Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
9.2 การติดเชื้อที่มาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ - Coggle Diagram
9.2 การติดเชื้อที่มาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (sexually transmitted infections: STIs) หมายถึง โรคที่ติดต่อจากคนหนึ่งไปยัง อีกคนหนึ่งผ่านการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรค หรือผู้ที่ติดเชื้อไม่ว่าจะเป็นทางปาก ทางช่องคลอด หรือทางทวารหนัก นอกจากนี้โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิดยังสามารถแพร่กระจายเชื้อจากสตรีตั้งครรภ์ไปสู่ ทารกได้
การตกขาวผิดปกติ
1.1 การตกขาวจากการติดเชื้อรา (Vulvovaginal candidiasis)
ปัจจัยและปัจจัยเสี่ยง
การรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษาบางชนิดอย่างต่อเนื่อง
การได้รับฮอร์โมนสเตียรอยด์ และได้รับยากดภูมิต้านทานทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง
การรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดที่มีปริมาณฮอร์โมนมาก (high dose)เป็นต้น
อาการและอาการแสดง
มีอาการคันและระคายเคืองมากในช่องคลอดและปากช่องคลอด ปากช่องคลอดเป็นผื่นแดง ช่องคลอด อักเสบ และบวมแดงแต่ปากมดลูกปกติ ตกขาวมีลักษณะสีขาวขุ่น
อาจมีอาการเจ็บขณะร่วมเพศ (dyspareunia) มีอาการปัสสาวะลำบาก และแสบขัดตอนสุด (external dysuria)
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
มีความระคายเคือง คัน ช่องคลอดมากขึ้น การติดเชื้อราในช่องคลอดทั้งแบบไม่มีอาการและมีอาการ ไม่มีผลเสียต่อการตั้งครรภ์
ต่อทารก
ทารกที่คลอดทางช่องคลอดจากมารดาที่มีการติดเชื้อราในช่องคลอด จะเป็นเชื้อราในช่องปาก (oral thrush)
การรักษา
ใช้ยารักษาภายนอกเฉพาะที่ ซึ่งไม่มีผลเสียทั้งต่อมารดาและทารกในครรภ์ ได้แก่ 2% Miconazole cream 5 กรัม ทาช่องคลอด 7 วัน หรือ Miconazole 100 มิลลิกรัม 1 เม็ด เหน็บช่องคลอดก่อนนอนเป็นเวลา 7 วัน หรือ Clotrimazole 100 มิลลิกรัม 1 เม็ด เหน็บช่องคลอดก่อนนอนเป็นเวลา 6 วัน หรือ 1% Clotrimazole cream 5 กรัม ทางช่องคลอด 6 วัน
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์ เข้าใจสาเหตุของการติดเชื้อ และการดูแลตนเอง
แนะนำการใช้ยาทา และยาเหน็บช่องคลอดตามแพทย์สั่ง
การทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และการทำความสะอาดชุดชั้นในต้องซักให้สะอาด
ระยะคลอด
สามารถให้คลอดทางช่องคลอดได้ตามปกติ
ระดับหลังคลอด
การดูแลมารดาหลังคลอดเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
เน้นการดูแลความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาดและแหง้เสมอ
ทารกแรกเกิดอาจมีการติดเชื้อในช่องปาก ซึ่งจะพบมีฝ้าขาวในช่องปาก ให้ปรึกษากุมารแพทย์เพื่อการ ดูแลทารกต่อไป
เกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงขณะตั้งครรภ์ ทำให้เนื้อเยื่อและผิวหนังอ่อนนุ่มลง บอบ บางมากขึ้น เกิดจากเชื้อรากลุ่ม candida albicans ซึ่งมีระยะฟักตัว 1-4 วัน
1.2 การตกขาวจากการติดเชื้อพยาธิ (vaginal trichomoniasis)
