Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บท 9 9.1 การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary system Infection during…
บท 9
9.1 การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
(Urinary system Infection during pregnancy)
ในระยะตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะตั้งแต่ไต ลงมาจนถึง ureter มีการขยาย ใหญ่ขึ้นซึ่งอาจทำให้มีปัสสาวะค้างอยู่นาน เป็นสาเหตุทำให้ติดเชื้อได้ง่าย มีการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ ของไต ได้แก่ GFR (Glomerrular infiltration rate ) และ ERPF (Effective Renal Plasma Flow) เพิ่มขึ้น ส่วนการขับโปรตีนเพิ่มขึ้นน้อยมาก และถือว่าผิดปกติเมื่อมีโปรตีนในปัสสาวะเกิน 300 มก. ใน 24 ชั่วโมง โรคที่ พบบ่อยของระบบทางเดินปัสสาวะในหญิงตั้งครรภ์ การติดเชื้อที่พบบ่อยที่สุดคือ โรคติดเชื้อของ ระบบทางเดินปัสสาวะที่ไม่แสดงอาการ (asymptomatic bacteriuria), กระเพาะปัสสาวะอักเสบเฉียบพลัน (acute cystitis) และกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน (acute pyelonephritis)
ชนิดของการติดเชื้อ
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะแต่ไม่แสดงอาการ (Asymptomatic bacteriuria: ASB)
เป็น การตรวจพบแบคทีเรียในปัสสาวะมากกว่า 105 colony forming unit/ml (cfu/ml) จากการเก็บปัสสาวะอย่าง สะอาด 2 ครั้งติดต่อกัน โดยไม่มีอาการแสดงของการติดเชื้อ
สตรีตั้งครรภ์ที่เป็น ASB และไม่ได้กรับการรักษาจะพัฒนาเป็น กรวยไตอักเสบ (pyelonephritis)
การติดเชื้อเฉียบพลันที่กระเพาะปัสสาวะ (Acute cystitis)
เป็นการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ ที่ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ ร่วมกับมีอาการเจ็บปวดขณะถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย ปวดปัสสาวะจนต้องรีบปัสสาะ (urgency) ปัสสาวะมีสีขุ่นหรือสีแดง (เกิดจากการมีเม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาวออกมากับปัสสาวะ) มีไข้สูง อ่อนเพลีย และปวดบริเวณท้องน้อย
การติดเชื้อเฉียบพลันที่กรวยไต (Acute pyelonephritis)
เป็นการตรวจพบแบคทีเรียในปัสสาวะ มากกว่า 105 cfu/ml ร่วมกับปัสสาวะเป็นหนอง มีไข้ หนาวสั่น และปวดบริเวณบั้นเอว
กลุ่มอาการโรคไตรั่ว หรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ (Nephrotic syndrome)
นพบโปรตีนในปัสสาวะ มากประมาณ 5 กรัมต่อวัน โปรตีนในเลือดต่ำ ไขมันในเลือดสูง และมีอาการบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ มีผลต่อการ ตั้งครรภ์คือทำให้ทารกในครรภ์น้ำหนักน้อย หรือคลอดก่อนกำหนด
ภาวะไตวาย (renal failure)
5.1 ไตวายเรื้อรัง (chronic renal failure)
มักมีสาเหตุมาจากโรคหลายอย่าง เช่น DM, SLE, glomerulonephritis ส่วนใหญ่มักจะไม่มีการตั้งครรภ์ หากตั้งครรภ์ได้ต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด ถ้าสุขภาพของ สตรีตั้งครรภ์เลวลงอาจพิจารณายุติการตั้งครรภ์
5.2 ไตวายเฉียบพลัน (acute renal failure)
มักมีสาเหตุจากการแท้งติดเชื้อ (septic abortion), preeclampsia with severe feature, hemolytic uremia syndrome ปัจจุบันสามารถดูแลภาวะนี้ได้ดี ทำให้ มารดาที่มีภาวะนี้ได้รับการดูแลและสามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้
สาเหตุ
ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ Escherichia Coli (E. Coli) ที่อยู่รอบท่อปัสสาวะ
ปัจจัยเสริม
การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนขณะตั้งครรภ์ ทำให้ท่อไตตึงตัว ทำให้การเคลื่อนไหวและการหดรัดตัวของท่อไตลดลง ประสิทธิภาพในการดูดซึมกลับลดลง ทำให้ปัสสาวะค้างอยู่ในทางเดินปัสสาวะมากขึ้น
พยาธิสรีรวิทยา
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณปากช่องคลอด หรือทวารหนักใกล้ท่อปัสสาวะ ย้อนกลับขึ้นไป (ascending infection) ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการทำงานของ ระบบทางเดินปัสสาวะขณะ ตั้งครรภ์ จากผลของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) และการขยายตัวของขนาดมดลูก เป็นปัจจัยเพิ่ม ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อระบบทางเดิน ปัสสาวะได้ ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาขณะตั้งครรภ์ของไต
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (Lower UTI)
ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบขัด กระปิดกระปรอย กลั้น ปัสสาวะไม่ได้ บางรายอาจพบปัสสาวะเป็นเลือดหรือสีน้ำล้างเนื้อ ปวดบริเวณหัวหน่าว
อาการและอาการแสดงติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน (Upper UTI)
กรวยไตอักเสบ โดยจะ พบปัสสาวะเป็นสีขุ่น หรือสีน้ำล้างเนื้อ เจ็บบริเวณชายโครง ปวดหลังบริเวณตำแหน่งของไต มีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน หากอาการรุนแรงอาจอาจช็อกและ เสียชีวิต
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะจะกระตุ้นให้มดลูกหดรัดตัว ทำให้เกิดการแท้ง การเจ็บครรภ์คลอด ก่อนกำหนด และ/หรือถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด ส่วนในรายที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดอาจเกิด septic shock
ผลต่อทารก
ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อย ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ และทารกตายคลอด
แนวทางการป้องกันและรักษา
การป้องกัน
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งหลังขับถ่าย
ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
คัดกรองการติดเชื้อ
การรักษา
รายที่มีการติดเชื้อแบบ ASB จำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษาทุกราย ห้ยาปฏิชีวนะได้แก่ ampicillin, cephalexin, amoxicillin และ nitrofurantoin
รายที่เป็นกรวยไตอักเสบเฉียบพลนั ต้องรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อใหส้ารละลายทางหลอดเลือดดำ และ ให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ พร้อมทั้งส่งตรวจ Urine culture
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินของโรค ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับสตรีตั้งครรภ์และทารก
เน้นความสำคัญของการมาตรวจครรภ์ตามนัดอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
แนะนำการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ติดตามการเปลี่ยนแปลงของโรค รวมทั้งสังเกตอาการผิดปกติ
ระยะคลอด
เน้นเรื่องการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกทุก ครั้งหลังการขับถ่าย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ การสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ
ระยะหลังคลอด
การป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
ให้แนะนำเพื่อป้องกันการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ โดยเน้นการคุมกำเนิด ในรายที่มีบุตรเพียงพอแล้วหรือเป็นโรคไตติดเรื้อรังควรคุมกำเนิดแบบถาวร