Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจนและการดูดเสมหะ - Coggle Diagram
การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจนและการดูดเสมหะ
ความสำคัญของก๊าซออกซิเจนที่มีต่อร่างกาย
การแลกเปลี่ยนก๊าซเกิดจาก ความเข้มข้นที่ต่างกันของก๊าซระหว่างบรรยากาศและในเส้นเลือด ทำให้เกิดการซึมผ่านเยื่อเลือกผ่านที่ผนังของถุงลมและหลอดเลือด และเข้าไปในเลือด
ความดันออกซิเจน ทำให้เกิดการขนส่งออกซิเจนสู่เนื้อเยื่อ หลังจากเลือดที่ออกจากปอดมีความดันออกซิเจนในเลือดสูงอยู่ เม็ดเลือดแดงจะปล่อยออกซิเจนจำนวนน้อยสู่กระแสเลือดเพื่อส่งไปหาเซลล์ต่าง
การหมุนเวียน เพื่อกาจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จะมีการขนส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปที่ปอด เพื่อทำการหายใจระบายออก
การขนส่งคาร์บอนไดออกไซด์โดย hemoglobin ในเม็ดเลือดแดง
คาร์บอนไดออกไซด์ไปรวมกับน้ำ เพื่อเกิดสารประกอบ กรดคาร์บอนิก และแตกตัวเป็นไฮโดรเจนไออน (H+) กับไบคาร์บอเนต (HCO3)
การทำงานของเม็ดเลือดแดง
มีหน้าที่ขนส่งก๊าซ เม็ดเลือดแดง มีอายุขัยประมาณ120 วันร่างกายเรามีการทำลายและการ สร้างเม็ดเลือดใหม่ตลอดเวลา
การประเมินภาวะพร่องออกซิเจน
การประเมินสภาพร่างกาย
ใช้เทคนิคการสังเกตและการประเมินสัญญาณชีพ
ชีพจร
การหายใจ
อุณหภูมิร่างกาย
ความดันโลหิต
ใช้เทคนิคการสังเกตลักษณะทั่วไป จะพบ
ระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยมีอาการ หายใจไม่สะดวก หายใจลำบากเมื่อนอนราบ ต้องนั่งหายใจหลังจากนอนหลับไปแล้วระยะหนึ่ง ต้องลุกขึ้นมานั่งหายใจ มีอาการกระสับกระส่าย
ระบบหัวใจและหลอดเลือด ชีพจรเต้นเร็วผิดปกติ ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
ระบบประสาทส่วนกลาง ความรู้สึกตัวของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลง กระสับกระส่าย สับสน มึนศีรษะ ปวดศีรษะ (เนื่องจากหลอดเลือดสมองขยายตัว) เพ้อ หมดสติ หรือชัก
ระบบผิวหนัง ผิวหนังผู้ป่วยเย็น ซีด เพราะร่างกายจะตอบสนองต่อภาวะ พร่องออกซิเจน
ระบบทางเดินอาหาร มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนในระยะแรก
การประเมินการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ค่าการอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Arterial oxygen saturation)
การตรวจหาระดับฮีโมโกลบิน Hb
ระดับค่าก๊าซในหลอดเลือดแดง ABG
ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับออกซิเจนของบุคคล
อยู่ในที่ที่มีมลพิษสูงทำให้อากาศบริเวณนั้นมีออกซิเจนลดลง การที่ร่างกายได้รับ สารพิษจากอากาศ ทำให้ร่างกายต้องใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น เพื่อใช้ในขบวนการขจัดสารพิษ
การเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายหนัก ๆ ร่างกายต้องการออกซิเจนมากกว่าปกติ อาจทำให้ได้รับออกซิเจนไม่ทั่วถึงและเพียงพอ
