Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อที่มาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ sexually transmitted infections…
การติดเชื้อที่มาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ sexually transmitted infections: STIs
การตกขาวผิดปกติ
การตกขาวจากการติดเชื้อรา (Vulvovaginal candidiasis)
พบได้ร้อยละ 10-30 ในสตรีตั้งครรภ์
เชื้อราที่ทำให้เกิดการตกขาวผิดปกติได้ถึงร้อยละ 80-90 เกิดจากเชื้อรากลุ่ม candida albicans ซึ่งมีระยะฟักตัว 1-4 วัน
ปัจจัยและปัจจัยเสี่ยง
รับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษาบางชนิดอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีการทำลายเชื้อแบคทีเรีย lactobacillus ที่มีหน้าที่ฆ่าเชื้อราในช่องคลอด
ได้รับฮอร์โมนสเตียรอยด์ และได้รับยากดภูมิต้านทานทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง
ับประทานยาคุมกำเนิดชนิดที่มีปริมาณฮอร์โมนมาก (high dose)
การควบคุมภาวะเบาหวานไม่ดี มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง
สวมใส่ชุดชั้นในที่แน่นทำให้เกิดความอับชื้น เชื้อราเจริญได้ง่าย
อาการและอาการแสดง
คันและระคายเคืองมากในช่องคลอดและปากช่องคลอด
ปากช่องคลอดเป็นผื่นแดง ช่องคลอดอักเสบ และบวมแดงแต่ปากมดลูกปกติ
ตกขาวมีลักษณะสีขาวขุ่น อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเหมือนนมตกตะกอน
เจ็บขณะร่วมเพศ (dyspareunia)
ปัสสาวะลำบาก และแสบขัดตอนสุด (external dysuria)
ผลกระทบ
ต่อสตรีตั้งครรภ์
ระคายเคือง คันช่องคลอดมากขึ้น การติดเชื้อราในช่องคลอด
ต่อทารก
เป็นเชื้อราในช่องปาก (oral thrush) ได้มากกว่าปกติ 2-35 เท่า
การประเมินและการวินิจฉัย
ซักประวัติ ประวัติอาการและอาการแสดง
ระยะเวลาที่แสดงอาการ ประวัติอาการตกขาวผิดปกติ
การตรวจร่างกาย
ตรวจภายในพบช่องคลอดบวมแดง
ตกขาวมีลักษณะขุ่นรวมตัวกันเป็นก้อนเหมือนนมตกตะกอน
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
วิธี (wet mount smear)
จะพบเซลล์ของยีสต์
เส้นใยของเซลล์เชื้อรา (mycelium) pH น้อยกว่า 4.5
วิธีแกรมสเตน (gram stain)
ลักษณะเป็นเหมือนเส้นด้าย
มีรูปร่างเหมือนยีสต์
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์ เข้าใจสาเหตุของการติดเชื้อ และการดูแลตนเอง
แนะนำการใช้ยาทา และยาเหน็บช่องคลอดตามแพทย์สั่ง
การทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และการทำความสะอาดชุดชั้นในต้องซักให้สะอาดและตากแดดให้แห้งเสมอ
สามารถเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยต้องล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
ทารกแรกเกิดอาจมีการติดเชื้อในช่องปาก ซึ่งจะพบมีฝ้าขาวในช่องปาก ให้ปรึกษากุมารแพทย์เพื่อการดูแลทารกต่อไป
การตกขาวจากการติดเชื้อพยาธิ(vaginal trichomoniasis)
อาการและอาการแสดง
มักจะพบโรคคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นร่วมด้วย
หนองใน (gonorrhea)
ปากมดลูกอักเสบแบบมูกปนหนอง (mucopurulent cervicitis)
หูดหงอนไก่ (condyloma acuminata)
เชื้อราในช่องคลอด (vulvovaginal candidiasis)
ตกขาวมีสีขาวปนเทา หรือสีเหลืองเขียว ตกขาวเป็นฟอง (foamy discharge) มีกลิ่นเหม็น
ระคายเคืองที่ปากช่องคลอด ในช่องคลอด ปากช่องคลอดบวมแดง
ปัสสาวะแสบขัดหรือบ่อย ปวดแสบปวดร้อนบริเวณต้นขาด้านใน และเจ็บขณะมีเพสสัมพันธ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด
ทารกคลอดก่อนกําหนด และทารกแรกเกิดมีน้ําหนักตัวน้อย
การประเมินและวินิจฉัย
ซักประวัติ ได้แก่ประวัติการมีตกขาวจํานวนมาก เป็นฟอง มีกลิ่นเหม็น ร่วมกับอาการคัน ประวัติการตกขาวจากการติดเชื้อพยาธิและการรักษา
ตรวจร่างกาย การตรวจภายในช่องคลอด พบตกขาวเป็นฟองสีเหลือเขียว
ตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วยwet mount smear จะพบเม็ดเลือดขาวจํานวนมาก อาจพบตัวเชื้อพยาธิเคลื่อนไหวไปมา ตกขาวมีฤทธิ์เป็นด่าง ค่า pH มากกว่า 4.5
แนวทางการรักษา
metronidazole แต่ห้ามใช้ในไตรมาสแรก เพราะอาจเป็น teratogen
หลังไตรมาสแรกไปแล้ว จะรักษาด้วย metronidazole โดยให้รับประทาน 2 กรัม ครั้งเดียว
ให้การรักษาสามีไปด้วย โดยให้ metronidazole หรือ tinidazole รับประทาน 2 กรัม ครั้งเดียว
การพยาบาล
ให้คําแนะนําและการดูแลเหมือนสตรีตั้งครรภ์ทั่วไป
แนะนําการเหน็บยา หรือการรับประทานยาตามแผนการรักษาอย่างถูกต้องและสม่ําเสมอ
แนะนําให้สามีมารับการรักษาพร้อมกัน
แนะนําการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยโดยการสวมถุงยางอนามัย
แนะนําการรักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้แห้งสะอาดเสมอ และซักชุดชั้นในให้สะอาดตากแดดให้แห้ง
แนะนําให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
หากอาการยังไม่ดีขึ้น ให้พบแพทย์และดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกเสมอ
การตกขาวจากการติดเชื้อแบคทีเรีย(bacterial vaginosis)
อาการและอาการแสดง
คัน ปวดแสบปวดร้อนปากช่องคลอด ในช่องคลอด
ถ่ายปัสสาวะลําบาก แสบขัด
เจ็บขณะร่วมเพศ ตกขาวสีขาว สีเทา หรือสีเหลือง ข้นเหนียว มีกลิ่นเหม็นเน่าเหมือนคาวปลา
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
มีการติดเชื้อในมดลูก (chorioamnionitis) ปีกมดลูกอักเสบ (salpingitis) และเกิดการอักเสบในอุ้งเชิงกราน (pelvic inflammatory disease: PID)
เกิดการแท้งติดเชื้อ (septic abortion)ถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนดและเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด
มีไข้ ปวดท้องมากและมีอาการแสดงของเยื่อบุมดลูกอักเสบ
ทารกแรกเกิดน้ําหนักตัวน้อย และทารกคลอดก่อนกําหนด ซึ่งอาจตรวจพบว่ามีเชื้อแบคทีเรียในหลอดลมทําให้มีภาวะหายใจลําบาก มีแบคทีเรียในเลือด
การประเมินและวินิจฉัย
ซักประวัติ ได้แก่ประวัติการมีตกขาวจํานวนมาก ปวดแสบปวดร้อนบริเวณปากช่องคลอดและในช่องคลอด ถ่ายปัสสาวะลําบา เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
ตรวจร่างกาย การตรวจทางช่องคลอดและการทํา pap smear จะพบเชื้อแบคทีเรีย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจ Wet smear โดยการหยด 10% Potassium Hydroxide(KOH) ลงไปบนตกขาว 2 หยดแล้ว คนให้เข้ากันจะได้กลิ่นเหม็นเน่าเหมือนคาวปลา และถ้านําไปส่องกล้องจุลทรรศน์จะพบเชื้อ lactobacilli
การเพาะเชื้อ (culture) ตกขาวใน columbia agar ที่มีเลือดเป็นส่วนผสมหรือมี 5%CO2ใช้เวลา 3 วันเชื้อแบคทีเรียจะโตขึ้นเป็นกลุ่มเล็ก
แนวทางการรักษา
ให้ยา metronidazole 250 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง หรืออาจให้ metronidazole 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 7-10 วัน
ให้ ampicillin 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน
การพยาบาล
เน้นย้ําให้เห็นความสําคัญของการมาตรวจตามนัด
