Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจนและการดูดเสมหะ - Coggle Diagram
การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจนและการดูดเสมหะ
ระบบทางเดินหายใจและกลไกการทำงาน
จมูก
ใช้เพื่อเป็นทางเข้าของอากาศ มีหน้าที่ในการดักจับฝุุนละออง และเพิ่มความชุ่มชื้นของอากาศ
โพรงจมูกและช่องคอ
เพิ่มอุณหภูมิ ดักจับเชื้อโรค และเพิ่มความชุ่มชื้นของอากาศ
ฝาปิดกล่องเสีย
ทำหน้าที่กันไม่ให้อาหารที่เรากลืนตกลงสู่ ระบบทางเดินหายใจ
กล่องเสียง
ใช้ในการสร้างเสียง และเป็นทางเดินหายใจ
หลอดคอ หลอดลม และ หลอดลมฝอย
ทำหน้าที่ลำเลียงอากาศ ดักจับเชื้อโรค และกำจัดเชื้อโรค
ถุงลม
ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส ระหว่างอากาศที่ลำเลียงมากับเส้นเลือดฝอยที่ล้อมรอบ
กลไกการทำงาน
การหายใจในระดับเซลล์
เป็นกระบวนการทางเคมีที่เกิดขึ้นระหว่างก๊าซออกซิเจนกับสารอาหารภายในเซลล์ทำให้เกิด (adenosine triphosphate:ATP)ขึ้นเพื่อไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น
การหายใจออก (Expiration)
จะเกิดขึ้นหลังจากการหายใจเข้าแล้วทำให้กล้ามเนื้อที่ยึดซี่โครงมีการคลายตัวจึงท าให้กระดูกซี่โครงเลื่อนต่ำลงโดยกระบังลมที่เลื่อนต่ำลงก็จะกลับเลื่อนตัวสูงขึ้น ทำให้ปริมาตรของช่องอกลดลงความดันอากาศภายในช่องอกก็จะกลับสูงขึ้น
การหายใจเข้า (Inspiration)
เกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อที่ยึดซี่โครงหดตัวซึ่งจะทำให้กระดูกซี่โครงเลื่อนสูงขึ้นในขณะเดียวกันกระบังลมก็จะหดตัวและเลื่อนต่ำลง จึงทำให้ปริมาตรของช่องอกมีมากขึ้นความดันภายในช่องอกจะลดต่ำลง
กลไกควบคุมการหายใจ
การควบคุมแบบอัตโนมัติ
เป็นการหายใจที่ไม่สามารถบังคับได้ โดยสมองส่วนponsและmedulla เป็นตัวสร้างและส่งสัญญาณประสาทไปกระตุ้นกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ
การควบคุมภายใต้อำนาจจิตใจ
การหายใจที่สามารถบังคับได้ โดยสมองส่วนหน้าเรียกว่า cerebral cortex hypothalamusสมองส่วนหลังเรียกว่า cerebellum ทำให้เราสามารถควบคุม บังคับ หรือปรับการหายใจให้เหมาะสมกับพฤติกรรมต่างๆของร่างกาย
ความสำคัญของก๊าซออกซิเจนที่มีต่อร่างกาย
การแลกเปลี่ยนก๊าซเกิดจาก ความเข้มข้นที่ต่างกันของก๊าซระหว่างบรรยากาศและในเส้นเลือด ทำให้เกิดการซึมผ่านเยื่อเลือกผ่านที่ผนังของถุงลมและหลอดเลือด และเข้าไปในเลือด
การแลกเปลี่ยนก๊าซโดยรวมเกิดจาก ความดันออกซิเจน และ คาร์บอนไดออกไซด์ที่แตกต่างกันท าให้เกิดการถ่ายเทก๊าซจากที่ความเข้มข้นสูงสู่ที่ต่ำกว่า โดยมีระบบหมุนเวียนเลือดที่มีเม็ดเลือดแดงเป็นตัวนำพา
ปัจจัยที่มีผลต่อการไดรับออกซิเจนของบุคคล
ภาวะที่ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
การเดินทางหรืออาศัยในที่สูงภาวะดังกล่าวจะมีความหนาแน่นของอากาศลดลง
อยู่ในที่ที่มีมลพิษสูง
การเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายหนัก ๆ ขณะออกกำลังกาย ร่างกายต้องการออกซิเจนมากกว่าปกติอาจทำให้ได้รับออกซิเจนไม่ทั่วถึงและเพียงพอ
ความเครียด
อาหารที่มีไขมันมาก
ผู้สูงอายุ
การประเมินภาวะพร่องออกซิเจน
การประเมินสภาพร่างกาย
ระบบทางเดินหายใจ
สังเกตพบผู้ปุวยมีอาการหายใจไม่สะดวกหายใจล าบากเมื่อนอนราบ (Orthopnea)ต้องนั่งหายใจหลังจากนอนหลับไปแล้วระยะหนึ่งต้องลุกขึ้นมานั่งหายใจ