การเดินทางหรืออาศัยในที่สูงภาวะดังกล่าวจะมีความหนาแน่นของอากาศลดลงมีผลให้ออกซิเจนมี ระดับต่ำกว่าปกติ ทำให้ร่างกายได้ออกซิเจนน้อยกว่าปกติ ทำให้เกิดการภาวะพร่องออกซิเจน
ความเครียด ทำให้เกิดภาวะนอนไม่หลับ การหายใจถี่ขึ้น ต้องการออกซิเจนมากขึ้น
อาหารที่มีไขมันมาก จะมีปริมาณออกซิเจนน้อยหากรับประทานในปริมาณมาก ๆ จะทำให้ปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำลง
ผู้สูงอายุ ร่างกายของคนเราจะเสื่อมลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น
การสูบบุหรี่ มีผลเสียต่อร่างกายในหลาย ๆ ระบบ
การดื่มสุราและเครื่องดื่มที่เป็นแอลกอฮอล์การดื่มในปริมาณมากเกินควรจะส่งผลให้ร่างกายเกิดผลเสียแบบเฉียบพลับและเรื้อรัง
สาเหตุและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ
อาการไอ (Cough)
สาเหตุ
การอักเสบหรือการบวมบริเวณทางเดินหายใจ มีอาการไอน้อยกว่า 2 สัปดาห์ อาจเกิดจากไข้หวัด การติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง
ฝุ่น ควัน สารเคมี อาหาร หรือน้ำที่สำลักเข้าไป
ความร้อน - เย็นของอากาศ จะทำให้การไอมากขึ้น
เป็นกลไกการตอบสนองของร่างกายอย่างหนึ่งต่อสิ่งผิดปกติในทางเดินหายใจ และเปนกล ไก ป้องกันที่สาคัญของร่างกายในการกำจัดเชื้อโรค เสมหะ หรือสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ
ลักษณะของอาการไอ
ไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะ
ไอมีเสมหะ ซึ่งเสมหะที่เป็นหนองมักเกิดจากการติดเชื้อในทางเดินลมหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการไอ
ประเมินประสิทธิภาพการไอ ลักษณะไอแห้ง ๆ หรือไอแบบมีเสมหะโดยการฟังเสียงไอ
สังเกตและบันทึกลักษณะ เสียง ความถี่ และระยะเวลาของการไอ
ถ้าไอมีเสมหะให้สังเกต บันทึกจำนวน ลักษณะสี และกลิ่นของเสมหะด้วย
ดูแลความสะอาดของปาก ฟัน
กระตุ้นให้ดื่มน้าอุ่นบ่อย ๆ และปริมาณมาก เพื่อให้เสมหะอ่อนตัว
กระตุ้นให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ เพื่อให้เสมหะที่ค้างในปอดเคลื่อนออกมาได้ง่าย
สอนการไออย่างมีประสิทธิภาพ (effective cough)
ดูแลให้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการไอตามแผนการรักษาของแพทย์
Hemoptysis
อาการไอเป็นเลือด คือ การมีเลือดออกจากทางเดินหายใจตั้งแต่กล่องเสียงลงไป ไม่รวมเลือดกาเดา
ชนิดของการไอเป็นเลือด
ไอจนมีเลือดสดออกมา พบในวัณโรคปอด
ไอจนมีเลือดปนออกมา
ไอจนมีเลือดออกเป็นสาย มีเลือดเป็นสายปนกับเสมหะแต่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน
ไอจนมีเสมหะสีคล้ายสนิม จากมีเลือดเก่า ๆ ปนออกมาด้วย พบในวัณโรคปอด
สาเหตุของการไอเป็นเลือด
อุบัติเหตุ
การอักเสบ
เนื้องอก และมะเร็ง
ความผิดปกติของหลอดเลือดและโรคปอดต่าง ๆ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการไอเป็นเลือด
ประเมินชีพจร หายใจ และความดันโลหิต
ถ้าเสียเลือดมาก อาจต้องให้เลือด
