Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การรักษาโรคเบื้องต้นในกลุ่มอาการที่พบบ่อย 2 - Coggle Diagram
การรักษาโรคเบื้องต้นในกลุ่มอาการที่พบบ่อย 2
การตั้งครรภ์นอกมดลูก (ectopic pregnancy)
สาเหตุ หลายปัจจัยด้วยกัน เช่น มีความผิดปกติของท่อนำไข่ตีบตัน ตัวอ่อนมีความผิดปกติ หรืออุ้งเชิงกรานมีพังผืดอยู่เยอะ ทำให้ไปขัดขวางตัวอ่อนไม่ให้ไปที่ท่อนำไข่ และไปที่โพรงมดลูกได้
วิธีการรักษา คือ การยุติการตั้งครรภ์
1.ไม่ผ่าตัด วิธีการนี้จะมีการให้ยาแก่คนไข้ เพื่อไปทำลายตัวอ่อน และรก ทำให้ฝ่อ
2.การผ่าตัด แพทย์จะทำการผ่าตัดก็ต่อเมื่อวินิจฉัยแล้วว่า คนไข้มาพบแพทย์ตอนอายุครรภ์เยอะ หรือขนาดตัวอ่อนใหญ่มากเกินกว่าที่จะฉีดยาได้ หรือมีภาวะการแตกหรือตกเลือดแล้ว จะไม่มาฉีดยา แต่จะต้องทำการผ่าตัดทันที
แท้งบุตร (abortion)
สาเหตุของการแท้งมีได้หลายสาเหตุ แต่สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือเกิดความผิดปกติของโครโมโซมซึ่งอาจจะเกิดความ ผิดปกติที่ไข่ หรือตัวเชื้ออสุจิ หรือช่วงที่ตัวอ่อนแบ่งตัว
หลักการรักษา ผู้ที่แท้งคือระวังเลือดออก และการติดเชื้อ หากตั้งครรภ์อ่อนแล้วแท้ง ร่างกายก็สามารถขับตัวอ่อนและรกออกหมด แต่หากขับไม่หมดมีเลือดออกจะต้องทำการขูดมดลูก หากพบว่าเลือดออกไม่หยุด และมีไข้สูงหนาวสั่นต้องรีบไปพบแพทย์
การป้องกันการแท้ง เนื่องจากการแท้งส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ดังนั้นจึงไม่มีทางป้องกันได้ ดังนั้นก่อนการตั้งครรภ์ควรจะดูแลตัวเองให้แข็งแรง การออกกำลังกายสม่ำเสมองดหรือหลีกเลี่ยงคนที่สูบบุหรี่ จัดการความเครียด ควบคุมน้ำหนัก รับประทานกรดโฟลิก
ติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน (pelvic inflammatory disease )
สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากอวัยวะสืบพันธุ์ส่วนล่าง ขึ้นไปยังส่วนบน แล้วทำให้เกิดการอักเสบขึ้น เชื้อที่ทำให้เกิดโรคมีหลายชนิด แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
เชื้อติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (sexual transmitted organism)
เชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด ที่ในภาวะปกติจะเป็นเชื้อประจำถิ่น ไม่ก่อให้เกิดโรค แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดภาวะขาดสมดุลของสิ่งแวดล้อมในช่อง เชื้อเหล่านี้ก็จะกลับกลายมาเป็นเชื้อก่อโรค
อาการ ปวดท้องน้อยหรืออุ้งเชิงกราน เป็นอาการที่พบบ่อย ตกขาวผิดปกติ มีหนองกลิ่นเหม็นออกจากช่องคลอด อาการของท่อปัสสาวะอักเสบเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก ไข้ ส่วนใหญ่มักจะมีไข้สูง อาการไข้จะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือใกล้เคียงกับเวลาที่เริ่มมีอาการปวดท้องน้อย อาการคลื่นไส้อาเจียนและ/หรือท้องเสียถ่ายเหลว แสดงถึงการอักเสบของเยื่อบุช่องท้องและโรคที่เกิดขึ้นอยู่ในเกณฑ์รุนแรง
การรักษา
การรักษาโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบชนิดเฉียบพลัน ส่วนใหญ่แล้วโรคนี้สามารถรักษาหายโดยการให้ยาปฏิชีวนะ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดร่วม / ให้ผู้ป่วยนอนพักผ่อนให้มาก ท่านอนที่ดีที่สุด คือ ท่านอนศีรษะสูง (Fowler’s position) / ให้ยาระงับปวดชนิดที่ไม่มีฤทธิ์ลดไข้ เพราะจะทำให้การแปลผลการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะยุ่งยาก
