำการทำสมาธิ หรือการนอนใส่หูฟัง ให้ฟังเพลง
วิธีการดูดเสมหะ
เครื่องดูดเสมหะ
เครื่องดูดเสมหะชนิดเคลื่อนที่ (mobile suction)
เครื่องดูดเสมหะชนิดติดฝาผนัง (wall suction)
การดูดเสมหะทางจมูก (Nasopharygeal) หรือปาก (oropharyngeal suction)
มีลักษณะเป็นท่อยาวภายในกลวง ลักษณะของท่อโค้ง และมีความยืดหยุ่น สามารถใส่เข้าทางจมูกผ่านไปถึงโพรงจมูกด้านหลังได้สะดวก ดูดเสมหะทางปาก จะเป็นท่อขนาดใหญ่กว่า สอดใส่เข้าทางปากผ่านช่องปากไปถึงโคนลิ้น
การดูดเสมหะทางท่อช่วยหายใจ(Endotracheal)
หรือทางท่อหลอดคอ(tracheostomy suction)
เป็นการดูดเสมหะผ่านท่อช่วยหายใจ Endotracheal หรือทางท่อเจาะคอที่เจาะผ่านหลอดลมออกมาภายนอก
อาการแทรกซ้อน
เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุทางเดินหายใจ
มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย
อาจเกิดการสำลักจากการกระตุ้น gag reflex หรือจัดท่าผู้ป่วยไม่ถูกต้อง
แรงกด หรือ การระคายเคือง บริเวณรูจมูกและริมฝีปาก อาจทำให้เกิดแผล
ริมฝีปากแห้งเกิดเป็นแผลได้ง่าย
อาจเกิดความผิดปกติในผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง
การเก็บเสมหะส่งตรวจ
(Sputum examination)
มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งวิเคราะห์โรค
วิธีเก็บเสมหะส่งตรวจ
ให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึกๆ แล้วไออกมา บ้านลงภาชนะสะอาดชิดมีฝาปิด
ตรวจดูว่าคือเสมหะ ไม่ใช่น้ำลาย ฝาให้สนิท และนำส่งห้องปฏิบัติการ
การตรวจเสมหะแบบเพาะเชื้อ (Sputum culture)
มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบว่าผู้ป่วยติดเชื้อชนิดใด และมีปฏิกิริยาต่อยาปฏิชีวนะตัวใด และเพื่อปรับเปลี่ยนแผนการรักษา
วิธีเก็บเสมหะส่งตรวจ
ผู้ป่วยไอขับเสมหะได้เอง ให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึกๆ แล้วไออกมา บ้านลงภาชนะสะอาดชิดมีฝาปิด
ตรวจดูว่าคือเสมหะ ไม่ใช่น้ำลาย ฝาให้สนิท และนำส่งห้องปฏิบัติการ
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถขับเสมหะออกได้เอง ใช้การดูดเสมหะลงภาชนะสะอาดปราศจากเชื้อชนิดมีฝาปิด
ความปลอดภัยขณะผู้ป่วยได้รับออกซิเจน
ข้อควรปฏิบัติและต้องคำนึงถึง
อาจเกิดอันตรายกับดวงตา เมื่อได้รับออกซิเจนเป็นระยะเวลานานๆ
อาจเกิดการหยุดหายใจในผู้ป่วย COPD
อาจเกิดการทำลายเนื้อเยื่อในปอด หากได้รับในระยะเวลานานกว่า 24 – 48 ชั่วโมง
อาจทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจแห้งและเกิดการระคายเคืองได้ ป้องกันโดยให้ออกซิเจนผ่านน้ำเสมอก่อนเข้าสู่ผู้ป่วย
อาจเกิดอุบัติเหตุจาการเกิดไฟไหม้หรือการระเบิด
อาจเกิดการติดเชื้อโรคแทรกซ้อน ควรมีการเฝ้าระวังในเรื่องการติดเชื้อ
หลักปฏิบัติในการให้ออกซิเจนชนิดต่าง ๆ
หมุนปุ่มเปิด flow meter ปรับอัตราการไหลของออกซิเจนทิ้งไว้ 1 – 2 นาที
กรณีให้ nasal cannula ทำความสะอาดช่องจมูกทั้งสองข้าง และทุก 8 ชั่วโมงเพื่อให้ช่องจมูกโล่ง สวมเขี้ยวเข้าในช่องจมูกทั้ง 2 ข้างโดยให้ส่วนโค้งแนบไปกับโพรงจมูก
ปรับระดับลูกลอยใน flow meter
ต่อกระบอกความชื้นที่ใส่น้ำกลั่นปลอดเชื้อ ให้ระดับน้ำอยู่ตรงตำแหน่งขีดที่กำหนด
กรณีให้ T- piece ควรดูดเสมหะออกก่อนเพื่อให้ออกซิเจนไหลผ่านหลอดลมคอได้สะดวก ต่อสาย T – piece ครอบท่อหลอดลมคอ
จัดสายไม่ให้เกิดภาวะดึงรั้ง ปรับอัตราการไหลของออกซิเจน 6 – 8 ลิตร/ นาที