ให้ผู้ป่วยพักผ่อนและให้การหายใจเคลื่อนไหวน้อยที่สุด
ผู้ป่วยอาจตกใจมาก ทาให้มีอาการหายใจเร็วขึ้น
Hiccup
การสะอึก เป็นอาการที่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อกระบังลมที่อยู่ตรงรอยต่อระหว่างช่องปอดและช่องท้องที่เกิดขึ้นเองโดยไม่สามารถควบคุมได้
สาเหตุของอาการสะอึก
ไม่ได้เกิดจากโรค โดยมีสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่พบ บ่อย เช่น กินอิ่มมากเกินไป ดื่มเครื่องดื่มพวกที่ทำให้เกิดแก๊ส ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่จัด
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการสะอึก
ให้ดมสารที่มีกลิ่นฉุน เช่น แอมโมเนีย
ให้ชิมของเปรี้ยวจัด
แนะนำให้หายใจเข้าออกในถุงปิด เพื่อเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
แนะนำให้กลั้นหายใจเป็นพัก ๆ
ใช้เทคนิคเบี่ยงเบนความสนใจ
ดูแลความปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อม เช่น ถือแก้วน้าแล้วหลุดออกจากมือขณะสะอึก
Dyspnea
อาการหายใจลาบาก คือ อาการซึ่งผู้ป่วยต้องใช้ความพยายามหรือใช้แรงในการ หายใจ การหายใจลำบากไม่มีความสัมพันธ์กับความเร็วของการหายใจ
สาเหตุของการหายใจลำบาก
สาเหตุเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
สาเหตุเกี่ยวกับหัวใจ
สาเหตุเกี่ยวกับประสาท ทำให้การควบคุมการหายใจไม่ดี
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการหายใจลำบาก
ดูแลให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง และให้ออกซิเจนร่วมด้วย
ดูแลประคับประคองด้านจิตใจ
เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน
ดูแลให้ยาขยายหลอดลม หรือยาขับเสมหะ
ดูแลให้ออกซิเจนชนิดละอองฝอย เพื่อให้หายใจสะดวก
ฝึกให้ผู้ป่วยหายใจและการไออย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดอาการหายใจลำบาก
Chest pain
อาการเจ็บหน้าอก
มีลักษณะแตกต่างกันตามสาเหตุ
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากกล้ามเนื้ออักเสบ
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากเยื่อหุ้มปอดอักเส
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจาก เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบมักเป็นตรงบริเวณหัวใจ
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากหัวใจ
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากหลอดลมอักเสบ
อาการเจ็บหน้าอก สาเหตุจากเส้นประสาท
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก
สังเกตอาการ ถ้าผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดที่เยื่อหุ้มปอด ควรแนะนำให้นอนตะแคงทับด้านที่เป็น
ประเมินหาสาเหตุของอาการว่า อาการเจ็บหน้าอกเกิดจากหัวใจหรือปอด
จัดเตรีมอุปกรณ์การให้ออกซิเจนและพิจารณาให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วย
บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
