Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
9.2 การติดเชื้อที่มาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ - Coggle Diagram
9.2 การติดเชื้อที่มาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การตกขาวผิดปกติ
การตกขาวผิดปกติ หมายถึงภาวะที่มีการตกขาว
เพิ่มมากกว่าปกติ ร่วมกับมีอาการคัน หรือปวดแสบร้อน ตกขาวมีกลิ่นเหม็น และอาการจะไม่หายไปเอง
1.2 การตกขาวจากการติดเชื้อพยาธิ
(vaginal trichomoniasis)
จากการติดเชื้อพยาธิ หรือเชื้อโปรโตซัวชื่อ trichomonas vaginalis ซึ่งเป็นพยาธิที่ไม่ต้องการออกซิเจน เจริญเติบโตได้ดีในสภาวะที่เป็นด่าง pH ประมาณ 5.8-7 อุณหภูมิประมาณ 37 องศา ติดต่อมีได้ 2 ทางคือ ทางเพศสัมพันธ์ และอวัยวะเพศสัมผัสเชื้อโดยตรงมีระยะฟักตัว 5-28 วัน
อาการและอาการแสดง
ตกขาวมีสีขาวปนเทา หรือสีเหลืองเขียว
ตกขาวเป็นฟอง (foamy discharge) มีกลิ่นเหม็น
ผลกระทบ
ต่อสตรีตั้งครรภ์
ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด ,การเจ็บครรภ์คลอดก่อน ,กำหนด
ต่อทารก
ทารกคลอดก่อนกำหนด และทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อย
การประเมินและวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย
การตรวจภายในช่องคลอด
พบตกขาวเป็นฟองสีเหลือเขียว
อาจพบจุดเลือดออกเป็นหย่อมๆ
ที่ผิวปากมดลูก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วย
wet mount smear จะพบเม็ดเลือดขาวจำนวนมาก อาจพบตัวเชื้อพยาธิเคลื่อนไหวไปมา ตกขาวมีฤทธิ์เป็นด่าง ค่า pH มากกว่า 4.5
การซักประวัติ
ประวัติการมีตกขาวจำนวนมาก เป็นฟอง มีกลิ่นเหม็น ร่วมกับอาการคัน
แนวทางการรักษา
1.ไตรมาสแรก ใช้ clotriamazole 100 มิลลิกรัม สอดเข้าช่อง คลอดก่อนนอนเป็นเวลา 6 วัน
2.ใช้ metronidazole หลังไตรมาสแรก
3.ให้การรักษาสามีไปด้วย โดยให้ metronidazole หรือ tinidazole รับประทาน 2 กรัม ครั้งเดียว หรือ ornidazole 1.5 กรัม ครั้งเดียว
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้คำแนะนำและการดูแลเหมือนสตรีตั้งครรภ์ทั่วไป
แนะนำการเหน็บยา หรือการรับประทานยาตามแผนการรักษาอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ
แนะนำให้สามีมารับการรักษาพร้อมกัน
แนะนำการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยโดยการสวมถุงยางอนามัย
แนะนำการรักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้แห้งสะอาดเสมอ และซักชุดชั้นในให้สะอาดตากแดดให้แห้ง
ระยะคลอด
1.คลอดทางช่อคลอดได้ตามปกติ
ระยะหลังคลอด
ให้การพยาบาลเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
แนะนำให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
หากอาการยังไม่ดีขึ้น ให้พบแพทย์และดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกเสมอ
การติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด ต้องได้รับการรักษาทั้งสามีและภรรยาให้หาย
1.3 การตกขาวจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (bacterial vaginosis)
พบการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ได้จากการใช้สบู่ หรือเจลอาบน้ำที่มีสารระคายเคือง การใช้ห่วงคุมกำเนิด การนั่งโถสุขภัณฑ์ การลงสระว่ายน้ำ
