Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์ —Pngtree—pregnant woman_5418675 - Coggle…
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อไวรัสรับอักเสบชนิดเอ (hepatitis A virus: HAV)
อาการ
อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และปวดศีรษะ มักไม่มีอาการของดีซ่าน แต่เมื่อใดที่ตรวจพบน้ําดีในปัสสาวะแสดงว่าตับมีการทํางานผิดปกติ ซึ่งทําให้มีอาการตับเหลือง ตาเหลือง ตรวจพบalkaline phosphatase เพิ่มขึ้น อาการจะมีอยู่ 10-15 วัน จากนั้นจะเข้าสู่ระยะพักฟื้น และหายจากการเป็นโรค
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
การตั้งครรภ์ไม่มีผลทําให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น หากมีการติดเชื้อHAV ขณะตั้งครรภ์นั้น ร่างกายมารดาจะสร้าง antibody ต่อเชื้อ HAV ซึ่งสามารถผ่านไปยังทารกในครรภ์ได้ และมีผลคุ้มกันทารกไปจนถึงหลังคลอดประมาณ 6-9 เดือนจากนั้นจะหมดไป
ตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบเอ (hepatitis A virus: HAV)เกิดจากการติดเชื้อ hepatitis A virus ซึ่งเชื้อไวรัสสามารถทําให้ตับเกิดการอักเสบ ไวรัสตับอักเสบเอ ติดต่อโดยการรับประทานอาหารหรือน้ําที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคตับอักเสบเอเข้าไป เชื้อไวรัสจะผ่านกระเพาะไปยังลําไส้ จากนั้นประมาณ 15-50 วัน (เฉลี่ย 28 วัน) เชื้อจะกระจายเข้าสู่ตับทําให้ตับเกิดการอักเสบเฉียบพลัน
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย ตรวจพบลักษณะอาการทางคลินิกของการติดเชื้อ HAV เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด และอาจมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจหา antibody-HAV และ IgM-anti HAV และตรวจการทํางานของตับ
การซักประวัติ เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การขับถ่าย การสัมผัสเชื้อโรค
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษา การดูแลตนเองที่เหมาะสม
แนะนําเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว
รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และย่อยง่าย และดื่มน้ําให้เพียงพอ
มาตรวจตามนัดเพื่อประเมินสภาวะของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อตับ ได้แก่ acetaminophen และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
พักผ่อนอย่างเพียงพอ
การติดเชื้อไวรัสซิก้า(Zika)
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
มักแสดงอาการมากในไตรมาสที่ 3อาการที่พบบ่อยในคือ มีผื่นขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ และบางการศึกษาพบผื่นหลังคลอด อาการอื่น ๆ ที่พบ คือ อาการไข้ หนาวสั่นรู้สึกไม่สุขสบาย ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อตึงตัว ต่อมน้ําเหลืองโต ปวดตามร่างกาย ซีด บวม ตามปลายมือปลายเท้า คลื่นไส้ อาเจียน เลือดออกตามผิวหนัง และอาการทางระบบทางเดินหายใจ
ทารก
ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท ตาและการมองเห็น ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ทารกตายในครรภ์ และตายหลังคลอด นอกจากนี้ภาวะศีรษะเล็กในทารกเป็นภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทหลักที่พบได้
อาการ
