Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่4 โรคกระเพาะปัสสาวะติดเชื้อ - Coggle Diagram
กรณีศึกษาที่4
โรคกระเพาะปัสสาวะติดเชื้อ
พยาธิสภาพของโรค
1.การติดเชื้อย้อนกลับขึ้นไปจากท่อปัสสาวะ แบคทีเรียส่วนใหญ่เข้าสู่ระบบทางเดินปัสสาวะจากบริเวณทวารหนักย้อนกลับขึ้นไปที่กระเพาะปัสสาวะ
2.เชื้อโรคกระจายตัวมาทางกระแสเลือด การติดเชื้อของไตโดยเชื้อโรคกระจายตัวมาเส้นเลือด
3.เชื้อโรคกระจายมาทางกระแสน้ำเหลือง เป็นการกระจายโดยตรงของแบคทีเรียจากอวัยวะข้างเคียง
สาเหตุและปัจจัยในการเกิดโรค
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ มักมีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย เกิดได้ทุกส่วนในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น กระเพาะปัสสาวะ ท่อไตและไต ปัจจัยที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ การถ่ายปัสสาวะบ่อยๆ
มักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อภาวะการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เช่น การดื่มน้ำน้อยต่อวัน,การกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ
อาการและอาการแสดง
การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง
ปัสสาวะขัด,กลั้นปัสสาวะไม่อยู่,ปัสสาวะถี่,ปวดหน่วงบริเวณท้องน้อย,และอาจพบว่ามีเลือดออกมาในปัสสาวะได้
การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะส่วนบน
ปัสสาวะขัด,กลั้นปัสสาวะไม่อยู่,ปัสสาวะถี่,ปวดหน่วงบริเวณท้องน้อย,และอาจพบว่ามีเลือดออกมาในปัสสาวะได้ และปวดบั้นเอว การวินิจฉัยตรวจร่างกายจะพบว่า มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน และ อ่อนแรง
การวินิจฉัย
ประเมินว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อในส่วนใด โดยจำแนกจาก มีติดเชื้อส่วนบน ได้จาก ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อยโดยไม่มีไข้ หนาวสั่น หรืออาการปวดหลัง
ติดเชื้อส่วนล่างของระบบทางเดินปัสสาวะ มีไข้ ปวดหลัง ปวดสีข้าง
การรักษา
เป้าหมายของการรักษา คือ การกำจัดเชื้อก่อโรคออกจากระบบทางเดินปัสสาวะ ป้องกันการเกิดภาวะลุกลามเป็นการติดเชื้อ และป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ควรได้รับการรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการและกำจัดเชื้อออกจากทางเดินปัสสาวะ
Lower urinary tract infection แนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะชนิดกินกลุ่ม flouroquinolong คือ Norfloxacin,Ofloxacin และ Ciprofloxacin นาน 7 วัน
กรณีเป็นเพศชาย,อายุมากกว่า 60 ปี,มีโรคเบาหวาน หรือมีความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะแนะนำให้ยากลุ่ม Fluoroquinolone ได้ Ofloxacin หรือ Ciprofloxacin นาน 7 วัน ไม่แนะนำให้ใช้ Norfloxacin
Upper urinary tract infection แนะนำให้ใช้ยาปฏิชีวนะชนิดกินกลุ่ม Flouroquinolong คือ Ofloxacin 200-400 mg bid 14 วัน และ Ciprofloxacin 250 mg bid 14 วัน กรณีที่มีการติดเชื้อที่ระดับรุนแรง จะได้รับยาปฏิชีวนะแบบฉีด Antibiotic : Ceftriaxone
การประเมินภาวะสุขภาพ
การซักประวัติ
1.ประเมินแผนการขับถ่ายปัสสาวะ ความถี่ ปริมาณ
2.ซักประวัติการดูแลตนเองความรู้เกี่ยวกับการขับถ่ายปัสสาวะ
3.ค้นหาปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยที่เป็นเหตุให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการขับถ่ายปัสสาวะ
4.ประเมินผลกระทบของปัญหาจากการขับถ่าย
การตรวจร่างกาย
คลำไต ให้ผู้ปวยนอนราบ ใช้มือซ้ายดันจากด้านหลังบริเววณเอวมือขวากดจากด้านหน้าตามแนวนอนปลายนิ้วอยู่เลยขอบของกล้ามเนื้อ ให้ผู้ป่วยหายใจยาวๆลึกๆให้มือทั้งสองชิดกัน
วิธีการเคาะตรวจหาการอักเสบของกรวยไต โดยให้ผู้ป่วยนั่งวางมือซ้ายทาบตำแหน่ง costrovertebral angle กำมือขวาแล้วทุบเบาๆที่มือทำทั้งสองข้างเปรียบเทียบกันสังเกตสีหน้าของผู้ป่วยจะพบว่าผู้ป่วยมีอาการปวด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ประกอบด้วย ข้อมูลสนับสนุน วัตถุประสงค์ กิจกรรมการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีภาวะการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะเนื่องจากกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน
ข้อสนับสนุน
S:ผู้ป่วยบอกว่าปวดปัสสาวะบ่อย บางครั้งมีอาการปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะทุกๆครึ่งชั่วโมง ปวดบั้นเอวและต้นขา
O:ตรวจพบ WBC 10-2- cell / HPF
Squamous epithelial cell 1-2 cell / HPF และ Bacteria numerous
วัตถุประสงค์
เพื่อลดภาวะการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
กิจกรรมทางการพยาบาล
1.ประเมินสัญญาณชีพและอาการแสดงทุก 4 ชม.
2.ล้างและเช็ดทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ุทุกครั้ง หลังถ่ายปัสสาวะเสร็จ
3.ให้ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะและเปลี่ยนแปลงตัวยาตามอาการของผู้ป่วย
4.ให้การพยาบาลด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ
5.ติดตามผลการตรวจปัสสาวะ