Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อระบบขับถ่ายปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์ (Urinary system Infection…
การติดเชื้อระบบขับถ่ายปัสสาวะระหว่างตั้งครรภ์ (Urinary system Infection during pregnancy)
การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะในขณะตั้งครรภ์
มีการเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคที่สำคัญของระบบทางเดินปัสสาวะ โดยจะมีขนาดใหญ่มากโดยเฉพาะด้านขวา ทำให้มีการคั่งของน้ำปัสสาวะในไต ท่อไต ค้างอยู่นาน เป็นสาเหตุเกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ และมีการย้อกลับของเชื้อเข้าสู่ไต ทำให้เกิดภาวะ pyelonephritis ตามมา
มีการเปลี่ยนแปลงทางหน้าที่ของไต มีระบบหมุนเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น เพิ่มหน้าที่การกรองของไตขึ้น ทำให้ระดับ creatinine และ BUN ในเลือดลดต่ำลง หน้าที่ของ tubule ในการดูดซึมกลับของโซเดียม กรดอมิโนส่วนใหญ่ วิตามินชนิดที่ละลายน้ำได้และกลูโคสสูงขึ้น เพื่อเป็นการรักษาสมดุลของภาวะกรด-ด่าง ดูดซึมกลับของโปรตีนนี้น้อยมาก ทำให้ตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะได้ ค่าปกติของโปรตีนในปัสสาวะคือ 150 มิลลิกรัมใน 24 ชั่วโมง ถ้ามากกว่า 300 มิลลิกรัมใน 24 ชั่วโมงถือว่าผิดปกติ
ชนิดของการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและระบบขับถ่ายปัสสาวะขณะตั้งครรภ์
1. การติดชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะแต่ไม่แสดงอาการ (Asymptomatic bacteriuria:ASB)
ตรวจพบแบคทีเรียในปัสสาวะมากกว่า 150 colony forming unit/ml จากการเก็บปัสสาวะอย่างสะอาด 2 ครั้งติดต่อกัน โดยไม่มีอาการแสดงของการติดเชื้อ หากพบในขณะตั้งครรภ์ จำเป็นต้องได้รับการรักษาเนื่องจากขณะตั้งครรภ์จะมีการยืดขยายของทางเดินปัสสาวะ
2. การติดเชื้อเฉียบพลันที่กระเพาะปัสสาวะ (Acute cystitis)
เป็นการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ ร่วมกับมีอาการเจ็บปวดขณะถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย ปวดปัสสาวะจนต้องรีบปัสสาวะ (urgency) ปัสสาวะมีสีขุ่นหรือสีแดง มีไข้สูง อ่อนเพลีย และปวดบริเวณท้องน้อย หากเคยมีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะแบบไม่แสดงอาการมาก่อนจะมีโอกาสที่จะพัฒนากลายเป็นการติดเชื้อเฉียบพลันที่กระเพาะปัสสาวะได้ถึง 3 เท่า
3. การติดเชื้อเฉียบพลันที่กรวยไต (Acute pyelonephritis)
พบแบคทีเรียในปัสสาวะมากกว่า 105 cfu/ml ร่วมกับปัสสาวะเป็นหนอง มีไข้ หนาวสั่น และปวดบริเวณบั้นเอว หากเคยมีประวัติการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะชนิดไม่แสดงอาการมาก่อน อุบัติการณ์จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 13-40
4. กลุ่มอาการโรคไตรั่ว หรือโปรตีนรั่วในปัสสาวะ (Nephrotic syndrome)
พบโปรตีนในปัสสาวะมากประมาณ 5 กรัมต่อวัน โปรตีนในเลือดต่ำ ไขมันในเลือดสูง และมีอาการบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้ทารกในครรภ์น้ำหนักน้อย คลอดก่อนกำหนด ถ้าสตรีตั้งครรภ์มีความดันโลหตสูงด้วย สุขภาพของทารกในครรภ์จะเลวลงอย่างมาก
5. ภาวะไตวาย (Renal failure)
ไตวายเรื้อรัง (Chronic renal failure) มักมีสาเหตุจากโรคหลายอย่าง เช่น DM, SLE, glomreulonephritis ส่วนใหญ่มักจะไม่มีการตั้งครรภ์ หากตั้งครรภ์ได้ต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด ถ้าสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์เลวลงอาจพิจารณายุติการตั้งครรภ์
ไตวายเฉียบพลัน (acute renal failure) มีสาเหตุจากการแท้งติดเชื้อ preeclampsia with severe failure, hemlytic uremia symdrome ปัจจุบันสามารถดูแลภาวะนี้ได้ดี ทำให้มารดาที่มีภาวะนี้ได้รับการดูแลและสามารถตั้งครรภ์ต่อไปได้
สาเหตุและปัจจัยเสริม
การติดเชื้อ Escherichia Coli (E. Coli) ที่อยู่รอบท่อปัสสาวะ โดยมีปัจจัยเสริม คือ การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนขณะตั้งครรภ์ ทำให้ท่อไตตึงตัว การเคลื่อนไหวและการหดรัดตัวของท่อไตลดลง ประสิทธอภาพในการดูดซุมกลับลดลง ทำให้ปัสสาวะค้างอยู่ในทางเดินปัสสาวะมากขึ้น มดลูกมีการขยายขนาดใหญ่ขึ้นและกดเบียดกระเพาะปัสสาวะเกิดการบิดงอขับปัสสาวะออกไม่สะดวก ปัสสาวะค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะและกรวยไตอักเสบเฉียบพลันตามมา