เมื่อได้รับเชื้อระยะฟักตัวอยู่ที่ประมาณ 3-12 วัน ส่วนใหญ่มักมีอาการไข้ ผื่นแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน โดยจะมีอาการที่ไม่รุนแรง และจะมีอาการเหล่านี้อยู่ประมาณ 2-7 วัน ทำให้พบอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างน้อย ยกเว้นในสตรีตั้งครรภ์ซึ่งอาจจะส่งผลให้ทารกที่คลอดมามีศีรษะเล็กกว่าปกติโดยเฉพาะการติดเชื้อนี้ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
การวินิจฉัย
การทดสอบทางห้องปฏิบัติการโดยใช้สิ่งส่งตรวจ เช่นเลือด ปัสสาวะ น้ําลาย เทคนิคที่ใช้ในการตรวจ ได้แก่ การตรวจหาพันธุกรรมของเชื้อด้วยวิธี ReverseTranscriptase Polymerase Chain Reaction (RT-PCR) และการตรวจหาภูมิคุ้มกัน (IgM) ด้วยวิธี ELISA
การตรวจร่างกายมีไข้ อ่อนแรง เยื่อบุตาอักเสบ ต่อมน้ําเหลืองโต ตัวเหลือง ซีด บวมปลายมือปลายเท้า เลือดออกตามผิวหนัง มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ
การซักประวัติโดยการซักประวัติอาการของผู้ป่วย
การตรวจพิเศษการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อประเมินเส้นรอบศีรษะทารกในครรภ์
โรคติดเชื้อไวรัสซิกาหรือไข้ซิกา (Zika Virus Disease; ZIKV) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อฟลาวิไวรัส(Flavivirus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนําโรค ซึ่งเป็นยุงชนิดเดียวกับที่เป็นพาหะนําโรค โรคไข้เลือดออก
การพยาบาล
การติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์
ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิ หากมีไข้ดูแลให้ได้รับยาลดไข้ตามแผนการรักษา และไม่ควรรับประทานยากลุ่ม NSAID
ประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ โดยการฟังเสียงหัวใจทารก การวัดระดับยอดมดลูก การส่งตรวจและติดตามผลการทํา NST
อธิบายเกี่ยวกับการดําเนินของโรค สาเหตุ อาการและอาการแสดง ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก การวินิจฉัย และการดูแลรักษาให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัว
เน้นย้ำการมาตรวจครรภ์ตามนัด
ตรวจร่างกายทารกแรกเกิด ประเมินสภาพร่างกายทั่วไปโดยเฉพาะการวัดขนาดของศีรษะ หากน้อยว่าปกติให้รีบรายงานกุมารแพทย์ทราบ
ให้คําแนะนําในการป้องกัน
นอนในมุ้ง
กําจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายโดยการทําความสะอาด การเทน้ำทิ้ง
ใช้ยากําจัดแมลงหรือยาทาป้องกันยุงกัด
หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรค
หากมีอาการไข้ ออกผื่น ตาแดง ปวดข้อ หรืออาการที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์
การป้องกันไม่ให้ตนเองถูกยุงกัด โดยเฉพาะในระยะ 7 วันแรกที่มีอาการ
การดูแลมารดาหลังคลอดให้การดูแลเหมือนมารดาทั่วไป เน้นย้ำการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนและวิตามินสูง ในแม่ที่พ้นระยะการติดเชื้อสามารถให้เลี้ยงนมมารดาได้
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี(Hepatitis B virus)
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะของ Hepatitis B virus ไม่มีอาการแสดงของตับอักเสบจะไม่เสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น
หากมีการติดเชื้อ Hepatitis B virus ในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกําหนด
ทารก
ทารกตายในครรภ์ หรือเสียชีวิตแรกเกิด
ทารกที่คลอดมามีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ สตรีตั้งครรภ์ที่มีผล HBeAg
สามารถพัฒนาเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับในอนาคต
ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย พบอาการและอาการแสดง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ตับโต ตัวเหลืองตาเหลือง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการได้แก่ HBsAg, Anti-Hbs, Anti-HBc, HBeAg และ Anti-HBe
การซักประวัติ การเป็นพาหะของโรคตับอักเสบจากไวรัสบี
อาการ
ระยะแรกผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่ถ้ามีอาการจะเริ่มด้วยมีไข้ต่ํา ๆ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง อาจปวดทั่วไปหรือปวดบริเวณชายโครงขวา คลําพบตับโต กดเจ็บ ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีชาแก่
ปลายสัปดาห์แรกจะเริ่มมีตาเหลืองตัวเหลือง ซึ่งเมื่อถึงระยะนี้ไข้จะลดลง อาการทั่วไปจะดีขึ้นและส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติภายใน 2-4 สัปดาห์
เมื่อได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะฟักตัว 50-150 วัน (เฉลี่ย 120 วัน)
การพยาบาล
ระยะคลอด
แนะนําให้นําทารกมารับวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
เน้นการรักษาความสะอาดของร่างกาย การป้องกันการปนเปื้อนของเลือดหรือน้ําคาวปลา
หากมารดาหลังคลอดมีหัวนมแตกและมีการอักเสบติดเชื้อของหัวนม อาจแนะนําให้งดให้บุตรดูดนมเพราะอาจแพร่กระจายเชื้อสู่ทารกได้
ระยะตั้งครรภ์
ให้คําแนะนําแก่สตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับสาเหตุ การติดต่อ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การดําเนินของโรค แผนการรักษาพยาบาล
อธิบายแก่สตรีตั้งครรภ์เข้าใจและตระหนักถึงความสําคัญของการมาตรวจตามนัด
หากผลการตรวจพบ HBsAg และ HBeAg เป็นบวกนะนําให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ํา ย่อยง่าย ให้พลังงานสูง ในรายที่มีอาการเบื่ออาหารและอาเจียน ดูแลให้ได้รับยาแก้อาเจียนตามแผนการรักษา
รายที่มีการติดเชื้อเรื้อรัง แนะนําการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การป้องกันการติดเชื้อซ้ําซ้อน
พยาธิสภาพ
ระยะที่สอง
ประมาณ 2-3 เดือนหลังจากได้รับเชื้อ Hepatitis B virus จะเข้าสู่ระยะที่สองผู้ติดเชื้อจะมีอาการอ่อนเพลียคล้ายเป็นหวัด คลื่นไส้อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงจากตับโต ปัสสาวะเข้ม ตัวเหลืองตาเหลือง ตับเริ่มมีการอักเสบชัดเจน ตรวจพบเอนไซม์ตับสูงขึ้น
ระยะที่สาม
เป็นระยะที่ anti-HBe ทําลาย HBeAg จนเหลือน้อยกว่า 105 copies/mL (20,000 IU/mL) อาการตับอักเสบจะค่อย ๆ ดีขึ้น ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน และเข้าสู่ระยะโรคสงบ (inactive carrier)
ระยะแรก
เมื่อได้รับเชื้อHepatitis B virus เข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว แต่ผู้ที่ได้รับเชื้อจะยังไม่มีอาการแสดงของการได้รับเชื้อและเอนไซม์ตับปกติซึ่งแสดงว่ายังไม่มีการอักเสบของตับ
ระยะที่สี่
เป็นระยะที่เชื้อกลับมามีการแบ่งตัวขึ้นมาใหม่ (re-activation phase) ทําให้เกิดการอักเสบของตับขึ้นมาอีก หากตรวจเลือดเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลลบ และ anti-HBe ให้ผลบวก
โรคติดเชื้อไซโทเมกะโรไวรัส (Cytomegalovirus: CMV)
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกายมีไข้ คออักเสบ ต่อมน้ำเหลืองโต ข้ออักเสบ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การเจาะเลือดส่งตรวจพบ Atypical Lymphocytes และเอ็นไซน์ตับสูงขึ้นพบเชื้อ CMV ในปัสสาวะ และในเม็ดเลือดขาว หรือเจาะเลือด พบว่า IgG เพิ่มขึ้น 4เท่า
