Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อที่มาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (sexually transmittedinfections…
การติดเชื้อที่มาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (sexually transmittedinfections: STIs)
การตกขาวผิดปกติ
การตกขาวจากการติดเชื้อรา (Vulvovaginal candidiasis)
เกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงขณะตั้งครรภ์ ทําให้เนื้อเยื่อและผิวหนังอ่อนนุ่มลง บอบบางมากขึ้น จึงมีโอกาสติดเชื้อราได้มากกว่าสตรีที่ไม่ได้ตั้งครรภ์และเชื้อราที่ทําให้เกิดการตกขาวผิดปกติได้ถึงร้อยละ 80-90 เกิดจากเชื้อรากลุ่ม candida albicans ซึ่งมีระยะฟักตัว 1-4 วัน
ปัจจัยและปัจจัยเสี่ยง
การรับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษาบางชนิดอย่างต่อเนื่อง
การได้รับฮอร์โมนสเตียรอยด์ และได้รับยากดภูมิต้านทานทําให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง
การรับประทานยาคุมกําเนิดชนิดที่มีปริมาณฮอร์โมนมาก (high dose)
ภูมิต้านทานของร่างกายถูกกดจากการเป็นโรคเอดส์ หรือการได้รับเคมีบําบัด
การสวมใส่ชุดชั้นในที่แน่นเกินไป ทําให้เกิดความอับชื้น เชื้อราเจริญได้ง่าย
การใช้น้ํายาล้างทําความสะอาดช่องคลอด และปากช่องคลอดบ่อยๆ
อาการและอาการแสดง
ประมาณร้อยละ 20 ของผู้ติดเชื้อราจะไม่มีอาการ
มีอาการคันและระคายเคืองมากในช่องคลอดและปากช่องคลอด
อาจมีอาการเจ็บขณะร่วมเพศ (dyspareunia)
มีอาการปัสสาวะลําบาก และแสบขัดตอนสุด (external dysuria)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์การตั้งครรภ์
มีความระคายเคือง คันช่องคลอดมากขึ้น การติดเชื้อราในช่องคลอดทั้งแบบไม่มีอาการและมีอาการ ไม่มีผลเสียต่อการตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อทารก
ทารกที่คลอดทางช่องคลอดจากมารดาที่มีการติดเชื้อราในช่องคลอด จะเป็นเชื้อราในช่องปาก (oral thrush) ได้มากกว่าปกติ 2-35 เท่า
การประเมินและการวินิจฉัย
ตรวจภายในพบช่องคลอดบวมแดง และตกขาวมีลักษณะขุ่นรวมตัวกันเป็นก้อนเหมือนนมตกตะกอน
ตรวจด้วยวิธี wet mount smear จะพบเซลล์ของยีสต์ (yeast cell) และเส้นใยของเซลล์เชื้อรา (mycelium) pH น้อยกว่า 4.5
ตรวจด้วยวิธีแกรมสเตน (gram stain) จะพบลักษณะเป็นเหมือนเส้นด้าย (gram positive pseudomycelial threads) และมีรูปร่างเหมือนยีสต์ (yeast-like form)
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์ เข้าใจสาเหตุของการติดเชื้อ และการดูแลตนเองให้มีอาการสุขสบายขึ้นจากอาการคันในช่องคลอด
แนะนําการใช้ยาทา และยาเหน็บช่องคลอดตามแพทย์สั่ง
ทำความสะอาดชุดชั้นในต้องซักให้สะอาดและตากแดดให้แห้งเสมอ
ระยะคลอด สามารถให้คลอดทางช่องคลอดได้ตามปกติ
ระยะหลังคลอด
การดูแลมารดาหลังคลอดเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
เน้นการดูแลความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาดและแห้งเสมอ
สามารถเลี้ยงดูบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยต้องล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
ทารกแรกเกิดอาจมีการติดเชื้อในช่องปาก ซึ่งจะพบมีฝ้าขาวในช่องปาก ให้ปรึกษากุมารแพทย์เพื่อการดูแลทารกต่อไป
การตกขาวจากการติดเชื้อพยาธิ(vaginal trichomoniasis)
อาการและอาการแสดง
