Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ - Coggle Diagram
การวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ
ความหมายของการวิเคราะห์นโยบาย
Duncan MacRae Jr.
การวิเคราะห์นโยบายใช้ความรู้จากวิชาการและวิชาชีพสาขาต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการกำหนดการประเมินผลและการผลักดันนโยบายที่จะมีผลต่อการแก้ไขปัญหาสาธารณะ ในฐานะที่การวิเคราะห์นโยบาย เป็นวิชาการประยุกต์ จุดมุ่งหมายที่แก้จริงของ MacRae คือ การแสวงหาทางเลือกที่ดีกว่าเพื่อการแก้ไขปัญหาให้สัมฤทธิผล ซึ่งครอบคุลมการถึงการผลักดันนโยบายให้ปรากฏเป็นจริงด้วย
James S. Coleman
การวิเคราะห์นโยบายไม่สามารถจะท าให้ประสบผลสำเร็จได้ภายในขอบเขตของสังคมศาสตร์ดั้งเดิม ดังนั้น ทฤษฎีทั่วไปจึงใช้ได้น้อยมากกับ
กรอบนโยบายเฉพาะเรื่อง และทฤษฎีเหล่านี้มักจะล้มเหลวในการหาข้อมูลที่จะทำให้ผู้กำหนดนโยบายสามารถควบคุมหรือกำกับกระบวนการนโยบายได้
Edward S. Quade
เป็นการวิเคราะห์ตามแนวของนักวิชาชีพที่มุ่งการแสวงหานโยบายที่ดีกว่าเพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชนให้มีประสิทธิภาพมากกว่าโดยครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการกำหนดปัญหา การพิจารณาทางเลือกในการแก้ไข
ปัญหา และการประเมินผลได้ผลเสียของทางเลือกแต่ละทางเลือกเพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจในการเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด
William N. Dunn
Dunn ได้เสนอระเบียบวิธีการสิเคราะห์นโยบายที่สำคัญ 5 ประการคือ การกำหนดโครงสร้างปัญหา (problem structuring) การทำนาย (forecasting) การเสนอแนะ (recommendation) การกำกับนโยบาย
(monitoring) และการประเมินผล (evaluation)สำหรับระบบข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์นโยบายนั้น Dunnได้เสนอไว้ 5 ชนิดคือ ปัญหานโยบาย (policy problem) อนาคตนโยบาย (policy future) การนำนโยบาย
ไปปฏิบัติ (policy action) ผลลัพธ์นโยบาย (policy outcomes) และระดับความสำเร็จของนโยบาย (policy performance)
James E. Anderson
การวิเคราะห์การก่อรูป (policy formation) เนื้อหา (policy content) และผลกระทบ (policy impact) ของนโยบายเฉพาะเรื่องโดยไม่ต้องคำนึงการรับรองหรือไม่รับรองนโยบายแต่อย่างใด
Norman Beckman
การวิเคราะห์นโยบายโดยจ าแนกตามค่านิยม
และความสนใจที่แตกต่างกัน
การวิเคราะห์นโยบายเป็นการคาดหมาย (policy analysis is anticipatory)
การวิเคราะห์นโยบายเป็นการเน้นเรื่องการตัดสินใจ (policy analysis is decisionoriented) Beckman
การวิเคราะห์นโยบายเป็นการบูรณาการและเป็นสหวิทยา (policy analysis is integrative and interdisciplinary)
การวิเคราะห์นโยบายที่มีประสิทธิผลเป็นเรืองของค่านิยมและการประเมินของผู้รับบริการ
Thomas R. Dye
การวิเคราะห์นโยบายเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการอธิบาย (explanation) มากกว่าการเสนอแนะ (prescription) เป็นการแสวงหาอย่างจริงจังถึงสาเหตุและผลของนโยบายโดยใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์
Walter William