อาการและอาการแสดง
ตก ขาวสีขาว สีเทา หรือสีเหลือง ข้นเหนียว
มีกลิ่นเหม็นเน่าเหมือนคาวปลา (fishy smell)
ผลกระทบ
ต่อสตรีตั้งครรภ์
1.ถ้าไม่ได้รักษา chorioamnionitis,salpingitis,pelvic inflammatory disease: PID
2.แท้งติดเชื้อ ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด และเจ็บครรภ์คลอดก่อน กำหนด
ต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย และทารกคลอดก่อนกำหนด มีภาวะหายใจลำบาก มีแบคทีเรียในเลือด
การประเมินและวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 ตรวจ Wet smear โดยการหยด 10% Potassium Hydroxide (KOH) ลงไปบนตกขาว 2 หยด
3.2 การเพาะเชื้อ (culture) ตกขาวใน columbia agar ที่มีเลือดเป็นส่วนผสมหรือมี 5%CO2 ใช้เวลา 3 วันเชื้อแบคทีเรียจะโตขึ้นเป็นกลุ่มเล็ก
การซักประวัติ
แนวทางการรักษา
1.ให้ยา metronidazole 250 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง หรืออาจให้ metronidazole 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 7-10 วัน 2.ให้ ampicillin 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน
การพยาบาล
1.ให้คำแนะนำและการดูแลเหมือนสตรีตั้งครรภ์ทั่วไป
2.รักษาความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกไม่ให้อับชื้นโดยใช้น้ำธรรมดา หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ซึ่งอาจไปทำลายเชื้อโรคประจำถิ่นได้
3.สามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยเน้นเรื่องการล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
1.1 การตกขาวจากการติดเชื้อรา (Vulvovaginal candidiasis)
เกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงขณะตั้งครรภ์
ทำให้เนื้อเยื่อและผิวหนังอ่อนนุ่มลง บอบบางมากขึ้น
จึงมีโอกาสติดเชื้อราเกิดจากเชื้อรากลุ่ม candida albicans ซึ่งมีระยะฟักตัว 1-4 วัน
ปัจจัยและปัจจัยเสี่ยง
-การได้รับฮอร์โมนสเตียรอยด์
-การรับประทานยาคุมกำเนิด
-เป็นโรคเอดส์ หรือการได้รับเคมีบำบัด
-การควบคุมภาวะเบาหวานไม่ดี มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
-การับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมาก
-การสวมใส่ชุดชั้นในที่แน่นเกินไป
-การใช้น้ำยาล้างทำความสะอาดช่องคลอด
-ไม่เปลี่ยนแผ่นอนามัยโดยระหว่างวัน หรือไม่สะอาด
-ความเครียด การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ
อาการและอาการแสดง
-มีอาการคันและระคายเคือง
-Dyspareunia
-external dysuria
ผลกระทบ
ต่อสตรีตั้งครรภ์
ติดเชื้อราในช่องคลอดเป็นมากขึ้นเป็น 2 เท่า
มีความระคายเคือง คัน ช่องคลอดมากขึ้น
ต่อทารก
เชื้อราในช่องปาก (oral thrush)
การประเมินและการวินิจฉัย
2.การตรวจร่างกาย
ช่องคลอดบวมแดง ตกขาวมีลักษณะขุ่น เหมือนนมตกตะกอน
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
วิธี wet mount smear
1.การซักประวัติ
ประวัติอาการและอาการแสดง ระยะเวลาที่แสดงอาการ
แนวทางการรักษา
-2% Miconazole cream 5 กรัม ทาช่องคลอด 7 วัน หรือ