การตกขาวจากการติดเชื้อพยาธิ หรือเชื้อโปรโตซัวชื่อ trichomonas vaginalis ซึ่งเป็นพยาธิที่ไม่ต้องการ ออกซิเจน เจริญเติบโตได้ดีในสภาวะที่เป็นด่าง pH ประมาณ 5.8-7 การติดต่อมีได้ 2 ทางคือ ทางเพศสัมพันธ์ และอวัยวะเพศสัมผัสเชื้อ โดยตรง มีระยะฟักตัว 5-28 วัน
อาการและอาการแสดง
ลักษณะของตกขาวมีสีขาวปนเทา หรือสีเหลืองเขียว ตกขาวเป็นฟอง (foamy discharge) มีกลิ่นเหม็น
2.มีอาการระคายเคืองที่ปากช่องคลอด ในช่องคลอด ปากช่องคลอดบวมแดง และอาจทำให้ปากมดลูกอักเสบ มีจุดเลือดออกเป็นหย่อม ๆ (strawberry spot หรือ flea bitten cervix)
อาจมีอาการปัสสาวะแสบขัดหรือบ่อย ปวดแสบปวดร้อนบริเวณต้นขาด้านใน เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด มีความสัมพันธ์กับภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด การเจ็บครรภ์คลอดกอ่น กำหนด
ทารก
ทารกคลอดก่อนกำหนด และทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อย
การรักษา
ยาที่ใช้ได้ผลดีที่สุดต่อการติดเชื้อพยาธิ คือ metronidazole แต่ห้ามใช้ในไตรมาสแรก เพราะอาจเป็น teratogen ดังนั้นยาที่สามารถใช้ในไตรมาสแรกได้อย่างปลอดภัยคือ clotriamazole 100 มิลลิกรัม สอดเข้าช่อง คลอดก่อนนอนเป็นเวลา 6 วัน
หลังไตรมาสแรกไปแล้ว จะรักษาด้วย metronidazole โดยให้รับประทาน 2 กรัม ครั้งเดียว
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้คำแนะนำและการดูแลเหมือนสตรีตั้งครรภ์ทั่วไป
แนะนำการเหน็บยา หรือการรับประทานยาตามแผนการรักษาอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ
แนะนำให้สามีมารับการรักษาพร้อมกัน
ระยะคลอด
ให้การพยาบาลผู้คลอดในระยะคลอด โดยให้คลอดทางช่อคลอดได้ตามปกติ
ระยะหลังคลอด
ให้การพยาบาลเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
แนะนำให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
หากอาการยังไม่ดีขึ้น ให้พบแพทย์และดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกเสมอ
วินิจฉัย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วย wet mount smear จะพบเม็ดเลือดขาวจำนวนมาก อาจพบตัวเชื้อ พยาธิเคลื่อนไหวไปมา ตกขาวมีฤทธิ์เป็นด่าง ค่า pH มากกว่า 4.5
1.3 การตกขาวจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (bacterial vaginosis)
แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้ช่องคลอดอักเสบมีหลายชนิด และเป็น แบคทีเรียที่ไม่ต้องใช้ออกซิเจน (anaerobes) แต่แบคทีเรียที่ทำให้ช่องคลอดอักเสบมากที่สุดชื่อ gardnerella vaginalis ติดต่อทางการมีเพศสัมพันธ์เป็นส่วนใหญ ่สตรีที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ก็อาจพบการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ ได้จากการใช้สบู่ หรือเจลอาบน้ำที่มีสารระคายเคือง การใช้ห่วงคุมกำเนิด การนั่งโถสุขภัณฑ์ การลงสระว่ายน้ำ
อาการและอาการแสดง