ใส่ flow meter กับแหล่งที่มาของออกซิเจนที่มาจากชนิดผนัง
กรณีให้ mask แบบ simple mask ครอบหน้ากากบริเวณสันจมูกและปากให้แนบสนิท ปรับสายคล้องทัดเหนือใบหูรอบศีรษะ
แบบชนิดมีถุง เปิดออกซิเจนไหลผ่านถุง 10 -20 ลิตร/ นาที จนถุงโปุงเต็มที่เพื่อไล่ก๊าซอื่นที่ค้างในถุงออก
ประเมินสัญญาณชีพและระดับความรู้สึกตัว เพื่อประเมินอาการผู้ป่วย
ลงบันทึกทางการพยาบาล
ล้างมือให้สะอาด สวมmask เพื่อปูองกันการนำเชื้อเข้าสู่ผู้ป่วย
กรณีให้ oxygen hood (oxygen box) ให้ต่อท่อออกซิเจนเข้ากับกล่อง วางครอบเฉพาะศีรษะและไหล่ ระวังไม่ให้สายอยู่ใกล้หน้าเด็ก ให้ออกซิเจนในปริมาณพอเพียงและไม่ให้ออกซิเจนระคายเคืองตาเด็ก
ระบบทางเดินหายใจ
หน้าที่การทำงาน
จมูก
เป็นทางเข้าของอากาศ จักดับฝุ่นละอองและเพิ่มความชุ่มชื้นของกาศ
โพรงจมูกและช่องคอ
เพิ่มอุณหภูมิ ดักจับเชื้อโรค เพิ่มความชุ่มชื้นของอากาศ
กล่องเสียง
ใช้ในการสร้างเสียง และเป็นทางเดินหายใจ
หลอดคอ หลอดลม และหลอดลมฝอย
ลำเลียงอากาศ ดักจับเชื้อโรค และกำจัดเชื้อโรค
ถุงลม
แลกเปลี่ยนแก็ส
ฝากปิดกล่องเสียง
กันไม่ให้อาหารที่เรากลืนตกลงสู่ระบบทางเดินหายใจ
กลไกการหายใจของมนุษย์
การหายใจเข้า (Inspiration)
เกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อที่ยึดซี่โครงหดตัว จะทำให้กระดูกซี่โครงเลื่อนสูงขึ้น และกระบังลมก็จะหดตัว
และเลื่อนต่ำลง ทำให้ปริมาตรของช่องอกมีมากขึ้น ความดันในช่องอกจะลดต่ำลง อากาศจากภายนอกจึงสามารถผ่านเข้าสู่ปอดได้
การหายใจออก (Expiration)
เกิดขึ้นหลังจากการหายใจเข้า ทำให้กล้ามเนื้อที่ยึดซี่โครงมีการคลายตัว ทำให้กระดูกซี่โครงเลื่อนต่ำลง กระบังลมเลื่อนตัวสูงขึ้น
ทำให้ปริมาตรของช่องอกลดลง ความดันอากาศภายในช่องอกสูงขึ้น จึงดันอากาศจากในปอดออกสู่ภายนอกได้
โดยผ่านทางหลอดลมสู่จมูก เป็นการหายใจ
การหายใจในระดับเซลล
เป็นกระบวนการทางเคมีที่เกิดขึ้นระหว่างก๊าซออกซิเจนกับสารอาหารภายในเซลล์ ทำให้เกิดพลังขึ้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น
กลไกควบคุมการหายใจ
การควบคุมแบบอัตโนมัติ
เป็นการหายใจที่ไม่สามารถบังคับได้ โดยสมองส่วน pons และ medulla เป็นตัวสร้างและส่งสัญญาณประสาท
ไปกระตุ้นกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ ทำให้การหายใจเข้า-ออก เกิดขึ้นได้อย่างเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ในยามหลับและตื่น
ไม่จำเป็นต้องพะวงกับการสั่งการให้มีการหายใจ
การควบคุมภายใต้อำนาจจิตใจ
เป็นการหายใจที่สามารถบังคับได้ ดดยสมองส่วนหน้า เรียกว่า cerebral cortex hypothalamus สมองส่วนหลัง เรียกว่า cerebellum
ทำให้เราสามารถควบคุม บังคับ หรือปรับการหายใจให้เหมาะสมกับพฤติกรรมต่าง ๆ ของร่างกายได้ เช่น การพูด การร้องเพลง การว่ายน้ำ การกลั้นหายใจ เป็นต้น
สรุป
การหายใจ เป็นหารแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย และขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกาย กลไกลการหายใจ ประกอบด้วย การหายใจเข้า - ออก และการหายใจระดับเซลล์ ซึ่งมีระบบประสาทที่ควบคุมแบบอัตโนมัติและควบคุมภายใต้อำนาจจิตใจ
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
ตัวอย่าง
หญิงไทยสูงอายุ90 ปี ป่วยเป็นโรคชราและความจำเสื่อม ช่วยเหลือตนเองได้น้อยมาก
นอนติดเตียง (bed redden) ให้ออกซิเจน cannula 2 lit/min มีเสมหะใสไอออกได้เอง