-Miconazole 100 มิลลิกรัม 1 เม็ด เหน็บช่องคลอดก่อนนอนเป็นเวลา 7 วัน
-Clotrimazole 100 มิลลิกรัม 1 เม็ด เหน็บช่องคลอดก่อนนอนเป็นเวลา 6 วัน
-1% Clotrimazole cream 5 กรัม ทางช่องคลอด 6 วัน
การพยาบาล
ระยะคลอด
1.คลอดทางช่องคลอดได้ตามปกติ
ระยะหลังคลอด
1.ดูแลมารดาหลังคลอดเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
2.เน้นการดูแลความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ ชุดชั้นในสะอาด
3.เลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยต้องล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
ระยะตั้งครรภ์
1.อธิบาย เข้าใจสาเหตุของการติดเชื้อ และการดูแลตนเอง
2.แนะนำการใช้ยาทา และยาเหน็บช่องคลอดตามแพทย์สั่ง
3.การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ ชุดชั้นในสะอาด และตากแดดให้แห้ง
4.แนะนำให้สามีมารับการรักษาพร้อมกัน
หนองใน (Gonorrhea)
เกิดจากการติดเชื้อ Neiseria gonorrheae หรือ gonococcus (GC) ซึ่งเป็นแบคทีเรียทรงกลมอยู่เป็นคู่ (gram negative diplococci) ลักษณะคล้ายเม็ดถั่ว เชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือกต่างๆ ของอวัยวะสืบพันธุ์จากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ
และสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อหนองในสามารถแพร่เชื้อ ไปยังทารกได้โดยผ่านทางแผลถลอก หรือเยื่อเมือกของร่างกายโดยเฉพาะบริเวณเยื่อบุตา
อาการและอาการแสดง
ตกขาวเป็นหนองข้น กดเจ็บบริเวณ ต่อมบาร์โธลิน (bartholin’s gland)
พยาธิสรีรภาพ
เชื้อ Neiseria gonorrheae จะทำปฏิกิริยากับภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้เกิดสารเคมีที่เป็นพิษต่อเซลล์และเนื้อเยื่อ ส่งผลให้เนื้อเยื่ออักเสบเป็นหนอง ถ้าเข้าเชื้อสู่เชิงกรานจะไปทำลายถุงน้ำคร่ำทำให้ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
ผลกระทบ
ต่อสตรีตั้งครรภ์
มีบุตรยาก ถุงน้ำคร่ำอักเสบและติดเชื้อ
ถุงน้ำคร่ำแตก ก่อนกำหนด แท้งบุตร
ต่อทารก
เกิดตาอักเสบ ตาบอด
การประเมินและวินิจฉัย
2.การตรวจร่างกาย
พบหนองสีขาวขุ่น กดเจ็บบริเวณต่อมบาร์โธลิน
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ย้อมสี ตรวจ gram stain smear ติดเชื้อจะพบ
intracellular gram negative diplocooci
1.การซักประวัติ
เพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อหนองใน
แนวทางการรักษา
1.ตรวจคัดกรองขณะตั้งครรภ์ตามปกติ (VDRL)
2.ให้ยา ceftriaxone, azithromycin, penicillin
3.ยาป้ายตาคือ 1% tetracycline ointment หรือ 0.5% erythromycin ointment หรือ 1% Silver nitrate (AgNO3)
4.การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นร่วมด้วยหรือไม่
หากมีควรรักษาพร้อมกัน รวมถึงต้องตรวจและรักษา
คู่นอนด้วยเช่นกัน
การติดเชื้อเริม (Herpes simplex)
เกิดจากเชื้อไวรัสคือ Herpes simplex virus (HSV)
เข้าสู่ร่างกายโดยผ่านทางเยื่อบุ หรือแผลที่ผิวหนัง เชื้อแบ่งเป็น HSV–1และ HSV–2 เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะไปแฝงตัวอยู่ที่ปมประสาทรับความรู้สึก เชื้อนี้สามารถถูกกระตุ้นให้กลับมาที่ผิวหนังได้อีกเป็นครั้งคราว ทำให้เกิดโรคซ้ำได้เรื่อย ๆ