ให้งดอาหารและน้ำทางปาก ประมาณ 24 – 48 ชั่วโมง ระหว่างนี้ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำทดแทนจนกว่าลำไส้จะทำงานได้ตามปกติ / ให้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม ยาที่แนะนำให้ใช้รักษาได้แก่ Cefoxitin, Doxycycline, Clindamycin ,Metronidazole ,Ceftriaxone สำหรับคู่ครองที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วย 60 วันก่อนเกิดอาการต้องไปตรวจว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ / รักษาคู่ครองด้วย ในกรณีที่เกิดจากเชื้อที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การรักษาโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบชนิดเรื้อรัง การรักษาแบ่งออกเป็น
การรักษาทางยา ได้แก่ การให้ยาระงับปวด การให้ยาปฏิชีวนะชนิดออกฤทธิ์ครอบคลุมกว้าง / การรักษาโดยการผ่าตัด
ถุงน้ำรังไข่หมาย
ถุงน้ำรังไข่ที่ปกติธรรมดา ซึ่งมี 2 ประเภทคือ
ถุงน้ำรังไข่ที่เกิดขึ้นเมื่อไข่เจริญเต็มที่แต่ไข่ยังไม่ตก(Follicular cyst)
ถุงน้ำรังไข่ที่เกิดขึ้นเมื่อไข่ตกไปแล้ว(Corpus luteum cyst)
มักจะเป็นถุงน้ำขนาดไม่โต ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางส่วนใหญ่ 1-3 เซนติเมตร มักไม่โตเกิน 5 เซนติเมตร ถุงน้ำชนิดนี้ มักตรวจพบโดยบังเอิญ สามารถหายเองได้ภายใน 2-3 เดือน ลักษณะที่ตรวจพบจากเครื่องอัลตราซาวนด์คือ เป็นถุงที่มีผนังบางใส ภายในเป็นน้ำใส ถุงน้ำนี้ไม่กลายเป็นมะเร็ง และไม่เกี่ยวกับเรื่องมีบุตรยาก
การปวดประจำเดือน (Dysmenorrhea)
สาเหตุ การเกิดอาการก่อนมีประจำเดือน เกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศหญิงระหว่างรอบเดือน บางครั้งเกิดจากการขาดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) หรือขาดกรดไขมันจำเป็น เช่น กรดไลโนเลอิก (Linoleic acid) , ขาดวิตามินบี 5 ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมรอบประจำเดือน
การรักษา ยา NSIAD เช่นponstan ,Ibruprofen ,diclofenac , paracetamol
การดูแลสุขภาพ การออกกำลังกาย การรับประทาน อาหารให้เพียงพอ ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง สารอาหารครบ 5 หมู่ พยายามพักผ่อนให้เพียงพอ การอาบน้ำร้อน หรือประคบด้วยกระเป๋าน้ำร้อนที่บริเวณท้องน้อยจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ การประคบด้วยน้ำร้อน-น้ำเย็น โดยประคบร้อน 2-3 นาที สลับด้วยการประคบเย็น 30 วินามี ทำซ้ำประมาณ 2-3 รอบ จะช่วยลดอาการปวดได้เหมือนกัน
โรคหัวใจขาดเลือด หรือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด Ischaemic heart disease; Myocardial ischemia
เป็นอาการที่เกิดจากการมีเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอต่อความต้องการของหัวใจในขณะนั้น เกิดจากหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัว หรือมีไขมันไปเกาะผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย เป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากหลอดเลือดแดงตีบแคบมากจนอุดตัน จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้
อาการ แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น เจ็บกลางหน้าอกบริเวณเหนือลิ้นปี่ขึ้นมาเล็กน้อย เจ็บแบบจุกแน่น คล้ายมีอะไรมาบีบหรือกดทับไว้ / อาการเจ็บมักร้าวไปที่คอหรือขากรรไกรหรือไหล่ซ้ายมักเป็นมากขณะออกกำลังกายหรือทำงาน เป็นอยู่นานครั้งละ 2-3 นาที
การรักษา 1. การใช้ยาขยายหลอดเลือด มีทั้งชนิดอมใต้ลิ้น, ยารับประทาน และให้ทางหลอดเลือดดำ 2. การให้ยาละลายลิ่มเลือดหรือยาต้านเกร็ดเลือดแข็งตัว เช่น แอสไพริน 3. การให้ยาลดการบีบตัวของหัวใจ เพื่อลดการทำงานของหัวใจ และลดการใช้ออกซิเจน
อาการซีด (pallor)
