Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจนและการดูดเสมหะ - Coggle Diagram
การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจนและการดูดเสมหะ
ความสำคัญของก๊าซออกซิเจนที่มีต่อร่างกาย
การแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้นได้อย่างไร?
แบ่งการทำงานเป็น 3 ส่วน
การทำงานของเม็ดเลือดแดง
มีหน้าที่ขนส่งก๊าซ เม็ดเลือดแดง มีอายุขัยประมาณ 120 วัน จะมีส่วนประกอบที่เป็น Hemoglobin 97 % ตัว Hemoglobin นี้ ทำหน้าที่ในการจับกับก๊าซเพื่อการขนส่ง
ความดันออกซิเจน
ความดันออกซิเจนและการขนส่งสู่เนื้อเยื่อ เลือดที่ออกจากปอดมีความดันออกซิเจนในเลือดสูง แต่เมื่อการเดินทางไปในอวัยวะที่ไกลขึ้น ความเข้มข้นออกซิเจนในเลือดลดลง
โดย เลือดเป็นตัวกลางการส่งผ่านออกซิเจนสู่เซลล์ ส่วนเม็ดเลือดแดงเป็นถังเก็บออกซิเจนที่จะค่อยๆ ปล่อยออกซิเจนออกมาเรื่อย ๆ
การหมุนเวียน
เพื่อกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
การขนส่งคาร์บอนไดออกไซด์โดย hemoglobin ในเม็ดเลือดแดง
คาร์บอนไดออกไซด์ไปรวมกับน้ำ เพื่อเกิดสารประกอบ กรดคาร์บอนิก (H2CO3) และแตกตัวเป็นไฮโดรเจนไออน (H+) กับไบคาร์บอเนต (HCO3)
ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับออกซิเจนของบุคคล
การเดินทางหรืออาศัยในที่สูง
อยู่ในที่ที่มีมลพิษสูง
การเล่นกีฬาหรือออกกาลังกายหนัก ๆ
ความเครียด
อาหารที่มีไขมันมาก
ผู้สูงอายุ
การสูบบุหรี่
การดื่มสุราและเครื่องดื่มที่เป็นแอลกอฮอล์
การประเมินภาวะพร่องออกซิเจน
การประเมินสภาพร่างกาย
ใช้เทคนิคการสังเกต และการประเมินสัญญาณชีพ
ระบบทางเดินหายใจ
ระยะแรกของเซลล์พร่องออกซิเจนอย่างอ่อน สังเกตพบ ผู้ป่วยมีอาการ
หายใจไม่สะดวก หายใจลำบากเมื่อนอนราบ
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ประเมินพบ ชีพจรเต้นเร็วผิดปกติ ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นในระยะแรก
ระยะต่อมาหัวใจเต้นผิดจังหวะ บีบตัวช้าลง เจ็บหน้าอก และหัวใจหยุดเต้นในระยะสุดท้าย
ระบบประสาทส่วนกลาง
สังเกตและประเมินพบ ความรู้สึกตัวของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลง
กระสับกระส่าย สับสน มึนศีรษะ ปวดศีรษะ เพ้อ หมดสติ หรือชัก
ระบบผิวหนัง
ระยะแรก พบว่า ผิวหนังผู้ป่วยเย็น ซีด ต่อมาพบอาการเขียวคล้ำ
โดยเห็นชัดบริเวณริมฝีปาก เล็บมือเล็บเท้า และเสียชีวิตในที่สุด
ระบบทางเดินอาหาร
ประเมินและสังเกตพบมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนในระยะแรก
การประเมินการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ระดับค่าก๊าซในหลอดเลือดแดง (Arterial blood gas: ABG)
เป็นการตรวจเพื่อหาประสิทธิภาพการทำงานของปอด เพื่อประเมินความสามารถในการแลกเปลี่ยนก๊าซ และการหายใจ
ค่าการอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Arterial oxygen saturation)
