Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่1 พืชสมุนไพร ชื่อ และ ชนิด (ต่อ) ยาแผนโบราณ - Coggle Diagram
บทที่1 พืชสมุนไพร ชื่อ และ ชนิด (ต่อ) ยาแผนโบราณ
ประวัติความเป็นมาของการแพทย์แผนโบราณ
การแพทย์แผนโบราณในประเทศไทย
รัชกาลที่ ๑ ได้สร้าง“วัดโพธิ์” ขึ้น มีการรวบรวมและจารึกตำรายา
รัชกาลที่ ๓ มีการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์แผนโบราณแห่งแรก คือ“โรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์”
ศิลาจารึกของอาณาจักรขอม พระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงสร้างสถานพยาบาลเรียกว่า “อโธคยาศาลา”
ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง ได้บันทึกไว้ว่า ทรงสร้างสวนสมุนไพรขนาดใหญ่บนเขาหลวง
สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการจัดทำ “ตำรา พระโอสถพระนารายณ์”
หลักเภสัช ๔ ประการ
คณาเภสัช
รู้จักการจัดหมวดหมู่ตัวยาหลายสิ่งหลายอย่าง รวมเรียกเป็นชื่อเดียว
เภสัชกรรม
รู้จักการเก็บตัวยา การปรุงยาตามที่กำหนด
สรรพคุณเภสัช
รู้รสของตัวยานั้น ๆ ก่อนจึงสามารถทราบสรรพคุณได้
เภสัชวัตถุ
รู้ลักษณะพื้นฐานของตัวยาหรือสมุนไพรแต่ละชนิด
เภสัชกรรม
วิธีปรุงยา
การผสมสมุนไพรต่าง ๆ เพื่อแปรสภาพให้เป็นยารักษาและป้องกันโรค
หลักการปรุงยา
ตัวยาช่วย
ตัวยาประกอบ
ตัวยาตรง
ตัวยาชูกลิ่น ชูรส และแต่งสีของยา
การคัดเลือกและเก็บตัวยา
เก็บยาให้ถูกต้อง
ถูกส่วน
ถูกช่วงอายุพืช
ถูกต้น
ถูกฤดูกาลและช่วงเวลา
การเก็บรักษายาสมุนไพร
พวกพืชที่มีกลิ่นหอมจำพวกใบและดอก ไม่ควรเอาไปตากแดดโดยตรง
ตัวยาบางชนิด ถ้าเก็บไว้นาน คุณภาพของตัวยาจะเสื่อมไปตามกาลเวลา
ตัวยาที่นำมาปรุงยา ต้องทำความสะอาดให้ปราศจากสิ่งปนเปื้อนต่าง ๆ
การใช้ตัวอย่างยาอันตราย
การสะตุ
การทำให้ตัวยามีฤทธิ์อ่อนลง หรือทำให้พิษของตัวยาน้อยลง
การฆ่าฤทธิ์ตัวยา
การทำให้พิษของยาอ่อนลง เช่น การฆ่าสารปรอท
การประสะ
คือ การทำให้พิษของตัวยาอ่อนลง เช่น การประสะยางสลัดได
กระสายยา
น้ำหรือของเหลวที่ใช้สำหรับละลายยา
สรรพคุณเภสัช
ยารสประธาน
แบ่งออกเป็น 3 รส
ยารสร้อน
ยาที่เข้าสมุนไพรรสร้อน เช่น เบญจกูล เหง้าขิง กะเพรา เป็นต้น
ยารสสุขุม
ยาที่เข้าสมุนไพรที่ไม่ร้อน เช่น โกฐเทียน กฤษณา จันทร์เทศ เป็นต้น