เครื่องมือในการสังเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งผลลัพธ์จากการวิจัยเพื่อนำมากำหนดรูปแบบสำหรับการตัดสินใจนโยบายWilliam ยังได้จำแนกความแตกต่างระหว่างการวิเคราะห์นโยบายกับการวิจัยนโยบาย (policy reserch) การวิเคราะห์นโยบาย หมายถึง การสังเคราะห์ข้อมูลที่นำมาจากทางเลอกนโยบายและความปรารถนาที่แถลงเปรียบเทียบไว้เป็นการทำนายทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
Susan B. Hansen
การมุ่งเน้นการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบชัดเจนต่อผลผลิต (outputs) และผลกระทบ (effects) ของนโยบายที่มีต่อสังคม
ความสำคัญของการวิเคราะห์นโยบาย
การเน้นถึงความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาและการแสดงความรับผิดชอบต่อประชาชนทั้งนี้เพราะการตอบสนองต่อความต้องการของ
ประชาชนคือหน้าที่หลักของรัฐบาลเมื่อใดก็ตามที่รัฐบาลประสบความล้มเหลวในการสนองตอบความต้องการของประชาชน รัฐบาลนั้นก็ไม่อาจดำรงอยู่ต่อไปได้
องค์ประกอบของการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ
ผลกระทบ (Impacts)
ชุดของผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นอันเนื่องมากจากการเลือกทางเลือก
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการผลกระทบทางบวก คือ ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ผลกระทบทางลบของทางเลือกที่เกิดขึ้น ได้แก่ ต้นทุนหรือสิ่งที่จะต้องสูญเสียหรือต้องใช้ไป เป็นสิ่งที่ผู้ตัดสินใจต้องการจะหลีกเลี่ยงหรือให้มีน้อยที่สุด
ตัวแบบ (Models)
หัวใจของการวิเคราะห์การตัดสินใจ คือ กระบวนการหรือการสร้างสรรค์ที่
สามารถทำนายที่จะเกิดจากทางเลือกแต่ละทางเลือกได้
ทางเลือก (Alternatives)
ต้นทุน (cost) ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะปัจจัยที่ทำให้การวิเคราะห์ผิดพลาดคือ ความล้มเหลวในการประมาณการต้นทุนของทางเลือกทั้งหมดและจะเป็นการดียิ่งขึ้น ถ้าสามารถจำแนกต้นทุนออกเป็นประเภทต่าง ๆ
ประสิทธิผลของทางเลือก (effectiveness) การพิจารณาประสิทธิผลของทางเลือกที่จะบรรลุวัตถุประสงค์นั้น จำเป็นต้องใช้เกณฑ์การวัดที่เหมาะสม เกณฑ์การวัดเหล่านี้มักเป็นเกณฑ์การวัดเชิงปริมาณ
ผลลัพธ์ที่ไม่คาดหมาย (spillovers) เป็นผลที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในการบรรลุวัตถุประสงค์ โดยเกิดขึ้นกับบุคลหรือสถาบันซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับสิ่งที่ได้วิเคราะห์ไว้ก่อนลักษณะของผลลัพธ์ที่ไม่คาดหมายมักมีลักษณะเชิงคุณภาพ
สาระสำคัญของทางเลือก (desciption) เป็นข้อความที่บรรยายถึงแนวทางการทำงานของทางเลือกโดยสรุป
การจัดลำดับทางเลือก (comment on ranking) เป็นการเปรียบเทียบทางเลือกต่าง ๆ เพื่อจัดลำดับความสำคัญของทางเลือกแต่ละทางเลือกจะช่วยให้การสำรวจตรวจสอบทางเลือกชัดเจนยิ่งขึ้น
การพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ (other considerations) เป็นการพิจารณาถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่มิได้พิจารณามาก่อน เพื่อเป็นหลักประกันความเสี่ยง และความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขทางสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ทางการเมืองที่จะมีผลกระทบต่อฐานคติของทางเลือก
วัตถุประสงค์ (Objectives)