การประเมินภาวะสุขภาพ
(Health assessment)
S : “ผู้ป่วยบอกว่าหายใจไม่สะดวก”
O : หญิงไทยสูงอายุ ป่วยเป็นโรคชราและความจำเสื่อมนอนติดเตียง อ่อนเพลีย ซีดเล็กน้อยรูปร่างผอมบาง ช่วยเหลือตนเองได้น้อย on O2 cannula 2 lit/min
การตรวจร่างกาย: พบ fine Crepitation at Right lower lobe
ผล Chest X-ray ปอดพบ: infiltration Right upper lobe
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ: Hct = 27 % , Hb = 9 mg %
Vital signs: T = 37 ˚C, P = 80 ครั้ง/ นาที, R = 26 ครั้ง/ นาที, BP = 140/ 90 mmHg
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
(Nursing diagnosis)
เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจากประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ปjวยมีเสมหะสีเหลืองข้น
การวางแผนการพยาบาล (Planning)
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย 2 lit/ min
ตามแผนการรักษา และไม่เกิดภาวะพร่องออกซิเจน
เกณฑ์การประเมินผล
อัตราการหายใจอยู่ในช่วง 16-24 ครั้ง/ นาที ลักษณะการหายใจปกติ
ผลเลือด Hb = 12 - 16 g/ dl และ Hct = 37 - 47 %
ไม่มีพบอาการของภาวะพร่องออกซิเจน ค่า O2 sat ≥ 95%
ฟังปอด พบ ทางเดินหายใจโล่งไม่มีเสมหะ
ผู้ป่วยได้รับ O2 cannula 2 lit/ min และปลอดภัย
การวางแผน
วางแผนให้การผู้ป่วยได้รับออกซิเจนได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย 2 lit/ min
ตามแผนการรักษาและมีความปลอดภัยขณะได้รับการออกซิเจน จัดเตรียมอุปกรณ์การให้ออกซิเจนชนิด cannula
การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
จัดสิ่งแวดล้อมให้มีความปลอดภัย ติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ หรือห้ามนำวัตถุไวไฟเข้าใกล้บริเวณเตียงผู้ป่วย
ประเมิน O2 saturation ทุก 2 ชั่วโมง
ปรับออกซิเจนให้ได้ 2 lit/ min จัดให้สาย cannula อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
ประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนได้รับออกซิเจน ประเมินภาวะพร่องออกซิเจน ประเมิณอัตราการหายใจ ชีพจร สีของเล็บ ปลายมือปลายเท้า เยื่อบุผิวหนัง ลักษณะการซีดและเขียว
ติดตามผลเลือด Hb, Hct และ Chest X-Ray
วัด vital signs ทุก 4 ชั่วโมง
ดูแลส่งเสริมการพักผ่อนและการนอนหลับผู้ป่วยให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
สอนการไออย่างมีประสิทธิภาพ
ให้การพยาบาลด้านจิตใจและจิตวิญญาณ
จัดท่านอนศีรษะสูง
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
ประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
ไม่มีพบอาการของภาวะพร่องออกซิเจน และค่า O2 sat ไม่น้อยกว่า 95 %
อัตราการหายใจอยู่ในช่วง 16 - 24 ครั้ง/ นาที ลักษณะการหายใจปกติ
ผู้ป่วยได้รับ O2 cannula 2 lit/min และปลอดภัย
ผลเลือด Hb = 12 - 16 g/ dl และ Hct = 37 - 47 %
ประเมินความสุขสบายของผู้ป่วย (โดยการสอบถามผู้ป่วย)
ฟังปอด พบ fine Crepitation at Right lower lobe ลดลง
ประเมินผลกิจกรรมการพยาบาล
ประเมินการปฏิบัติถูกต้องครบและเป็นไปตามขั้นตอนของการปฏิบัติ
ประเมินการจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ครบถ้วนเพียงพอหรือไม่
ประเมินผลคุณภาพการบริการ
ประเมินคุณภาพของการให้บริการการพยาบาล และคุณภาพการบริการ ทุกข้อ อยู่ในระดับใด