การให้ออกซิเจนเพื่อการรักษา
เมื่อร่างกายเกิดภาวะพร่องออกซิเจนจนกลายเป็นเกิดภาวะขาดออกซิเจน จะพบอาการและอาการ แสดงของภาวะขาดออกซิเจน
อาการและอาการแสดงของภาวะขาดออกซิเจน
วิตกกังวล กระสับกระส่าย
ระดับความรู้สึกตัวลดลง
มีอาการวิงเวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุน
ความดันโลหิตลดลง
มีภาวะซีด
วัตถุประสงค์ของการให้ออกซิเจนเพื่อการรักษา
เป็นการลดอาการขาดออกซิเจนเรื้อรัง โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งฟอง
เป็นการช่วยการทำงานของระบบทางเดินหายใจ หัวใจ และระบบการไหลเวียนโลหิตและหลอดเลือดจากภาวะพร่องออกซิเจน
เป็นการรักษาภาวะพร่องออกซิเจนทาให้ออกซิเจนในเลือดต่ำ
ข้อชี้บ่งของการให้ออกซิเจน
มีภาวะขาดออกซิเจนในเลือด
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ hypoxemia
เกิดภาวะบาดเจ็บขั้นรุนแรง
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิดเฉียบพลัน
การให้ออกซิเจนเป็นเวลาช่วงสั้น ๆ ในการทาผ่าตัด
ข้อควรระวังและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ออกซิเจน
ควรระวังการให้ออกซิเจนในผู้ป่วยที่ได้รับพิษจาก paraquat
ขณะทาผ่าตัดด้วยวิธีเลเซอร์ในทางเดินหายใจ
อาจเกิดภาวะปอดแฟบ
ควรระวังการให้ความชื้นร่วมกับออกซิเจนโดยเฉพาะการให้ความชื้นแบบ nebulizer สามารถเพิ่มภาวะการติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินหายใจได้
อาจเกิดภาวะกดการหายใจผู้ป่วยที่หายใจเอง
การมีความเข้มข้นระดับสูงของออกซิเจน
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจน
หมั่นสังเกตและประเมินภาวะของผู้ป่วยเกี่ยวกับ
ความผิดปกติของสีผิว ดูลักษณะบริเวณริมฝีปาก เล็บมือ เล็บเท้า ผิวหนัง
ระดับความรู้สึกตัว
ตรวจวัดสัญญาณชีพ
วัดปริมาตรหายใจเข้า-ออกต่อครั้ง
หมั่นตรวจดูอุปกรณ์ที่ให้ออกซิเจน
ออกซิเจนไม่รั่วจากขวดทาน้ำกลั่นที่ทำความชื้น
ถ้าให้ออกซิเจนจากระบบ pipeline ที่มีรูเปิด (outlet) สาหรับเสียบ flow meter จะต้องดูให้ flow meter เสียบเข้าที่
ขวดทำความชื้นมีน้ำอยู่พอเหมาะไม่มากหรือน้อยจนเกินไป
ตรวจดูสายยาง ให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
ดูแลทางเดินหายใจโดยท่าทางเดินหายใจ
ดูดเสมหะที่ค้างตามท่าทางเดินหายใจเป็นระยะๆ เพื่อป้องกันการอุดตัน
สอนการไออย่างถูกวิธี
การจัดท่านอน ท่านั่ง ให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย
กระตุ้นให้ได้รับน้าอย่างเพียงพอ เพื่อให้น้ำช่วยละลายเสมหะให้ขับออกได้ง่าย
ดูแลความสะอาดของจมูกและปากบ่อยๆ หรือ ทุก 2 - 3 ชั่วโมง
ทาริมฝีปากด้วย กลีเซอรีน บอแรกซ์
ทำความสะอาดช่องจมูก
ถ้าเจ็บคอให้ล้างปากด้วยน้ำยา หรือบ้วนด้วยน้ำสะอาดบ่อยๆ
ดูแลความสะอาดบริเวณหน้า โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ได้รับ Oxygen mask จะมีเหงื่อออกมาก ควรเช็ด mask และทาแป้งให้บ่อยๆ
ให้จิบน้ำบ่อยๆ
ดูแลด้านจิตใจ เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยและญาติ
พยาบาลควรมีความชำนาญในการใช้เครื่องมือ
แนะนำ อธิบายให้ผู้ป่วยรู้จักเครื่องมือต่างๆได้ง่าย
บอกประโยชน์ของการได้รับออกซิเจน
ดูแลควบคุมอัตราการไหของออกซิเจนให้เพียงพอ
ให้เวลาผู้ป่วยในการพูดคุย สัมผัสผู้ป่วยบ้างและรีบไปดูแลทันทีเมื่อผู้ป่วยข้ความช่วยเหลือ
เทคนิคการพยาบาลที่เกี่ยวข้องในการให้ออกซิเจนแบบต่าง ๆ
การดูดเสมหะ และการเก็บเสมหะส่งตรวจ
การดูดเสมหะ เป็นการใช้สายยางชนิดดูดเสมหะสอดใส่เข้าทางเดินหายใจแล้วดูด เสมหะออกจากทางเดินหายใจ เพื่อช่วยผู้ป่วยที่ไม่สามารถไอเพื่อขับเสมหะออกได้
เครื่องดูดเสมหะ
เครื่องดูดเสมหะชนิดเคลื่อนที่ (mobilesuction)
ชนิดติดฝาผนัง (wall suction)
วิธีการดูดเสมหะ
การดูดเสมหะทางจมูก มีลักษณะเป็นท่อยาวภายในกลวง ลักษณะของท่อโค้ง และ มีความยืดหยุ่นให้สามารถสอดใส่เข้าทางรูจมูกผ่านไปถึงโพรงจมูกด้านหลัง
การดูดเสมหะทางท่อช่วยหายใจ ช่วยให้สามารถดูดเสมหะที่อยู่ในทางเดินหายใจส่วนล่างออกมาได้ง่าย โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว ไม่สามารถไอขับ เสมหะออกได้
การดูดเสมหะทางปาก
ควรประเมิน
สังเกตอาการเหนื่อย หายใจลาบาก ได้ยินเสียงดังขณะหายใจเข้าและออก
สังเกตอาการซึมลงของผู้ป่วย
ฟังเสียงปอดได้ยินเสียงเสมหะ
สังเกตลักษณะเสมหะ เหนียว และมีจำนวนมาก
สังเกตแบบแผนและลักษณะการหายใจค่อนข้างแรงมาก อัตราการหายใจเร็ว
วิธีการปฏิบัติการดูดเสมหะทางปาก
จัดท่าผู้ป่วยให้นอนตะแคงศีรษะต่าเล็กน้อย เพื่อช่วยให้เสมหะออกได้สะดวก
สวมถุงมือ เพื่อหลีกเลี่ยงการเปื้อนเสมหะ
หยิบสายดูดเสมหะต่อกับเครื่องดูดเสมหะแล้ว ปรับแรงดันเครื่องดูดเสมหะให้เหมาะสมตามประเภทของผู้ป่วย
ล้างมือให้สะอาด ใส่mask เพื่อลดการแพร่ของเชื้อโรค
ให้ผู้ป่วยช่วยอ้าปาก กรณีไม่รู้ตัวใช้ไม้กดลิ้นช่วยในการอ้าปากผู้ป่วย จากนั้นใส่สายดูดเสมหะในบริเวณที่ต้องการจะดูดเสมหะ
อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจ เพื่อลดความวิตกกังวลและให้ความร่วมมือ
ขณะทาการดูดเสมหะ พบว่าดูดไม่ขึ้นหรือดูดไม่ออกให้หยุดทำการดูดเสมหะไว้ก่อน
การดูดเสมหะแต่ละครั้งไม่ควรนานเกิน 10 วินาที
ล้างสายดูดโดยการดูดผ่านน้ำเกลือใช้ภายนอก เป็นการทำความสะอาด สายดูดเสมหะ 1-2 ครั้ง
เช็ดทาความสะอาดบริเวณที่มีน้ำเปียก เช็ดน้าตาผู้ป่วยที่อาจไหลขณะดูดเสมหะ จัดท่าให้ผู้ป่วยสุขสบาย เพื่อให้หายใจได้สะดวก
การให้ออกซิเจนเพื่อการรักษา และการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาในการไดรับออกซิเจน
ระบบการให้ออกซิเจน
การให้ออกซิเจนทางหน้ากาก (mask)
Reservoir bag (partial rebreathing mask) ให้ความเข้มข้นสูงกว่าร้อยละ 60– 90
Non rebreathing mask ลักษณะคล้าย partial rebreathing ยกเว้นรูระบายอากาศส่วนหน้ากากลักษณะเป็นลิ้นไหลทางเดียว
