Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจนและการดูดเสมหะ - Coggle Diagram
การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจนและการดูดเสมหะ
7.1 ความสาคัญของก๊าซออกซิเจนที่มีต่อร่างกาย
การแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ความดันออกซิเจน ทาให้เกิดการขนส่งออกซิเจนสู่เนื้อเยื่อ
การหมุนเวียน เพื่อกาจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
การทำงานของเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ขนส่งก๊าซ เม็ดเลือดแดง
การแลกเปลี่ยนก๊าซเกิดจาก ความเข้มข้นที่ต่างกันของก๊าซระหว่างบรรยากาศและในเส้นเลือด ทาให้
เกิดการซึมผ่านเยื่อเลือกผ่านที่ผนังของถุงลมและหลอดเลือด และเข้าไปในเลือดแบ่งการทางานเป็น 3 ส่วน
หลัก
7.2 ปัจจัยที่มีผลตอการไดรับออกซิเจนของบุคคล
อยู่ในที่ที่มีมลพิษสูง ภาวะดังกล่าวทำให้อากาศบริเวณนั้นมีออกซิเจนลดลง การที่ร่างกายได้รับ
สารพิษจากอากาศ ทำให้ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ในขบวนการขจัดสารพิษ
การเล่นกีฬาหรือออกกาลังกายหนักๆ ขณะออกกาลังกาย ร่างกายต้องการออกซิเจนมากกว่าปกติอาจทำให้ได้รับออกซิเจนไม่ทั่วถึงและเพียงพอ เป็นสาเหตุทำให้เหนื่อยเร็ว และอ่อนล้า
การเดินทางหรืออาศัยในที่สูง ภาวะดังกล่าวจะมีความหนาแน่นของอากาศลดลง มีผลให้ออกซิเจนมีระดับต่ำกว่าปกติ ทำให้ร่างกายได้ออกซิเจนน้อยกว่าปกติ
ความเครียด ทำให้เกิดภาวะนอนไม่หลับ การหายใจถี่ขึ้น ต้องการออกซิเจนมากขึ้น
อาหารที่มีไขมันมาก จะมีปริมาณออกซิเจนน้อย เวลารับประทานอาหารที่มีไขมันมากจะทำให้ปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำลง
ผู้สูงอายุ ร่างกายของคนเราจะเสื่อมลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ความเสื่อมเกิดขึ้นได้ทุกระบบในร่างกายเช่น ระบบการหมุนเวียนเลือดและหัวใจ ทำให้ความสามารถในการรับออกซิเจนน้อยลง
การสูบบุหรี่ มีผลเสียต่อร่างกายในหลายๆ ระบบ เช่น กล่องเสียง หลอดเลือดในสมอง ถุงลม และปอดทำให้ความสามารถในการรับออกซิเจนน้อยลง ทาให้หลอดเลือดมีคาร์บอนไดออกไซด์มาก และมีออกซิเจนน้อย การสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานๆ ส่งผลให้เกิดอาการพร่องออกซิเจนเป็นมากขึ้น
การดื่มสุราและเครื่องดื่มที่เป็นแอลกอฮอล์ การดื่มในปริมาณมากเกินควรจะส่งผลให้ร่างกายเกิดผลเสียแบบเฉียบพลับและเรื้อรัง ซึ่งส่งผลต่อตับ สมอง หรือหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น
7.3 การประเมินภาวะพร่องออกซิเจน
7.3.2 การประเมินการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
2) ค่าการอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Arterial oxygen saturation)
3) การตรวจหาระดับฮีโมโกลบิน (Hemoglobin: Hb)
1) ระดับค่าก๊าซในหลอดเลือดแดง (Arterial blood gas: ABG)
7.3.1 การประเมินสภาพร่างกาย
3) ระบบประสาทส่วนกลาง สังเกตและประเมินพบ ความรู้สึกตัวของผู้ปุวยเปลี่ยนแปลงกระสับกระส่าย สับสน มึนศีรษะ ปวดศีรษะ (เนื่องจากหลอดเลือดสมองขยายตัว) เพ้อ หมดสติ หรือชัก
4) ระบบผิวหนัง ระยะแรก พบว่า ผิวหนังผู้ปุวยเย็น ซีด เพราะร่างกายจะตอบสนองต่อภาวะพร่องออกซิเจน โดยหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะสาคัญ เช่น สมอง เป็นต้น
5) ระบบทางเดินอาหาร ประเมินและสังเกตพบมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนในระยะแรก
1) ระบบทางเดินหายใจ ระยะแรกของเซลล์พร่องออกซิเจนอย่างอ่อน สังเกตพบ ผู้ป่วยมีอาการหายใจไม่สะดวก หายใจลำบากเมื่อนอนราบ (Orthopnea)