มีอาการคัน ปวดแสบปวดร้อนปากช่องคลอด ในช่องคลอด เจ็บขณะร่วมเพศ ตก ขาวสีขาว สีเทา หรือสีเหลือง ข้นเหนียว มีกลิ่นเหม็นเน่าเหมือนคาวปลา (fishy smell) โดยเฉพาะหลังการมี เพศสัมพันธ์แล้ว เนื่องจากน้ำอสุจิมีฤทธิ์เป็นด่าง ทำปฏิกิริยากับแบคทีเรียแล้วมีการปล่อยสารเคมีออกมาทำให้มี กลิ่นเหม็นเน่า
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
(chorioamnionitis) ปีกมดลูกอักเสบ (salpingitis) และเกิดการ อักเสบในอุ้งเชิงกราน (pelvic inflammatory disease: PID
อาจทำให้เกิดการแท้งติดเชื้อ (septic abortion) ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด และเจ็บครรภ์คลอดก่อน กำหนด
มารดาหลังคลอดอาจมีไข้ ปวดท้องมากและมีอาการแสดงของเยื่อบุมดลูกอักเสบ (endometritis)
ทารก
ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย และทารกคลอดก่อนกำหนด ซึ่งอาจตรวจพบว่ามีเชื้อแบคทีเรียในหลอดลม ทำให้มีภาวะหายใจลำบาก มีแบคทีเรียในเลือด ซึ่งต้องรีบรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ เป็นเวลา 72 ชั่วโมง
การรักษา
ให้ยา metronidazole 250 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง หรืออาจให้ metronidazole 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 7-10 วัน
ให้ ampicillin 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้คำแนะนำและการดูแลเหมือนสตรีตั้งครรภ์ทั่วไป
ระยะคลอด
ผู้คลอดสามารถคลอดทางช่องคลอดได้ตามปกติ โดยให้การพยาบาลเหมือนผู้คลอดทั่วไป
ระยะหลังคลอด
ให้การดูแลเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
วินิจฉัย
การตรวจทางช่องคลอดและการทำ pap smear จะพบเชื้อแบคทีเรีย ตรวจความเป็น กรด-ด่างในช่องคลอด จะได้ผลมีฤทธิ์เป็นด่าง ค่า pH มากกว่า 4.5
การตกขาว (Leukorrhea)
มีของเหลวไหลออกทางช่องคลอดซึ่งไม่ใช่เลือด เกิดจากการ เปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนของร่างกายต่อเยื่อบุช่องคลอด และ lactobacillus ซึ่งเป็นแบคทีเรียดีในช่อง คลอดจะเปลี่ยนสารไกลโคเจนจากเยื่อบุช่องคลอดให้เป็นกรดแลคติก และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ทำให้สภาพใน ช่องคลอดมีฤทธิ์เป็นกรด ค่า pH ต่ำกว่า 4.5 ช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียอื่นเจริญเติบโต
การตกขาวผิดปกติ
ภาวะที่มีการตกขาวเพิ่มมากกว่าปกติ ร่วมกับมีอาการคัน หรือปวดแสบร้อน ตก ขาวมีกลิ่นเหม็น และอาการจะไม่หายไปเอง
ซิฟิลิส (Syphilis)
ความหมาย
โรคซิฟิลิส (syphilis) เกิดจากการติดเชื้อ Treponema pallidum (T. Pallidum) มีระยะฟักตัวประมาณ 1090 วัน โดยเฉลี่ยประมาณ 3 สัปดาห์ เชื้อ T. Pallidum สามารถติดจากคนสู่คนโดยการสัมผัสโดยตรงกับแผลหรือ เยื่อบุที่มีรอยถลอกเล็ก ๆ ที่ตาเปล่ามองไม่เห็น และสตรีตั้งครรภ์สามารถผ่านเชื้อนี้ไปให้ทารกที่อยู่ในครรภ์ได้
พยาธิภาพ
ภายหลังได้รับเชื้อสู่ร่างกายทางผิวหนังที่เป็นแผลถลอก หรือทางเยื่อบุต่าง ๆ ของร่างกาย ประมาณ 10-14 วัน ร่างกายจะสร้าง antibody ต่อเชื้อชนิด IgM และ IgG ขึ้นมา ขณะที่ร่างกายกำลังสร้าง antibody เชื้อจะแบ่งตัว ทำให้บริเวณผิวหนังหรือบริเวณเนื้อเยื่อที่เชื้อผ่านเข้าไปจะเกิดการระคายเคือง เกิดปฏิกิริยา lymphocyte และ plasma cell reaction มาล้อมรอบเนื้อเยื่อที่มีการอักเสบทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตัวและบวม
ส่งผลให้เนื้อเยื่อที่มีการอักเสบมีเลือดมาเลี้ยงลดลง เกิด การขาดเลือดกลายเป็นเนื้อตาย และกลายเป็นแผลที่มีลักษณะเป็นตุ่มแข็ง กดไม่เจ็บ ส่วนเชื้อที่เข้าสู่กระแสเลือด จะทำให้หลอดเลือดส่วนปลายเกิดการอักเสบส่งผลให้เกิดผื่นทั่วร่างกาย
อาการและอาการแสดง
ซิฟิลิสระยะแรก หรือระยะที่หนึ่ง (primary stage)
หลังจากได้รับเชื้อ 10-90 วัน หรือประมาณ 3 สัปดาห์ จะเกิดแผล กลม นิ่ม ขอบนูนแข็ง ไม่เจ็บ เรียว่าแผล chancre บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกหรือในช่อง
คลอดและปากมดลูก
ซิฟิลิสระยะที่สอง (secondary stage)
ขณะที่แผลกำลังจะหาย หรือหลังจากแผลหายจะพบผื่นกระจาย ทั่วร่างกาย ฝ่ามือฝ่าเท้า เยื่อบุรวมทั้งอวัยวะสืบพันธุ์ บมีอาการ ไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ ผมร่วงเป็นหย่อมๆ ปวดศีรษะ น้ำหนักลด ซึ่งอาการในระยะนี้จะหายได้เองแม้ไม่ไดร้บั การรักษา จากนั้นประมาณ 3-12 สัปดาห์จะเข้าสู่ระยะแฝง
ระยะแฝง (latent syphilis)
ระยะนี้จะไม่มีอาการใด ๆ แต่กระบวนการติดเชื้อยังดำเนินอยู่และสามารถ แพร่กระจายเชื้อได้
ซิฟิลิสระยะที่ 3 หรือระยะท้ายของโรคซิฟิลิส (tertiary syphilis)
ระยะนี้เชื้อจะเข้าไปทำลายระบบ หัวใจและหลอดเลือด ทำให้เกิด aortic aneurysm และ aortic insufficiency ถ้าเชื้อเข้าสู่ระบบประสาทจะเกิด ผิวหนังอักเสบ กระดูกผุ เยื่อบุสมองอักเสบ และเสียชีวิตในที่สุด
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
ทำให้ผิวหนังและเนื้อเยื่ออักเสบ คลอดก่อนกำหนด และแท้งบุตร
ทารก
ทารกคลอดก่อนกำหนด ตายคลอด ทารกแรกเกิดติดเชื้อซิฟิลิส (neonatal syphilis)
แนวทางการรักษา
ให้ยา Penicillin G ซึ่งเป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาซิฟิลิสในสตรีตั้งครรภ์ และป้องกันการติดเชื้อ ของทารก
การรักษาในระยะ primary, secondary และ early latent syphilis รักษาด้วย Benzathine Penicillin G Sodium 2.4 ล้านยูนิต ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะโพกครั้งเดียว
การรักษาในระยะ late latent syphilis จะรักษาด้วย Benzathine Penicillin G Sodium 2.4 ล้านยูนิต ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะพก 3 สัปดาห์ติดต่อกัน และภายหลังการรักษาควรตรวจ VDRL title เมื่อครบ 6 และ 12 เดือน หาก title ลดลง 4 เท่าหลังการรักษา ถือว่าตอบสนองการรักษาดี
หนองใน (Gonorrhea)
หนองใน (gonorrhea) เกิดจากการติดเชื้อ Neiseria gonorrheae หรือ gonococcus (GC) ซึ่งเป็นแบคทีเรีย ทรงกลมอยู่เป็นคู่ (gram negative diplococci) ลักษณะคล้ายเม็ดถั่ว เชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือกต่างๆ ของอวัยวะสืบพันธุ์จากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ
พยาธิสภาพ