ใช้ pulse oximeter เป็นอุปกรณ์ที่วัดร้อยละของฮีโมโกลบินที่จับกับออกซิเจน การแปลผลต้องพิจารณาปริมาณเม็ดเลือดแดงและหรือค่าฮีโมโกลบินร่วมด้วย ค่าการอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดปกติอยู่ระหว่าง 98 - 99 %
การตรวจหาระดับฮีโมโกลบิน (Hemoglobin: Hb)
ในเลือดค่าฮีโมโกลบินปกติในผู้หญิง 11.5 – 16.5 gm % (กรัมเปอร์เซนต์) และในผู้ชาย 13.0 - 18 gm % (กรัมเปอร์เซนต์)
สาเหตุและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ
อาการไอ (Cough)
เป็นกลไกการตอบสนองของร่างกายอย่างหนึ่งต่อสิ่งผิดปกติในทางเดินหายใจ และเป็นกลไก ป้องกันที่สำคัญของร่างกายในการกำจัดเชื้อโรค เสมหะ หรือสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ
เริ่มจากการที่มีสิ่งกระตุนตัวรับสัญญาณการไอ หรือมีสารระคายเคืองในบริเวณทางเดินหายใจ ส่วนบนและล่าง
จะรับการกระตุ้นผ่านไปทางเส้นประสาทสมองคู่ที่ 10 (vagus nerve)
ทำใหเกิดการตีบแคบของหลอดลม ส่งผลใหเกิดอาการไอขึ้น
ซึ่งจะมีการควบคุมลงมายังกล้ามเนื้อและอวัยวะที่ เกี่ยวของกับการหายใจ
สาเหตุของการไอ
การอักเสบหรือการบวมบริเวณทางเดินหายใจ
ฝุุ่น ควัน สารเคมี อาหาร หรือน้ำที่สำลักเข้าไป
ความร้อน - เย็นของอากาศ จะทำให้การไอมากขึ้น
ลักษณะของอาการไอ
ไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะ
ไอมีเสมหะ เสมหะที่เป็นหนอง มักเกิดจากการติดเชื้อในทางเดินลมหายใจ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการไอ
ประเมินประสิทธิภาพการไอ
สังเกตและบันทึกลักษณะ เสียง ความถี่ และระยะเวลาของการไอ
ถ้าไอมีเสมหะให้สังเกต บันทึกจำนวน ลักษณะ สี และกลิ่นของเสมหะ
ดูแลความสะอาดของปาก ฟัน และสิ่งแวดล้อม
กระตุ้นให้ดื่มน้ำอุ่นบ่อย ๆ และปริมาณมาก
กระตุ้นให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ
สอนการไออย่างมีประสิทธิภาพ
ดูแลให้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการไอตามแผนการรักษาของแพทย์
อาการไอเป็นเลือด Hemoptysis
การมีเลือดออกจากทางเดินหายใจตั้งแต่กล่องเสียงลงไป ไม่รวมเลือดกำเดา (epistaxis)
ชนิดของการไอเป็นเลือด
ไอจนมีเลือดสดออกมา
ไอจนมีเลือดปนออกมา คือ มีเสมหะและเลือดปนเป็นเนื้อเดียวกัน
ไอจนมีเลือดออกเป็นสาย มีเลือดเป็นสายปนกับเสมหะแต่ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน
ไอจนมีเสมหะสีคล้ายสนิม จากมีเลือดเก่า ๆ ปนออกมา
สาเหตุของการไอเป็นเลือด
อุบัติเหตุ
การอักเสบ
เนื้องอก และมะเร็ง
ความผิดปกติของหลอดเลือดและโรคปอดต่าง ๆ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการไอเป็นเลือด
. ให้ผู้ปุวยพักผ่อนและให้การหายใจเคลื่อนไหวน้อยที่สุด
ประเมินชีพจร หายใจ และความดันโลหิต
ถ้าเสียเลือดมาก อาจต้องให้เลือด และจะต้องเฝูาระวังการแพ้เลือด
ผู้ป่วยอาจตกใจมาก ทำให้มีอาการหายใจเร็วขึ้น
ให้การดูแลจนผู้ป่วยควบคุมตนเองได้
การสะอึก Hiccup
เป็นอาการที่เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อกระบังลมที่อยู่ตรงรอยต่อระหว่างช่องปอดและช่องท้อง