พยาธิสรีรภาพ
เชื้อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ผิวหนังเป็นตุ่มน้ำใส เล็ก ๆ
จำนวนมาก เมื่อตุ่มน้ำแตก หนังกำพร้าจะหลุดพร้อมกับ
ทำให้เกิดแผลตื้น ทำให้รู้สึกปวดแสบปวดร้อนที่แผล
ขณะเดียวกันเชื้อก็จะเดินทางไปแฝงตัวที่ปมประสาท
อาการและอาการแสดง
ปวดแสบปวดร้อน และคัน จากนั้นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใสๆ
แผลอยู่ 2 สัปดาห์ ก่อนจะตำสะเก็ด
ผลกระทบ
ต่อสตรีตั้งครรภ์
เสี่ยงต่อการแท้ง การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ต่อทารก
ทารกมีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ทารกคลอดก่อนกำหนด
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย
พบตุ่มน้ำใส หากตุ่มน้ำแตกจะพบแผลอักเสบ แดง
ปวดแสบปวดร้อนบริเวณขอบแผลค่อนข้างแข็ง
แต่ไม่ติดแน่นกับอวัยวะ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 การเพาะเชื้อใน Hank’s medium โดยนำของเหลวที่ได้จากตุ่มน้ำหรือจากก้นแผลมาทำการเพาะเชื้อ เป็นวิธีที่มีความแม่นยำสูงและมีความไวมาก
การซักประวัติ
ประวัติเกี่ยวกับการเคยติดเชื้อเริมมาก่อนหรือไม่
หรือเคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นเริมที่อวัยวะสืบพันธ์หรือไม่
แนวทางการรักษา
2.ให้ Acyclovir 200 mg รับประทานวันละ 5 ครั้ง นาน 5-7 วัน
1.รักษาแบบ ประคับประคองตามอาการ
3.พบรอยโรคขณะคลอด ให้คลอดโดยการผ่าตัด คลอด
หูดหงอนไก่ (Condyloma acuminate)
เกิดจากการติดเชื้อ human papilloma virus (HPV) มีระยะฟักตัวนาน 2-3 เดือน ติดต่อจากการสัมผัสรอยโรคโดยเฉพาะทางเพศสัมพันธ์
อาการและอาการแสดง
มีรอยโรคเป็นติ่งเนื้อสีชมพูคล้ายหงอนไก่
การติดเชื้อขณะตั้งครรภ์รอยโรคจะขยายใหญ่
มีผิวขรุยระคล้ายดอกกะหล่ำและยุ่ยมาก
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย
พบรอยโรคเป็นติ่งเนื้อสีชมพูคล้ายหงอนไก่
ผิวขรุขระคล้ายดอกกะหล่ำบริเวณปากช่องคลอด
ในช่องคลอด หรือบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
-ควรวินิจฉัยแยกโรคออกจากซิฟิลิสและ genital cancer (CA vulva)
โดยการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา หรือตรวจ Pap smear
-หรือตรวจหาเชื้อ HPV โดยวิธี Polymerase Chain Reaction (PCR) หรือการตรวจ DNA (DNA probe)
1.การซักประวัติ
ประวัติเคยติดเชื้อหูดหงอนไก่มาก่อน
หรือเคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นหูดหงอนไก่
แนวทางการรักษา
ใช้ยาท่าร่วมกับการจี้ laser หรือ cryosurgery
หรือ electrocoagulation with curettage
แนะนำการรักษาความสะอาด หลีกเลี่ยง
การอับชื้นบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ทาบริเวณรอยโรคด้วย 85% trichlorracetic acid
หรือ bichloroacetic acid ทุก 7-10 วัน
ระยะคลอดหากหูดหงอนไก่
มีขนาดใหญ่ อาจพิจารณาผ่าตัดคลอด
ผลกระทบ
ต่อสตรีตั้งครรภ์
-ขัดขวางช่องทางคลอด
-ตกเลือดหลังคลอด
-เกิดมะเร็งปากมดลูกได้
ผลต่อทารก
บางรายอาจเกิด laryngeal papillomatosis
ทำให้เกิดการอุดกั้นของระบบทางเดิน