สาเหตุ อาการซีดจากเลือดไปเลี้ยงน้อยลง ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเฉพาะที่ อาการซีดจากโรคเลือดจาง (โรคโลหิตจาง)
อาการ อาจจะเกิดขึ้นเฉพาะที่ (เฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย) หรือเกิดทั่วไปก็ได้ / อาการซีดเฉพาะที่มักจะพบเห็นได้ง่ายที่บริเวณปลายๆ ของอวัยวะ เช่น แขน ขา มือ เท้า นิ้ว เป็นต้น เมื่อเส้นเลือดที่บริเวณนั้นตีบตัว หรือตีบตัน / อาการซีดที่เกิดจากเลือดไปเลี้ยงอวัยวะทั่วไปน้อยลงจนมองเห็นอาการซีด โดยทั่วไป หรือทั่วร่างกาย มักเกิดจากการตีบตัว ของเส้นเลือดทั่วร่างกายที่พบใน “ภาวะช็อก”
วินิจฉัย จากประวัติอาการเจ็บป่วยและการตรวจพบภาวะซีด / การตรวจร่างกาย /ทำการตรวจเลือด ซึ่งมักพบว่ามีระดับความเข้มข้นของเลือด (hemoglobin) ต่ำกว่า 12 กรัม/เดซิลิตร /การตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น ตรวจอุจจาระ ปัสสาวะ เอกซเรย์ เจาะไขกระดูก ใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะอาหารหรือลำไส้ใหญ่
การรักษา หาสาเหตุที่ทำให้ซีดแล้วรักษาสาเหตุนั้น รักษาตามอาการ
โลหิตจาง จากภาวะขาดธาตุเหล็ก
สาเหตุ เกิดจากการกินอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เกิดจากการเสียธาตุเหล็กออกไปกับเลือด
อาการ ในระยะที่มีภาวะโลหิตจางเล็กน้อย มักไม่มีอาการแสดงชัดเจน หรือผู้ป่วยที่มีโลหิตจางแบบค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อย
การรักษา ให้ยาบำรุงโลหิต ให้การรักษา โรคหรือภาวะที่เป็นสาเหตุของโลหิตจางร่วมด้วย
โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย
(Thalassaemia)
สาเหตุมาจากมีความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติ แตกง่าย ถูกทำลายง่าย
อาการ จะมีอาการซีด ตาขาวสีเหลือง ตัวเหลือง ตับโต ม้ามโต ผิวหนังดำคล้ำ กระดูกใบหน้าจะเปลี่ยนรูป มีจมูกแบน กะโหลกศีรษะหนา โหนกแก้มนูนสูง คางและขากรรไกรกว้างใหญ่ ฟันบนยื่น กระดูกบาง เปราะ หักง่าย
การรักษา ให้รับประทานวิตามินโฟลิควันละเม็ด / ให้เลือดเมื่อผู้ป่วยซีดมากและมีอาการของการขาดเลือด / ตัดม้ามเมื่อต้องรับเลือดบ่อยๆ และม้ามโตมากจนมีอาการอึดอัดแน่นท้อง กินอาหารได้น้อย /ไม่ควรรับประทานยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็ก / ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงซีดมาก ต้องให้เลือดบ่อยมากจะมีภาวะเหล็กเกิน อาจต้องฉีดยาขับเหล็ก
ภาวะเพลียเรื้อรัง
CFS ( Chronic Fatigue Syndrome )
ไม่ใช่อาการเจ็บไข้ได้ป่วยทั่วไปอย่างไข้หวัดหรือกล้ามเนื้ออักเสบ เพราะหากเป็นการเจ็บป่วยตามธรรมดา อาการป่วยต่าง ๆ เหล่านี้จะอธิบายได้และค้นหาสาเหตุได้ แต่อาการป่วยจาก CFS หาสาเหตุไม่พบและอธิบายไม่ได้ เป็นทีพร้อม ๆ กันหลาย อาการ จนเกือบจะไม่รู้ว่าเป็นอะไรกันแน่ นี่จึงเป็นเหตุผลที่เรียกรวม ๆ กันว่า Syndrome
การรักษา ไม่มียาเฉพาะที่จะรักษาโรคนี้ให้หายขาด / การรักษาตามอาการและการดูแลสุขภาพกายและใจจึงเป็นหนทางเดียวในขณะนี้ที่จะช่วยบรรเทาได้ พร้อม ๆ ไปกับการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่นว่าทานอาหารให้สมดุล พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเบา ๆ เป็นประจำ หลีกเลี่ยงความเครียด / ควรรีบกำจัดสิ่งที่จะไปกระตุ้นให้เป็นหนักขึ้น
Myofascial pain syndrome (MPS)
กลุ่มอาการปวดร้าว (referred pain) และ/หรืออาการของระบบประสาทอิสระ (autonomic symptoms) อันเนื่องมาจาก myofascial trigger point(s) (TrP) ของกล้ามเนื้อ หรือเยื่อผังผืดโดยจำกัดอยู่บริเวณหนึ่งบริเวณใด (regional pain) ของร่างกาย