เกิดขึ้นเองโดยไม่สามารถควบคุมได้
สาเหตุของอาการสะอึก
อาการปกติทั่วไป
มีสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่พบบ่อย เช่น กินอิ่มมากเกินไป ดื่มเครื่องดื่มพวกที่ทำให้เกิดแก๊ส
อาการสะอึกที่ควบคุมรักษายาก
เป็นอาการสะอึกที่เกิดจากพยาธิสภาพของโรค
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการสะอึก
ให้ดมสารที่มีกลิ่นฉุน
ให้ชิมของเปรี้ยวจัด
แนะนำให้หายใจเข้าออกในถุงปิด
แนะนำให้กลั้นหายใจเป็นพัก ๆ
ใช้เทคนิคเบี่ยงเบนความสนใจ
ดูแลความปลอดภัยจากสิ่งแวดล้อม
อาการหายใจลำบาก
Dyspnea
อาการซึ่งผู้ป่วยต้องใช้ความพยายามหรือใช้แรงในการหายใจ
สาเหตุของการหายใจลำบาก
สาเหตุเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
สาเหตุเกี่ยวกับประสาท
สาเหตุเกี่ยวกับหัวใจ
คนที่หายใจเร็ว tachypnea ไม่จำเป็นต้องมีอาการหายใจลำบากร่วมด้วย
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการหายใจลำบาก
ดูแลให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง และให้ออกซิเจนร่วมด้วย
ดูแลประคับประคองด้านจิตใจ และประเมินสัญญาณชีพตามความเหมาะสม
เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ สำหรับช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน
ดูแลให้ยาขยายหลอดลม หรือยาขับเสมหะ
ดูแลให้ออกซิเจนชนิดละอองฝอย
ฝึกให้ผู้ป่วยหายใจและการไออย่างมีประสิทธิภาพ
อาการเจ็บหน้าอก
Chest pain
สาเหตุ
สาเหตุจากเยื่อหุ้มปอดอักเสบ มักเจ็บตรงบริเวณที่มีอาการอักเสบ
สาเหตุจาก เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบมักเป็นตรงบริเวณหัวใจ และเจ็บตลอดเวลา
สาเหตุจากหัวใจ เช่น ภาวะหลอดเลือดแดงหัวใจโคโรนารี
สาเหตุจากหลอดลมอักเสบ มักมีอาการแน่นหน้าอกบริเวณหลังกระดูก
สาเหตุจากเส้นประสาท เช่น โรครากประสาทสันหลัง
สาเหตุจากกล้ามเนื้ออักเสบ มักมีอาการเจ็บเฉพาะที่
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก
สังเกตอาการ ถ้ามีอาการเจ็บปวดที่เยื่อหุ้มปอด ควรแนะนำให้นอนตะแคงทับด้านที่เป็น
ประเมินหาสาเหตุของอาการว่า อาการเจ็บหน้าอกเกิดจากหัวใจหรือ ปอด
จัดเตรียมอุปกรณ์การให้ออกซิเจนและพิจารณาให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วย
บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
การให้ออกซิเจนเพื่อการรักษา (Oxygen therapy)
ในภาวะที่ระบบการหายใจทำงานเป็นปกติ ร่างกายจะได้รับออกซิเจนเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
อาการและอาการแสดงของภาวะขาดออกซิเจน
วิตกกังวล กระสับกระส่าย
ระดับการมีสมาธิลดลง
ระดับความรู้สึกตัวลดลง
ความอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าเพิ่มขึ้น
มีอาการวิงเวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุน
แสดงพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป
อัตราการเต้นของชีพจรเร็วขึ้น
ในช่วงแรกอัตราการหายใจเร็วและลึก ระยะ
ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นหายใจสั้นและตื้น
ความดันโลหิตลดลง
หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ
มีภาวะซีด
มีอาการเขียวคล้ำ
กรณีเป็นภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง พบนิ้วปู่ม
อาการหายใจลำบาก
วัตถุประสงค์ของการให้ออกซิเจนเพื่อการรักษา
เป็นการรักษาภาวะพร่องออกซิเจนทำให้ออกซิเจนในเลือดต่ำ
เป็นการลดอาการขาดออกซิเจนเรื้อรัง
เป็นการช่วยการทำงานของระบบทางเดินหายใจ หัวใจ และระบบการไหลเวียนโลหิตและหลอดเลือดจากภาวะพร่องออกซิเจน
ข้อชี้บ่งของการให้ออกซิเจน
มีภาวะขาดออกซิเจนในเลือด
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะ hypoxemia
เกิดภาวะบาดเจ็บขั้นรุนแรง
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิดเฉียบพลัน
การให้ออกซิเจนเป็นเวลาช่วงสั้น ๆ ในการทำผ่าตัด
ข้อควรระวังและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ออกซิเจน
อาจเกิดภาวะกดการหายใจผู้ป่วยที่หายใจเอง
อาจเกิดภาวะปอดแฟบ
ควรระวังการให้ออกซิเจนในผู้ป่วยที่ได้รับพิษจาก paraquat
ขณะท าผ่าตัดด้วยวิธีเลเซอร์ในทางเดินหายใจ
ควรระวังการให้ความชื้นร่วมกับออกซิเจนโดยเฉพาะการให้ความชื้นแบบ nebulizer
การมีความเข้มข้นระดับสูงของออกซิเจน
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับออกซิเจน
หมั่นสังเกตและประเมินภาวะของผู้ป่วย
หมั่นตรวจดูอุปกรณ์ที่ให้ออกซิเจน
ดูแลทางเดินหายใจโดยทำทางเดินหายใจ ให้โล่งตลอดเวลา
ดูแลความสะอาดของจมูกและปากบ่อยๆ หรือ ทุก 2 - 3 ชั่วโมง
ดูแลด้านจิตใจ เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยและญาติ
เทคนิคการพยาบาลที่เกี่ยวข้องในการให้ออกซิเจนแบบต่าง ๆ
ระบบการให้ออกซิเจน
ระบบการไหลของออกซิเจนชนิดต่ำ
การให้ออกซิเจนทางหน้ากาก
Simple mask
Reservoir bag
Non rebreathing mask
การให้ออกซิเจนชนิดเขี้ยว
ระบบการไหลของออกซิเจนชนิดสูง
การให้ออกซิเจนชนิดT- piece
การให้ออกซิเจนทางท่อหลอดลม (tracheostomy collar)
การให้ออกซิเจนชนิด croupette tent
การให้ออกซิเจนชนิด hood หรือ oxygen box
การให้ออกซิเจนทางท่อช่วยหายใจ (endotracheal tube: ET)
ระบบให้ความชื้น (Humidification)
ชนิดละอองโต (Bubble)
น้ าจะปุดเป็นฟองเมื่อ
เปิดให้กับผู้ปุวย
ชนิดละอองฝอย (Jet)
ให้ความชื้นในทางเดินหายใจที่อยู่ลึกเหมาะกับผู้ป่วยที่มีเสมหะเหนียว
แหล่งให้ออกซิเจน (Oxygen source)
ถังบรรจุออกซิเจน (Oxygen tank)
ระบบท่อ (Oxygen pipeline)
บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
การจัดท่าผู้ป่วย
ผู้ปุวยที่อยู่ในภาวะที่มีออกซิเจนในเซลล์ต่ำ ควรจัดอยู่ในท่าศีรษะสูง
ผู้ป่วยที่หายใจลำบากทำให้นอนราบไม่ได้ ควรจัดท่า orthopnea position
การบริหารการหายใจ
การหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องหรือกระบังลม
การหายใจโดยการห่อปาก
การหายใจเข้าลึกๆ
การดูดเสมหะ