เมื่อเชื้อ Neiseria gonorrheae เข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปเกาะติดกับเซลล์เยื่อบุและเซลล์ขับเมือก โดยจะ พยายามผ่านเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเข้าไปเพิ่มจำนวนเซลล์ในชั้น subepithelial tissue จากนั้นเชื้อ Neiseria gonorrheae จะทำปฏิกิริยากับภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้เกิดสารเคมีที่เป็นพิษต่อเซลล์และเนื้อเยื่อ ส่งผลให้ เนื้อเยื่ออักเสบเป็นหนอง
อาการและอาการแสดง
ตกขาวเป็นหนองข้นปริมาณมาก อาจพบอาการกดเจ็บบริเวณ ต่อมบาร์โธลิน (bartholin’s gland)ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกระปิดกระปรอย เป็นหนองข้น และปัสสาวะเป็นเลือด
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
ไม่มีอาการ มีบุตรยาก กรณีที่มีอาการขณะตั้งครรภ์จะทำให้ถุงน้ำคร่ำอักเสบและติดเชื้อ ถุงน้ำคร่ำแตก ก่อนกำหนด แท้งบุตร และการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ทารก
ทำให้เกิดตาอักเสบ (gonococcal ophalmia neonatorum) และอาจเป็นสาเหตุให้ตาบอดได้ หากทารกแรกเกิดกลืนหรือสำลักน้ำคร่ำที่มีเชื้อหนองในเข้าไปจะ ทำให้ช่องปากอักเสบ หูอักเสบ กระเพาะอาหารอักเสบได้
การรักษา
ตรวจคัดกรองขณะตั้งครรภ์ตามปกติ (VDRL)
หากพบว่ามีเชื้อให้ยา ceftriaxone, azithromycin, penicillin ได้ทั้งรับประทานและฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ทั้งนี้ควรระวังเรื่องของการเพิ่มของ blood level
ทารกแรกเกิดทุกรายควรได้รับยาป้ายตาคือ 1% tetracycline ointment หรือ 0.5% erythromycin ointment หรือ 1% Silver nitrate (AgNO3) หยอดตาตาทารก หลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตา
ทารกที่พบว่ามีการติดเชื้อหนองในควรได้รับยาปฏิชีวนะ ceftriaxone ตามแผนการรักษาของกุมารแพทย
การติดเชื้อเรมิ (Herpes simplex)
การติดเชื้อเริม (herpes simplex) โรคนี้เป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของแผลอวัยวะเพศ สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัสคอื Herpes simplex virus (HSV) เข้าสู่ร่างกายโดยผ่านทางเยื่อบุ หรือแผลที่ผิวหนัง เชื้อแบ่งเป็น HSV–1และ HSV–2 เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะไปแฝงตัวอยู่ที่ปมประสาทรับความรู้สึก เชื้อนี้สามารถถูกกระตุ้นให้กลับมาที่ ผิวหนังได้อีกเป็นครั้งคราว ทำให้เกิดโรคซ้ำได้เรื่อย ๆ
พยาธิสภาพ
ภายหลังจากเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ผิวหนังเป็นตุ่มน้ำใส เล็ก ๆจำนวนมาก เมื่อตุ่มน้ำแตก หนังกำพร้าจะ หลุดพร้อมกับทำให้เกิดแผลตื้น ทำให้รู้สึกปวดแสบปวดร้อนที่แผล ขณะเดียวกันเชื้อก็จะเดินทางไปแฝงตัวท่ปีม ประสาท และกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ
อาการและอาการแสดง
อาการของการติดเชื้อปฐมภูมิมักเกิด 3-7 วันหลังการสัมผัสเชื้อ โดยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน และคัน บริเวณที่สัมผัสโรค จากนั้นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใสๆ แล้วแตกกลายเป็นแผลอยู่ 2 สัปดาห์ ก่อนจะตำสะเก็ด