แนะนําให้พาสามีไปตรวจและรักษาโรคพร้อมกัน
หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้อง ท้องแข็งบ่อย มีเลือดออกทางช่องคลอด ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
เน้นการทําความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ให้สะอาดและแห้งเสมอ
สามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยเน้นเรื่องการล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
ซิฟิลิส (Syphilis)
พยาธิสรีรภาพ
เชื้อจะแทรกเข้าไปอยู่ระหว่างผนังหลอดเลือดและทําให้หลอดเลือดอุดตัน ส่งผลให้เนื้อเยื่อที่มีการอักเสบมีเลือดมาเลี้ยงลดลง เกิดการขาดเลือดกลายเป็นเนื้อตาย และกลายเป็นแผลที่มีลักษณะเป็นตุ่มแข็ง กดไม่เจ็บ ส่วนเชื้อที่เข้าสู่กระแสเลือดจะทําให้หลอดเลือดส่วนปลายเกิดการอักเสบส่งผลให้เกิดผื่นทั่วร่างกาย ขณะเดียวกันเชื้อจะเข้าไปยังต่อมน้ําเหลืองทําให้ต่อมน้ําเหลืองโตแต่กดไม่เจ็บ ภายหลังจากรับเชื้อเข้าร่างกาย 6-8 สัปดาห์ จํานวนเชื้อที่แผลหรือที่เนื้อเยื่อจะค่อยๆ ลดลง ผื่นจะค่อยๆหายไป
อาการและอาการแสดง
ซิฟิลิสระยะแรก หรือระยะที่หนึ่ง (primary stage)
จะเกิดแผล กลม นิ่ม ขอบนูนแข็ง ไม่เจ็บ เรียว่าแผล chancre บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกหรือในช่อง
คลอดและปากมดลูก ต่อมน้ําเหลืองบริเวณขาหนีบโตแต่กดไม่เจ็บมักจะพบเพียง 1 แผล แผลจะเป็นอยู่นานประมาณ 3-6 สัปดาห์
ซิฟิลิสระยะที่สอง (secondary stage)
พบผื่นกระจายทั่วร่างกาย ฝ่ามือฝ่าเท้า เยื่อบุรวมทั้งอวัยวะสืบพันธุ์ โดยผื่นที่พบบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์จะยกนูน ร่วมกับมีอาการไข้ ต่อมน้ําเหลืองโต เจ็บคอ ผมร่วงเป็นหย่อมๆ ปวดศีรษะ น้ําหนักลด
ระยะแฝง (latent syphilis)
ไม่มีอาการใดๆ แต่กระบวนการติดเชื้อยังดําเนินอยู่และสามารถแพร่กระจายเชื้อได้ รวมถึงอาจมีการกําเริบของโรคได้
ซิฟิลิสระยะที่ 3 หรือระยะท้ายของโรคซิฟิลิส (tertiary syphilis)
ทําลายระบบหัวใจและหลอดเลือด ทําให้เกิด aortic aneurysm และ aortic insufficiency ถ้าเชื้อเข้าสู่ระบบประสาทจะเกิดผิวหนังอักเสบ กระดูกผุ เยื่อบุสมองอักเสบ และเสียชีวิตในที่สุด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผิวหนังและเนื้อเยื่ออักเสบ คลอดก่อนกําหนด และแท้งบุตร
ทารกคลอดก่อนกําหนด ตายคลอด ทารกแรกเกิดติดเชื้อซิฟิลิส(neonatalsyphilis)ทารกพิการแต่กําเนิด
ตับม้ามโต ทารกตัวบวมน้ํา ตัวเหลือง เยื่อบุส่วนต่างๆของร่างกายเกิดการอักเสบ ผิวหนังที่ฝ่ามือฝ่าเท้าอักเสบและลอกเป็นขุย ปัญญาอ่อน เป็นโรคหัวใจแต่กําเนิด
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติประวัติเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อซิฟิลิส หรือมีประวัติเคยป่วยด้วยโรคซิฟิลิสมาก่อน
การตรวจร่างกายกรณีที่มีอาการและอาการแสดงอาจตรวจพบไข้ต่ํา ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว ตรวจอวัยวะสืบพันธ์ภายนอกพบแผลที่มีลักษณะขอบแข็ง กดไม่เจ็บ อาจพบผื่นบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจหาเชื้อ T. Pallidum จากแผล chancre หรือผื่น มาตรวจด้วยกล้อง dark-field microscope
การตรวจหา antibody ที่ไม่จําเพาะต่อเชื้อ
การตรวจหา antibody เพื่อยืนยันการติดเชื้อซิฟิลิส ที่จําเพาะต่อเชื้อ Treponema pallium โดยตรง
การตรวจด้วยวิธี VDRL
แนวทางการรักษา