หายใจส่วนบน เสียงเปลี่ยน (voice change)
เสียงร้องไห้แหบผิดปกติ (abnormal cry)
การติดเชื้อเอชไอวีในสตรีตั้งครรภ์ (Human Immunodeficiency Virus [HIV] during pregnancy)
การแพร่เชื้อจากมารดาสู่ทารก
การติดเชื้อ HIV ระหว่างตั้งครรภ์ เชื้อไวรัสสามารถผ่านทางรก พบ ร้อยละ 35
การติดเชื้อ HIV ระหว่างคลอด พบร้อยละ 65
จากทารกจะสัมผัสกับเลือดของมารดา น้ำคร่ำ
และสารคัดหลั่งในช่องคลอด
3.การติดเชื้อ HIV ระยะหลังคลอด ติดเชื้อจากน้ำนมมารดา แนะนำให้เลี้ยงทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อด้วยนมผสมแทนนมมารดา
พยาธิสรีรภาพ
ภายหลังการติดเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกาย เชื้อ HIV จะใช้ส่วน GP120 ที่ผิวของเชื้อ HIV จับกับ CD4 receptor ของเซลล์เม็ดเลือดขาวเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ HIV จะแตกสลายง่ายทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง
อาการและอาการแสดง
ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ
ร่างกายจะแข็งแรงเป็นปกติเหมือนคนทั่วไป
แต่หากตรวจเลือดจะพบเชื้อ HIV สามารถแพร่เชื้อ
ให้ผู้อื่นได้ ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการจะนาน 5-10 ปี
ระยะติดเชื้อที่มีอาการ
อาจพบอาการอย่างใดอย่างหนึ่งได้แก่
-มีอุณหภูมิร่างกายสูงมากกว่า 37.8 องศา เป็นพักๆ
หรือติดต่อกันทุกวัน
-ท้องเดินเรื้อรัง
-อุจจาระร่วงเรื้อรัง
-น้ำหนักลดเกิน 10% ของน้ำหนักตัว
-ต่อมน้ำเหลืองโตมากกว่า 1 แห่ง
-เป็นงูสวัด
-เชื้อราในปากหรือฝ้าขาว (hairy leukoplakia) ในช่องปาก
ระยะป่วยเป็นเอดส์
ผอม ต่อมน้ำเหลืองโตหลายแห่ง ซีด
อาจพบลิ้นหรือช่องปากเป็นฝ้าขาวจากเชื้อรา
แผลเริมเรื้อรัง ผิวหนังเป็นแผลพุพอง
เชื้อโรคฉวยโอกาส
ระยะเริ่มแรกของการติดเชื้อ HIV
เริ่มตั้งแต่ติดเชื้อ ประมาณ 1-6 สัปดาห์ เริ่มมีไข้
เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นขึ้น ต่อมน้ำเหลืองโต
บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว
หรือมีฝ้าขาวในช่องปาก เป็นอยู่ 1-2 สัปดาห์
ผลกระทบ
ต่อสตรีตั้งครรภ์
มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจากการ
ติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่ายขึ้น
ต่อทารก
-ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
-ทารกคลอดก่อนกำหนด
-ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย
-ทารกมีขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์
-ทารกตายคลอด
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย
โดยการตรวจร่างกายทั่วไป ซึ่งหากเป็น
ระยะที่แสดงอาการอาจพบว่ามีไข้ ไอ
ต่อมน้ำเหลืองโต มีแผลในปาก มีฝ้าในปาก
ติดเชื้อราในช่องคลอด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
วินิจฉัยการติดเชื้อได้ภายหลังการสัมผัสเชื้อ 1 เดือน
3.1 การตรวจเชื้อ HIV (HIV viral testing) เป็นการตรวจหาเชื้อ HIV หรือส่วนประกอบของเชื้อ ได้แก่ ตรวจหาโปรตีนชนิด p24 antigen
3.2 การตรวจหา antibody ต่อเชื้อ HIVหลักการที่ใช้
ได้แก่ enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA)