ผู้ติดเชื้อร้อยละ 50 มักจะพบโรคคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นร่วมด้วยเช่น หนองใน (gonorrhea) ปากมดลูกอักเสบแบบมูกปนหนอง (mucopurulent cervicitis) หูดหงอนไก่ (condyloma acuminata) เชื้อราในช่องคลอด (vulvovaginal candidiasis) เป็นต้น
ลักษณะของตกขาวมีสีขาวปนเทา หรือสีเหลืองเขียว ตกขาวเป็นฟอง (foamy discharge) มีกลิ่นเหม็น
มีอาการระคายเคืองที่ปากช่องคลอด ในช่องคลอด ปากช่องคลอดบวมแดง
อาจมีอาการปัสสาวะแสบขัดหรือบ่อย ปวดแสบปวดร้อนบริเวณต้นขาด้านใน
เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด มีความสัมพันธ์กับภาวะถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกคลอดก่อนกําหนด และทารกแรกเกิดมีน้ําหนักตัวน้อย
การประเมินและวินิจฉัย
ตรวจภายในช่องคลอด พบตกขาวเป็นฟองสีเหลือเขียว อาจพบจุดเลือดออกเป็นหย่อมๆ ที่ผิวปากมดลูก
ตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วยwet mount smear จะพบเม็ดเลือดขาวจํานวนมาก
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
แนะนําการเหน็บยา หรือการรับประทานยาตามแผนการรักษาอย่างถูกต้องและสม่ําเสมอ
แนะนําให้สามีมารับการรักษาพร้อมกัน
แนะนําการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยโดยการสวมถุงยางอนามัย
แนะนําการรักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้แห้งสะอาดเสมอ
ระยะคลอด
ให้การพยาบาลผู้คลอดในระยะคลอด โดยให้คลอดทางช่อคลอดได้ตามปกติ
ระยะหลังคลอด
แนะนําให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
หากอาการยังไม่ดีขึ้น ให้พบแพทย์และดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกเสมอ
ต้องได้รับการรักษาทั้งสามีและภรรยาให้หาย ในช่วงที่มีอาการ อาจต้องงดการมีเพศสัมพันธ์ และรักษาให้หาย
การตกขาวจากการติดเชื้อแบคทีเรีย(bacterial vaginosis)
อาการและอาการแสดง
มีอาการคัน ปวดแสบปวดร้อนปากช่องคลอด ในช่องคลอด ถ่ายปัสสาวะลําบาก แสบขัด เจ็บขณะร่วมเพศ ตกขาวสีขาว สีเทา หรือสีเหลือง ข้นเหนียว มีกลิ่นเหม็นเน่าเหมือนคาวปลา (fishy smell)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ถ้าไม่ได้รักษา อาจทําให้มีการติดเชื้อราได้ง่ายขึ้น
อาจทําให้เกิดการแท้งติดเชื้อ (septic abortion)ถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนดและเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด
มารดาหลังคลอดอาจมีไข้ ปวดท้องมากและมีอาการแสดงของเยื่อบุมดลูกอักเสบ (endometritis)
ผลกระทบต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ําหนักตัวน้อย และทารกคลอดก่อนกําหนด
อาจตรวจพบว่ามีเชื้อแบคทีเรียในหลอดลมทําให้มีภาวะหายใจลําบาก มีแบคทีเรียในเลือด
การประเมินและวินิจฉัย
ตรวจทางช่องคลอดและการทํา pap smear จะพบเชื้อแบคทีเรียตรวจความเป็นกรด-ด่างในช่องคลอด จะได้ผลมีฤทธิ์เป็นด่าง ค่า pH มากกว่า 4.5
ตรวจ Wet smear จะได้กลิ่นเหม็นเน่าเหมือนคาวปลา
การเพาะเชื้อ (culture) ตกขาวใน columbia agar ที่มีเลือดเป็นส่วนผสม
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
รับประทานยาตามแพทย์สั่งให้ครบ และเน้นย้ําให้เห็นความสําคัญของการมาตรวจตามนัด
รักษาความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกไม่ให้อับชื้นโดยใช้น้ําธรรมดา หลีกเลี่ยงการใช้สบู่
แนะนําให้พาสามีไปตรวจและรักษาโรคพร้อมกัน
แนะนําการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
