Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การจัดท่าและการออกกำลังกาย - Coggle Diagram
การจัดท่าและการออกกำลังกาย
องค์ประกอบในการเคลื่อนไหวร่างกาย
และหลักการทรงตัว
การเคลื่อนไหวร่างกายต้องอาศัยการทำงานของระบบกระดูก กล้ามเนื้อ ประสาท รวมทั้งระบบไหลเวียนเลือด โดยที่โครงกระดูกจะทำหน้าที่ในการเคลื่อนไหว ซึ้งกล้ามเนื้อที่ช่วยในการเคลื่อนไหวมักจะทำงานเป็นคู่และยึดติดอยู่กับกระดูก หรือข้อต่อคนละข้าง ส่วนใหญ่แล้วการเคลื่อนไหวของร่างกายต้องอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อเป็นหมู่มากกว่าที่จะทำเพียงคู่เดียว
การทรงตัว หมายถึง ความมั่นคงและความสมดุลของร่างกายในทุกอิริยาบถ ไม่โอนเอียงหรือล้มลง โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างจุดศูนย์กลางของแรงถ่วง (center of gravity) ฐานที่รองรับ (base of support) เส้นในแนวดิ่ง (line of gravity) ที่ผ่านฐาน ที่รองรับและส่วนต่าง ๆ ของโครงร่างของร่างกายที่อยู่ในแนวที่ถูกต้อง
ท่าทรงตัวที่ดี (good posture) หมายถึง ความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอย่าง ถูกต้อง มีความสมดุลของกล้ามเนื้อและโครงกระดูกทำให้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะอยู่ในท่าทางใด
หลักการทรงตัว ยืน นั่ง นอน และหลักปฏิบัติเพื่อให้ร่างกายมีท่าทรงตัวที่ดี
1.ท่ายืนที่ดี คือ การยืนตัวตรงในท่าที่สบาย น้ำหนักตกลงที่ส่วนโค้งของเท้า
2.ท่านั่งที่ดีคือ ศีรษะยืดตรงไม่ก้มหรือเงย อกผาย หลังตรง ข้อพับเข่างอและอยู่ห่างขอบเก้าอี้ ประมาณ 1 นิ้ว
ท่านอนที่ดี คือ หลังตรง เข่างอ เล็กน้อย แขนวางข้างลำตัว ข้อศอก และนิ้วมืองอเล็กน้อย
พยาบาลควรปฏิบัติการพยาบาลโดยยึดหลักการเคลื่อนไหว เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อขณะปฏิบัติงานทั้งการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การเคลื่อนย้ายสิ่งของ และหลักการปฏิบัติ เดียวกันนี้สามารถนำไปแนะนำผู้ป่วยให้มีการเคลื่อนไหวอย่างถูกต้อง ดังนี้
คงไว้ซึ่งแนวปกติของร่างกายและการทรงตัวที่ดี
ถือสิ่งของที่เคลื่อนย้ายให้อยู่ใกล้กับร่างกาย
ถือสิ่งของอยู่กึ่งกลางจุดศูนย์กลางของแรงถ่วง
ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ในการทำงานที่ต้องใช้กำลังมาก
ใช้น้ำหนักตนเองในการช่วยเคลื่อนย้ายวัตถุ สิ่งของ
ใช้การดัน การดึง หรือการหมุนผลักสิ่งของแทนการยก
ขณะยกสิ่งของควรแยกเท้าออก เพื่อให้มีความมั่นคง
หลีกเลี่ยงการยืดกล้ามเนื้อ หรือการบิดกล้ามเนื้อขณะเคลื่อนย้ายสิ่งของ
การยกสิ่งของให้อยู่ในท่าหลังตรง และย่อเข่า แทนการก้มหลัง
มีการหยุดพักเป็นช่วง ๆ ในระหว่างการท ากิจกรรม
หาผู้ช่วยเหลือหรืออุปกรณ์ผ่อนแรง
เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อสะโพกก่อนยกสิ่งของเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ ของ กล้ามเนื้อหลัง
เคลื่อนไหวร่างกายอย่างนุ่มนวล ประสานกัน และเป็นจังหวะ
การออกกำลังกายเพื่อคงไว้ซึ่งการ เคลื่อนไหวร่างกาย แบ่งได้เป็น 2 วิธีคือ
การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มพิสัยของข้อ (range of motion exercise) เป็นการเคลื่อนไหวอย่างเต็มที่ของข้อต่อต่าง ๆ ในทิศทางเฉพาะของข้อต่อนั้น ๆ
การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรง และความคงทนของกล้ามเนื้อ (exercise for strength and endurance) เพื่อเพิ่มความทนทานใน การทำงานของกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยเป็นผู้ออกแรงทำเอง ประกอบด้วย การออกกำลังกายแบบไอโซโทนิก (Isotonic exercise) การออกกำลังกายแบบไอโซเมตริก (Isometric exercise) และการออก กำลังกาย แบบไอโซคีเนติก (Isokinetic exercise)
ประเภทการออกกำลังกายตามผู้ออกแรง แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ
Active exercise คือ ผู้ป่วยออกแรงทำเองทั้งหมด ใช้ในกรณีที่พิสัยของข้อปกติ
Passive exercise คือ ผู้ป่วยไม่ได้เป็นผู้ออกแรง เป็นการออกแรงโดยมีผู้มากระทำ การ เคลื่อนไหวข้อต่าง ๆ ให้ผู้ป่วย ใช้สำหรับผู้ที่มีพิสัยของข้อปกติ แต่ไม่สามารถเคลื่อนไหว ร่างกายได้ ด้วยตนเองหรือมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว
Active assistive exercise คือ ให้ผู้ป่วยออกแรงทำเองมากที่สุด แล้วจึงใช้แรงจาก ภายนอกช่วยให้เคลื่อนไหวจนครบพิสัยของข้อ มักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยอ่อนแรง
Passive stretching exercise คือ ให้ผู้ป่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ แล้วใช้แรงจาก ภายนอก ดัดข้อให้ยืดออก
หลักการปฏิบัติตัวในการช่วยเหลือผู้ป่วยเคลื่อนไหวบนเตียง การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากเตียง ไปเก้าอี้ รถนั่ง รถนอน เตียงนอน
การเคลื่อนย้าย (transferring) หมายถึง การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยคำนึงถึงความปลอดภัย ของผู้ป่วยโดยก่อนการ เคลื่อนย้ายพยาบาลต้องการประเมิน สิ่งต่าง ๆ ดังน
ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของผู้ป่วย
ท่าที่เป็นข้อห้ามสำหรับผู้ป่วย
อวัยวะส่วนที่อ่อนแรงหรือพิการ
ความมั่นคงในการคงท่าของผู้ป่วย
ส่วนที่ต้องให้อยู่นิ่ง ๆ
อุปกรณ์ที่ติดตัวผู้ป่วย
ความอ่อนเพลียของผู้ป่วย
ความต้องการการเคลื่อนย้าย เปลี่ยนท่า และความสุขสบายของผู้ป่วย
การปฏิบัติการเคลื่อนย้าย
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากเตียงไปเก้าอี้หรือรถเข็นนั่ง
1.1 เลื่อนตัวผู้ป่วยให้อยู่ริมเตียง จัดผู้ป่วยให้อยู่ในท่านั่งห้อยเท้าบนเตียง