3.3 การตรวจนับเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 lymphocyte
การซักประวัติ
เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ
หรือสงสัยว่าจะติดเชื้อ ประวัติการใช้
ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
การตรวจพิเศษ
เช่น ตรวจเสมหะและเอกซเรย์ ในรายที่สงสัยจะเป็นวัณโรคปอดหรือปอดอักเสบแทรก เจาะหลังในรายที่สงสัยจะเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
การป้องกันและการรักษา
4.การให้ยาเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาส
ให้ยา TMP-SMX (80/400 mg) ให้กินครั้งละ 2 เม็ด ทุก 24 ชม
หรือ double strength TMP-SMX (160/800 mg) 1เม็ดทุก 24 ชม
5.หลีกเลี่ยงการโกนขนบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
และหลีกเลี่ยงการืทำหัตถการที่จะทำให้ได้รับบาดเจ็บ
หรือทารกมีโอกาสสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่ง
2.กรณีที่สตรีตั้งครรภ์ไม่เคยได้รับยาต้านไวรัสมาก่อน
ให้ยาต้านไวรัสทันทีเมื่อมาฝากครรภ์โดยไม่คำนึงถึง
ค่า CD4 ให้ยาต้านไวรัส 3 ตัว (HAART regimen)
และรับประทานไปจนการคลอดสิ้นสุด
8.หลีกเลี่ยงการใส่สายยางสวนอาหารในกระเพาะทารก โดยไม่จำเป็น
การให้ยาต้านไวรัสโดยสูตรยาประกอบด้วยยา
อย่างน้อย 3 ตัว (highly active anti retro therapy
: HAART regimen) ก่อนให้ยาควรมีการตรวจวัดปริมาณไวรัส
3.การหยุดยาหลังคลอด กรณีที่จำเป็นต้องหยุดยา
หลังคลอดให้ปฏิบัติดังนี้ หากได้ยา
LVP/r-based HAART ก่อนคลอด
สามารถหยุดยาทุกชนิดพร้อมกันได้เลย
แต่หากได้รับยา TDF/FTC + EFV
หรือ TDF + 3TC + EFV ก่อนคลอด
ให้หยุด EFV ก่อน โดยให้ TDF/FTC
หรือ 3TC ต่ออีก 14 วัน
6.การผ่าตัดคลอดก่อนการเจ็บครรภ์ (scheduled cesarean delivery) จะทำให้รายที่มีข้อบ่งชี้ คือ อายุครรภ์ครบ 38 สัปดาห์
มีปริมาณ viral load ≥ 1,000 copies/mL
รับประทานยาไม่สม่ำเสมอ หรือมาฝากครรภ์ช้า
7.หลังคลอดหลีกเลี่ยงการให้ยากลุ่ม ergotamine เช่น methergine
9.หลีกเลี่ยงการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
การพยาบาล
ระยะคลอด
3.หลีกเลี่ยงการใช้สูติศาสตร์หัตถการ
ที่เพิ่มความเสี่ยต่อการบาดเจ็บเช่น
การหมุนเปลี่ยนท่าของทารก การเจาะถุงน้ำคร่ำ การทำ internal fetal monitoring
2.ประเมินสัญญาณชีพ และเสียงหัวใจทารกอย่างใกล้ชิด
ติดตามความก้าวหน้ายองการคลอด
4.ประเมินอาการเปลี่ยนแปลงและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
1.ดูแลผู้คลอดโดยยึดหลัก universal precaution
ระยะหลังคลอด
2.แนะนำให้ใส่เสื้อชั้นในที่คับเพื่อยับยั้งการสร้างและหลั่งน้ำนม
4.การใช้ห่วงอนามัยไม่เหมาะสำหรับรายที่ CD4 ต่ำ และ viral load ในเลือดสูง
1.หลีกเลี่ยงเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
3.แนะนำวิธีป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่บุคคลอื่น
5.ในมารดาหลังคลอดที่ได้รับยาต้านไวรัส
อาจจะทำให้ประสิทธิภาพของการคุมกำเนิด
ของยาเม็ดคุมกำเนิดลดลง จึงควรใช้ยา
เม็ดคุมกำเนิดที่มีระดับ
ethinyl estradiol (EE) ≥ 30 ไมโครกรัม