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อครั้งแรกขณะตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้ง การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ส่วนการ ติดเชื้อซ้ำขณะตั้งครภร์มีผลกระทบค่อนข้างน้อย
ทารก
ทารกมีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ทารกคลอดก่อนกำหนด หากทารกมีการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ จะทำ ให้เกิดความพิการแต่กำเนิดสูง ส่งผลให้ทารกเสียชีวิตได้ และหากให้คลอดทางช่องคลอดทารกอาจติดเชื้อขณะ คลอดได้
การรักษา
ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษา herpes simplex ให้หายขาดได้ การรักษาจึงเป็นการรักษาแบบ ประคับประคองตามอาการ
ให้ Acyclovir 200 mg รับประทานวันละ 5 ครั้ง นาน 5-7 วัน แต่หากมีอาการของระบบอื่นที่รุนแรงร่วม ด้วยอาจให้ Acyclovir 5 mg/kg ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ทุก 8 ชั่วโมง นาน 5-7 วัน
หูดหงอนไก่ (Condyloma acuminate)
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
หากเกิดรอยโรคใหญ่อาจขัดขวางช่องทางคลอด หรือทำให้เกิดการตกเลือดหลังคลอด และมารดาหลัง คลอดมีโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูกได้
ทารก
ทารกอาจติดเชื้อหูดหงอนไก่ระหว่างตั้งครรภ์และขณะคลอด บางรายอาจเกิด laryngeal papillomatosis ทำให้เกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจส่วนบน เสียงเปลี่ยน (voice change) เสียงร้องไห้ แหบผิดปกติ (abnormal cry)
อาการและอาการแสดง
มีรอยโรคเป็นติ่งเนื้อสีชมพูคล้ายหงอนไก่ ขนาดแตกต่างกัน มักเกิดบริเวณอับชื้น เช่น ปากช่องคลอด หรือใน ช่องคลอด เป็นต้น การติดเชื้อขณะตั้งครรภ์รอยโรคจะขยายใหญ่ มีผิวขรุยระคล้ายดอกกะหล่ำและยุ่ยมาก
การรักษา
ทาบริเวณรอยโรคด้วย 85% trichlorracetic acid หรือ bichloroacetic acid ทุก 7-10 วัน
ใช้ยาท่าร่วมกับการจี้ laser หรือ cryosurgery หรือ electrocoagulation with curettage
แนะนำการรักษาความสะอาด หลีกเลี่ยงการอับชื้นบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
หูดหงอนไก่ (Condyloma acuminate) เกิดจากการติดเชื้อ human papilloma virus (HPV) มีระยะฟักตัว นาน 2-3 เดือน ติดต่อจากการสัมผัสรอยโรคโดยเฉพาะทางเพศสัมพันธ์
การติดเชื้อเอชไอวีในสตรีตั้งครรภ์ (Human Immunodeficiency Virus [HIV] during pregnancy)
การแพร่กระจายเชื้อ
การติดเชื้อ HIV ระหว่างตั้งครรภ์ เชื้อไวรัสสามารถผ่านทางรก โดยผ่านเซลล์ trophoblast และ macrophages เข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดของทารกในครรภ์ ทำให้ทารกในครรภ์ติดเชื้อ HIV
การติดเชื้อ HIV ระหว่างคลอด การติดเชื้อในทารกเกิดขึ้นขณะคลอดหรือใกล้คลอดถึงร้อยละ 65 เนื่องจาก ระหว่างคลอดทารกจะสัมผัสกับเลือดของมารดา น้ำคร่ำ และสารคัดหลั่งในช่องคลอดของมารดา ทำให้ทารกมี โอกาสที่จะติดเชื้อ HIV จากมารดาได้สูงในระยะคลอด