Amniocentesis for CMV DNA PCR เพื่อยืนยันการติดเชื้อของทารกในครรภ์ริ่มตรวจได้เมื่ออายุครรภ์ครรภ์21 สัปดาห์
การตรวจPlasma specimen for culture หรือquantitative real-time PCR
การซักประวัติเกี่ยวกับประวัติการติดเชื้อในอดีต
การพยาบาล
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทําความสะอาดร่างกายทันทีหลังคลอด
ระยะหลังคลอด
แนะนําการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นย้ําเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความสําคัญของการมาตรวจตามนัดหลังคลอด
แนะนําให้สังเกตอาการผิดปกติของทารกที่ต้องรีบพามาพบแพทย์
งดให้นมมารดา หากมารดาหลังคลอดมีการติดเชื้อ
ระยะตั้งครรภ์
อธิบายสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวทราบเกี่ยวกับโรค สาเหตุ อาการและอาการแสดง การดําเนินของโรค ผลกระทบ และแผนการรักษาพยาบาล
แนะนําและเน้นย้ําให้เห็นความสําคัญของการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ เช่น การงดมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
ซักประวัติ เพื่อคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกรายเกี่ยวกับการเจ็บป่วยติดเชื้อ CMV ในอดีต
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
ขณะตั้งครรภ์ระบบภูมิคุ้มกันจะลดลงหากไวรัสCMV ที่แฝงตัวอยู่มีการติดเชื้อซ้ํา หรือติดเชื้อใหม่ในขณะตั้งครรภ์จะมีทําให้การดําเนินของโรครุนแรงขึ้นทําให้เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกําหนด รกลอกตัวก่อนกําหนด การติดเชื้อของถุงน้ำคร่ำ
ทารก
hepatosplenomegaly, thrombocytopenia, petechiae, microcephaly, chorioretinitis, hepatitis และ sensorineural hearing loss
พยาธิสภาพ
เชื้อ CMV ติดต่อเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ ทารกได้รับเชื้อจากมารดาในครรภ์ ในระยะคลอด ในระยะให้นมการถ่ายเลือด การปลูกถ่ายอวัยวะเพศสัมพันธ์ทางหายใจ(โดยสัมผัสละอองฝอยในอากาศ) และทางการสัมผัส(โดยสัมผัสน้ำลาย ปัสสาวะ) แหล่งของเชื้อ CMV พบได้จากสารคัดหลั่งหลายชนิด เช่น น้ำลายปัสสาวะน้้ำอสุจิสารคัดหลั่งจากปากมดลูก น้ำนม น้ำตา อุจจาระ และเลือด การติดเชื้อ CMV ก่อให้เกิดอาการโรคที่รุนแรงในกลุ่มเสี่ยงต่างๆ ได้แก่ การติดเชื้อในทารกในครรภ์ คนไข้ที่ได้รับการผ่าตัดเปลื่ยนอวัยวะ(organ transplant recipients) และผู้ติดเชื้อ HIV
อาการ
ข้สูงนานปวดกล้ามเนื้อ หรือมีอาการ ปอดบวมตับอักเสบ และอาการทางสมอง การติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์เป็นการติดเชื้อในครรภ์ตรวจได้จากปัสสาวะภายใน 2 สัปดาห์หลังคลอด
สุกใส (Varicella-zoster virus: VZV)
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 40 จะมีปัญหาภาวะปอดอักเสบ หรือปอดบวม ทําให้ระบบหายใจล้มเหลว
บางรายอาจจะมีอาการทางสมอง ทําให้ซึมลง และมีอาการชัก ทําให้เสียชีวิตได้ทั้งแม่ และทารกในครรภ์
ทารก
การติดเชื้อในครรภ์
นไตรมาสแรก อาจทําให้ทารกเกิดความพิการก่อนกําเนิดได้ เช่น ความผิดปกติของตา (ต้อกระจก) สมอง(ปัญญาอ่อนศีรษะขนาดเล็ก เนื้อสมองเหี่ยวลีบ) แขนขาลีบเล็ก และผิวหนังผิดปกติ (แผลเป็นตามตัว) ที่เรียกว่า congenital varicella syndrome
การติดเชื้อปริกําเนิด