การค้นหาวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของนโยบาย เพื่อให้รู้ว่าสิ่งที่ผู้ตัดสินใจประสงค์ที่จะให้บรรลุผลคืออะไร
เกณฑ์การวัด (Criterias)
กฎหรือมาตรฐานที่ใช้จัดลำดับความสำคัญของทางเลือกตามที่
ประสงค์เกณฑ์การวัดมีความสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของทางเลือกและผลกระทบ โดยจัดลำดับทางเลือกที่ต้นทุนต่ำที่สุดไว้ก่อน เกณฑ์การวัดที่นำมาประเมินทางเลือกนั้น จะต้องใช้หลักการเดียวกันเพื่อให้สามารถ
เปรียบเทียบกันได้
กลยุทธ์การวิเคราะห์นโยบาย
ความจริง (facts)
ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้ตรวจสอบซึ่งอาจจะจำกัดหรือขยายความ
ขอบเขตความสำเร็จที่เกิดขึ้นก็ได้ขึ้นอยู่กับค่านิยมของผู้ตรวจสอบ ดังนั้น การค้นหาความจริงจึงต้องพิจารณาโดยรอบคอบ
การกระทำ (action)
ขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้ยอมรับการกระทำซึ่งอาจส่งผลต่อความสำเร็จและการแก้ไขปัญหาตามค่านิยมของผู้ยอมรับการกระทำนั้น
ค่านิยม (values)
โดยทำการตรวจสอบว่า ปัญหาได้รับการแก้ไขหรือไม่โดยพิจารณาว่า
ใครเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากการแก้ไขหรือไม่แก้ไขปัญหานั้น
ระเบียบวิธีและระบบข้อมูลการวิเคราะห์นโยบาย
ระบบข้อมูลนโยบาย
การนำนโยบายไปปฏิบัติ (policy action or policy implementation) การกระทำหรือชุดของกระทำที่กำหนดโดยทิศทางของทางเลือกนโยบายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในอนาคตตามคุณค่าที่กำหนดไว้ซึ่งเป็นการแปลงความตั้งใจไปสู่การกระทำทางเลือกนโยบายที่ผู้ตัดสินใจเลือกที่จะนำไปปฏิบัตินั้น อาจจะอยู่ในรูปของกฎหมาย คำสั่ง มติคณะรับมนตรี หรือประกาศกระทรวง โดยหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่รับผิดชอบในการนำไปปฏิบัติให้บรรลุผล
ผลลัพธ์นโยบาย (policy outcomes)ผลที่สังเกตเห็นได้ของการนำนโยบายไปปฏิบัติ เมื่อนโยบายถูกนำไปปฏิบัติผลที่บังเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ก็ตามเรียกผลที่เกิดขึ้นนั้นว่าผลลัพธ์นโยบาย
อนาคตนโยบาย (policy future)แนวทางของการกระทำที่เป็นไปได้ในการแก้ไขปัญหาสาธารณะ ซึ่งเป็นไปตามคุณค่าของสังคมระบบข้อมูลเกี่ยวกับเงื่อนไขของปัญหาเป็นสิ่งจำเป็นมากในการจำแนกแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เป็นไปได้แต่ระบบข้อมูลดังกล่าวมักจะไม่พอเพียง
ระดับความสำเร็จของนโยบาย (policy performance)ระดับความสำเร็จ
ของผลลัพธ์นโยบายเมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่คาดหวังไว้ ความเป็นจริงนั้น ปัญหานโยบายยากที่จะแก้ไขโดยสมบูรณ์ ปัญหาเหล่านี้มักจะถูกนำมาแก้ไขใหม่โดยการก่อรูปปัญหาขึ้นใหม่ หรือบางครั้งอาจไม่ได้รับความสนใจที่จะทำการแก้ไขอีก
ปัญหานโยบาย (policy problem)สิ่งที่เป็นความต้องการ คุณค่าหรือโอกาสในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ซึ่งจะให้สำเร็จโดยผ่านการนำนโยบายไปปฏิบัติ ซึ่งครอบคลุมความพยายามในการจำแนกคำถามและประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบวิธีการวิเคราะห์นโยบาย
การเสนอแนะ (recommendation) เป็นระเบียบวิธีวิเคราะห์นโยบายที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อจัดลำดับทางเลือกต่าง ๆทั้งนี้โดยวิเคราะห์ถึงความสอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเมือง สภาพแวดล้อม และค่านิยมของผู้ตัดสินใจ