การติดเชื้อ HIV ระยะหลังคลอด ภายหลังคลอดทารกจะติดเชื้อได้จากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของมารดา แต่ส่วนใหญ่มักจะติดเชื้อจากน้ำนมมารดา โดยพบอัตราการติดเชื้อในทารกที่ได้รับนมมารดาประมาณร้อยละ 7-12 ดังนั้นในประเทศที่พัฒนาแล้วจึงแนะนำให้เลี้ยงทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อด้วยนมผสมแทนนมมารดา
พยาธิสภาพ
ภายหลังการติดเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกาย เชื้อ HIV จะใช้ส่วน GP120 ที่ผิวของเชื้อ HIV จับกับ CD4 receptor ของเซลล์เม็ดเลือดขาว จากนั้นเชื้อ HIV จะเข้าไปในเซลล์เม็ดเลือดขาวเหล่านั้น แล้วใช้ enzyme reverse transcriptase สร้าง viral DNA แทรกเข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์เม็ดเลือดขาวแล้วเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดขาวที่มี เชื้อไวรัส HIV ทำให้ร่างกายมีเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ HIV จำนวนมาก ซึ่งเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ HIV จะ แตกสลายง่าย ส่งผลให้เม็ดเลือดขาวในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง
อาการและอาการแสดง
1.ระยะเริ่มแรกของการติดเชื้อ HIV
ระยะนี้เริ่มตั้งแต่ติดเชื้อ HIV จนกระทั่งร่างกายเริ่มสร้าง antibody กิน เวลาประมาณ 1-6 สัปดาห์หลังติดเชื้อ จากนั้นจะเริ่มมีไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นขึ้น ต่อมน้ำเหลืองโต บาง รายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว หรือมีฝ้าขาวในช่องปาก อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่ 1-2 สัปดาห์ แล้ว หายไปได้เอง
ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ
ระยะนี้ร่างกายจะแข็งแรงเป็นปกติเหมือนคนทั่วไป แต่หากตรวจเลือดจะพบ เชื้อ HIV และ antibody ต่อเชื้อ HIV และสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการจะนาน 5-10 ปี บางรายอาจนานมากกว่า 15 ปี
ระยะติดเชื้อที่มีอาการ
มีอุณหภูมิร่างกายสูงมากกว่า 37.80C เป็นพักๆ หรือติดต่อกันทุกวัน ท้องเดินเรื้อรัง หรืออุจจาระร่วงเรื้อรัง น้ำหนักลดเกิน 10% ของน้ำหนักตัว ต่อมน้ำเหลืองโตมากกว่า 1 แห่ง เป็นงูสวัด และพบเชื้อราในปากหรือฝ้าขาว (hairy leukoplakia) ในช่องปาก
ระยะป่วยเป็นเอดส์
ไข้ ผอม ต่อมน้ำเหลืองโตหลายแห่ง ซีด อาจพบลิ้นหรือช่อง ปากเป็นฝ้าขาวจากเชื้อรา แผลเริมเรื้อรัง ผิวหนังเป็นแผลพุพอง ระยะนี้ระบบภูมิคุ้มกันจะเสื่อมเต็มที่ ทำให้เชื้อ โรคฉวยโอกาสเข้ามาในร่างกาย ทำให้เกิดวัณโรคปอด ปอดอักเสบ สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ติดเชื้อระบบ ทางเดินอาหาร เป็นมะเร็ง
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV และมีปริมาณ CD4 ต่ำ มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อฉวยโอกาสได้ ง่ายขึ้น
ทารก
มีโอกาสที่ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ทารกมี ขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์ และทารกตายคลอด
การติดเชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus: HIV) ในสตรีตั้งครรภ์สามารถติดต่อผ่านทางเลือด ทางเพศสัมพันธ์ และจากมารดาสู่ทารก