และใช้ถุงยางอนามัยร่วมด้วยทุกครั้ง
6.ทารกทุกรายที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อ HIV จะต้องได้รับการตรวจ
anti-HIV อีกครั้งเมื่ออายุ 18 เดือน เพื่อยืนยันประวัติการวินิจฉัย
7.จัดให้บริการปรึกษาแก่มารดาหลังคลอดที่ติด
เชื้อ HIV อย่างต่อเนื่อง
ระยะตั้งครรภ์
1.สตรีตั้งครรภ์ทุกรายควรได้รับการตรวจหา
การติดเชื้อ HIV จำนวน 2 ครั้ง เมื่อผลตรวจเป็นลบ
คือ เมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก และตรวจซ้ำ
เมื่ออายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์
ให้ข้อมูลแก่สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับการดำเนินของโรค
3.แนะนำให้มาฝากครรภ์ตามนัดทุกครั้ง
4.ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ผลการตรวจ CD4
5.แนะนำการปฏิบัติตัวของสตรีตั้งครรภ์ ดังนี้
5.1 รับประทานยาตามแผนการรักษา
5.2 รักษาความสะอาดของร่างกายและอวัยวะสืบพัน
5.3 หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับบุคคลที่ติดเชื้อ
5.4 หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอ
ซิฟิลิส (Syphilis)
อาการและอาการแสดง
3 ระยะของโรค
1.ซิฟิลิสระยะแรก (primary stage) จะเกิดแผล กลม นิ่ม ขอบนูนแข็ง ไม่เจ็บ เรียกว่าแผล chancre พบเพียง 1 แผล
2.ซิฟิลิสระยะที่สอง (secondary stage) พบผื่นกระจาย ทั่วร่างกาย ฝ่ามือฝ่าเท้า
3.ระยะแฝง (latent syphilis) ไม่มีอาการ สามารถ แพร่กระจายเชื้อได้
4.ซิฟิลิสระยะที่ 3 (tertiary syphilis) เชื้อเข้าสู่ระบบประสาท เสียชีวิตในที่สุด
เกิดจากการติดเชื้อ Treponema pallidum (T. Pallidum) มีระยะฟักตัวประมาณ 10-90 วันสามารถติดจากคนสู่คนโดยการสัมผัสโดยตรงกับแผลหรือเยื่อบุที่มีรอยถลอกเล็ก ๆสามารถผ่านเชื้อนี้ไปให้ทารกที่อยู่ในครรภ์ได้
พยาธิสภาพ
เชื้อสู่ร่างกายทางผิวหนังที่เป็นแผลถลอก
หรือทางเยื่อบุต่าง ๆ ของร่างกาย ประมาณ 10-14 วัน
ร่างกายจะสร้าง antibody ต่อเชื้อชนิด IgM และ IgG
ขึ้นมา ขณะที่ร่างกายกำลังสร้าง antibody เชื้อจะแบ่งตัว
ทำให้บริเวณผิวหนังหรือบริเวณเนื้อเยื่อที่เชื้อผ่านเข้าไป จะเกิดการระคายเคือง เกิดปฏิกิริยา lymphocyte
เนื้อเยื่อที่มีการอักเสบทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตัวและบวม เชื้อจะแทรกเข้าไปอยู่ระหว่างผนังหลอดเลือดและ ทำให้หลอดเลือดอุดตัน ส่งผลให้เนื้อเยื่อที่มีการอักเสบ มีเลือดมาเลี้ยงลดลง เกิดการขาดเลือดกลายเป็นเนื้อตาย และกลายเป็นแผลที่มีลักษณะเป็นตุ่มแข็ง กดไม่เจ็บ ส่วนเชื้อที่เข้าสู่กระแสเลือดจะทำให้หลอดเลือดส่วนปลาย เกิดการอักเสบส่งผลให้เกิดผื่นทั่วร่างกาย ส่วนเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณรกจะทำให้รกเกิดการอักเสบ เนื้อรกกลายเป็นเนื้อตาย และถ้าเชื้อผ่านไปยังทารกในครรภ์จะทำให้เนื้อเยื่อของทารกอักเสบและเป็นเนื้อตาย เปื่อยยุ่ย และหลุดเป็นแผล เกิดพังผืด
และทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด
ผลกระทบ
ต่อสตรีตั้งครรภ์
ผิวหนังและเนื้อเยื่ออักเสบ คลอดก่อนกำหนด และแท้งบุตร
ผลต่อทารก
ทารกคลอดก่อนกำหนด ตายคลอด ทารกพิการแต่
