Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กระบวนการยุติธรรมทางอาญาและแพ่ง - Coggle Diagram
กระบวนการยุติธรรมทางอาญาและแพ่ง
กระบวนการยุติธรรม
วิธีการดำเนินการแก่ผู้ที่ประพฤติฝ่าฝืนกฎหมาย โดยอาศัยองค์กร และบุคลากรที่กฎหมายให้อำนาจไว้
กระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง
กระบวนการยุติธรรมทางแรงงาน
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
กระบวนการยุติธรรมในศาลเยาวชน และครอบครัวกลาง
กระบวนการยุติธรรมในศาลภาษีอากร
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
เป็นกระบวนการสำหรับดำเนินคดีอาญา
องค์กรและบุคลากร
พนักงานสอบสวนหรือตำรวจ
ทำการรวบรวมพยานหลักฐานที่ได้จากการสอบสวนแล้วส่งเรื่องหรือสำนวนสอบสวนให้พนักงานอัยการ
ทนายความ
เข้ามาว่าความแก้ต่างให้แก่คู่ความไม่ว่าจะเป็นโจทก์หรือจำเลย
พนักงานอัยการ
เปรียบเสมือนทนายของ แผ่นดิน มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีในนามของรัฐ
ศาลยุติธรรม
ศาลเป็นผู้ทำหน้าที่พิจารณาชี้ขาดคดีหรหือตัดสินคดี
ศาลอุทธรณ์
ศาลซึ่งวินิจฉัยข้อผิดพลาด หรือข้อขาดตกบกพร่องของศาลชั้นต้น
ศาลฎีกา
เป็นศาลสูงสุดของศาล
วินิจฉัยความบกพร่อง หรือข้อผิดพลาด
ศาลชั้นต้น
ศาลที่จะเริ่มพิจารณาอรรถคดีเป็นเบื้องแรก ศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญา
กรมราชทัณฑ์
ควบคุมผู้ต้องหาหรือจำเลยไว้ในระหว่างการดำเนินคดีอาญา
การดำเนินกระบวนการ
เมื่อมีความผิดอาญาเกิดขึ้น ก็จะต้องมีการสืบสวน และสอบสวนเกี่ยวกับความผิดโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจก่อน จากนั้นพนักงานอัยการจึงจะฟ้องคดีอาญาต่อศาล หรือในบางกรณีผู้เสียหายจะฟ้องต่อศาลโดยตรงก็ได้
ในคดีอาญานั้น การพิจารณาสืบพยานของศาลจะต้องกระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าสาธารณชน และต่อหน้าจำเลย
บุคคลที่เกี่ยวข้อง
อัยการ
ผู้เสียหาย
ศาล
ผู้กระทำความผิด
พนักงานราชทัณฑ์
ตำรวจ
คดีอาญาเมื่อมีคำพิพากษาแล้ว จะต้องบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษาโดยไม่ชักช้า
กระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง
องค์กรและบุคลากร
ศาลยุติธรรม
ศาลอุทธรณ์
ศาลฎีกา
ศาลชั้นต้น
เจ้าพนักงานบังคับคดี
เจ้าพนักงานของศาลหรือพนักงานอื่นผู้มีอำนาจตามหาบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่ใช้อยู่ในอันที่จะปฏิบัติตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย เพื่อ คุ้มครองสิทธิของคู่ความในระหว่างพิจารณา หรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง
คู่ความ
ผู้ยื่นฟ้อง (โจทก์)
มอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้
ผู้ถูกฟ้อง (จำเลย)
การดำเนินกระบวนการ
บุคคลที่เกี่ยวข้อง
ผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย
ผู้เสียหาย
คู่ความ
ศาล
เจ้าพนักงานบังคับคดี
บางกรณีมีอัยการเข้าเกี่ยวข้องด้วย
กระบวนการยุติธรรมทางแพ่งเริ่มต้น โดยคู่ความเสนอคำฟ้องต่อศาล จากนั้นศาลจะทำการพิพากษาคดี และเจ้าพนักงานบังคับคดีจะเป็นผู้จัดการบังคับให้บรรลุผลตามคำพิพากษา
การพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น จะต้องกระทำในศาลโดยเปิดเผยต่อหน้า คู่ความที่มาศาล แต่ในศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกานั้นไม่จำต้องกระทำโดยเปิดเผย ศาลเพียงแต่พิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนก็วินิจฉัยคดีได้
การบังคับคดีแพ่งจะทำต่อเมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล หรือในบางกรณีถ้าไม่อาจปฏิบัติดังกล่าวได้ ศาลอาจมีคำสั่งให้ จับกุมขังลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้