ให้ยา Penicillin Gซึ่งเป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาซิฟิลิสในสตรีตั้งครรภ์ และป้องกันการติดเชื้อของทารก
ระยะ late latent syphilis จะรักษาด้วย Benzathine Penicillin G Sodium 2.4 ล้านยูนิต ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะพก 3 สัปดาห์ติดต่อกัน
ระยะ primary, secondary และ early latent syphilisรักษาด้วยBenzathine Penicillin G Sodium 2.4 ล้านยูนิต ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะโพกครั้งเดียว
หนองใน (Gonorrhea)
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อเชื้อ Neiseria gonorrheaeเข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปเกาะติดกับเซลล์เยื่อบุและเซลล์ขับเมือก โดยจะพยายามผ่านเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเข้าไปเพิ่มจํานวนเซลล์ในชั้น subepithelial tissue จากนั้นเชื้อ Neiseria gonorrheaeจะทําปฏิกิริยากับภูมิต้านทานของร่างกาย ทําให้เกิดสารเคมีที่เป็นพิษต่อเซลล์และเนื้อเยื่อ ส่งผลให้เนื้อเยื่ออักเสบเป็นหนอง
อาการและอาการแสดง
มีการอักเสบของปากมดลูกและช่องคลอด
ตกขาวเป็นหนองข้นปริมาณมาก
อาการกดเจ็บบริเวณต่อมบาร์โธลิน (bartholin’s gland)
หากมีการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างจะพบอาการปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกระปิดกระปรอย เป็นหนองข้น และปัสสาวะเป็นเลือด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
มีบุตรยาก
ถุงน้ําคร่ําอักเสบและติดเชื้อ ถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด
แท้งบุตร และการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด
ตาอักเสบ (gonococcal ophalmia neonatorum)
ตาบอดได้
หากทารกแรกเกิดกลืนหรือสําลักน้ําคร่ําที่มีเชื้อหนองในเข้าไปจะทําให้ช่องปากอักเสบ หูอักเสบ กระเพาะอาหารอักเสบ
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติประวัติเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อหนองใน
การตรวจร่างกายตรวจทางช่องคลอดจะพบหนองสีขาวขุ่น บางรายอาจพบเลือดปนหนอง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการตรวจขั้นต้นโดยการเก็บน้ําเหลืองหรือหนองจากส่วนที่มีการอักเสบมาย้อมสีตรวจ gram stain smear หากมีการติดเชื้อจะพบintracellular gram negative diplocooci
แนวทางการรักษา
ตรวจคัดกรองขณะตั้งครรภ์ตามปกติ (VDRL)
หากพบว่ามีเชื้อให้ยา ceftriaxone, azithromycin, penicillin ได้ทั้งรับประทานและฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ทั้งนี้ควรระวังเรื่องของการเพิ่มของ blood level
ทารกแรกเกิดทุกรายควรได้รับยาป้ายตาคือ 1% tetracycline ointment หรือ 0.5% erythromycin ointmentหรือ 1% Silver nitrate (AgNO3)หยอดตาตาทารก หลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตา
ทารกที่พบว่ามีการติดเชื้อหนองในควรได้รับยาปฏิชีวนะceftriaxone ตามแผนการรักษาของกุมารแพทย์
การรักษาในสตรีตั้งครรภ์ควรคํานึงว่ามีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น ซิฟิลิส HIV เป็นต้น หากมีควรรักษาพร้อมกัน รวมถึงต้องตรวจและรักษาคู่นอนด้วยเช่นกัน
การติดเชื้อเริม (Herpes simplex)
พยาธิสรีรภาพ
ลังจากเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะทําให้ผิวหนังเป็นตุ่มน้ําใส เล็กๆจํานวนมาก เมื่อตุ่มน้ําแตก หนังกําพร้าจะหลุดพร้อมกับทําให้เกิดแผลตื้น ทําให้รู้สึกปวดแสบปวดร้อนที่แผล ขณะเดียวกันเชื้อก็จะเดินทางไปแฝงตัวที่ปมประสาท และกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ํา
อาการและอาการแสดง
อาการปวดแสบปวดร้อน
และคันบริเวณที่สัมผัสโรค
ตุ่มน้ําใสๆ แล้วแตกกลายเป็นแผลอยู่ 2 สัปดาห์ ก่อนจะตําสะเก็ด
ไข้ต่ําๆ อ่อนเพลัย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมน้ําเหลืองที่ขาหนีบโต
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
เจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด
ทารกมีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์
ทารกคลอดก่อนกําหนด
หากทารกมีการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ จะทําให้เกิดความพิการแต่กําเนิดสูง
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติประวัติเกี่ยวกับการเคยติดเชื้อเริมมาก่อนหรือไม่ หรือเคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นเริมที่อวัยวะสืบพันธ์หรือไม่
การตรวจร่างกายจะพบตุ่มน้ําใส หากตุ่มน้ําแตกจะพบแผลอักเสบ แดง ปวดแสบปวดร้อนบริเวณขอบแผลค่อนข้างแข็ง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การเพาะเชื้อใน Hank’s medium โดยนําของเหลวที่ได้จากตุ่มน้ํา
การขูดเนื้อเยื่อจากแผลมาทําการย้อมและดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
การทําให้ตุ่มน้ําแตกแล้วขูดบริเวณก้นแผลมาป้ายสไลด์แล้วย้อมสี
แนวทางการรักษา
รักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น ให้ยาแก้ปวด ยาปฏิชีวนะในรายที่มีการติดเชื้อซ้ําเติม ล้างแผลด้วย NSS
ให้ Acyclovir 200 mg รับประทานวันละ 5 ครั้ง นาน5-7 วัน
หากมีอาการของระบบอื่นที่รุนแรงร่วมด้วยอาจให้ Acyclovir 5 mg/kg ฉีดเข้าหลอดเลือดดํา ทุก 8 ชั่วโมง นาน 5-7 วัน 3.
หูดหงอนไก่ (Condyloma acuminate)
พยาธิสภาพ
หูดหงอนไก่ (Condyloma acuminate)เกิดจากการติดเชื้อ human papilloma virus (HPV) มีระยะฟักตัวนาน 2-3 เดือน ติดต่อจากการสัมผัสรอยโรคโดยเฉพาะทางเพศสัมพันธ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
เกิดการตกเลือดหลังคลอด และมารดาหลังคลอดมีโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูก
laryngeal papillomatosis
เกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจส่วนบน
สียงร้องไห้แหบผิดปกติ (abnormal cry)
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ ประวัติเคยติดเชื้อหูดหงอนไก่มาก่อน หรือเคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นหูดหงอนไก่
การตรวจร่างกายจะพบรอยโรคเป็นติ่งเนื้อสีชมพูคล้ายหงอนไก่ ผิวขรุขระคล้ายดอกกะหล่ําบริเวณปากช่องคลอด ในช่องคลอด หรือบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการควรวินิจฉัยแยกโรคออกจากซิฟิลิสและgenital cancer
ตรวจ Pap smear หรือตรวจหาเชื้อ HPV โดยวิธี Polymerase Chain Reaction (PCR) หรือการตรวจ DNA (DNA probe)
แนวทางการรักษา
ทาบริเวณรอยโรคด้วย 85% trichlorracetic acid หรือ bichloroacetic acid ทุก 7-10 วัน
ใช้ยาท่าร่วมกับการจี้ laser หรือ cryosurgery หรือ electrocoagulation with curettage
นะนําการรักษาความสะอาด หลีกเลี่ยงการอับชื้นบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ความหมาย
อุบัติการณ์
ประเทศไทยมีอัตราการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ประมาณ 18.63 ต่อประชากรแสนคน
โรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ที่พบมากเป็น 4 อันดับแรก คือ หนองในเทียม หนองในแท้ ซิฟิลิส และพยาธิในช่องคลอด
มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ในแต่ละปีประมาณ 376 ล้านคน
ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ทั่วโลกมากกว่า 1 ล้านคนต่อวัน
โรคที่ติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งผ่านการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นโรค หรือผู้ที่ติดเชื้อไม่ว่าจะเป็นทางปาก ทางช่องคลอด หรือทางทวารหนัก
การติดเชื้อเอชไอวีในสตรีตั้งครรภ์ (Human Immunodeficiency Virus [HIV]during pregnancy)
พยาธิสรีรภาพ
เชื้อ HIV จะใช้ส่วน GP120 ที่ผิวของเชื้อ HIV จับกับ CD4 receptor ของเซลล์เม็ดเลือดขาว จากนั้นเชื้อ HIV จะเข้าไปในเซลล์เม็ดเลือดขาวเหล่านั้น แล้วใช้ enzyme reverse transcriptaseสร้างviral DNA แทรกเข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์เม็ดเลือดขาวแล้วเพิ่มจํานวนเม็ดเลือดขาวที่มีเชื้อไวรัส HIV ทําให้ร่างกายมีเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ HIV จํานวนมาก ซึ่งเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ HIV จะแตกสลายง่าย ส่งผลให้เม็ดเลือดขาวในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว ทําให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง เกิดภาวะ seroconversion
อาการและอาการแสดง
ระยะเริ่มแรกของการติดเชื้อ HIV
มีไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นขึ้น ต่อมน้ําเหลืองโต บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว หรือมีฝ้าขาวในช่องปาก
ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ
ตรวจเลือดจะพบเชื้อ HIV และ antibody ต่อเชื้อ HIV และสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการจะนาน 5-10 ปี บางรายอาจนานมากกว่า 15 ปี
ระยะติดเชื้อที่มีอาการ
มีอุณหภูมิร่างกายสูงมากกว่า 37.80C เป็นพักๆ หรือติดต่อกันทุกวัน
ท้องเดินเรื้อรัง หรืออุจจาระร่วงเรื้อรัง
น้ำหนักลดเกิน 10% ของน้ําหนักตัว
ต่อมน้ําเหลืองโตมากกว่า 1 แห่ง เป็นงูสวัด และพบเชื้อราในปากหรือฝ้าขาว (hairy leukoplakia) ในช่องปาก
ระยะป่วยเป็นเอดส์
ไข้ ผอม ต่อมน้ําเหลืองโตหลายแห่ง ซีด
อาจพบลิ้นหรือช่องปากเป็นฝ้าขาวจากเชื้อรา แผลเริมเรื้อรัง ผิวหนังเป็นแผลพุพอง
ทําให้เชื้อโรคฉวยโอกาสเข้ามาในร่างกาย ทําให้เกิดวัณโรคปอด ปอดอักเสบ สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์
ทารกคลอดก่อนกําหนด
ทารกแรกเกิดน้ําหนักตัวน้อย ทารกมีขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์ และทารกตายคลอด
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ หรือสงสัยว่าจะติดเชื้อ ประวัติการใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดํา
การตรวจร่างกายโดยการตรวจร่างกายทั่วไป ซึ่งหากเป็นระยะที่แสดงอาการอาจพบว่ามีไข้ ไอ ต่อมน้ําเหลืองโต มีแผลในปาก มีฝ้าในปาก ติดเชื้อราในช่องคลอด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจหาเชื้อ HIV หรือส่วนประกอบของเชื้อ
การตรวจหา antibody ต่อเชื้อ HIV เป็นวิธีมาตรฐานสําหรับการวินิจฉัยการติดเชื้อ HIV
การตรวจนับเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 lymphocyte และการตรวจวัดปริมาณ viral load