ยารสเย็น
ยาเข้าสมุนไพรที่ไม่ร้อน เช่น เขาสัตว์ เขี้ยวสัตว์ เช่น ยามหานิล ยาเขียว เป็นต้น
ประเภทรสของตัวยา
รสยา 4 รส
ฝาด เผ็ด เค็ม เปรี้ยว
รสยา 6 รส
ฝาด เผ็ด เค็ม เปรี้ยว หวาน ขม
รสยา 8 รส
ฝาด เผ็ดร้อน เค็ม เปรี้ยว หวาน ขม หอมเย็น มัน
รสยา 9 รส
ฝาด เผ็ดร้อน เค็ม เปรี้ยว หวาน ขม หอมเย็น มัน เมาเบื่อ
รสของตัวยา
มัน
แก้เส้นเอ็นพิการ แก้ปวดเมื่อย บำรุงไขข้อ ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย เช่น ถั่วเขียว ถั่วลิสง งา หัวแห้ว
รสเค็ม
แก้โรคผิวหนัง แก้เสมหะเหนียว ขับปัสสาวะ เช่น เกลือ ดินประสิว
หอมเย็น
บำรุงหัวใจ ตับ ปอด บำรุงครรภ์ แก้อ่อนเพลีย ชูกำลัง แก้กระหายน้ำ เช่น เตยหอม เกสรทั้ง ๕
รสขม
แก้ไข้ แก้กระหายน้ำ บำรุงโลหิตและน้ำดี เจริญอาหาร เช่น มะระ
รสหวาน
บำรุงกล้ามเนื้อ บำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง เจริญอาหาร แก้อ่อนเพลีย แก้ไอ แก้เสมหะแห้ง แก้หอบ เช่น น้ำอ้อย รากชะเอม
รสเปรี้ยว
แก้เสมหะเหนียว แก้ไอ แก้กระหายน้ำ แก้ท้องผูก เช่น น้ำมะนาว
รสเผ็ดร้อน
ขับลม ขับเหงื่อ ช่วยย่อย เช่น ขิง กระชาย
รสฝาด
สมานแผล แก้ท้องเสีย เช่น เปลือกลูกมังคุด
เมาเบื่อ
แก้พิษ แก้พยาธิ เช่น กัญชา ใบกระท่อม ใบลำโพง
เภสัชวัตถุ
หลักในการพิจารณาตัวยา ๕ ประการ
สี
การรู้สีของตัวยานั้นว่ามีสีอะไร แก่นฝางมีสีแดง ยาดำมีสีดำ จุนสีมีสีฟ้า กำมะถันมีสีเหลือง เป็นต้น
กลิ่น
การรู้กลิ่นของตัวยานั้นว่ามีกลิ่นเป็นอย่างไร เช่น กฤษณา กำยาน อบเชย
รูป
การรู้รูปลักษณะของตัวยานั้นว่ามีรูปร่างที่ปรากฏเป็นอย่างไร
รส
การรู้รสของตัวยานั้นว่ามีรสเป็นอย่างไร เช่น พริกไทย มีรสร้อน มะนาวมีรสเปรี้ยว
ชื่อ
การรู้ชื่อของตัวยานั้นว่าเขาสมมติชื่อเรียกไว้อย่างไร เช่น สิ่งนั้นเรียกชื่อเป็น ข่า กะทือ มะขาม
ตัวยาประจำธาตุ
ธาตุลม
เถาสะค้าน
ธาตุไฟ
รากเจตมูลเพลิง
ธาตุน้ำ
รากช้าพลู
อากาศธาตุ
เหง้าขิงแห้ง
ธาตุดิน
ดอกดีปลี
คณาเภสัช
แบ่งได้เป็น ๓ หมวด
๒. พิกัด
พิกัด คือ มีตัวยาต่างชนิดกันรวมกัน ๒ อย่างขึ้นไป
๓. มหาพิกัด
มีตัวยาต่างชนิดกันรวมกัน ๓ อย่างขึ้นไป โดยตัวยาแต่ละตัวมีสัดส่วนต่างกัน
๑. จุลพิกัด
มีตัวยาชนิดเดียวกันรวมกัน ๒ อย่าง
เช่น
กะเพราทั้ง ๒ = กะเพราแดง + กะเพราขาว