1.2 พยาบาลยืนอยู่ตรงหน้าผู้ป่วยในท่าก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับย่อเข่าลงให้ ผู้ป่วยใช้มือจับที่ไหล่ทั้ง สองข้างของพยาบาล มือทั้งสองข้างของพยาบาลสอดเข้าใต้รักแร้หรือ บริเวณเอวของผู้ป่วย 2 ข้าง แล้วค่อย ๆ พยุงผู้ป่วยให้ลุกขึ้นยืน
1.3 หมุนตัวให้หลังผู้ป่วยอยู่หน้าเก้าอี้หรือรถเข็นนั่ง
1.4 ให้ผู้ป่วยวางมือสองข้างจับที่พักแขน แล้วหย่อนตัวลงนั่งบนเก้าอี้หรือรถเข็นนั่ง
1.5 ให้ผู้ป่วยนั่งให้หลังและก้นชิดพนักพิง นำที่วางเท้าลงเพื่อให้ผู้ป่วยวางเท้า
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากเตียงไปรถเข็นนอน
2.1 แจ้งให้ผู้ป่วยทราบ
2.2 น ารถนอนวางชิดกับเตียง ล็อกล้อเตียงและล้อรถเข็นนอน
2.3 ปรับความสูงของเตียงให้พอดีกับความสูงของรถเข็นนอน
2.4 พลิกตะแคงตัวผู้ป่วยมาทางด้านตรงข้ามกับรถเข็นนอน สอดแผ่นเลื่อน (pat slide) เข้าใต้ผ้า
ขวางเตียง แล้วพลิกผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนหงายทับอยู่บนผ้าขวางเตียง และแผ่นเลื่อน
2.5 วางแขนผู้ป่วยไว้บนหน้าอก
2.6 จับผ้าขวางเตียงบริเวณไหล่และตะโพกของผู้ป่วย จับพยุงขา ให้สัญญาณก่อน เลื่อน ขณะเลื่อน
ตัวให้พยาบาลคนหนึ่งยึดแผ่นเลื่อนให้อยู่กับที
2.7 พลิกตะแคงตัวผู้ป่วยเล็กน้อยแล้วดึงแผ่นเลื่อนออก จัดให้ผู้ป่วยนอนหงายอยู่ กลางรถเข็นนอนในท่าที่สุขสบาย ปลอดภัย ยกราวกั้นรถเข็นนอนขึ้น
การจัดท่านอน หลักปฏิบัติในการจัดท่านอน และลักษณะท่านอนชนิดต่าง ๆ เพื่อความสุขสบายและการตรวจรักษา
การจัดท่านอนผู้ป่วยแบบต่างๆ
1.ท่านอนหงาย (Dorsal or supine position) เป็นท่าส าหรับผู้ป่วยที่อ่อนเพลีย ไม่รู้สึกตัว ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ และเตรียมตรวจอวัยวะด้านหน้าของร่างกาย เช่น ศีรษะ หน้า แขน ขา หน้าอก ท้องและการตรวจปฏิกิริยาตอบสนองต่าง ๆ การนอนท่านี้จะเสี่ยงต่อการเกิด ปลายเท้าตก (foot drop) จึงต้องใช้แผ่นกระดานหรือผ้าน ามาพับหรือม้วนแล้วดันปลายเท้าให้ตั้งขึ้น รวมถึงเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับตามต าแหน่งปุ่มกระดูกต่าง ๆ ท่านอนหงายไม่ใช้ใน ผู้ป่วยที่หายใจลำบาก และเสี่ยงต่อการสูดส าลัก
2.ท่านอนหงายศีรษะสูง (Fowler’s or semi sitting position) เป็นท่านอนที่จัดให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง 60 ถึง 90 องศา หากปรับหัวเตียงสูง 30-40 องศา เรียกท่านอนกึ่งนั่ง (semi-Fowler’s position) การจัดท่านี้ต้องให้สะโพกอยู่ตรงบริเวณรอยพับเตียง เพื่อป้องกันหลังโค้งงอ และปรับให้ระดับปลายเตียงสูง 10-20 องศา ท่านี้ช่วยให้ผู้ป่วยหายใจสะดวก ปอดขยายตัวได้ดี ท าให้ ผนังหน้าท้องหย่อนตัว ส าหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถลุกออกจากเตียงได้ท่านี้เป็นท่าที่เหมาะในปฏิบัติ กิจกรรมต่าง ๆ เช่น รับประทานอาหาร ทำความสะอาดปากและฟัน เป็นต้น