ระยะคลอด
ผู้คลอดสามารถคลอดทางช่องคลอดได้ตามปกติ โดยให้การพยาบาลเหมือนผู้คลอดทั่วไป
ระยะหลังคลอด
เน้นการทําความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ให้สะอาดและแห้งเสมอ
หากมีอาการผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์ทันที
สามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยเน้นเรื่องการล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
ซิฟิลิส (Syphilis)
พยาธิสรีรภาพ
ภายหลังได้รับเชื้อสู่ร่างกาย ประมาณ 10-14 วัน ร่างกายจะสร้างantibody ต่อเชื้อชนิด IgM และ IgG ขึ้นมา
เชื้อจะแบ่งตัวทําให้บริเวณผิวหนังหรือบริเวณเนื้อเยื่อที่เชื้อผ่านเข้าไปจะเกิดการระคายเคือง เกิดปฏิกิริยา lymphocyte และ plasma cell reaction มาล้อมรอบเนื้อเยื่อที่มีการอักเสบ
ทําให้ผนังหลอดเลือดหนาตัวและบวม
เกิดจากการติดเชื้อ Treponema pallidum (T. Pallidum) มีระยะฟักตัวประมาณ 10-90 วัน โดยเฉลี่ยประมาณ 3 สัปดาห์
อาการและอาการแสดง
ซิฟิลิสระยะแรก หรือระยะที่หนึ่ง (primary stage) หลังจากได้รับเชื้อ 10-90 วัน หรือประมาณ 3 สัปดาห์ จะเกิดแผล กลม นิ่ม ขอบนูนแข็ง ไม่เจ็บ เรียว่าแผล chancre บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกหรือในช่อง
คลอดและปากมดลูก ต่อมน้ําเหลืองบริเวณขาหนีบโตแต่กดไม่เจ็บมักจะพบเพียง 1 แผล
ซิฟิลิสระยะที่สอง (secondary stage)ขณะที่แผลกําลังจะหาย ยผื่นที่พบบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์จะยกนูน ร่วมกับมีอาการไข้ ต่อมน้ําเหลืองโต เจ็บคอ ผมร่วงเป็นหย่อมๆ ปวดศีรษะ น้ําหนักลด ซึ่งอาการในระยะนี้จะหายได้เองแม้ไม่ได้รับการรักษา
ระยะแฝง (latent syphilis)ระยะนี้จะไม่มีอาการใดๆ แต่กระบวนการติดเชื้อยังดําเนินอยู่และสามารถแพร่กระจายเชื้อได้
ซิฟิลิสระยะที่ 3 หรือระยะท้ายของโรคซิฟิลิส (tertiary syphilis) ระยะนี้เชื้อจะเข้าไปทําลายระบบหัวใจและหลอดเลือด ทําให้เกิด aortic aneurysm และ aortic insufficiency
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ทําให้ผิวหนังและเนื้อเยื่ออักเสบ คลอดก่อนกําหนด และแท้งบุตร
ผลต่อทารก
ทารกคลอดก่อนกําหนด
ตายคลอด
ทารกแรกเกิดติดเชื้อซิฟิลิส(neonatalsyphilis)
ทารกพิการแต่กําเนิด
แนวทางการรักษา
ยึดหลักการรักษาให้หาย ครบถ้วน และต้องให้สามีมารับการตรวจและรักษาพร้อมกัน
ให้ยา Penicillin Gซึ่งเป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาซิฟิลิสในสตรีตั้งครรภ์ และป้องกันการติดเชื้อของทารก
การรักษาในระยะ primary, secondary และ early latent syphilisรักษาด้วยBenzathine Penicillin G Sodium 2.4 ล้านยูนิต ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะโพกครั้งเดียว
การรักษาในระยะ late latent syphilis จะรักษาด้วย Benzathine Penicillin G Sodium 2.4 ล้านยูนิต ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะพก 3 สัปดาห์ติดต่อกัน
หนองใน (Gonorrhea)
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อเชื้อ Neiseria gonorrheaeเข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปเกาะติดกับเซลล์เยื่อบุและเซลล์ขับเมือก
โดยจะพยายามผ่านเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเข้าไปเพิ่มจํานวนเซลล์ในชั้น subepithelial tissue
จากนั้นเชื้อ Neiseria gonorrheaeจะทําปฏิกิริยากับภูมิต้านทานของร่างกาย