Simple mask เป็นชนิดที่ให้ออกซิเจนความเข้มข้นร้อยละ 40-50 การปรับอัตรา ไหลของออกซิเจน 5 – 8 ลิตร/ นาที
ระบบการไหลของออกซิเจนชนิดสูง (High flow system) จะได้รับออกซิเจนทั้งหมดจากอุปกรณ์โดยไม่ต้องดึงอากาศไปผสม
การให้ออกซิเจนทางท่อหลอดลม (tracheostomy collar) เป็นอุปกรณ์คล้ายหน้ากากคล้อง ไว้กับคอ ครอบบนท่อเจาะหลอดลมคอ
การให้ออกซิเจนชนิด croupette tent เป็นอุปกรณ์ให้ออกซิเจนที่ครอบตัวผู้ปุวยลักษณะ คล้ายเต็นท์ ประกอบด้วยมุ้งพลาสติก มีซิบเปิด-ปิด ครอบบนโครงโลหะด้านหลังกล่องใส่น้าแข็งทำให้อากาศในมุ้งมีความชื้นสูง
การให้ออกซิเจนชนิดT- piece เป็นอุปกรณ์ให้ออกซิเจนผู้ป่วยที่มีท่อทางเดินหายใจ ทำด้วยพลาสติกเบา เพื่อไม่ให้ดึงร้ังท่อเจาะหลอดลมคอ
การให้ออกซิเจนชนิด hood เป็นอุปกรณ์ใช้ครอบศีรษะและไหล่ผู้ป่วย เด็ก ลักษณะเป็นกระโจมหรือกล่องพลาสติกให้ออกซิเจนมีท่อนำออกซิเจนเข้าภายใน
การให้ออกซิเจนทางท่อช่วยหายใจ เป็นท่อช่วยหายใจซึ่งแพทย์ จะใส่ท่อนี้เข้าไปในหลอดลมของผู้ป่วย แล้วต่อเข้ากับเครื่องช่วยหายใจ ใช้ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถ หายใจได้ด้วยตนเอง
การให้ออกซิเจนชนิดเขี้ยว (nasal cannula) เป็นการให้ออกซิเจนทางจมูก วิธีนี้ผู้ป่วยจะได้รับออกซิเจนที่มีความเข้มข้นต่ำ ซึ่งจะได้
ออกซิเจนร้อยละ 30 – 40
ข้อดี
ผู้ป่วยสามารถดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารได้โดยไม่ต้องปลดสายออก ไม่ค่อยรู้สึก อึดอัดหรือราคาญมากนัก
ข้อเสีย
อาจมีการระคายเคืองช่องจมูกทั้งสองข้าง ทำให้เยื่อบุจมูกบวมและมีน้ามูกออกมาอุดทำให้ท่อตันได้ จึงควรทำความสะอาดท่อและรูจมูกทุก 8 ชั่วโมง
ระบบให้ความชื้น
ชนิดละอองโต (Bubble)
ให้ความชื้นในส่วนต้นของทางเดินหายใจ 30 – 40 % สายให้ก๊าซมีขนาดเล็ก น้ำจะปุดเป็นฟองเมื่อเปิดให้กับผู้ป่วย มักใช้กับ oxygen cannula
ชนิดละอองฝอย (Jet)
ให้ความชื้นในทางเดินหายใจที่อยู่ลึกเหมาะกับผู้ป่วยที่มีเสมหะเหนียว มักเห็นเป็นหมอก สายให้ออกซิเจนมักมีขนาดใหญ่และเป็นลูกฟูก
แหล่งให้ออกซิเจน
ระบบท่อ
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการไหลของออกซิเจนออกจาก แหล่งจัดเก็บออกซิเจนมาตามระบบท่อ
ถังบรรจุออกซิเจน
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมการไหลของ ออกซิเจนออกจากแหล่งจัดเก็บออกซิเจน
การพยาบาลผู้ป่วยด้านจิตใจก่อน/ ขณะ/ และหลังการดูดเสมหะ
การตรวจเสมหะแบบเพาะเชื้อ
มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการทราบว่าผู้ป่วยติดเชื้อชนิดใด และมีปฏิกิริยา ต่อยาปฏิชีวนะตัวใด และเพื่อปรับเปลี่ยนแผนการรักษา
วิธีเก็บเสมหะส่งตรวจ
กรณีผู้ป่วยไอขับเสมหะได้เอง ให้ผู้ป่วยหายใจเข้าลึกๆ แล้วไอออกมาเพื่อให้ได้เสมหะแล้วบ้วนลงภาชนะสะอาดปราศจากเชื้อชนิดมีฝาปิด ควรตรวจดูให้แน่ใจว่าเป็นเสมหะไม่ใช่น้ำลาย โดยเสมหะควรมี ลักษณะเป็นเมือก เหนียว ขุ่นข้น มีสีเหลือง สีเขียว หรือสีแดงปน ปิดฝาให้สนิทนาส่งห้องปฏิบัติการ