3.ท่านอนตะแคง (Lateral position) ท่านี้ช่วยให้น้ำหนักร่างกายตกลงบริเวณด้านข้าง ของล าตัว สะบัก และสะโพก รวมทั้งช่วยลดการกดทับบริเวณส่วนหลังของร่างกาย และยังใช้เพื่อ เตรียมตรวจอวัยวะด้านข้างของร่างกาย เช่น ศีรษะ หูแขน ขา และล าตัวด้านข้าง การจัดท่านี้ให้ใช้ หมอนสอดหนุนระหว่างไหล่และแขน เพื่อ
4.ท่านอนตะแคงกึ่งคว่ำ (Semiprone position) เป็นท่าที่คล้ายกับท่านอนตะแคง ต่างกันตรงที่ท่านอนนี้แขนล่างจะอยู่ด้านหลังของล าตัวและน้ าหนักตัวจะค่อนมาทางด้านหน้าของล าตัว น้ าหนักกระจายลงบริเวณกระดูกสะโพกด้านหน้า ต้นแขนและกระดูกไหปลาร้า มีข้อจ ากัดในผู้ป่วยโรคกระดูกและกระดูกสันหลัง ท่านี้ใช้มากในผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว เพราะช่วยให้น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วยไหลออกจากปาก จมูกได้สะดวก และยังเป็น ท่าที่นอนสบายสำหรับคนปกติและหญิงตั้งครรภ์ในระยะใกล้คลอดอีกด้วย
5.ท่านอนตะแคงซ้ายกึ่งคว่ำ(Sim’s position) เป็นท่าที่ใช้สำหรับการเตรียมตรวจ หรือ ให้การพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับระบบขับถ่ายอุจจาระ เช่น การตรวจทางทวารหนัก การสวนอุจจาระ การเหน็บยาทางทวารหนัก เพราะการนอนท่านี้จะเป็นท่าที่ล าไส้ใหญ่ส่วนปลายอยู่ด้านล่าง การจัดท่า ปฏิบัติโดยให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้าย เลื่อนก้นให้ชิดริมเตียงเพื่อสะดวกในการตรวจและให้การพยาบาล เลื่อนแขนซ้ายอยู่ด้านหลังล าตัว แขนขวาอยูด้านหน้า งอสะโพกและเข่าขวาจนเกือบชิดหน้าท้อง เปิดผ้าเฉพาะส่วนที่จะท าการตรวจรักษาหรือให้การพยาบาลเท่านั้น
6.ท่านอนคว่ำ(Prone position) ท่านี้เหมาะส าหรับผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ช่วยทำให้น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วยไหลออกจากปาก จมูกได้สะดวก ลิ้นไม่ปิดกั้นทางเดินหายใจ ห้ามจัดท่านี้ในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้องผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ และไขสันหลัง การจัดท่านอนคว่ าปฏิบัติโดย ให้นอนคว่ำ แนวลำตัวตรงศีรษะหนุนหมอนเตี้ยหรือไม่หนุนหมอน หันหน้าไปด้านใดด้านหนึ่งวางแขน ไปทางศีรษะในท่างอข้อไหล่ ใช้หมอนหรือผ้าหนุนปลายขาให้สูงจนนิ้วเท้าสูงพ้นที่นอน หากจัดท่าเพื่อ เตรียมตรวจบริเวณด้านหลัง เช่นด้านหลังศีรษะ หลัง เป็นต้น ผู้ป่วยไม่ต้องหนุนหมอน เพียงแต่ช่วย ให้นอนคว่ า และห่มผ้าให้เท่านั้น
7.ท่านอนหงายชันเข่า (Dorsal recumbent position) เป็นท่าสำหรับการเตรียมตรวจหรือทำการพยาบาลโดยเฉพาะ เช่น การตรวจช่องคลอด ฝีเย็บ ทวารหนัก สวนปัสสาวะ ท าความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และทำคลอดบุตร การจัดท่าต้องใช้ผ้าปิดคลุมขาทั้ง 2 ข้าง เปิดเฉพาะ อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกเพื่อไม่เปิดเผยผู้ป่วยจนเกินไป