พยาธิสรีรวิทยา
การติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณปากช่องคลอด หรือทวารหนักใกล้ท่อปัสสาวะ ย้อนกลับขึ้นไป (ascending infection) ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและหารทำงานของ ระบบทางเดินปัสสาวะขณะตั้งครรภ์
อาการและอาการแสดง
ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (Lower UTI)
ท่อปัสสาวะอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ สตรีตั้งครรภ์จะมีอาการปัสสาวะวบ่อย ปัสสาวะแสบขัด กระปิดกระปรอย กลั้นปัสสาวะไม่ได้ บางรายอาจพบปัสสาวะเป็นเลือดหรือสีน้ำล้างเนื้อ ปวดบริเวณหัวหน่าว
ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะส่วนบน (Upper UTI)
กรวยไตอักเสบ โดยจะพบปัสสาวะเป็นสีขุ่น หรือสีน้ำล้างเนื้อ เจ็บบริเวณชายโครง ปวดหลังบริเวณตำแหน่งของไต มีไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ อาเจียน หากอาการรุนแรงอาจมีอาการของการติดเชื้อในกระแสเลือด และหากไม่ได้รับการรักษาอาจช็อกและเสียชีวิต
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
เกิดการแท้ง การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และ/หรือถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด ในรายที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดอาจเกิด septic shock
ผลกระทบต่อทารก
ทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักตัวน้อย ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ และทารกตายคลอด
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติ
การติดเชื้อของระบบทางเดินอาหาร
อาการและอาการแสดงของการติดเชื้อของระบบสืบพันธุ์
ปัสสาวะลำบาก
ปัสสาวะไม่สุก
ปัสสาวะเป็นเลือด
การตรวจร่างกาย
พบปัสสาวะขุ่น หรือปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ
มีไข้
ปวดบริเวณท้องน้อยเหนือหัวหน่าว
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจ Urine analysis จะพบไข่ขาว เม็ดเลืดขาว
ตรวจ urine culture จะพบเชื้อแบคทีเรียมากกว่า 105 dfu/ml
แนวทางการป้องกันและรักษา
การป้องกัน
แนะนำให้ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งหลังขับถ่าย
แนะนำให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
ทำการตรวจคัดกรองการติดเชื้อตั้งแต่ต้น
การรักษา
รายที่มีการติดเชื้อแบบ ASB จำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวะนะเพื่อการรักษาทุกราย เพื่อป้องกันการเกิด upper UTI
รายที่มีการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะที่มีความไวต่อเชื้อและปลอดภัยต่อมารดาและทารกมากที่สุด
รายที่เป็นกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน ต้องรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ และให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ พร้อมทั้งส่งตรวจ Urine culture
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินของโรค
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับสตรีตั้งครรภ์และทารก
เน้นความสำคัญของการมาตรวจครรภ์ตามนัดอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
แนะนำการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
พักผ่อนอย่างเพียงพอ
ดูแลรักษาความสะอาดของร่ายกายโดยเฉพาะอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
แนะนำให้สังเกตอาการผิดปกติที่ต้องรีบพบแพทย์
ระยะคลอด
ให้การพยาบาลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป และเน้นเรื่องการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกทุกครั้งหลังการขับถ่าย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ระยะหลังคลอด
การป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
ให้คำแนะนำเช่นเดียวกับคำแนะนำเพื่อป้องกันการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ โดยเน้นการคุมกำเนิดในรายที่มีบุตรเพียงพอแล้วหรือเป็นโรคเรื้อรังควรคุมกำเนิดแบบถาวร