กรณีผู้ป่วยที่ไม่สามารถขับเสมหะออกได้เอง ใช้การดูดเสมหะลงภาชนะสะอาดปราศจากเชื้อชนิดมีฝาปิด
การเก็บเสมหะส่งตรวจ
โดยเสมหะควรมีลักษณะเป็นเมือก เหนียว ขุ่นข้น มีสีเหลือง สีเขียว หรือสีแดงปน ปิดฝาให้สนิท นาส่งห้องปฏิบัติการ
ความปลอดภัยขณะผู้ป่วยได้รับออกซิเจน
บทบาทของพยาบาลในการให้การพยาบาลข้อควรปฏิบัติและต้องคานึงถึง
อาจเกิดการทาลายเนื้อเยื่อในปอด ออกซิเจนจะก่อพิษในปอดได้หากได้รับในระยะเวลานาน คือ 24 – 48 ชั่วโมง
อาจเกิดอันตรายกับดวงตา
อาจทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจแห้งและเกิดการระคายเคืองได้ เนื่องจากออกซิเจนเป็นก๊าซ แห้ง
อาจเกิดการหยุดหายใจ ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
อาจเกิดการติดเชื้อโรคแทรกซ้อน การให้ออกซิเจนอุปกรณ์ที่ใช้มีโอกาสก่อให้เกิดการติดเชื้อ
อาจเกิดอุบัติเหตุจาการเกิดไฟไหม้หรือการระเบิด เพราะการสันดาป
หลักปฏิบัติในการให้ออกซิเจนชนิดต่าง ๆ
ใส่ flow meter กับแหล่งที่มาของออกซิเจนที่มาจากชนิดผนัง
ต่อกระบอกความชื้นที่ใส่น้ำกลั่นปลอดเชื้อ ให้ระดับน้ำอยู่ตรงตำแหน่งขีดที่กำหนดข้างกระบอกป้องกันไม่ให้ flow meter เสีย
ประเมินสัญญาณชีพและระดับความรู้สึกตัว เพื่อประเมินอาการผู้ป่วย
ปรับระดับลูกลอยใน flow meter จะได้ปริมาณของออกซิเจนมีหน่วยเป็นลิตรต่อนาทีตามที่ต้องการ
ล้างมือให้สะอาด สวมmask เพื่อป้องกันการนาเชื้อเข้าสู่ผู้ป่วย
หมุนปุ่มเปิด flow meter ปรับอัตราการไหลของออกซิเจนทิ้งไว้ 1 – 2 นาที เพื่อทดสอบว่ามีออกซิเจนไหลผ่าน
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
การวางแผนการพยาบาล
เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย 2 lit/ min ตามแผนการรักษา และไม่เกิดภาวะพร่องออกซิเจน
การปฏิบัติการพยาบาล
ประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนได้รับออกซิเจน ประเมินภาวะพร่องออกซิเจน ประเมินอัตราการหายใจ ชีพจร
ปรับออกซิเจนให้ได้ 2 lit/ min แล้วจัดให้สาย cannula อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมคล้องสายกับหูทั้งสองข้างให้พอดี
จัดสิ่งแวดล้อมให้มีความปลอดภัย ติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ หรือห้ามนาวัตถุไวไฟเข้าใกล้บริเวณเตียงผู้ป่วย
จัดท่านอนศีรษะสูง เพื่อทำให้กระบังคมเคลื่อนต่ำลง ปอดขยายตัวได้เต็มที่เพิ่มพื้นท่ีในการแลกเปลี่ยนก๊าซมากขึ้น
วัด vital signs ทุก 4 ชม
สอนการไออย่างมีประสิทธิภาพ ลดการคั่งค้างของ
เสมหะที่ปอดทำให้ปอดขยายตัวได้เพิ่มขึ้น
ประเมิน O2 saturation ทุก 2 ชม.
ติดตามผลเลือด Hb, Hct และ Chest X-Ray
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง
การประเมินผลการพยาบาล
ประเมินผลกิจกรรมการพยาบาล
ประเมินผลคุณภาพการบริการ
ประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
การประเมินภาวะสุขภาพ