โดยมีความเสี่ยงสูงในรายที่สตรีตั้งครรภ์ตมีการติดเชื้อสุกใสในระยะก่อนคลอด 5 วัน และหลังคลอด 2 วัน เนื่องจากหากเป็นโรคก่อนคลอด 5 วัน จะยังไม่มีภูมิคุ้มกัน (antibody) ในมารดามากพอที่จะส่งไปช่วยป้องกันในทารก
ติดเชื้อผ่านทางมดลูก และช่องทางคลอด
การพยาบาล
ระยะคลอด
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทําความสะอาดร่างกายทันทีหลังคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
ระยะตั้งครรภ์
ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยอธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจถึงภาวะของโรค การแพร่กระจายเชื้อและการปฏิบัติตน
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึก เพื่อลดความวิตกกังวลของสตรีตั้งครรภ์และครอบครัว
แนะนําให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง วิตามินซีสูง รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง โดยออกกําลังกายสม่ําเสมอ
ระยะก่อนตั้งครรภ์
แนะนําให้สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่วางแผนตั้งครรภ์ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันสุกใสก่อนการตั้งครรภ์โดยหลีกเลี่ยงการรับวัคซีนในระยะตั้งครรภ์ หรือการเว้นระยะการตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือนภายหลังการฉีดวัคซีน
ระยะหลังคลอด
กรณีพ้นระยะการติดต่อหรือมารดามีการตกสะเก็ดแล้วสามารถแนะนําเกี่ยวกับการให้นมมารดาได้
แนะนําการรับประทานอาหารโปรตีนและวิตามินซีสูง พักผ่อนเพียงพอ ออกกําลังกายสม่ําเสมอ
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค โดยการใช้หลักuniversal precautionในการสัมผัสน้ําคาวปลา
ดูแลให้ทารกรับวัคซีน VariZIG แก่ทารกแรกเกิดทันทีหากมารดาการติดเชื้อในช่วง 5วันก่อนคลอดถึง 2วันหลังคลอด
กรณีที่มารดามีอาการให้แยกทารกแรกเกิดจากมารดาในระยะ5วันแรกหลังคลอด
เน้นย้ําให้เห็นความสําคัญของการมาตรวจตามนัด
อาการ
มีอาการปวดเมื่อยตามตัวร่วมด้วย คล้ายอาการของไข้หวัดใหญ่ บางคนอาจมีต่อมน้ําเหลืองที่คอ และหลังหูโตขึ้น จนคลําได้ก้อนกดเจ็บ บางรายอาจจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
ตอนเป็นตุ่มน้ําจะรู้สึกคันมาก โดยตุ่มจะทยอยขึ้นเต็มที่ภายใน 4 วัน หลังจากนั้นจะพัฒนาไปเป็นตุ่มหนอง และแห้งลงจนตกสะเก็ด
มีไข้ต่ําๆ นํามาก่อนประมาณ1-2 วันแล้วค่อยมีผื่นขึ้น ลักษณะของผื่น และตุ่ม มักจะขึ้นตามไรผม หรือหลังก่อน จะเห็นเป็นตุ่มน้ําใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ําค้างบนกลีบกุหลาบ (dewdrops on a rose petal) แล้วค่อยลามไปบริเวณหน้าลําตัว และแผ่นหลัง
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกายมีไข้มีผื่นตุ่มน้ําใสตามไรผม ตุ่มน้ําใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ําค้างบนกลีบกุหลาบ ลามไปบริเวณหน้าลําตัว และแผ่นหลัง มีอาการปวดเมื่อยตามตัวร่วมด้วย คล้ายอาการของไข้หวัดใหญ่
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ:
การตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgG ต่อไวรัสสุกใสไวรัสงูสวัด (VZV) ด้วยเทคนิค ELISA
การตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgM ต่อไวรัสสุกใส ไวรัสงูสวัด (VZV) ด้วยเทคนิค ELISA
การซักประวัติการสัมผัสผู้ติดเชื้อสุกใส หรือผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อ
พยาธิสภาพ