ตรวจพิเศษการตรวจพิเศษอื่น ๆ เช่น ตรวจเสมหะและเอกซเรย์ ในรายที่สงสัยจะเป็นวัณโรคปอด หรือปอดอักเสบแทรก
การรักษา
ให้ยาต้านไวรัสแก่สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV
การให้ยาเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อฉวยโอกาสระหว่างตั้งครรภ์
การพิจารณาเจาะถุงน้ําคร่ําเพื่อชักนําการคลอด
หลีกเลี่ยงการโกนขนบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
หลังคลอดหลีกเลี่ยงการให้ยากลุ่ม ergotamine
หลีกเลี่ยงการใส่สายยางสวนอาหารในกระเพาะทารกโดยไม่จําเป็น
หลีกเลี่ยงการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
ทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อ HIV ทุกรายควรได้รับการดูแลรักษาโดยกุมารแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการให้ยาต้านไวรัส
การพยาบาล
คัดกรองสตรีตั้งครรภ์และสามีที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ให้ข้อมูลแก่สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับการดําเนินของโรค
แนะนําให้มาฝากครรภ์ตามนัดทุกครั้ง
ให้ความรู้แก่สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับหลักมาตรฐานในการควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ให้การพยาบาลด้วยท่าทีที่ปราศจากความรังเกียจ ให้กําลังใจ
ยึดหลัก universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
นมารดาหลังคลอดที่ได้รับยาต้านไวรัส EFV และ LPV/r อาจจะทําให้ประสิทธิภาพของการคุมกําเนิดของยาเม็ดคุมกําเนิดลดลง จึงควรใช้ยาเม็ดคุมกําเนิด
อธิบายให้มารดาหลังคลอดเข้าใจและตระหนักถึงความสําคัญของการนําทารกมาตรวจเลือด เพื่อประเมินการติดเชื้อ HIV
เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการช่วยเหลือทารกแรกเกิด
จัดให้บริการปรึกษาแก่มารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อ HIV อย่างต่อเนื่อง ภายหลังจําหน่ายออกจากโรงพยาบาลแล้ว
ดูแลให้ผู้คลอดและทารกได้รับยาต้านไวรัสตามแผนการรักษา
ทําคลอดด้วยวิธีที่ทําให้เกิดการบาดเจ็บต่อผู้คลอดกและทารกน้อยที่สุด
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซิฟิลิส หนองใน เริม และหูดหงอนไก่
หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งจนกว่าจะรักษาจนหายขาด
หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลและหนอง
บประทานยา ฉีดยา หรือทายาตามแผนการรักษา
แนะนําเกี่ยวกับความสําคัญของการมาตรวจตามนัด
ดูแลผู้คลอดโดยยึดหลัก universal precaution
หลีกเลี่ยงการทําหัตถการทางช่องคลอด
อธิบายให้เข้าใจถึงการดําเนินของโรค อันตรายของโรคต่อการตั้งครรภ์
ดูแลให้ผู้คลอดและทารกได้รับยาตามแผนการรักษา
แนะนําให้นําสามีมารับการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค
แนะนํามารดาหลังคลอดเกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย เครื่องใช้ส่วนตัว การกําจัดสิ่งปนเปื้อนสารคัดหลั่งอย่างถูกต้อง
คัดกรองและประเมินภาวะสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์
ประเมินอาการติดเชื้อของทารกแรกเกิด
แนะนําการเลี้ยงบุตร โดยล้างมือให้สะอาดก่อนจับทารกทุกครั้ง
ดูแลให้มารดาหลังคลอดและทารกได้รับยาป้องกันการติดเชื้อตามแผนการรักษา
แนะนําและดูแลมารดาหลังคลอดปกติ หรือหลังการผ่าตัดคลอด เช่นเดียวกับมารดาหลังคลอดทั่วไป และเน้นการกลับมาตรวจตามนัดหลังคลอด