การกำกับนโยบาย (monitoring) เป็นระเบียบวิธีวิเคราะห์นโยบายที่ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุและผลของนโยบายที่ผ่านมากเพื่อนำมาปรับปรุงในการกำกับ การนำนโยบายไปปฏิบัติให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และผลลัพธ์นโยบาย
การทำนาย (forecasting) เป็นระเบียบวิธีการวิเคราะห์ที่ใช้ในการทำนาย
สภาพแวดล้อมและผลลัพธ์ของชุดการปฏิบัติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
การประเมินผล (evaluation) เป็นระเบียบวิธีวิเคราะห์นโยบายที่ใช้สำหรับ
ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับคุณค่าหรือค่านิยมของแนวทางปฏิบัติของนโยบายในอดีตหรือในอนาคต ซึ่งการประเมินนี้สามารถกระทำได้ทั้งก่อนที่จะนำไปปฏิบัติและหลังจากการนำไปปฏิบัติแล้ว
การกำหนดโครงสร้างของปัญหา (problem structuring) เป็นระเบียบวิธีวิเคราะห์นโยบายที่ใช้สำหรับรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ไขเพื่อให้การจำแนกและระบุปัญหาชัดเจน รวมทั้งการทบทวนสภาพปัญหาใหม่หลังจากการนำนโยบายไปปฏิบัติและปรากฏผลลัพธ์ขึ้นมา
ความสัมพันธ์ระหว่างระเบียบวิธีการวิเคราะห์นโยบายและระบบข้อมูลนโยบาย
ตามแนวความคิดของ William N. Dunnเห็นว่าในกระบวนการวิเคราะห์นโยบายนั้น ทั้งระเบียบวิธีการวิเคราะห์นโยบายและระบบข้อมูลนโยบายมีความสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเมื่อการวิเคราะห์นโยบายเน้นที่ปัญหานโยบายในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของการศึกษา
ระบบข้อมูลนโยบาย ซึ่งประกอบด้วย ปัญหานโยบายการน านโยบายไปปฏิบัติ ผลลัพธ์นโยบาย และระดับความสำเร็จของนโยบายคือโครงสร้างหลักของกระบวนการวิเคราะห์นโยบาย โดยปัญหานโยบายเป็นศูนย์กลางของกระบวนการวิเคราะห์
ระเบียบวิธีการวิเคราะห์นโยบาย ซึ่งประกอบด้วย โครงสร้างปัญหา การพยากรณ์ การเสนอแนะ การกำกับและการประเมินผล จะทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ในระบบข้อมูลนโยบาย
ปัญหานโยบายจะถูกนำมาพิจารณาโดยการจำแนกโครงสร้างของปัญหาให้ชัดเจน การวิเคราะห์อนาคตนโยบายซึ่งเกี่ยวข้องกับการเลือก
ทางเลือกนโยบายที่เหมาะสมนั้น ขึ้นอยู่กับคุณภาพของการพยากรณ์ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้ข้อมูลทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต เพื่อพิจารณาแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงในอนาคตให้มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด
การเสนอแนะนโยบายก็คือขั้นตอนของการตัดสินใจเลือกนโยบายที่เหมาะสมเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้ปรากฏเป็นจริง
การวิเคราะห์นโยบายเชิงประจักษ์
อรรถประโยชน์ของการวิเคราะห์เส้นทาง (Utility of Path Analysis)
การวิเคราะห์เส้นทางมีลักษณะทำนองเดียวกับการวิเคราะห์ถดถอย (regression analysis)คือ การวิเคราะห์เส้นทางจะแสดงให้เห็นถึงการคาดหมายภาพรวมเกี่ยวกับการอธิบายค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในตัวแบบทั้งหมด