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ชีพจรเต้นเร็วผิดปกติ ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นในระยะแรก เพื่อปรับชดเชย ระยะต่อมาหัวใจเต้นผิดจังหวะ บีบตัวช้าลง เจ็บหน้าอก และหัวใจหยุดเต้นในระยะสุดท้าย
ระบบประสาทส่วนกลาง
ความรู้สึกตัวของผู้ปุวยเปลี่ยนแปลง กระสับกระส่าย สับสน มึนศีรษะ ปวดศีรษะ
ระบบผิวหนัง
ผิวหนังผู้ปุวยเย็น ซีดเพราะร่างกายจะตอบสนองต่อภาวะพร่องออกซิเจน โดยหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญ
ระบบทางเดินอาหาร
อาการคลื่นไส้อาเจียนในระยะแรก
การประเมินการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ระดับค่าก๊าซในหลอดเลือดแดง (Arterial blood gas: ABG)
ค่าการอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Arterial oxygen saturation)
การตรวจหาระดับฮีโมโกลบิน (Hemoglobin: Hb)
สาเหตุและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ
อาการไอ (Cough)
เป็นกลไกการตอบสนองของรางกายอยางหนึ่งต่อสิ่งผิดปกติในทางเดินหายใจและเป็นกลไกป้องกันที่สำคัญของรางกายในการกำจัดเชื้อโรค เสมหะหรือสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ
สาเหตุของการไอ
การอักเสบหรือการบวมบริเวณทางเดินหายใจ
ฝุุ่น ควัน สารเคมี อาหารหรือน้ าที่สำลักเข้าไป
ความร้อน -เย็นของอากาศจะทำให้การไอมากขึ้น
ลักษณะของอาการไอ
ไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ
ไอมีเสมหะ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการไอ
ประเมินประสิทธิภาพการไอ
สังเกตและจดลันทึกความถี่
สังเกตสีของเสมหะ
ดูแลความสะอาดของปาก
ชนิดของการไอเป็นเลือด
ไอจนมีเลือดสดออกมาพบในวัณโรคปอด
ไอจนมีเลือดปนออกมาคือ มีเสมหะและเลือดปนเป็นเนื้อเดียวกัน พบในโรคมะเร็งของหลอดลมหรือวัณโรคปอด
ไอจนมีเลือดออกเป็นสาย มีเลือดเป็นสายปนกับเสมหะแต่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน พบในโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง หรือมะเร็งหลอดลม
ไอจนมีเสมหะสีคล้ายสนิม จากมีเลือดเก่าๆ
สาเหตุของการไอเป็นเลือด
อุบัติเหตุ
การอักเสบ
เนื้องอก และมะเร็ง
ความผิดปกติของหลอดเลือดและโรคปอดต่างๆ
Hiccup การสะอึก
อาการที่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อกระบังลมที่อยู่ตรงรอยต่อระหว่างช่องปอดและช่องท้องที่เกิดขึ้นเองโดยไม่สามารถควบคุมได้
สาเหตุของอาการสะอึก
เป็นอาการสะอึกทั่วไปไม่เกี่ยวกับโรค
สาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อย เช่นกินอิ่มมากเกินไปดื่มเครื่องดื่มพวกที่ทำให้เกิดแก๊ส (Carbonate)ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูบบุหรี่จัดหรือมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของกระเพาะอาหารทันที
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการสะอึก
ให้ดมสารที่มีกลิ่นฉุน เช่น แอมโมเนียเป็นต้น
ให้ชิมของเปรี้ยวจัด
แนะนำให้หายใจเข้าออกในถุงปิด เพื่อเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
แนะนำให้กลั้นหายใจเป็นพักๆ
ใช้เทคนิคเบี่ยงเบนความสนใจ
ดูแลความปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อม
Dyspneaอาการหายใจลำบาก
สาเหตุของการหายใจลำบาก
สาเหตุเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
สาเหตุเกี่ยวกับหัวใจ
สาเหตุเกี่ยวกับประสาท
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการหายใจลำบาก
ดูแลให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง และให้ออกซิเจนร่วมด้วย
ดูแลประคับประคองด้านจิตใจ
เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
ดูแลให้ยาขยายหลอดลม
ดูแลให้ออกซิเจนชนิดละอองฝอย
ฝึกให้ผู้ปุวยหายใจและการไออย่างมีประสิทธิภาพ
Chest pain อาการเจ็บหน้าอก
อาการเจ็บหน้าอก
สาเหตุจากกล้ามเนื้ออักเสบ
สาเหตุจากเยื่อหุ้มปอดอักเสบ
สาเหตุจาก เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบมักเป็นตรงบริเวณหัวใจ
สาเหตุจากหัวใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก
สังเกตอาการ
ประเมินหาสาเหตุของอาการว่า อาการเจ็บหน้าอกเกิดจากหัวใจหรือ ปอด
จัดเตรีมอุปกรณ์การให้ออกซิเจนและพิจารณาให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วย
บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
การให้ออกซิเจนเพื่อการรักษา(Oxygen therapy)
ในภาวะที่ระบบการหายใจท างานเป็นปกติร่างกายจะได้รับออกซิเจนเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย แต่เมื่อร่างกายเกิดภาวะพร่องออกซิเจนจนกลายเป็นเกิดภาวะขาดออกซิเจน
อาการและอาการแสดงของภาวะขาดออกซิเจน
วิตกกังวล (anxiety) กระสับกระส่าย(restlessness)
ระดับการมีสมาธิลดลง(decreased ability to concentrate)
ระดับความรู้สึกตัวลดลง(decreased level of consciousness)
ความอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าเพิ่มขึ้น(increased fatigue)
มีอาการวิงเวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุน (vertigo)
แสดงพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป (behavior changes)
หมั่นสังเกตและประเมินภาวะของผู้ป่วยเกี่ยวกับ
ตรวจวัดสัญญาณชีพ
ความผิดปกติของสีผิว
ระดับความรู้สึกตัว
วัดปริมาตรหายใจเข้า-ออกต่อครั้ง
ติดตามผลค่าก๊าซให้ออกซิเจน(Blood gas)
หมั่นตรวจดูอุปกรณ์ที่ให้ออกซิเจน
ตรวจดูสายยาง ให้อยู่ในต าแหน่งที่ถูกต้อง ไม่เลื่อนหลุดจากที่รอยต่อต่างๆ ต้องคงที่ไม่บิดงอ ไม่อุดตัน
ขวดทำความชื้นมีน้ำอยู่พอเหมาะไม่มากหรือน้อยจนเกินไป
ออกซิเจนไม่รั่วจากขวดทาน้ำกลั่นที่ทำความชื้น
ดูแลทางเดินหายใจโดยท่าทางเดินหายใจ(Clear air way)
ดูแลความสะอาดของจมูกและปากบ่อยๆ หรือ ทุก2-3 ชั่วโมง
เทคนิคการพยาบาลที่เกี่ยวข้องในการให้ออกซิเจนแบบต่างๆ
อุปกรณ์และวิธีการให้ออกซิเจนเพื่อการรักษา
ระบบการให้ออกซิเจน
ระบบการไหลของออกซิเจนชนิดต่ำ (Low flow system)
การให้ออกซิเจนชนิดเขี้ยว (nasal cannula)
เป็นการให้ออกซิเจนทางจมูก วิธีนี้ผู้ป่วยจะได้รับออกซิเจนที่มีความเข้มข้นต่ำ ซึ่งจะได้ออกซิเจนร้อยละ30 –40ในขณะที่ปรับอัตราการไหลของออกซิเจน4 –6 ลิตร/นาที
การให้ออกซิเจนทางหน้ากาก (mask)
เป็นการให้ออกซิเจนทางหน้ากากครอบปากและจมูกผู้ป่วย โดยเปิดออกซิเจนเข้าในหน้ากาก วิธีนี้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะจะได้รับออกซิเจนที่มีความเข้มข้นสูง
ระบบการไหลของออกซิเจนชนิดสูง (High flow system)
การให้ออกซิเจนชนิดT-piece
การให้ออกซิเจนทางท่อหลอดลม (tracheostomy collar)
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
การประเมินภาวะสุขภาพ (Health assessment)
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
การวางแผนการพยาบาล (Planning)
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)