ทําให้เกิดสารเคมีที่เป็นพิษต่อเซลล์และเนื้อเยื่อ ส่งผลให้เนื้อเยื่ออักเสบเป็นหนอง
อาการและอาการแสดง
มีการอักเสบของปากมดลูกและช่องคลอดทําให้ตกขาวเป็นหนองข้นปริมาณมาก
อาจพบอาการกดเจ็บบริเวณต่อมบาร์โธลิน (bartholin’s gland)
หากมีการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างจะพบอาการปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกระปิดกระปรอย เป็นหนองข้น และปัสสาวะเป็นเลือด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ไม่มีอาการ
มีบุตรยาก
กรณีที่มีอาการขณะตั้งครรภ์จะทําให้ถุงน้ําคร่ําอักเสบและติดเชื้อ ถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด แท้งบุตร และการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด
ผลกระทบต่อทารก
ทารกแรกเกิดที่คลอดปกติผ่านทางช่องคลอดมีการติดเชื้อหนองในที่ปากมดลูก ช่องคลอด หรืออวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก โดยเฉพาะบริเวณเยื่อเมือกที่ตาของทารก ทําให้เกิดตาอักเสบ (gonococcal ophalmia neonatorum) และอาจเป็นสาเหตุให้ตาบอดได้
การประเมินและวินิจฉัย
ตรวจทางช่องคลอดจะพบหนองสีขาวขุ่น บางรายอาจพบเลือดปนหนอง หากมีการอักเสบมากขาหนีบจะบวม กดเจ็บบริเวณต่อมบาร์โธลิน หรือต่อมข้างท่อปัสสาวะ
ประวัติเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อหนองในหรือมีประวัติเคยป่วยด้วยโรคหนองในมาก่อน รวมถึงประวัติเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อหนองใน
แนวทางการรักษา
หากพบว่ามีเชื้อให้ยา ceftriaxone, azithromycin, penicillin ได้ทั้งรับประทานและฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ทั้งนี้ควรระวังเรื่องของการเพิ่มของ blood level ระหว่างที่ได้รับยา
ทารกแรกเกิดทุกรายควรได้รับยาป้ายตาคือ 1% tetracycline ointment หรือ 0.5% erythromycin ointmentหรือ 1% Silver nitrate (AgNO3)หยอดตาตาทารก หลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตา
ทารกที่พบว่ามีการติดเชื้อหนองในควรได้รับยาปฏิชีวนะceftriaxone ตามแผนการรักษาของกุมารแพทย์
การรักษาในสตรีตั้งครรภ์ควรคํานึงว่ามีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นร่วมด้วยหรือไม่ เช่น ซิฟิลิส HIV เป็นต้น หากมีควรรักษาพร้อมกัน รวมถึงต้องตรวจและรักษาคู่นอนด้วยเช่นกัน
การติดเชื้อเริม (Herpes simplex)
พยาธิสรีรภาพ
ภายหลังจากเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะทําให้ผิวหนังเป็นตุ่มน้ําใส เล็กๆจํานวนมาก
มื่อตุ่มน้ําแตก หนังกําพร้าจะหลุดพร้อมกับทําให้เกิดแผลตื้น ทําให้รู้สึกปวดแสบปวดร้อนที่แผล
ขณะเดียวกันเชื้อก็จะเดินทางไปแฝงตัวที่ปมประสาท และกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ํา
อาการและอาการแสดง
ปวดแสบปวดร้อน และคันบริเวณที่สัมผัสโรค
จากนั้นจะกลายเป็นตุ่มน้ําใสๆ แล้วแตกกลายเป็นแผลอยู่ 2 สัปดาห์
ก่อนจะตําสะเก็ด บางรายอาจมีอการคล้ายหวัด ได้แก่ ไข้ต่ําๆ อ่อนเพลัย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมน้ําเหลืองที่ขาหนีบโต
ผู้ที่เคยติดเชื้อ HSV มักจะเกิดการติดเชื้อซ้ําเมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ํา
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อครั้งแรกขณะตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้ง
การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด
ผลกระทบต่อทารก
ทารกมีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์
ทารกคลอดก่อนกําหนด
หากทารกมีการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ จะทําให้เกิดความพิการแต่กําเนิดสูง ส่งผลให้ทารกเสียชีวิตได้
หากให้คลอดทางช่องคลอดทารกอาจติดเชื้อขณะคลอดได้
การประเมินและการวินิจฉัย
คยติดเชื้อเริมมาก่อนหรือไม่ หรือเคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นเริมที่อวัยวะสืบพันธ์
ตรวจร่างกายพบตุ่มน้ําใส หากตุ่มน้ําแตกจะพบแผลอักเสบ แดง ปวดแสบปวดร้อนบริเวณขอบแผลค่อนข้างแข็ง แต่ไม่ติดแน่นกับอวัยวะข้างเคียงเหมือนกับแผลจากการติดเชื้อซิฟิลิส อาจพบต่อน้ําเหลืองที่ขาหนีบโตแบบกดไม่เจ็บ
การเพาะเชื้อใน Hank’s medium, pap smear
แนวทางการรักษา
รักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น ให้ยาแก้ปวด ยาปฏิชีวนะในรายที่มีการติดเชื้อซ้ําเติม ล้างแผลด้วย NSS
ให้ Acyclovir 200 mg รับประทานวันละ 5 ครั้ง นาน5-7 วัน
การรักษาในระยะคลอด
กรณีที่เคยติดเชื้อเริมมาก่อน แต่ขณะคลอดตรวจไม่พบรอยโรคหรือไม่มีอาการของการติดเชื้อ ให้คลอดทางช่องคลอด และเฝ้าระวังทารก เพื่อดูอาการของการติดเชื้อเริม
กรณีที่พบรอยโรคขณะคลอดไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อครั้งแรก หรือติดเชื้อซ้ํา ให้คลอดโดยการผ่าตัดคลอด และเฝ้าระวังทารกเพื่อดูอาการของการติดเชื้อเริม
หูดหงอนไก่ (Condyloma acuminate)
เกิดจากการติดเชื้อ human papilloma virus (HPV) มีระยะฟักตัวนาน 2-3 เดือน ติดต่อจากการสัมผัสรอยโรคโดยเฉพาะทางเพศสัมพันธ์
อาการและอาการแสดง
มีรอยโรคเป็นติ่งเนื้อสีชมพูคล้ายหงอนไก่ ขนาดแตกต่างกัน มักเกิดบริเวณอับชื้น
การติดเชื้อขณะตั้งครรภ์รอยโรคจะขยายใหญ่ มีผิวขรุยระคล้ายดอกกะหล่ําและยุ่ยมาก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
หากเกิดรอยโรคใหญ่อาจขัดขวางช่องทางคลอด หรือทําให้เกิดการตกเลือดหลังคลอด
มารดาหลังคลอดมีโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูกได้
ผลต่อทารก
ทารกอาจติดเชื้อหูดหงอนไก่ระหว่างตั้งครรภ์และขณะคลอด
บางรายอาจเกิด laryngeal papillomatosis
การประเมินและการวินิจฉัย
ประวัติเคยติดเชื้อหูดหงอนไก่มาก่อน หรือเคยมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นหูดหงอนไก่
ตรวจร่างกายพบรอยโรคเป็นติ่งเนื้อสีชมพูคล้ายหงอนไก่ ผิวขรุขระคล้ายดอกกะหล่ําบริเวณปากช่องคลอด ในช่องคลอด หรือบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา หรือตรวจ Pap smear หรือตรวจหาเชื้อ HPV โดยวิธี Polymerase Chain Reaction (PCR) หรือการตรวจ DNA (DNA probe)
แนวทางการรักษา
ทาบริเวณรอยโรคด้วย 85% trichlorracetic acid หรือ bichloroacetic acid ทุก 7-10 วัน
ใช้ยาท่าร่วมกับการจี้ laser หรือ cryosurgery หรือ electrocoagulation with curettage
แนะนําการรักษาความสะอาด หลีกเลี่ยงการอับชื้นบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ระยะคลอดหากหูดหงอนไก่มีขนาดใหญ่ อาจพิจารณาผ่าตัดคลอด เพื่อหลีกเลี่ยงการคลอดติดขัดและการตกเลือดหลังคลอด
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
แนะนําให้นําสามีมารับการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค และหากมีการติดเชื้อแนะนําให้รักษาพร้อมกัน และติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง
อธิบายให้เข้าใจถึงการดําเนินของโรค อันตรายของโรคต่อการตั้งครรภ์ แผนการรักษาพยาบาล
แนะนําการปฏิบัติตัวของสตรีตั้งครรภ์และสามี
ระยะคลอด
ดูแลผู้คลอดโดยยึดหลัก universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
หลีกเลี่ยงการทําหัตถการทางช่องคลอด
ดูแลให้ผู้คลอดและทารกได้รับยาตามแผนการรักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ระยะหลังคลอด
ให้การพยาบาลมารดาหลังคลอดโดยยึดหลัก universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
แนะนํามารดาหลังคลอดเกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย เครื่องใช้ส่วนตัว
ประเมินอาการติดเชื้อของทารกแรกเกิด ได้แก่ มีไข้ อ่อนเพลีย ดูดนมไม่ดี ตัวเหลือง ชัก หรือมีแผล herpes ตามร่างกาย
ประเมินอาการติดเชื้อของทารกแรกเกิด ได้แก่ มีไข้ อ่อนเพลีย ดูดนมไม่ดี ตัวเหลือง ชัก หรือมีแผล herpes ตามร่างกาย
การติดเชื้อเอชไอวีในสตรีตั้งครรภ์ (Human Immunodeficiency Virus [HIV]during pregnancy)
การแพร่เชื้อจากมารดาสู่ทารก
เชื้อไวรัสสามารถผ่านทางรก โดยผ่านเซลล์ trophoblast และ macrophages เข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดของทารกในครรภ์
ระหว่างคลอดทารกจะสัมผัสกับเลือดของมารดา น้ําคร่ํา และสารคัดหลั่งในช่องคลอดของมารดา
การสัมผัสกับสารคัดหลั่งของมารดา แต่ส่วนใหญ่มักจะติดเชื้อจากน้ํานมมารดา
พยาธิสรีรภาพ
ภายหลังการติดเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกาย เชื้อ HIV จะใช้ส่วน GP120 ที่ผิวของเชื้อ HIV จับกับ CD4 receptor ของเซลล์เม็ดเลือดขาว
จากนั้นเชื้อ HIV จะเข้าไปในเซลล์เม็ดเลือดขาวเหล่านั้น แล้วใช้ enzyme reverse transcriptaseสร้างviral DNA แทรกเข้าไปในนิวเคลียสของเซลล์เม็ดเลือดขาวแล้วเพิ่มจํานวนเม็ดเลือดขาวที่มีเชื้อไวรัส HIV
ทําให้ร่างกายมีเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ HIV จํานวนมาก ซึ่งเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ HIV จะแตกสลายง่าย ส่งผลให้เม็ดเลือดขาวในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว ทําให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อ
อาการและอาการแสดง
ระยะเริ่มแรกของการติดเชื้อ HIV
ประมาณ 1-6 สัปดาห์หลังติดเชื้อ จากนั้นจะเริ่มมีไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นขึ้น ต่อมน้ําเหลืองโต
บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว หรือมีฝ้าขาวในช่องปาก
ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ
ระยะนี้ร่างกายจะแข็งแรงเป็นปกติเหมือนคนทั่วไป
แต่หากตรวจเลือดจะพบเชื้อ HIV และ antibody ต่อเชื้อ HIV และสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ ดยไม่มีอาการจะนาน 5-10 ปี บางรายอาจนานมากกว่า 15 ปี
ระยะติดเชื้อที่มีอาการ
มีอุณหภูมิร่างกายสูงมากกว่า 37.80C เป็นพักๆ หรือติดต่อกันทุกวัน
ท้องเดินเรื้อรัง หรืออุจจาระร่วงเรื้อรัง น้ําหนักลดเกิน 10% ของน้ําหนักตัว
ต่อมน้ําเหลืองโตมากกว่า 1 แห่ง เป็นงูสวัด
พบเชื้อราในปากหรือฝ้าขาว (hairy leukoplakia) ในช่องปาก
ระยะป่วยเป็นเอดส์
ไข้ ผอม ต่อมน้ําเหลืองโตหลายแห่ง ซีด
อาจพบลิ้นหรือช่องปากเป็นฝ้าขาวจากเชื้อรา
