Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและวัฒนธรรม - Coggle Diagram
ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและวัฒนธรรม
ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและวัฒนธรรมในพื้นที่ปฏิบัติการโรงเรียน
ภาษาเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนในชาติ
ภาษามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับวัฒนธรรม ภาษาเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม เราเรียกว่า “วัฒนธรรมสัญลักษณ์”
ภาษาแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางด้านวัฒนธรรมของแต่ละสังคมมาตามลาดับ
ภาษาเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้า หรือความล้าหลังของวัฒนธรรม
ภาษาเป็นเครื่องถ่ายทอดวัฒนธรรมไว้มิให้สูญหาย
ภาษาเป็นเครื่องแสดงระดับของชนชั้นหรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคม
ภาษาสะท้อนให้เห็นที่มาหรือประวัติของวัฒนธรรมในสังคม
วัฒนธรรมในการใช้ภาษาไทย
จุดมุ่งหมายในการใช้ภาษาตามแนววัฒนธรรม
ใช้ภาษาเพื่อสั่งสอน
“เป็นการกลั่นกรองความคิดและสติปัญญา อันลึกซึ้ง เฉียบแหลม แสดงถึงความเป็นอัจฉริยะของบรรพชนชาวไทยที่ถ่ายทอดวัฒนธรรมมายังลูกไทยหลานไทยจนถึงปัจจุบันและสืบต่อไปถึงอนาคต สะท้อนให้เห็นภาพสังคมไทย และอุปนิสัยใจคอของคนไทยอย่างชัดเจน”
ใช้ภาษาเพื่อสื่อสาร
ใช้ภาษาสุภาพไม่ใช้คำพูดหยาบคาย หรือใช้คำผวน ที่ทำให้ความหมาย เป็นไปในทางหยาบโลน แต่ควรใช้คำสุภาพแทน
ใช้ภาษาเสียงได้ถูกต้องชัดเจนเพื่อผลสัมฤทธิ์ในการสื่อสาร การออกเสียงผิดพลาด อาจทำให้ผู้รับสารเข้าใจผิด หรือไม่เข้าใจได้
ใช้ถ้อยคำที่สื่อความหมายได้แจ่มแจ้งชัดเจน ไม่ใช้ถ้อยคำที่มีความหมายกำกวม หรือถ้อยคำที่เป็นข้อความซึ่งมีความหมายโดยนัยไปในเชิงหยาบคาย
ใช้ภาษาได้ถูกต้องตามแบบแผนของภาษาไทย ไม่ควรใช้ภาษาที่มีลักษณะบางอย่างผิดไปจากแบบแผนที่ใช้กันโดยทั่วไป
ใช้ภาษาที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับ มรรยาทการใช้ภาษาเป็นสำคัญ นั่นคือ นอกจากใช้ภาษาสุภาพ ไม่ใช้คำที่มีความไปในเชิงหยาบคายแล้ว ยังควรระวังในการกล่าวเท็จ กล่าวเกินจริง กล่าวคำส่อเสียด เพ้อเจ้อ หรือกล่าวคำที่เป็นการทำลายประโยชน์สุขของตนและผู้อื่นอีกด้วย
ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามกาลเทศะ และเหมาะสมกับฐานะของบุคคล การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
ใช้ภาษาด้วยถ้อยคำที่เลือกเฟ้นเป็นพิเศษ ให้เหมาะกับโอกาสและ พิธีการต่าง ๆ เช่น การกล่าวคำทักทาย ขอโทษ อวยพร อำลา ฯลฯ
ใช้สำนวนให้ถูกต้องเหมาะสม คนไทยนิยมใช้ภาษาที่เป็นคติเตือนใจให้ข้อคิดด้วยถ้อยคำที่มีชั้นเชิง เป็นความเปรียบ เป็นคำกล่าวที่ดีงาม และแฝงนัยลึกซึ้ง กว้างขวาง ซึ่งแสดงถึงภูมิปัญญาของผู้คิด และความเฉลียวฉลาดที่เท่าทันกันระหว่างผู้ส่ง และผู้รับ จึงจะสื่อกันเข้าใจ
ใช้ภาษาเพื่อสร้างสรรค์
ในการสร้างสรรค์วรรณกรรม ของชาตินั้น เครื่องมือที่สำคัญคือภาษา เพราะวรรณกรรมเป็นผลิตผลของการใช้ภาษาเพื่อการสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรมประเภท วรรณคดี นิทาน เรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร บันทึก จดหมาย เพลงพื้นเมือง เพลงไทยเดิม หรือเพลงไทยสากล ฯลฯ ก็ตามภาษาเพื่อสร้างสรรค์เป็นภาษาพิเศษ คือถูกใช้เพื่อสุนทรีย์และเพื่ออารมณ์ จึงควรส่งเสริมให้เยาวชนเกิดความสนใจศึกษา จนกระทั่งเข้าใจ เข้าถึง และซาบซึ้ง ในวรรณกรรมล้ำค่าที่บรรพบุรุษสร้างสรรค์ไว้และยังมีอยู่เป็นจำนวนมากมาย ทั้งควรสนับสนุนให้เยาวชน ได้ใช้ความรู้ ความสามารถ สรรค์สร้างเพิ่มขึ้นด้วย
ภาษาเป็นวัฒนธรรม
วัฒนธรรมทางภาษา ได้แก่ เครื่องมือสื่อความหมายที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรมแก่กันและกัน
ภาษาเป็นวัฒนธรรมที่ทำให้คนในชาติรวมกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งนี้เพราะชนชาติที่ใช้ภาษาเดียวกัน มักจะมีความรู้สึกร่วมกัน มีความเห็นอกเห็นใจกัน มีวิถีชีวิตร่วมกัน
ภาษาจึงเป็นวัฒนธรรมที่อนุชนควรได้ช่วยกันรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติบ้านเมืองตลอดไป
ภาษาเป็นเครื่องบันทึกวัฒนธรรม
หน้าที่หลักของภาษา
ประการที่ 2 ใช้เป็นเครื่องมือแสดงความคิดและเหตุผล
ประการที่ 3 ใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้และความเพลิดเพลิน
ประการที่ 4 ใช้ภาษาเป็นตัวบันทึกเหตุการณ์ เรื่องราว และความคิดความเชื่อต่าง ๆ ของสังคมเอาไว้
วัฒนธรรมบางอย่างมิได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่อาศัยการบอกเล่าจดจำต่อ ๆ กันมา เช่น เพลงพื้นบ้าน เพลงกล่อมเด็ก นิทานชาวบ้าน ฯลฯ
วัฒนธรรมบางอย่างได้บันทึกไว้ เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น วรรณคดี จดหมายเหตุ ตำนาน พงศาวดาร เป็นต้น
ประการที่ 1ใช้เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารระหว่างกัน
ลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมการใช้ภาษาไทย
ภาษาไทยมีระเบียบการใช้ถ้อยคาให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคล
ภาษาไทยมีการใช้ภาษาโดยคำนึงถึงกาลเทศะและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
การใช้ภาษาต้องมีวิจารณญาณและมีความรอบคอบ
4.การใช้ภาษาต้องมีศิลปะ