ช่วยทำให้ทางเดินหายใจโล่งออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้เต็มที่
และไม่เกิดการอุดตันของทางเดินหายใจ
การส่งเสริมการได้รับออกซิเจนให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
การช่วยท าให้ทางเดินหายใจโล่ง
การเพิ่มความสามารถในการขยายตัวของทรวงอกและปอด
การเพิ่มปริมาณออกซิเจนที่เข้าปอด
การลดความต้องการปริมาณออกซิเจนในร่างกาย
การผ่อนคลายความวิตกกังวล
วิธีการดูดเสมหะ
การดูดเสมหะทางจมูก หรือปาก
การดูดเสมหะทางท่อช่วยหายใจ หรือ ทางท่อหลอดคอ
ความปลอดภัยขณะผู้ป่วยได้รับออกซิเจน
การให้การพยาบาลเพื่อให้ผู้ปุวยได้รับความปลอดภัยขณะได้รับออกซิเจนโดยมีข้อควรปฏิบัติและต้องคำนึงถึง
อาจเกิดการติดเชื้อโรคแทรกซ้อน
อาจทำให้เยื่อบุทางเดินหายใจแห้งและเกิดการระคายเคืองได้
อาจเกิดการทำลายเนื้อเยื่อในปอด ออกซิเจนจะก่อพิษในปอดได้
อาจเกิดอันตรายกับดวงตา
อาจเกิดการหยุดหายใจ
อาจเกิดอุบัติเหตุจาการเกิดไฟไหม้หรือการระเบิด
หลักปฏิบัติในการให้ออกซิเจนชนิดต่าง ๆ
ล้างมือให้สะอาด สวมmask
ประเมินสัญญาณชีพและระดับความรู้สึกตัว
ใส่ flow meter กับแหล่งที่มาของออกซิเจนที่มาจากชนิดผนังหรือจากถังใช้ highpressure gas regulator ให้ถูกต้องและแน่นพอดี
ต่อกระบอกความชื้นที่ใส่น้ ากลั่นปลอดเชื้อ ให้ระดับน้ำอยู่ตรงตำแหน่งขีดที่กำหนดข้างกระบอก
ปรับระดับลูกลอยใน flow meter จะได้ปริมาณของออกซิเจนมีหน่วยเป็นลิตรต่อนาทีตามที่ต้องการ สวมท่อสายยางของอุปกรณ์ให้ออกซิเจน กับท่อ flow meter
หมุนปุ่มเปิด flow meter ปรับอัตราการไหลของออกซิเจนทิ้งไว้ 1 – 2 นาที
กรณีให้ nasal cannula
ทำความสะอาดช่องจมูกทั้งสองข้าง และทุก 8 ชั่วโมง
สวมเขี้ยวเข้าในช่องจมูกทั้ง 2 ข้างโดยให้ส่วนโค้งแนบไปกับโพรงจมูก คล้องสายกับใบหู 2 ข้าง ปรับสายให้พอดีไว้ใต้คาง หรืออ้อมรอบศีรษะ
กรณีให้ mask
simple mask ครอบหน้ากากบริเวณสันจมูกและปากให้แนบสนิท จัดให้พอดีป้องกันการรั่วของออกซิเจน
ชนิดมีถุง เปิดออกซิเจนไหลผ่านถุง 10 -20 ลิตร/ นาที จนถุงโป่งเต็มที่ รวมทั้งทดสอบถุงไม่รั่วแล้วจึงใส่เหมือน simple mask
กรณีให้ oxygen hood (oxygen box)
ต่อท่อออกซิเจนเข้ากับกล่อง
วางครอบเฉพาะศีรษะและไหล่ ระวังไม่ให้สายอยู่ใกล้หน้าเด็ก
ให้ออกซิเจนในปริมาณพอเพียงและไม่ให้ออกซิเจนระคายเคืองตาเด็ก
กรณีให้ T- piece
ควรดูดเสมหะออกก่อน
ต่อสาย T – piece ครอบท่อหลอดลมคอ จัดสายไม่ให้เกิดภาวะดึงรั้ง
ลงบันทึกทางการพยาบาล ได้แก่ อาการ สัญญาณชีพ ปริมาณออกซิเจนที่ให้อุปกรณ์ที่ใช้ และปฏิกิริยาผู้ป่วยเมื่อได้รับออกซิเจน
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมการได้รับออกซิเจน
การประเมินภาวะสุขภาพ
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
การวางแผนการพยาบาล
การปฏิบัติการพยาบาล
การประเมินผลการพยาบาล
ประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
ประเมินผลกิจกรรมการพยาบาล
ประเมินผลคุณภาพการบริการ