Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทักษะทางภาษาเพื่อการสื่อสาร - Coggle Diagram
ทักษะทางภาษาเพื่อการสื่อสาร
ทักษะด้านการรับสาร
การฟัง
การฟังเป็นทักษะทางภาษาที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ มนุษย์รู้จักรับฟังมาตั้งแต่รับรู้สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ การฟังเป็นกระบวนการสื่อสารที่มนุษย์ใช้งานมากที่สุดในชีวิตประจำวัน การฟังมากทำให้คนมีความรู้มากเกิดความรอบรู้ ช่วยให้เกิดความเพลิดเพลิน การฟังเป็นส่วนสำคัญของการพูด เพราะถ้าฟังผิดจะมีผลที่ไม่ดีเกิดขึ้นในการนำไปถ่ายทอดต่อ
กระบวนการฟัง
การมีสมาธิต่อสิ่งที่เราได้ยินนั้น (Concentration)เมื่อเสียงกระทบโสตประสาท และเราพุ่งความสนใจที่จะฟัง เราก็สามารถรับรู้เรื่องราวหรือสาระที่เกิดจากเสียงนั้นได้
การได้ยินเสียงที่มากระทบโสตประสาท เสียงพูดหรือเสียงใด ๆ จะผ่านหูไปกระทบโสตประสาท ในขั้นนี้เรายังไม่เรียกว่า การฟังเพราะการฟังนั้นกินความไปไปถึงการรับรู้และเกิดความเข้าใจต่อไปด้วย
การตอบสนอง (Reaction) ต่อสารที่ได้ยินนั้น
การเข้าใจสิ่งที่ได้ยิน (Comprehension)
การตีความสิ่งที่ได้ยิน (Interpretation) ตามความคิด ความรู้ และประสบการณ์ของผู้ฟัง
จุดมุ่งหมายของการฟัง
การฟังเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ คือ การฟังที่ผู้ฟังมีจุดมุ่งหมายที่จะหาความรู้ ความเข้าใจ และประเมินค่าเรื่องที่ได้ฟัง เช่น การฟังการบรรยายในชั้นเรียน การฟังปาฐกถา การฟังการอภิปราย ฯลฯ ลักษณะการฟังแบบนี้เป็นการฟังอย่างจริงจัง ผู้ฟังจะต้องสามารถจับใจความสำคัญ และจดจำรายละเอียดปลีกย่อยที่สำคัญได้
การฟังเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ คือ การฟังที่ผู้ฟังมีจุดมุ่งหมายที่จะหาความรู้ ความเข้าใจ และประเมินค่าเรื่องที่ได้ฟัง เช่น การฟังการบรรยายในชั้นเรียน การฟังปาฐกถา การฟังการอภิปราย ฯลฯ ลักษณะการฟังแบบนี้เป็นการฟังอย่างจริงจัง ผู้ฟังจะต้องสามารถจับใจความสำคัญ และจดจำรายละเอียดปลีกย่อยที่สำคัญได้
วิธีฝึกฝนและพัฒนาทักษะการฟัง
พยายามหาประโยชน์จากการฟัง
พยายามจดบันทึกทุกครั้งในขณะที่ฟัง
ขณะฟัง ต้องหมั่นฝึกปฏิบัติให้ได้ตามขั้นตอนการฟัง
ปัญหาการจับใจความสำคัญ
ต้องรู้จักสังเกตอวัจนภาษาของผู้พูด
ไม่เป็นคนใจแคบ
ฟังอย่างสุภาพและตั้งใจจริง
ฟังให้ครบ
ทำตัวให้มีความพร้อมที่จะรับฟัง
รักษามารยาทในการฟัง
ทักษะการฟังเชิงรุก
Active Listening หรือ การฟังเชิงรุก (ในที่นี้มีความหมายเดียวกับการฟังด้วยใจ, การฟังอย่างตั้งใจ) คือการฟังที่มีความหมายครอบคลุมทั้งการได้ยินเสียงที่อีกฝ่ายพูด โดยไม่ใช้ประสบการณ์ อคติ หรือความคาดหวังของตนไปตัดสินว่าเรื่องที่ได้ยินนั้นผิดหรือถูก มีการคิดวิเคราะห์แยกแยะ จับประเด็น และทวนกลับเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง รวมถึงการสังเกตอากัปกิริยาอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูด โดยผู้ฟังจะมีสติอยู่กับปัจจุบัน เปิดใจรับฟัง สามารถติดตามเรื่องราว ความคิดและความรู้สึกของผู้พูดได้จนเกิดความเข้าใจ
ทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์
การอ่านช่วยพัฒนาสติปัญญาของผู้อ่าน ช่วยให้ผู้อ่านทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะพยาบาล
การอ่านเชิงวิเคราะห์ หมายถึง การอ่านอย่างละเอียด เพื่อทำความความเข้าใจในเรื่องที่อ่าน สามารถแยกแยะสิ่งที่อ่านได้ว่า ใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร รวมทั้งความหมาย ความสำคัญ องค์ประกอบ และเนื้อหาแต่ละส่วนสัมพันธ์กับส่วนอื่น ๆ อย่างไร
ขั้นตอนของการอ่านเชิงวิเคราะห์
ขั้นที่ 2 วิเคราะห์
ขั้นที่ 3 สรุป
ขั้นที่ 1 รวบรวมข้อมูล
ขั้นที่ 4 ประยุกต์และนำไปใช้
ทักษะการส่งสาร
การเขียน
ลักษณะของงานเขียนที่ดี
มีความกระจ่าง การทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องได้ตรงกับความต้องการของผู้เขียน
มีรูปแบบการเขียนเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหา
มีสัมพันธภาพ คือ การยึดอยู่ด้วยกัน
มีเนื้อหาดีและรายละเอียดเด่นชัด ผู้เขียนทุกคนย่อมมีความต้องการให้เรื่องที่ตนเขียน มีเนื้อหาดีรายละเอียดเด่นชัด เพื่อให้ได้งานเขียนที่ผู้อ่านยอมรับ
มีเอกภาพผู้เขียนต้องวางโครงเรื่อง และดำเนินการเขียนตามโครงเรื่องนั้นอย่างเคร่งครัด จะช่วยให้เรื่องมีขอบเขตจำกัด
มีจินตนาการที่สอดคล้องกับเนื้อหา มนุษย์มีจินตนาการมากบ้างน้อยบ้างกันทุกคน และต่างก็สนใจใคร่รู้จินตนาการของผู้อื่น ยิ่งเป็นจินตนาการที่สนุกสนาน ตื่นเต้นเร้าใจ ก็ยิ่งชอบจินตนาการจะมีส่วนในงานเขียนแต่ละประเภทไม่เท่ากัน การใช้จินตนาการไม่เหมาะสมก็จะทำลายลักษณะที่ดีของงานเขียนได้
มีจุดมุ่งหมายในการเขียนที่ชัดเจนการกำหนดจุดมุ่งหมายที่แน่นอนและชัดเจนของผู้เขียนจะช่วยให้งานเขียนนั้น ตรงไปสู่ทิศทางที่ต้องการ จนทำให้เรื่องไม่ชัดเจน
ใช้ภาษาถูกต้องเหมาะสม งานเขียนที่ดีต้องเขียนคำให้ถูกต้อง เลือกคำให้ได้ตรงตามความหมายที่ต้องการ รู้จักการหลากคำคือไม่ใช้คำซ้ำ ๆ ในที่ใกล้ ๆ กันจนเกิดความเบื่อหน่าย
การพัฒนาทักษะการเขียน
ควรศึกษาและหมั่นฝึกฝนในเบื้องต้นในเรื่อง “การเขียนย่อหน้า”
หลักการเขียนย่อหน้า
โดยทั่วไปย่อหน้ามีความยาวโดยประมาณ 4 บรรทัด หรือ 100 คำ เป็นอย่างน้อย แต่ไม่ควรเกิน 8 หรือ 10 บรรทัด หรือประมาณ 200 – 250 คำ
ความสั้นยาวของแต่ละย่อหน้าในเรื่องหนึ่ง ๆ นั้น ไม่ควรให้แตกต่างกันมากนัก เช่น ย่อหน้าแรก 20 บรรทัด ย่อหน้าต่อไป 5 บรรทัดบ้าง 3 บรรทัดบ้าง
การย่อหน้าต้องยาวพอที่จะอธิบายความคิดได้แจ่มแจ้ง ต้องไม่สั้นจนกลายเป็นการนำหัวข้อมาเรียงๆ กันโดยไม่อธิบายให้เห็นว่าหัวข้อนั้นสัมพันธ์กันอย่างไร