เมื่อรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือกบุทางเดินหายใจ ซึ่งเชื้อโรคมีระยะฟักตัวนาน 10-20 วัน ในกรณีที่โรคสุกใสเกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอด จะเรียกว่า congenital varicella syndrome ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยมารดาติดเชื้อไวรัสสุกใสขณะตั้งครรภ์ ซึ่งจะมีผลต่อความพิการของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อในช่วง 3 เดือน ของการตั้งครรภ์
หัดเยอรมัน(Rubella/German measles)
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกายอาจพบผื่นสีแดงคล้ายหัด ตาแดง ไอ จาม เจ็บคอ ปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว ต่อมน้ําเหลืองโต บางรายอาจไม่พบอาการผิดปกติ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยตรวจ Hemagglutination inhibition test (HAI) เพื่อหา titer ของ antibody ของเชื้อหัดเยอรมัน
การซักประวัติการสัมผัสผู้ติดเชื้อหัดเยอรมัน
การพยาบาล
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึกและซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับผลของการติดเชื้อ
อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจ การดําเนินของโรค ผลของโรคต่อการตั้งครรภ์และต่อทารกในครรภ์ และการรักษาพยาบาล
แนะนําให้มาฝากครรภ์อย่างสม่ําเสมอ
กรณีที่ตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ เตรียมร่างกายและจิตใจของสตรีตั้งครรภ์ให้พร้อมสําหรับการทําแท้งเพื่อการรักษา
สตรีที่มาฝากครรภ์ควรตรวจดูว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่ หากยังไม่มีภูมิคุ้มกันแนะนําให้สตรีตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการเข้าชุมชนในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อหัดเยอรมัน โดยเฉพาะในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
รายที่ตัดสินใจดําเนินการตั้งครรภ์ต่อ และคลอดทารกที่มีความพิการ ดูแลด้านจิตใจของมารดาและครอบครัว
ให้วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อเยอรมันแก่สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนมาก่อนโดย
สตรีที่ไม่มีภูมิคุ้มกันหรือไม่เคยฉีดวัคซีน ควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันหัดเยอรมันหลังคลอดทุกราย และหลังการให้วัคซีนจะต้องคุมกําเนิดต่อไปอีกอย่างน้อย 3 เดือน
อาการ
หลังจากนั้นจะมีผื่นขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีแดง (maculopapular) มองเห็นเป็นปื้นหรือจุดกระจัดกระจายโดยจะเริ่มขึ้นที่ใบหน้าจากนั้นจะแผ่กระจายลงมาตามหน้าอก ลําตัว แขนขา
อาการจะเกิดขัดเจนในวันที่ 7-10 และจะคงอยู่ 4 สัปดาห์ จากนั้นผื่นจะจางหายไป
มีไข้ต่ํา ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว เบื่ออาหาร ตาแดง ไอ เจ็บคอ และต่อน้ําเหลืองบริเวณหลังหูโต อาจมีอาการปวดข้อ โดยไข้จะเป็นอยู่ 1-2 วันก็จะหายไป
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
ไม่เกิดผลกระทบต่อมารดา
ทารกในครรภ์
ความผิดปกติถาวรได้แก่ หูหนวก หัวใจพิการ ตาบอด (ต้อกระจก, ต้อหิน) สมองพิการ และปัญญาอ่อน
ความผิดปกติที่ไม่พบขณะแรกเกิด แต่ปรากฏภายหลัง เช่น ภาวะเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ สูญเสียการได้ยิน ลิ้นหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตสูง สมองอักเสบ
หากมีการติดเชื้อใน 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์มักจะพบความพิการที่รุนแรงและพิการหลายระบบ แต่หากติดเชื้อเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 16 สัปดาห์มักไม่พบความพิการที่รุนแรง