8.ท่านอนหงายพาดเท้าบนขาหยั่ง (Lithotomy position) เป็นท่าเฉพาะคล้ายกับท่านอนหงายชันเข่าต่างกันตรงที่ท่านี้ทำให้ผู้ทำ การรักษาหรือพยาบาลสามารถเข้าใกล้บริเวณที่ต้องการตรวจได้มากขึ้น ทำให้สะดวกและถนัด ผลดีจึงมีมากกว่า เช่น การทำคลอดโดยเฉพาะเมื่อทารกอยู่ในท่าที่ผิดปกติ
9.ท่านอนคว่ำคุกเข่า (Knee-chest position) เป็นท่าเตรียมตรวจหรือทำผ่าตัดบริเวณทวารหนักและลำไส้ใหญ่ส่วนปลายโดยเฉพาะ
10.ท่าฟุบหน้า (Orthopneic position)เป็นท่าที่ดัดแปลงมาจากท่า High-Fowler’s position ท่านี้เหมาะส าหรับช่วยให้หายใจได้ดีขึ้น ใช้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจนอนราบไม่ได้
บอกชนิดต่าง ๆ ของการออกกำลังกายและประโยชน์ของการออกกำลังกายได้
ความสำคัญและประโยชน์ของการออกกำลังกาย
การเจริญเติบโต การออกกำลังกายจัดเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต เด็กที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายแต่มีอาหารกินอุดมสมบูรณ์ อาจมีส่วนสูงและน้ำหนักตัวมากกว่าเด็กในวัยเดียวกันโดยเฉลี่ย แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีไขมันมากเกินไป มีกระดูกเล็ก หัวใจมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวและรูปร่างอาจผิดปกติได
แต่เมื่อ เติบโตเต็มที่แล้วยัง ขาดการออกกำลังกาย ก็จะทำให้ทรวดทรงเสียไปได้ เช่น ตัวเอียง หลังงอ พุงป่อง ซึ่งทำให้เสียบุคลิกภาพได้ อย่างมาก ในระยะนี้ ถ้ากลับมาออกก าลังกายอย่างถูกต้อง เป็นประจำสม่ำเสมอยังสามารถแก้ไขให้ทรวดทรงกลับดีขึ้นมาได้
เมื่อนักกีฬาเกิดการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อจะสามารถหายได้เร็วกว่า และมีโรคแทรกซ้อนน้อยกว่าข้อที่ทำให้เชื่อได้แน่ว่าผู้ที่ออกกำลังกายย่อมมีสุขภาพดีกว่าผู้ขาดการออกกำลังกาย
สมรรถภาพทางกาย ถ้าจัดการออกกำลังกายเป็นยาบำรุง การออกกำลังกายถือเป็นยาบำรุงเพียง อย่างเดียวที่สามารถเพิ่มสมรรถภาพทางกายได้ เพราะไม่มียาใด ๆ ที่สามารถทำให้ร่างกายมีสมรรถภาพเพิ่มขึ้นได้อย่างแท้จริงและถาวร
การป้องกันโรค การออกกำลังกายสามารถป้องกันโรคได้หลายชนิด โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของอวัยวะอันเนื่องจากการมีอายุมากขึ้น
การรักษาโรคและฟื้นฟูสภาพ การจัดการออกก าลังกายที่เหมาะสมมีปัญหามาก เพราะบางครั้งโรคก าเริบรุนแรงจนการออกกำลังกายแม้เพียงเบา ๆ ก็เป็นข้อห้าม ในกรณีดังกล่าวการควบคุมโดยใกล้ชิดจากแพทย์ผู้ท าการรักษาและการตรวจสอบสภาพร่างกายโดยละเอียดเป็นระยะเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง