Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สถานการณ์ที่ 2, ยา Dopamine, ข้อวินิจฉัย : เสี่ยงต่อพัฒนาการล่าช้า, ยา…
สถานการณ์ที่ 2
คำสำคัญ
- Severe central cyanosis
คือ อาการตัวเขียว แบบรุนแรงที่พบได้บริเวณเยื่อบุช่องปาก เกิดได้ในกรณีที่มีภาวะหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิดชนิดเขียว ประเภท Tetralogy of Fallot (TOF) หากมีภาวะ Pulmonic stenosis มาก จะพบอาการเขียวได้ตั้งแต่แรกคลอด
- Apex beat at 5th left intercostal space(ICS) lateral to midclavicular line (MCL)
คือ ตำแหน่งของหัวใจอยู่ที่ ด้านซ้ายของ intercostal space ที่5 ด้านข้าง midclavicular line ซึ่งบ่งบอกว่ามีภาวะหัวใจโต ตำแหน่งปกติของ apex beat คือ ICS 5 ตัดกับ MCL
- Normal breath sound คือเสียงหายใจเข้าออกของคนปกติ
- No adventitious sound คือ ไม่พบเสียงหายใจที่ผิดปกติอื่นๆ
- Patent ducts arteriosus (PDA)
เป็นโรคหัใจแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว(Acyanotic congenital heart disease) หรือกลุ่มที่มีกาไหลของเลือดลัดวงจรจากซ้ายไปขวา(Left to right shunt) เป็นความผิดปกติที่เส้นเลือดductus arteriosus ซึ่งอยู่ระหว่างaorta และ pulmonary artery ยังเปิดอยู่หรือปิดไม่สนิทมักพบในเด็กที่คลอดก่อนกำหนด
- Tetralogy of Fallon (TOF)
เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดชนิดเขียว (Cyanotic congenital heart disease) พบมากที่สุดในต่างประเทศและประเทศไทย และอยู่ในกลุ่มโรคหัวใจชนิดเขียว ที่มีปริมาณเลือดไปปอดน้อยกว่าปกติ (Decreased pulmonary blood flow ) ซึ่งประกอบด้วยความผิดปกติ 4 อย่างประกอบด้วย
- มีการหนาตัวของเวนตริเคิลขวา (right ventricular hypertrophy)
- ตำแหน่งของหลอดเลือดแดงเอออร์ติคเลื่อนไปทางขวา (overriding aorta)
- ผนังระหว่างเวนตริเคิลมีรูรั่ว Ventricular septal defect NSD) ผนังระหว่างเวนตริเคิลมีรูรั่ว
- มีการตีบ หรือการอุดกั้นของทางออก ของเวนตริเคิลขวาซึ่งพบบ่อยที่สุดคือ การตีบที่ลิ้นพัลโมนารี (putmonic stenosis) หรือการหดเกร็งของเนื้อเยื่อ Infundibulurn บริเวณใต้ลิ้นพัลโมนารี (Infundibular stenosis)
- Prostaglandins E1
เพื่อป้องกันไม่ให้ PDA ปิดจะช่วยให้ทารกมีชีวิตอยู่ได้ระยะหนึ่งแล้วจึงผ่าตัด
- dopamine
เป็นprecursor ของ norepinephrine เป็นยาที่กระตุ้นให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวมากขึ้น โดยกระตุ้นการหลั่ง norepinephrine จากปลายประสาท ที่กล้ามเนื้อหัวใจและ จากการกระตุ้น Beta-1 Receptor จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวแรงขึ้น ชีพจรเร็วขึ้น และหลอดเลือดที่เลี้ยงกล้ามเนื้อขยายตัว แต่การกระตุ้นที่ Beta-1 receptor จะทำให้หลอดเลือดหดตัวเพิ่มขึ้น peripheral resistance ทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ดังนั้น อาจจะพบภาวะความดันโลหิตสูง ปัสสาวะออกมาก การเกิด Vasoconstriction มากขึ้นทำให้central blood volume เพิ่มมากขึ้น
- Meropenem
เป็นยาในกลุ่มคาร์บาพีเนม (carbapenem) มีฤทธิ์ยับยั้งการสังคราะห์ผนังเซลล์ โดยตัวยาจะเข้าไปในผนังเซลล์ในแบคทีเรียกลุ่มแกรมบวก และแบคทีเรียกลุ่มแกรมลบ เพื่อจับกับ penicillin-binding protein (PBPs)เป็น ยาผงสำหรับฉีด ประกอบด้วยเมโรพีเนม ขนาด 500 และขนาด 1000 มิลลิกรัม
-
ยา Dopamine
ยา Dopamine (โดปามีน) เป็นหนึ่งในยาที่สามารถใช้รักษาภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure) โดยยาจะเร่งการทำงานของหัวใจ ช่วยให้ร่างกายกำจัดน้ำส่วนเกินที่เป็นผลจากความอ่อนแอของหัวใจ และบรรเทาอาการความดันโลหิตต่ำในผู้ป่วยหัวใจวายได้