แผลเริมเรื้อรัง ผิวหนังเป็นแผลพุพอง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV และมีปริมาณ CD4 ต่ํา มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อฉวยโอกาสได้ง่ายขึ้น
ผลกระทบต่อทารก
มีโอกาสที่ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ทารกคลอดก่อนกําหนด ทารกแรกเกิดน้ําหนักตัวน้อย ทารกมีขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์ และทารกตายคลอด
การประเมินและการวินิจฉัย
การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ หรือสงสัยว่าจะติดเชื้อ ประวัติการใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดํา
ตรวจร่างกายหากเป็นระยะที่แสดงอาการอาจพบว่ามีไข้ ไอ ต่อมน้ําเหลืองโต มีแผลในปาก มีฝ้าในปาก ติดเชื้อราในช่องคลอด
นิจฉัยการติดเชื้อได้ภายหลังการสัมผัสเชื้อ 1 เดือน โดยวิธี HIV viral testing, การตรวจหา antibody, การตรวจนับเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 lymphocyte และการตรวจวัดปริมาณ viral load
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
คัดกรองสตรีตั้งครรภ์และสามีที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ โดยให้คําปรึกษาก่อนและหลังการตรวจเลือด
ให้ข้อมูลแก่สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับการดําเนินของโรค โอกาสในการแพร่กระจายเชื้อจากมารดาสู่ทารก
แนะนําให้มาฝากครรภ์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อประเมินสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ รวมทั้งประเมินอาการของโรคเอดส์
ให้ความรู้แก่สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเกี่ยวกับหลักมาตรฐานในการควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
แนะนําการปฏิบัติตัวของสตรีตั้งครรภ์เช่น รับประทานยาตามแผนการรักษา รักษาความสะอาดของร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับบุคคลที่ติดเชื้อ เป็นต้น
ระยะคลอด
ดูแลผู้คลอดโดยยึดหลัก universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ให้การดูแลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป ได้แก่ ประเมินสัญญาณชีพ และเสียงหัวใจทารกอย่างใกล้ชิด ติดตามความก้าวหน้ายองการคลอด สังเกตความผิดปกติต่าง ๆ
ทําคลอดด้วยวิธีที่ทําให้เกิดการบาดเจ็บต่อผู้คลอดกและทารกน้อยที่สุด และหลีกเลี่ยงการใช้สูติศาสตร์หัตถการที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
ดูแลให้ผู้คลอดและทารกได้รับยาต้านไวรัสตามแผนการรักษา เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากมารดาไปสู่ทารก
ประเมินอาการเปลี่ยนแปลงและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้แก่ ภาวะตกเลือดหลังคลอด ภาวะติดเชื้อ ภาวะซีด ความผิดปกติทางโลหิตวิทยา และเม็ดเลือดขาวต่ํา
ระยะหลังคลอด
ดูแลมารดาหลังคลอดโดยยึดหลัก universal precaution
ให้คําแนะนําแก่มารดาหลังคลอดเพื่อป้งอกันการแพร่กระจายเชื้อ เช่นหลีกเลี่ยงเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา แนะนําให้ใส่เสื้อชั้นในที่คับเพื่อยับยั้งการสร้างและหลั่งน้ํานม แนะนําวิธีป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่บุคคลอื่น การกําจัดสารคัดหลั่งอย่างถูกวิธี เป็นต้น
อธิบายให้มารดาหลังคลอดเข้าใจและตระหนักถึงความสําคัญของการนําทารกมาตรวจเลือด เพื่อประเมินการติดเชื้อ HIV และมารับภูมิคุ้มกันโรคตามปกติ