อาการ 1. ปวดร้าวเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย (regional pain) ความรุนแรงมีได้ตั้งแต่ปวดเล็กน้อย เพียงรำคาญจนถึงปวดรุนแรงทรมานอย่างมาก TrP ของกล้ามเนื้อแต่ละมัดจะมีลักษณะแบบแผน การปวดร้าวที่เฉพาะตัวซึ่งมีความสำคัญในการช่วยค้นหาว่าอาการปวดเกิดจาก TrP ของกล้ามเนื้อมัดใด
อาการของระบบประสาทอิสระซึงพบร่วมได้บ่อยเช่น ซ่า วูบ เย็น เหน็บ หนา หรืออาการแสดง เช่น ซีด ขนลุก เหงื่อออกตามบริเวณที่มีอาการปวดร้าว ส่วน TrP บริเวณคออาจมีอาการมึนงง หูอื้อ ตาพร่าได้
การวินิจฉัย ทางคลินิกจากประวัติและตรวจร่างกายเป็นสำคัญ คือ ประวัติของอาการปวดและ/หรืออาการประสาทอิสระบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ร่วมกับตรวจร่างกายที่กล้ามเนื้อโดยการคลำหรือกดด้วยนิ้วมือ จะต้องพบ TrP
การรักษา ส่วนการรักษาระยะยาวเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยสามารถนำไปปฏิบัติได้เอง เข้าถึงได้ง่าย สอดคล้องกับวิถีชีวิตและคุ้มค่า / การยืดกล้ามเนื้อที่มี TrP (stretching) / การนวด (massage) / การทำกายภาพบำบัด (physical therapy) / การฝังเข็ม (acupuncture) / การแทงเข็มที่ TrP (dry needling) / การฉีดยาที่ TrP (trigger point injection) / ยา (drugs) เช่น ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ vitamin antidepressants
โรคปวดกล้ามเนื้อหลัง Musculotendinous Strain
สาเหตุ มักเกิดจากการทำงานก้ม ๆ เงย ๆ ยกของหนัก นั่ง ยืน นอน หรือยกของในท่าที่ไม่ถูกต้อง ใส่รองเท้าส้นสูงมากเกินไป หรือนอนที่นอนนุ่มเกินไป ทำให้เกิดแรงกดตรงกล้ามเนื้อสันหลังส่วนล่าง ซึ่งจะมีอาการเกร็งตัว ทำให้เกิดอาการปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง คนที่อ้วน หรือ หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ก็อาจมีอาการปวดหลังได้เช่นกัน
อาการ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง (ตรงบริเวณกระเบนเหน็บ) ซึ่งอาจเกิดขึ้นเฉียบพลันหรือค่อยเป็นทีละน้อย อาการปวดอาจเป็นอยู่ตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะในท่าบางท่า การไอ จาม หรือบิดตัว เอี้ยวตัวอาจทำให้รู้สึกปวดมากขึ้น โดยทั่วไปผู้ป่วยจะแข็งแรงดี และไม่มี อาการผิดปกติอื่น ๆร่วมด้วย
สิ่งตรวจพบ มักตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติอะไร
การรักษา การรักษาแบบอนุรักษ์ คือ การรักษาโดยการไมผ่าตัด ซึ่งได้ผลมากกว่าร้อยละ 90 การรักษาโดยวิธีนี้ เริ่มตั้งแต่การแนะนำและให้ความรู้ เพื่อให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยง / การรักษาโดยการผ่าตัด
โรคหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน
เกิดกับผู้ที่ประกอบอาชีพที่ต้องพึ่งขาทั้งสองข้างเป็นหลัก เช่น ครู พยาบาล จราจร แม่ครัว ช่างเสริมสวย พนักงานขาย เป็นต้น อาชีพ เหล่านี้ล้วนแต่ต้องใช้ขาทั้งสองข้าง ยืนอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ อย่างน้อยวันละ 4-6 ชั่วโมง
การรักษา ออกกำลังกายวันละครึ่งชั่วโมงทุกวัน เพื่อ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด และป้องกันไม่ให้น้ำไหลลงไปคั่งที่ขา การออกกำลังกายที่ช่วยให้กล้ามเนื้ และหลอดเลือดแข็งแรง ได้แก่ ว่ายน้ำ วิ่ง ขี่จักรยาน แต่ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่รุนแรงเกินไป เช่น กระโดดสูง กระแทกเท้า / กินอาหารที่อุดมด้วยวิตามินซี และฟลาโวนอยด์ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของผนังหลอดเลือดฝอย / ลดการกินอาหารที่มีรสเค็ม และไม่ควรปล่อยให้น้ำหนักตัวมากเกินไป
นางสาววรดา ภูสีดวง 601410030-7 นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 4