Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษาที่4 ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ(urinary tractinfection UTI) -…
กรณีศึกษาที่4
ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ(urinary tractinfection UTI)
การวินิจฉัย
ตรวจพบแบคทีเรียในปัสสาวะเป็นจำนวนมาก จึงสงสัยว่ามีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและไปพบแพทย์ แพทย์อาจทำการตรวจปัจสาวะเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการติดเชื้อและอาจส่งเพื่อการเพาะเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุเพื่อช่วยในการพิจารณาให้ยาปฎิชีวนะที่เหมาะสม
อาการและอาการแสดง
มีการขับถ่ายปัสสาวะต่อวันเป็นจำนวนมากขับถ่ายปัสสาวะทุกๆครึ่งชั่วโมงมีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด ปวดบั้นเอว และต้นขา
การประเมินภาวะสุขภาพ
3.ค้นหาปัจจัยเสี่ยง และปัจจัยที่เป็นเหตุให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการขับถ่ายปัสสาวะ
4.ประเมิลผลกระทบของปัญหาจากการขับถ่ายทั้งสุขภาพร่างกาย จิตใจ และสังคม
การตรวจร่างกาย
Abdomen:mild tenderness at LLQ,mild costovertebral angle tenderness at left side
การตรวจทางห้องปฎิบัติการ
Urine Analysis,WBC10-20cells/HPF
Squamous epithelial cell 1-2 cells/HPF
Bacteria numerous
2.ซักประวัติการดูแลตนเองและความรู้ที่เกี่ยวกับการขับถ่ายปัสสาวะ
1.ซักประวัติเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการถ่ายปัสสาวะผิดปกติลักษณะของปัสสาวะที่ออกมา การรับประทานอาหาร และการรับประทานน้ำของผู้ป่วย
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.มีภาวะติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะเนื่องจากมีการกลั้นปัสสาวะเป็นเวลา
ข้อมูลสนับสนุน:s:ผู้ป่วยบอกว่ามีอาการปัสสาวะบ่อยบางครั้งมีอาการปัสสาวะไม่สุด ไม่ปวดไม่แสบไม่ขัด ปัสสาวะสีเหลืองใสผู้ป่วยต้องยืนกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน
o:mild tenderness at LLQ, mild costovertebral angle tenderness at left side ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการUrine Analysis, WBC 10-20 cells/HPF Squamous epithelial cell 1-2 cells/HPF Bacteria numerous
วัตถุประสงค์:เพื่อลดภาวะติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
กิจกรรมการพยาบาล:1.บรรเทาความเจ็บปวดและดูแลความไม่สุขสบายของผู้ป่วย
2.ดูแลให้ได้รับสารน้ำหรือแนะนำการดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ2-3L/day
3.แนะนำการไม่กลั้นปัสสาวะะและการดูแลความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ไปทวารหนักไม่ย้อนกลับและการสวมใส่กางเกงโปร่งสบาย ไม่อับชื้น
2.เสี่ยงต่อการกลับมาเป็นซ้ำเนื่องจากผู้ป่วยกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานจากการขายของ
ข้อมูลสนับสนุน:s:ผู้ป่วยบอกว่ามีอาชีพค้าขายต้องขายของเป็นเวลานาน และจำเป็นต้องยกของหนักทุกวันผู้ป่วยจะปัสสาวะทุกครึ่งชั่วโมง อีกทั้งมีอาการปวดบั้นเอวต้นขาร่วมด้วย
o:ผู้ป่วยมีสีหน้าวิตกกังวล
วัตถุประสงค์:เพื่อให้ผู้ป่วยหายจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
กิจกรรมการพยาบาล:1.ฝึกผู้ป่วยให้ขับถ่ายปัสสาวะเป็นเวลาโดยกระตุ้นให้ขับถ่ายปัสสาวะตามระยะเวลาที่กำหนดเพื่อฝึกการควบคุมการกลั้นปัสสาวะเริ่มจากเวลาที่สั้น เช่น ทุก15นาที แล้วเลื่อนเวลาให้ห่างออกไป30นาที1ชั่วโมง2ชั่วโมงจนถึง4ชั่วโมง
2.อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าถ้ากลั้นปัสสาวะจะทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะซ้ำ
3.ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลและรำคาญเนื่องจากปัสสาวะบ่อย
ข้อมูลสนับสนุน:s:-
o:ผู้ป่วยมีสีหน้าวิตกกังวล
วัตถุประสงค์:ลดความวิตกกังวล
กิจกรรมการพยาบาล:1.สร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้ป่วยและครอบครัว
2.อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจเกี่ยวกับพยาธิของโรค
3.ให้ความเป็นกันเอง แสดงถึงคนเห็นอกเห็นใจให้กำลังใจและดูแลอย่างใกล้ชิด
4.ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างถูกวิธี
พยาธิสภาพของโรค
พยาธิกำเนิดของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเริ่มจากเชื้อที่คาดว่าเป็นสาเหตุซึ่งอาจมาจากลำไส้หรือช่องคลอดมา colonizeบริเวณperiurethral mucosa และเคลื่อนที่จากท่อทางเดินปัสสาวะมายังกระเพาะปัสสาวะโดยเชื้อที่เป็นเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบคือ Escherichia coli (E.coli)ซึ่งพบประมาณร้อยละ70-95เมื่อเกิดการติดเชื้อขึ้นทำให้เกิดการอักเสบที่กระเพาะปัสสาวะ
การรักษา
กำจัดเชื้อก่อโรคออกจากระบบทางเดินปัสสาวะ ป้องกันการเกิดภาวะลุกลามเป็นการติดเชื้อ และป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ ควรได้รับการรักษาโดยให้ยาปฎิชีวนะเพื่อรักษาและกำจัดเชื้อออกจากทางเดินปัสสาวะ
ดื่มน้ำวันละ2-3L/day
ไม่กลั้นปัสสาวะ และทำความสะอาดอวัยเพศให้สะอาดและถูกวิธี
อ้างอิง
พรศิริ พันธสี.(2553)ตัวอย่างการวินิจฉัย การวางแผนและการประเมินผลการพยาบาลของการทำงานของระบบการขับถ่ายปัสสาวะและการปรับตัวและการทนทานต่อความเครียด:กระบวนการพยาบาล&แบบแผนสุขภาพ:การประยุกต์ใช้ทางคลีนิก(หน้า178-184)(หน้า273)
รองศาสตราจารย์สมพร ชินโนรส(2553)ตัวอย่างการเกิดพยาธิของโรค การวินิจฉัยโรค การประเมินสุขภาพ ของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ(หน้า369-375)
สาเหตุและปัจจัยในการเกิดโรค
สาเหตุ:มีการเพิ่มจำนวนของเชื้อแบคทีเรียจำนวนมาก เพราะผู้ป่วยชอบกลั้นปัสสาวะไว้เป็นเวลานานและติดเชื้อจากภายนอกของอวัยวะ เกิดการอับชื้นและทำความสะอาดไม่ทั่วถึงร่วมด้วย
ปัจจัย:มีการไหลของปัสสาวะไม่สุดและกลั้นปัสสาวะจึงทำให้เชื้อแบคทีเรียที่ขับออกมาตกค้างปนเปื้อนในร่างกาย