ทัศนะของ Dyeเห็นว่า ระเบียบวิธีวิจัยที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุดประการหนึ่ง ในการขยายความชัดเจนของกรอบความคิดเชิงสาเหตุและผลที่เกี่ยวกับสาเหตุ (causes)และผลลัพธ์ (consequences) ของนโยบายสาธารณะคือ การวิเคราะห์เส้นทาง (Path analysis)การวิเคราะห์เส้นทางจะช่วยให้นักวิเคราะห์สามารถแสดงความคิดเกี่ยวกับสาเหตุและผลลัพธ์ของนโยบายสาธารณะในรูปของแผนภาพความสัมพันธ์ (diagrammatic fashion)ระหว่างปัจจัยสาเหตุและผลได้อย่างชัดเจน
การศึกษาปัจจัยกำหนดของนโยบาย (policy determinants) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดนโยบาย
ตัวแบบสาธิตการวิเคราะห์เส้นทาง (Illustrative Model of Path Analysis)
การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดอัตรากำลังพล ตำรวจในเขตชุมชนเมืองของสหรัฐอเมริกา
จากตัวอย่างข้างต้นจะทำให้นักวิเคราะห์นโยบายทราบอย่างแน่ชัดว่ามีปัจจัยใดบ้างที่มีอิทธิพลต่อการจัดอัตรากำลังพลตำรวจ และปัจจัยเหล่านั้นมีอิทธิพลแตกต่างกันอย่างไรข้อค้นพบดังกล่าว จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับนักวิเคราะห์นโยบายในการนำเสนอทางเลือกนโยบายที่เหมาะสมในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของประชาชน
Dye เห็นว่าการที่แต่ละชุมชนเมืองมีสภาพเศรษฐกิจและสังคม (socioeconomic characteristics) แตกต่างกันจะมีผลโดยตรงต่อความต้องการอัตรากำลังพลตำรวจต่างกันด้วย
ชุมชนเมืองที่มีขนาดใหญ่ มีประชากรผิวจำนวนมาก รายได้ของประชากรต่ำและประชากรเป็นเจ้าของทรัพย์สินน้อยจะเป็นปัจจัยที่จำเป็นต่อการเพิ่มอัตรากำลังพลตำรวจเพราะลักษณะดังกล่าวล้วนเป็นปัจจัยสนับสนุนการก่ออาชญากรรมเพิ่มขึ้น จึงมีผลต่อความต้องการอัตรากำลังพลตำรวจเพิ่มขึ้น
การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการในประเทศต่าง ๆ
ผลการศึกษาของ Wilensky จะทำให้นักวิเคราะห์นโยบายเข้าใจถึงบทบาทของปัจจัยก าหนดต่าง ๆ ที่มีต่อความพยายามในการจัดสรรค่าใช้จ่ายสำหรับสวัสดิการทางสังคมให้แก่ประชาชนของแต่ละประเทศได้เป็น
อย่างดี ทั้งในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเสรีประชาธิปไตยและระบอบเผด็จการ
จากการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์เส้นทาง พบว่า ระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจหรือรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรมีผลหรืออิทธิพลต่อการจัดสวัสดิการทางสังคมในระดับค่อนข้างสูง โดยมีอิทธิพลผ่านตัวแปรอายุของประชากรและอายุของระบบสวัสดิการ แต่ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อการจดสวัสดิการทางสังคม
ข้อมูลจากการศึกษาของ Wilenskyึงเป็นประโยชน์ต่อนักวิเคราะห์นโยบายที่จะนำไปใช้ประกอบการพิจารณาการก่อรูปนโยบายสวัสดิการทางสังคมได้
อิทธิพลทางอ้อมของรัฐเสรีประชาธิปไตยจะส่งผ่านตัวแปรอายุของประชากรไปสู่การจัดสวัสดิการทางสังคมในขณะที่อิทธิพลของรัฐเผด็จการที่มีต่อการจัดสวัสดิการทางสังคมจะส่งผ่านตัวแปรอายุของระบบ
สวัสดิการและอายุของประชากรแต่อิทธิพลดังกล่าวจะน้อยกว่าอิทธิพลของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่มีต่อการจัดสวัสดิการทางสังคม
กระบวนการวิเคราะห์นโยบาย
แนวทางการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ
แนวทางเชิงปทัสถาน (normative approach) เป็นแนวทางที่มุ่งเสนอทางเลือกเพื่อการแก้ไขปัญหาในอนาคต (future courses of action) โดยการตั้งคำถามว่า “ควรจะทำอะไรให้เรียบร้อย”
แนวทางเชิงประเมิน (valuative approach)เป็นแนวทางที่มุ่งจะอธิบายถึงคุณค่า (worth) หรือค่านิยม (value) ของสังคมที่มีต่อปัญหานโยบาย โดยการตั้งคำถามว่า “ปัญหานโยบายดังกล่าวมีคุณค่าอะไร” ต่อสังคม
แนวทางเชิงประจักษ์ (empirical approach) ป็นแนวทางที่มุ่งแสวงหาข้อเท็จจริง (facts) โดยการตั้งคำถามว่า “มีอะไรปรากฏอยู่บ้าง”
กระบวนการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ (Process of Policy Analysis)
วัฏจักรของกระบวนการวิเคราะห์นโยบาย
การสร้างและทดสอบตัวแบบ (building and test models) เมื่อได้ทางเลือกสำหรับการแก้ไขปัญหานโยบายขั้นตอนต่อไปคือการนำทางเลือกแต่ละทางเลือกมาสร้างเป็นตัวแบบจำลองเพื่อนำไปทดสอบเบื้องต้นว่า แต่ละทางเลือกมีความเป็นไปได้และสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ที่ดำเนินการไว้มากน้อยเพียงใด
การตรวจสอบทางเลือกที่เหมาะสม (examining alternatives for feasibility)เมื่อทำการทดสอบตัวแบบทางเลือกขั้นตอนต่อไปคือการประเมินทางเลือกว่าทางเลือกใดบ้างที่สอดคล้องกับค่านิยมของคนในสังคม
การรวบรวมข้อมูลและข่าวสาร (collecting data and information)นักวิเคราะห์นโยบายจะต้องพยายามรวบรวมข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องให้เพียงพอสำหรับการวิเคราะห์ทางเลือกแต่ละทางเลือกว่ามีจุดแข็ง จุดอ่อน และข้อจำกัด
การประเมินต้นทุนและประสิทธิผล (evaluating costs and effectoveness) เมื่อได้ทางเลือกที่เหมาะสมแล้วจะต้องทำการประเมินต้นทุนที่จำเป็นต้องใช้ในการนำทางเลือกแต่ละทางเลือกไปปฏิบัติ รวมทั้งการประเมินประสิทธิผล (effectiveness) ของทางเลือกแต่ละทางเลือกให้ชัดเจน
การค้นหาและกำหนดทางเลือก (searching and designing alternatives)เมื่อนักวิเคราะห์ได้ก าหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแล้ว สิ่งที่จะต้องกระทำต่อไปคือจะต้องค้นหาแนวทางในการแก้ไขปัญหานโยบายให้สอดคล้องกับวัตถุปะสงค์ที่กำหนดไว้
การแปลผลที่เกิดขึ้น (interpreting results) เมื่อผู้ตัดสินใจนโยบายตัดสินใจเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดและนำไปปฏิบัติให้ปรากฏเป็นจริงแล้วนักวิเคราะห์จะต้องทำการประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่เพียงใดหรือมีปัญหาอุปสรรคใดบ้างในการนำนโยบาย
ไปปฏิบัติ
การกำหนดวัตถุประสงค์ (determining objectives) เมื่อทราบลักษณะ
ปัญหานโยบายที่ชัดเจนแล้ว นักวิเคราะห์นโยบายจะต้องกำหนดเป้าหมายโดยวัตถุประสงค์จะต้องมีความเฉพาะสอดคล้องกับลักษณะปัญหา
และมีความเป็นไปได
การทบทวนฐานคติ (questioning assumptions) เมื่อทำการประเมินผลจากการนำนโยบายไปปฏิบัติแล้วนักวิเคราะห์นโยบายจะต้องนำผลการประเมินมาทบทวนฐานคติให้ชัดเจนว่า ในกรณีที่ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
การระบุปัญหานโยบาย (clarifying the problem)การวิเคราะห์นโยบาย
จะต้องเริ่มต้นจากการระบุปัญหานโยบายให้ชัดเจนว่าปัญหาที่กำลังปรากฎอยู่นั้นเป็นปัญหาอะไร เกิดขึ้นกับคนกลุ่มใด และมีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร
การกำหนดทางเลือกใหม่ (opening new alternatives) ในกรณีที่การนำนโยบายไปปฏิบัติเกิดผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้และลักษณะปัญหานโยบายเป็นปัญหาที่ต่อเนื่อง ผู้ตัดสินใจนโยบายสามารถนำทางเลือกนโยบายดังกล่าวไปปฏิบัติต่อได้
ขั้นตอนการวิเคราะห์นโยบาย (analysis in the policy process)
การกำหนดวัตถุประสงค์และการจัดลำดับความสำคัญ (setting objectives and priorities) นักวิเคราะห์นโยบายจะต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดวัตถุประสงค์ของนโยบายให้ชัดเจน เพื่อให้การกำหนดนโยบายสามารถนำไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จในการตอบสนองความต้องการของประชาชน
การวิเคราะห์ทางเลือก (options analysis)วิธีที่อาจได้รับการวิพากษ์วิจารณ์กันมากคือ การเลือกทางเลือกภายใต้การผลักดันของผู้มีอิทธิพลซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาของสังคมส่วนร่วมดังนั้น การเลือกทางเลือกจึงเป็นสิ่งสำคัญที่นักวิเคราะห์นโยบายจะต้องนำเสนอ
ทางเลือกที่ผ่านการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและเชื่อถือได
การพยากรณ์ (forecasting) นักวิเคราะห์นโยบายจะต้องมีความพร้อมในการพยากรณ์สถานการณ์ที่เป็นอยู่ว่าจะเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาไปอย่างไร
การนำนโยบายไปปฏิบัติ การก ากับและการควบคุม (policy implementation,monitoring, and control) เมื่อนักวิเคราะห์ได้นำเสนอทางเลือกที่เหมาะสมแล้ว ผู้ตัดสินใจนโยบายจะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบว่าจะเลือกใช้ทางเลือกใด เมื่อได้ทางเลือกที่เหมาะสมแล้ว (preferred option) ทางเลือกดังกล่าวจะถูกนำไปปฏิบัติ
การนิยามประเด็นนโยบาย (issue definition) เมื่อนักวิเคราะห์นโยบายได้ทกำารจำแนกประเด็นนโยบายแล้วสิ่งที่จะต้องกระทำต่อไปคือการนิยามประเด็นหรือปัญหานโยบายให้ชัดเจน เพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนจากกรณีความคลาดเคลื่อนจากการตีความที่แตกต่างออกไป
การประเมินผลและการทบทวน (evaluation and review)เมื่อนำนโยบายไปปฏิบัติตามที่กำหนดไว้แล้ว นักวิเคราะห์นโยบายจะต้องทำการประเมินผลว่า ประสลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์เพียงใด การประเมินผลจะต้องพิจารณาด้วยว่ามีการแย่งชิงทรัพยากรภายในองค์การเดียวกันหรือไม่
การกลั่นกรองประเด็นนโยบาย (deciding how to decide or issue filtration) เมื่อคาดการณ์ถึงปัญหาหรือระบุปัญหานโยบายแล้วสิ่งที่นักวิเคราะห์นโยบายจะต้องตั้งคำถามต่อไปก็คือ ประเด็นปัญหานั้นควรเป็นหน้าที่ของกระบวนการบริหารและกระบวนการทางการเมืองตามปกติ
การดำรงรักษานโยบาย การดำเนินนโยบายต่อไป และการยกเลิกนโยบาย (policymaintenance, policy succession and policy termination) ผลจากการประเมินหรือการทบทวนนโยบายมิได้เป็นข้อยุติในตัวเอง โดยทั่วไปมักจะเป็นการยากที่จะเปลี่ยนนโยบายใหม่ หรือยกเลิกนโยบายที่มีอยู่เดิม แม้ว่าผู้ตัดสินใจจะให้ความเห็นชอบแล้วก็ตาม
การตัดสินใจที่จะกำหนดปัญหานโยบาย (deciding to decide or issue search oragenda setting) เป็นการจำแนกลักษณะของปัญหาและการคาดหมายปัญหานโยบาย ซึ่งจำเป็นจะต้องกระทำการแก้ไข (action)