2) ระบบหัวใจและหลอดเลือด ประเมินพบ ชีพจรเต้นเร็วผิดปกติ ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นในระยะแรก เพื่อปรับชดเชย ระยะต่อมาหัวใจเต้นผิดจังหวะ บีบตัวช้าลง เจ็บหน้าอกและหัวใจหยุดเต้นในระยะสุดท้าย
7.4 สาเหตุและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ
7.4.1 อาการไอ (Cough)
สาเหตุของการไอ
ฝุน ควัน สารเคมี อาหาร หรือน้าที่สาลักเข้าไป
ความร้อน - เย็นของอากาศ จะทาให้การไอมากขึ้น
การอักเสบหรือการบวมบริเวณทางเดินหายใจ มีอาการไอน้อยกว่า 2 สัปดาห์ อาจเกิดจากไข้หวัด การติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง
ลักษณะของอาการไอ
ไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะ เช่น ไอเนื่องจากมีฝุนละอองมาก เป็นต้น
ไอมีเสมหะ ซึ่งเสมหะที่เป็นหนอง มักเกิดจากการติดเชื้อในทางเดินลมหายใจ เช่น โรคปอดบวม และวัณโรคปอด เป็นต้น และเสมหะที่ไม่เป็นหนอง เช่น โรคหอบหืด เป็นต้น
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการไอ
ประเมินประสิทธิภาพการไอ ลักษณะไอแห้ง ๆ หรือไอแบบมีเสมหะ โดยการฟังเสียงไอ
สังเกตและบันทึกลักษณะ เสียง ความถี่ และระยะเวลาของการไอ
ถ้าไอมีเสมหะให้สังเกต บันทึกจานวน ลักษณะ สี และกลิ่นของเสมหะด้วย
ดูแลความสะอาดของปาก ฟัน และสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร
กระตุ้นให้ดื่มน้าอุ่นบ่อย ๆ และปริมาณมาก เพื่อให้เสมหะอ่อนตัว
กระตุ้นให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ เพื่อให้เสมหะที่ค้างในปอดเคลื่อนออกมาได้ง่าย จากการเปลี่ยนท่าหรืออิริยาบถ
สอนการไออย่างมีประสิทธิภาพ (effective cough) โดยการให้ผู้ปุวยนั่งหรือนอนยกศีรษะสูง (Fowler’s position) และหายใจเข้าลึกๆ
ดูแลให้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการไอตามแผนการรักษาของแพทย์
7.4.2 Hemoptysis
ชนิดของการไอเป็นเลือด
ไอจนมีเลือดสดออกมา พบในวัณโรคปอด
ไอจนมีเลือดปนออกมา คือ มีเสมหะและเลือดปนเป็นเนื้อเดียวกัน พบในโรคมะเร็งของหลอดลม หรือวัณโรคปอด
ไอจนมีเลือดออกเป็นสาย มีเลือดเป็นสายปนกับเสมหะแต่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน พบในโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง หรือมะเร็งหลอดลม
ไอจนมีเสมหะสีคล้ายสนิม จากมีเลือดเก่า ๆ ปนออกมาด้วย พบในวัณโรคปอด
สาเหตุของการไอเป็นเลือด
อุบัติเหตุ
การอักเสบ ทาให้เกิดอาการไออย่างรุนแรง หรือมีแผลในคอ กล่องเสียง หลอดลมใหญ่ และในเนื้อปอด
เนื้องอก และมะเร็ง
ความผิดปกติของหลอดเลือดและโรคปอดต่าง ๆ ทาให้เกิดการไอเป็นเลือดได้ เช่น หลอดเลือดที่เลี้ยงปอดอุดตัน วัณโรค และปอดบวม เป็นต้น
7.4.3 Hiccup
การสะอึก เป็นอาการที่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อกระบังลมที่อยู่ตรงรอยต่อระหว่างช่องปอดและช่องท้อง ที่เกิดขึ้นเองโดยไม่สามารถควบคุมได้ทาให้เกิดการหายใจเอาอากาศเข้าไปก่อนและจะหยุดหายใจเข้าทันทีทันใด เพราะปากหลอดลมจะปิด ทาให้เสียงดังของการสะอึกเกิดขึ้น
7.4.4 Dyspnea
อาการหายใจลาบาก หมายถึง อาการซึ่งผู้ป่วยต้องใช้ความพยายามหรือใช้แรงในการหายใจ การหายใจลาบากไม่มีความสัมพันธ์กับความเร็วของการหายใจ อาจเกิดขึ้นเมื่อผู้ปุวยหายใจถี่
7.4.5 Chest pain
1) อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากกล้ามเนื้ออักเสบ มักมีอาการเจ็บเฉพาะที่ และเจ็บเมื่อใช้มือกดที่บริเวณนั้น
2) อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากเยื่อหุ้มปอดอักเสบ มักเจ็บตรงบริเวณที่มีอาการอักเสบ และมักเจ็บมากเมื่อเวลาหายใจเข้าลึก ๆ หรือเวลาไอ ทาให้ผู้ป่วยต้องหายใจตื้น ๆ
3) อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจาก เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบมักเป็นตรงบริเวณหัวใจ และเจ็บตลอดเวลา อาจมีลักษณะในข้อ 2 ร่วมด้วย ถ้าการอักเสบลุกลามถึงเยื่อหุ้มปอด
4) อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากหัวใจ เช่น ภาวะหลอดเลือดแดงหัวใจโคโรนารี (coronaryartery) ตีบแคบ มักมีอาการแน่นหน้าอกบริเวณกระดูก sternum โดยเฉพาะจะเจ็บหรือปวดมากเมื่อเวลา
ออกกาลังกาย เช่น เดินขึ้นบันได เป็นต้น
5) อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากหลอดลมอักเสบ มักมีอาการแน่นหน้าอกบริเวณหลังกระดูกอาจเจ็บตลอดเวลา และเจ็บมากเมื่อเวลาไอ
6) อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากเส้นประสาท เช่น โรครากประสาทสันหลัง (posterior nerveroot) จะปวดร้าวไปตามแขนงของประสาท intercostal nerve ซึ่งอยู่ตามแนวกระดูกซี่โครงและปวดตลอดเวลา พบในโรคงูสวัด (herpes zoster) เป็นต้น
7.5 บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
7.5.1 อาการและอาการแสดงของภาวะขาดออกซิเจน
7.5.2 วัตถุประสงค์ของการให้ออกซิเจนเพื่อการรักษา
7.5.3 ข้อชี้บ่งของการให้ออกซิเจน
7.5.4 ข้อควรระวังและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ออกซิเจน
7.5.5 การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจน
หมั่นสังเกตและประเมินภาวะของผู้ป่วยเกี่ยวกับ
หมั่นตรวจดูอุปกรณ์ที่ให้ออกซิเจน
ดูแลทางเดินหายใจโดยท่าทางเดินหายใจ(Clear air way)
ดูแลความสะอาดของจมูกและปากบ่อยๆ หรือ ทุก 2 - 3 ชั่วโมง
ดูแลด้านจิตใจ เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยและญาติ ควรดูแล
7.6 เทคนิคการพยาบาลที่เกี่ยวข้องในการให้ออกซิเจนแบบต่าง ๆ
ระบบการให้ออกซิเจน
2) ระบบการไหลของออกซิเจนชนิดสูง (High flow system)
1) ระบบการไหลของออกซิเจนชนิดต่า (Low flow system)
7.6 บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
7.6.2 การบริหารการหายใจ
1) การหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องหรือกระบังลม (diaphragmatic breathing)
2) การหายใจโดยการห่อปาก (pursed - lip breathing)
3) การหายใจเข้าลึกๆ (deep breathing)
7.6.3 การดูดเสมหะ (suction)
7.6.1 การจัดท่าผู้ป่วย
7.7 ความปลอดภัยขณะผู้ป่วยได้รับออกซิเจน
อาจเกิดการทาลายเนื้อเยื่อในปอด ออกซิเจนจะก่อพิษในปอดได้หากได้รับในระยะเวลานานคือ 24 – 48 ชั่วโมง และความเข้มข้นของก๊าซ มากกว่าร้อยละ 60
อาจเกิดอันตรายกับดวงตา (retrolental fibroplasias) คือ การได้รับออกซิเจนความเข้มข้นสูงเป็นระยะเวลานาน ๆ จะเกิดกับหลอดเลือดหลังเลนส์เปลี่ยนแปลง
อาจทาให้เยื่อบุทางเดินหายใจแห้งและเกิดการระคายเคืองได้ เนื่องจากออกซิเจนเป็นก๊าซแห้ง เมื่อผ่านเข้าในระบบทางเดินหายใจจะทาให้เยื่อบุแห้ง
อาจเกิดการหยุดหายใจ ในผู้ปุวยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ศูนย์การหายใจจะไม่เป็นตัวควบคุมการหายใจ แต่ใช้ chemoreceptor reflex เป็นตัวควบคุมแทน โดยใช้ภาวะการขาดออกซิเจน
อาจเกิดการติดเชื้อโรคแทรกซ้อน
อาจเกิดอุบัติเหตุจาการเกิดไฟไหม้หรือการระเบิด เพราะการสันดาป (combustion) เป็นขบวนการที่เชื้อเพลิงทาปฏิกิริยากับออกซิเจนจนเกิดเป็น oxide มีความร้อนและพลังงาน เกิดขึ้น
7.8 กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
การวางแผนการพยาบาล (Planning)
การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
การประเมินภาวะสุขภาพ (Health assessment)