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราว เช่น ตับม้ามโต ตัวเหลือง โลหิตจาง เกล็ดเลือดต่ํา ปอดบวม กระดูกบาง
พยาธิสภาพ
กลุ่มไม่มีอาการทางคลินิก
ตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อหัดเยอรมันอย่างเดียว และจะกลายเป็นพาหะ
กลุ่มที่มีอาการทางคลินิก
าจมีอาการปวดข้อ ปวดเข้า พบต่อมน้ําเหลืองโต ทั้งสองกลุ่มสามารถทําให้ทารกเกิดการติดเชื้อได้
ชื้อหัดเยอรมันจะเข้าไปทําลายผนังหลอดเลือดและเนื้อรกทําให้เนื้อรกและหลอดเลือดกลายเป็นเนื้อตาย ส่วนในทารกเชื้อจะเข้าไปในเซลล์ที่กําลังแบ่งตัว ทําให้เซลล์ติดเชื้อ ส่งผลให้เซลล์เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ การสร้างอวัยวะต่าง ๆ บกพร่อง เกิดเป็นความพิการแต่กําเนิด
มีผื่นที่ใบหน้า ลามไปที่ลําตัวและแขนขา ลักษณะของผื่นจะเป็นตุ่ม เกิดได้ตั้งแต่วันที่ 7-10 หลังได้รับเชื้อ
โรคโควิด-19 กับการตั้งครรภ์ (COVID-19 during Pregnancy)
ผลกระทบ
ทารกในครรภ์
การติดเชื้อCOVID-19 ของทารกแรกเกิดอาจตรวจพบการติดเชื้อได้ในทันทีหลังคลอด หรือตรวจพบภายใน 7 วันหลังคลอดได้
ทารกในครรภ์พัฒนาการล่าช้า คลอดน้ําหนักตัวน้อย คลอดก่อนกําหนด
สตรีตั้งครรภ์
เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกําหนด มีการติดเชื้อของเยื่อหุ้มเด็ก ถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด รกเสื่อม และรกลอกตัวก่อนกําหนด
อาการ
ไม่แสดงอาการใด ๆ และมีอาการและอาการแสดงของอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป หรือให้ประวัติว่ามีไข้ในการป่วยครั้งนี้ร่วมกับมีอาการของระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ไอ น้ามูกเจ็บคอ หายใจติดขัด หรือหายใจลําบาก
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกายมีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ไอแห้ง หายใจติดขัด อาจมีคัดจมูก มีน้ามูกเจ็บคอไอเป็นเลือด หรือท้องเสีย
การซักประวัติประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสผู้ที่การติดเชื้อ และประวัติการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจหา viralnucleic acid ด้วยวิธี real-time polymerase chainreaction(RT-PCR)จากสารคัดหลั่งเช่น น้ําลายจากจมูกและลําคอเสมหะ
ให้ส่งสิ่งคัดหลั่งตรวจหาเชื้อไวรัสอื่น เช่น influenza virus A and B, adenovirus,respiratory syncytial virus, rhinovirus
ymphocyte ค่า C-reactive protein สูงขึ้นเกล็ดเลือดต่ําค่าเอนไซม์ตับและ creatine phosphokinase สูง
การตรวจพิเศษได้แก่ การตรวจเอกซเรย์ปอดหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องอกพบมีปอดอักเสบ
โรคโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่ระบาดได้รวดเร็วจนแพร่กระจายทั่วโลกเกิดจากเชื้อไวรัสตระกูลCorona ชื่อ SARS-CoV-2 การติดต่อส่วนใหญ่ผ่านทางสัมผัสละอองฝอยจากการไอ หรือจาม อาการของโรคคล้ายกับไข้หวัดใหญ่
การพยาบาล
ข้อแนะนําการปฏิบัติสําหรับมารดาหลังคลอดในกรณีแม่เป็นผู้ที่สงสัยว่าจะติดเชื้อ
สวมหน้ากากอนามัย ตลอดการทํากิจกรรมเกี่ยวกับการเตรียมนม และการปั๊มนม
ล้างทําความสะอาดอุปกรณ์ เช่น ที่ปั๊มนม ขวดนม ด้วยน้ํายาล้างอุปกรณ์ และทําการนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อ
อาบน้ำหรือเช็ดทําความสะอาดบริเวณเต้านมและหัวนมด้วยน้ำและสบู่
การให้นม ควรให้ผู้ช่วยเหลือหรือญาติที่มีสุขภาพแข็งแรงที่ทราบวิธีการป้อนนมที่ถูกต้อง และต้องปฏิบัติตามวิธีการป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด
สตรีตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง
กรณีเจ็บครรภ์คลอด ต้องไปโรงพยาบาลทันที และแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบว่าตนเองอยู่ระหว่างการเฝ้าระวัง 14 วัน
แยกตนเองออกจากครอบครัว และสังเกตอาการจนครบ 14 วัน
ป้องกันการติดเชื้อ COVID-19
รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่เสมอ
ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ําสะอาดนานอย่างน้อย 20วินาที
รักษาระยะห่าง social distancing
เน้นย้ำให้สตรีตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ตามนัดได้ตามปกติ
หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการไอ เป็นไข้ หรือผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง
การติดเชื้อโปรโตซัว (Toxoplasmosis)
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
คลอดก่อนกําเนิด
ถุงน้ำคร่ำและเยื่อหุ้มทารกอักเสบ
การแท้ง
ทารกในครรภ์
microcephaly
chorioretinitis
กรณีทื่ทารกมีการติดเชื้อแต่กําเนิดทารกแรกเกิดจะมีลักษณะสําคัญ คือ ไข้ ชัก
Cerebral calcification
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกายมักไม่แสดงอาการ หรือมีอ่อนเพลียเล็กน้อย อาจพบภาวะปอดบวม หัวใจอักเสบ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การวินิจฉัยก่อนคลอด โดยการตรวจเลือดสายสะดือทารกหรือน้ำคร่ำพบ IgA และ IgM
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อประเมินลักษณะสุขภาพของทารกในครรภ์ ลักษณะของรกและน้ำคร่ำ
การตรวจเลือดหา DNA ของเชื้อ ทดสอบน้ำเหลืองดู titer IgG และ IgM
การซักประวัติประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรค เช่น แมว เป็นต้นประวัติมีอาการอ่อนเพลียปวดกล้ามเนื้อ
อาการ
อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ แต่อาจมีกลุ่มอาการของ Mononucleosis รายที่รุนแรงจะมีพยาธิที่สมอง Chorioretinitis ปอดบวม กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ รายที่รุนแรงมักพบในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
การพยาบาล
ระยะคลอด
ภายหลังทารกคลอดเช็ดตาด้วย 0.9%NSS เช็ดตาทันทีจากนั้นป้ายตาด้วย 1% tetracycline ointmentหลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตา
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
ระยะหลังคลอด
เฝ้าระวังการตกเลือดและการติดเชื้อหลังคลอด
แนะนําการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นเรื่องการรักษาความสะอาด การมาตรวจตามนัด
ระยะตั้งครรภ์
เน้นการรักษาอย่างต่อเนื่อง การรับประทานยา และการสังเกตอาการข้างเคียงของยา
ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเปิดโอกาสให้ซักถาม และให้กําลังใจในการรักษารวมทั้งติดตามผลการตรวจเลือด
เป็นการติดเชื้อที่เกิดจากปรสิตคือToxoplasma gondiiซึ่งเป็นโปรโตซัวชนิดอาศัยในเซลล์โดยติดเชื้อได้ทั้งในคนและสัตว์มีพาหะหลักคือ แมว ส่วนพาหะชั่วคราวคือหนูกระต่ายแกะรวมทั้งคนการติดต่อเกิดขึ้นได้โดยการรับประทานผักหรือผลไม้ที่ปนเปื้อนดินที่มีoocyte ของเชื้อซึ่งขับออกมาปนกับอุจจาระแมว หรือจากการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ติดเชื้อปรุงไม่สุก