กำเนิดโดยอาจพบความพิการของตับม้ามโต ทารกตัวบวมน้ำ
ตัวเหลือง ผิวหนังที่ฝ่ามือฝ่าเท้าอักเสบและลอกเป็นขุย
ปัญญาอ่อน เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด
การประเมินและวินิจฉัย
2.การตรวจร่างกาย
ไข้ต่ำ ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว แผลที่มีลักษณะขอบแข็ง
กดไม่เจ็บ พบผื่นบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า
ต่อมน้ำเหลือที่ขาหนีบโตแต่กดไม่เจ็บ
มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจหาเชื้อ T. Pallidum จากแผล chancre หาก
พบเชื้อจะถือว่าเป็น definition diagnosis
1.การซักประวัติ
ประวัติเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์
กับผู้ติดเชื้อซิฟิลิส
แนวทางการรักษา
3.ระยะ primary, secondary และ early latent syphilis รักษาด้วย Benzathine Penicillin G Sodium 2.4 ล้านยูนิต ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะโพกครั้งเดียว
2.ให้ยา Penicillin G
1.ยึดหลักการรักษาให้หาย ครบถ้วน และต้อง
ให้สามีมารับการตรวจและรักษาพร้อมกัน
4.ระยะ late latent syphilis ด้วย Benzathine Penicillin G Sodium 2.4 ล้านยูนิต IM 3 wk. ภายหลังการรักษาควรตรวจ VDRL title
เมื่อครบ 6 และ 12 เดือน หาก title ลดลง 4 เท่าหลังการรักษา
ถือว่าตอบสนองการรักษาดี แต่หาก title เพิ่มขึ้น 4 เท่า
แสดงว่ารักษาไม่หาย ต้องเริ่มรักษาใหม่
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซิฟิลิส หนองใน เริม และหูดหงอนไก่
ระยะคลอด
ดูแลผู้คลอดโดยยึดหลัก universal precaution
หลีกเลี่ยงการทำหัตถการทางช่องคลอด
การป้ายตาด้วย 1% Tetracyclin ointment หรือ 0.5%Erythromycin ointment หรือ หยอดตาทารกแรกเกิดด้วย 1% Silver nitrate (1%AgNO3)
4.หากไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้
เตรียมผู้คลอดให้พร้อมสำหรับ
การผ่าตัดนำทารกออกทางหน้าท้อง
ระยะหลังคลอด
3.แนะนำการเลี้ยงบุตร โดยล้างมือให้สะอาดก่อนจับทารกทุกครั้ง และหากไม่มีแผลบริเวณหัวนมหรือเต้านมสามารถให้นมมารดาได้
4.ดูแลให้มารดาหลังคลอดและทารกได้รับยา
ป้องกันการติดเชื้อตามแผนการรักษา
2.ประเมินอาการติดเชื้อของทารกแรกเกิด
ซึ่งหากทารกสัมผัสกับเชื้อเริม
ควรแยกทารกออกจากทารกรายอื่น
5.เน้นการกลับมาตรวจตามนัดหลังคลอด
รวมถึงอาการผิดปกติที่ควรมาตรวจก่อนวันนัด
1.แนะนำมารดาหลังคลอดเกี่ยวกับการดูแลรักษา
ความสะอาดร่างกาย เครื่องใช้ส่วนตัว
การกำจัดสิ่งปนเปื้อนสารคัดหลั่งอย่างถูกต้อง
ระยะตั้งครรภ์
แนะนำให้นำสามีมารับการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค
3.อธิบายให้เข้าใจถึงการดำเนินของโรค
อันตรายของโรคต่อการตั้งครรภ์
แผนการรักษาพยาบาล การป้องกัน
1.คัดกรองและประเมินภาวะสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์
4.แนะนำการปฏิบัติตัวของสตรีตั้งครรภ์และสามีดังนี้
4.1 รับประทานยา ฉีดยา หรือทายาตามแผนการรักษา
4.2 หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
4.3 หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลและหนอง
4.4แนะนำเกี่ยวกับความสำคัญของการมาตรวจตามนัด