นอกจากนี้ ยา Dopamine ยังเพิ่มการสร้างปัสสาวะของร่างกาย ช่วยให้ร่างกายสามารถกำจัดน้ำส่วนเกินที่อยู่ในปอด แขน และขาได้ ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น เนื่องจากน้ำส่วนเกินนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการของภาวะหัวใจล้มเหลว
จึงต้องให้
ยา Furosemide (Lasix)
เป็นยาในกลุ่มยาขับปัสสาวะ กลไกการออกฤทธิ์ของยา คือ ออกฤทธิ์ยับยั้งการดูดกลับของโซเดียมและคลอไรด์ที่บริเวณลูปออฟเฮนเล (Loop of Henle) ส่วนขาขึ้น (Loop of henle เป็นท่อยาวที่เป็นทางผ่านของปัสสาวะในหน่วยไต มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเกิดการดูดกลับและขับออกของสารในปัสสาวะเมื่อปัสสาวะเดินทางผ่านท่อนี้) เพิ่มการขับออกของโพแทสเซียมและแอมโมเนีย ลดการขับออกของกรดยูริก เพิ่มการทำงานของเรนนิน (Renin) นอร์อีพิเนปฟรีน (Norepinephrine) และ อาร์จีนิน-วาโซเพรสซิน (argenine-vasopressin) (ฮอรโมนทั้งสามชนิดนี้ในระบบ Renin-Angiotensin-Aldosterone system ของร่างกาย ทั้งสามเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความดันโลหิต ของเหลว และสมดุลอิเล็กโทรไลต์ โดยฮอร์โมนทั้งสามจะถูกกระตุ้นให้ทำงานเมื่อร่างกายมีความดันโลหิตต่ำ เมื่อกระตุ้นแล้วร่างกายจะถูกตอบสนองผ่านกลไกที่ไต ต่อมหมวกไต ต่อมใต้สมอง หลอดเลือด เพื่อให้ความดันร่างกายกลับเข้าสู่ระดับปกติ) ในกระแสเลือด ซึ่งเกี่ยวข้องกับการขับออกของปัสสาวะ
-
-
-
ข้อควรระวัง : หลังละลายแล้วคงตัว 24 ชม. อุณหภูมิห้อง ไม่ควรใช้หากยาเปลี่ยนสีเหลืองเป็น สีน้ำตาลเข้ม ปรับขนาดยาครั้งละ 1-10 mcg/kg/min ทุก 10-30 นาที
-
ยา Prostaglandins
ยาที่ช่วยชลอการปิดของหลอดเลือดแดง ductus arteriosus ในกลุ่มโรคที่อาศัย ductus arteriosus เป็นหลอดเลือดเลี้ยงชีพ ได้แก่ prostaglandin E1 (PGE1) การใช้ยาในการควบคุมอาการ ทำให้หัวใจทำงานดีขึ้น ผู้ป่วยสบายขึ้น เหนื่อยน้อยลงได้ แต่ไม่ได้ทำให้โรคหรือความผิดปกตินั้นหาย ช่วยชลอเวลาในการผ่าตัด
-
-
-
-
-
ยา Meropenem
เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มคาร์บาพีเนม มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย ใช้รักษาหรือป้องกันโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย โดย กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ เมโรพีเนม เป็นยาในกลุ่มคาร์บาพีเนม (carbapenem) มีฤทธิ์ยับยั้งการสังคราะห์ผนังเซลล์ โดยตัวยาจะเข้าไปในผนังเซลล์ในแบคทีเรียกลุ่มแกรมบวก และแบคทีเรียกลุ่มแกรมลบ เพื่อจับกับ penicillin-binding protein (PBPs) โดยสามารถจับกับ PBPs 2, 3 และ 4 ของ E.coli และ P. aeruginosaและ PBPs 1, 2 และ 4 ของเชื้อ S.aureusความเข้มข้นของยาที่มีประสิทธิผลในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียจะสูงกว่าประสิทธิผลในการยับยั้งเชื้อแบคที่เรียที่ 1 ถึง 2 เท่า
-
-
-
-
-
บรรณานุกรม
- วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์, สมสิริ รุ่งอมรรัตน์ และ สุดาภรณ์ พยัคฒเรือง. (2559). การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีความเสี่ยงสูง. กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
- ศรีสมบูรณ์ มุสิกสุคนธ์, ฟองคำ ติลกสกุลชัย, วิไล เลิศธรรมเทวี, อัจฉรา เปรื่องเวทย์, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, และสุดาภรณ์ พยัคฆเรือง. (2555). ตำราการพยาบาลเด็ก เล่ม 2. กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
- คณะอนุกรรมการกุมารเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. (2561). แนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย และรักษาผู้ป่วยเด็กติดเชื้อ ในกระแสเลือดแบบรุนแรง และแบบที่มีภาวะช็อก. สืบค้น 15 สิงหาคม 2563, จาก http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20190417145929.pdf